Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

04 มีนาคม 2557 ชมรมคนหูหนวกกรุงเทพมหานคร ร่วมกับ กสทช. ให้ความรู้คนหูหนวกผ่าน 3G ำให้คนหูหนวกสามารถสื่อสารผ่านวิดีโอคอลได้ หรือการใช้โซเชียลเน็ตเวิร์กผ่านแอพพลิเคชั่นแชตต่างๆ


ประเด็นหลัก


เมื่อเร็วๆ นี้ ชมรมคนหูหนวกกรุงเทพมหานคร ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จัดการประชุมเรื่องการใช้ประโยชน์และการเข้าถึงโทรคมนาคม ยุค 3จี เพื่อการสื่อสารและการรับส่งข้อมูลข่าวสารสำหรับคนหูหนวก โดยนายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการ กสทช. กล่าวว่า ที่ผ่านมาคนหูหนวกจะใช้โทรศัพท์มือถือในการสื่อสารโดยการรับส่งข้อความผ่านเอสเอ็มเอส ซึ่งทำให้ต้องมีการโต้ตอบกันหลายครั้งและมีการจำกัดปริมาณข้อความในการส่งแต่ละครั้ง แต่ปัจจุบันการใช้โทรศัพท์มือถือในยุค 3จี ทำให้คนหูหนวกสามารถสื่อสารผ่านวิดีโอคอลได้ หรือการใช้โซเชียลเน็ตเวิร์กผ่านแอพพลิเคชั่นแชตต่างๆ ทำให้คนหูหนวกสามารถสื่อสารผ่านข้อความได้อย่างไม่จำกัดจำนวนอักษร และสามารถถ่ายภาพและส่งรูปภาพได้ด้วย นอกจากนี้ยังมีเทคโนโลยีการสื่อสารรูปแบบอื่น เช่น คิวอาร์โค้ด ซึ่งทำให้ส่งข้อมูลได้จำนวนมาก ดังนั้นการใช้บริการ 3จี ทำให้คนหูหนวกสามารถใช้บริการเพื่อเกิดประโยชน์กับการดำเนินชีวิตได้อีกมาก

นายประวิทย์ กล่าวอีกว่า ในระดับโลกมีความพยายามของคนกลุ่มหนึ่งผลักดันเพื่อให้เกิดเบสิกแพ็กเกจ หรือแพ็กเกจพื้นฐานของโทรศัพท์มือถือ เพื่อให้คนทั่วโลกสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นได้ฟรี เช่น โซเชียลเน็ตเวิร์ก อย่างไลน์ หรือ วอทส์แอพพ์ การเข้าถึงบริการข้อมูลข่าวสาร เช่น วิกิพีเดีย บริการพยากรณ์อากาศ และอื่นๆ อย่างไรก็ตาม อีกไม่นานบริการ 2จี จะหมดไป เช่นเดียวกันในประเทศเกาหลีไม่มีบริการ 2จี แล้ว สำหรับประเทศไทย แม้จะยังไม่มีแผนการที่จะยกเลิกการให้บริการ 2จี แต่เรามีบริการ 3จี แล้วและกำลังจะมีบริการสี 4จี จึงเป็นโอกาสดีที่กลุ่มคนหูหนวกจะได้เรียนรู้วิธีการเข้าถึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตมากขึ้น

______________________________________








กสทช.ผุดให้ความรู้การสื่อสารยุค 3จี คนหูหนวก


กสทช.จัดงานให้ความรู้คนหูหนวกเพื่อใช้ประโยชน์จากการสื่อสารในยุค 3จี ด้านเนคเทคแนะใช้ คิวอาร์โค้ด หวังเป็นเครื่องมือให้คนหูหนวกเข้าถึงข้อมูลข่าวสารสำคัญ เช่น ฉลากยา...

เมื่อเร็วๆ นี้ ชมรมคนหูหนวกกรุงเทพมหานคร ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จัดการประชุมเรื่องการใช้ประโยชน์และการเข้าถึงโทรคมนาคม ยุค 3จี เพื่อการสื่อสารและการรับส่งข้อมูลข่าวสารสำหรับคนหูหนวก โดยนายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการ กสทช. กล่าวว่า ที่ผ่านมาคนหูหนวกจะใช้โทรศัพท์มือถือในการสื่อสารโดยการรับส่งข้อความผ่านเอสเอ็มเอส ซึ่งทำให้ต้องมีการโต้ตอบกันหลายครั้งและมีการจำกัดปริมาณข้อความในการส่งแต่ละครั้ง แต่ปัจจุบันการใช้โทรศัพท์มือถือในยุค 3จี ทำให้คนหูหนวกสามารถสื่อสารผ่านวิดีโอคอลได้ หรือการใช้โซเชียลเน็ตเวิร์กผ่านแอพพลิเคชั่นแชตต่างๆ ทำให้คนหูหนวกสามารถสื่อสารผ่านข้อความได้อย่างไม่จำกัดจำนวนอักษร และสามารถถ่ายภาพและส่งรูปภาพได้ด้วย นอกจากนี้ยังมีเทคโนโลยีการสื่อสารรูปแบบอื่น เช่น คิวอาร์โค้ด ซึ่งทำให้ส่งข้อมูลได้จำนวนมาก ดังนั้นการใช้บริการ 3จี ทำให้คนหูหนวกสามารถใช้บริการเพื่อเกิดประโยชน์กับการดำเนินชีวิตได้อีกมาก

นายประวิทย์ กล่าวอีกว่า ในระดับโลกมีความพยายามของคนกลุ่มหนึ่งผลักดันเพื่อให้เกิดเบสิกแพ็กเกจ หรือแพ็กเกจพื้นฐานของโทรศัพท์มือถือ เพื่อให้คนทั่วโลกสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นได้ฟรี เช่น โซเชียลเน็ตเวิร์ก อย่างไลน์ หรือ วอทส์แอพพ์ การเข้าถึงบริการข้อมูลข่าวสาร เช่น วิกิพีเดีย บริการพยากรณ์อากาศ และอื่นๆ อย่างไรก็ตาม อีกไม่นานบริการ 2จี จะหมดไป เช่นเดียวกันในประเทศเกาหลีไม่มีบริการ 2จี แล้ว สำหรับประเทศไทย แม้จะยังไม่มีแผนการที่จะยกเลิกการให้บริการ 2จี แต่เรามีบริการ 3จี แล้วและกำลังจะมีบริการสี 4จี จึงเป็นโอกาสดีที่กลุ่มคนหูหนวกจะได้เรียนรู้วิธีการเข้าถึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตมากขึ้น

นายณัฐนันท์ ทัดพิทักษ์กุล นักวิจัย ศูนย์เทคโนโลยีทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) กล่าวว่า ปัจจุบันมีเทคโนโลยีการสื่อสารคิวอาร์โค้ด (QR code) ซึ่งเป็นบาร์โค้ดประเภทสองมิติทำให้สามารถเก็บข้อมูลบนคิวอาร์โค้ดได้มากกกว่าบาร์โค้ด ทำให้เรานำข้อมูลจำนวนมากมาใส่ในคิวอาร์โค้ดได้ และเพียงใช้โทรศัพท์มือถือส่องไปที่สัญลักษณ์ดังกล่าวจะทำให้สามารถรับข้อมูลได้จำนวนมาก โดยสามารถใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์ เช่น ประวัติผู้ป่วย การให้ข้อมูลทางวิชาการ เช่น วิดีโอลิงก์ เว็บไซต์ ทั้งนี้ คิวอาร์โค้ด สำหรับคนหูหนวกจะมีไอคอนที่เป็นภาษามือแปะอยู่ตรงกลาง หากพบคิวอาร์โค้ดที่มีภาพภาษามือแสดงว่าเอกสารดังกล่าวมีการสื่อสารสำหรับคนหูหนวกคือ มีทั้งข้อมูลทางวิชาการและลิงก์วิดีโอภาษามืออยู่ด้วยกัน

ทั้งนี้ การประยุกต์ใช้คิวอาร์โค้ด เพื่อส่งเสริมให้คนหูหนวกใช้ทั้งภาษามือและภาษาเขียน เข้าถึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์และแก้ไขปัญหาการอ่านข้อความแล้วไม่เข้าใจ เช่น ฉลากยา คิวอาร์โค้ด ก็จะสามารถช่วยได้ ทำให้คนหูหนวกเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ได้ และการเพิ่มทักษะการเรียนรู้ตัวอักษร จะทำให้คนหูหนวกเข้าถึงบริการข้อมูลสาระข่าวสารต่างๆ ได้มากขึ้น ซึ่งคนหูหนวกสามารถโหลดแอพพลิเคชั่น คิวอาร์โค้ด ได้ฟรี โดยใช้ QR Droid สำหรับระบบแอนดรอยด์ และใช้ QR Reader สำหรับระบบไอโอเอส เป็นบริการฟรีสำหรับคนหูหนวก.

โดย: ไทยรัฐออนไลน์
http://m.thairath.co.th/content/tech/407412

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.