04 มีนาคม 2557 อธิบดีกรมการแพทย์.สุพรรณ ห่วงคนไทย เหตุพบ มีปัญหาสายตาผิดปกติ เหตุ เพ่งสมาร์ทโฟน-แท็บเล็ตนานๆ แนะควรไม่สว่างจ้าเกินไป และไม่มองนานเกินไป
ประเด็นหลัก
นพ.สุพรรณ กล่าวว่า ผู้ที่มีปัญหาสายตาผิดปกติ ควรมีแว่นที่เข้ากับค่าสายตาและเหมาะสมกับระยะในการมองหน้าจอ โดยอยู่ห่างจากศีรษะ และสายตาประมาณ 30 เซนติเมตร ควรหาตำแหน่งในห้องหรือสถานที่ที่เรากำลังใช้งานหน้าจอให้แสงสว่างตกกระทบเฉียงๆ กับหน้าจอ เพื่อลดแสงสะท้อนรบกวนเข้าสายตาโดยตรง อย่าใช้งานหน้าจอติดต่อกันนานเกิน 1 ชั่วโมง ควรหมั่นพักสายตาและกะพริบตา อย่างน้อย 10-15 ครั้งต่อนาที ควรสังเกตว่าการใช้งานหน้าจอนานเท่าใด ที่ทำให้รู้สึกตาล้า และมีตาพร่า กะพริบตาบ่อยๆ เพื่อลดอาการตาแห้ง และหลีกเลี่ยงการใช้สายตานานๆ ในที่ที่มีอากาศแห้ง หรือลมพัดเข้าสู่ดวงตา
“ ผู้ที่ทราบอยู่แล้วว่า ตาแห้งหรือผู้ที่ใส่คอนแทกต์เลนส์ควรใช้น้ำตาเทียมหยอดตา เมื่อต้องใช้งานหน้าจอสมาร์ทโฟน หรือเเท็บเล็ตเป็นเวลานานๆ จะช่วยลดปัญหาตาแห้งได้ ที่สำคัญควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟน หรือเเท็บเล็ต โดยการแบ่งเวลาทำกิจกรรมอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น พักผ่อน ออกกำลังกาย ทำงานบ้าน ไม่เพ่งอยู่กับหน้าจอนานๆ จะทำให้รักษาสุขภาพตาได้ ” อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าว
______________________________________
เลิกจิ้มมือถือ เลิกติดโซเชียลบนรถ ช่วยรักษาสุขภาพตาได้
กรมแพทย์เตือนเพ่งสมาร์ทโฟน-แท็บเล็ตนานๆ เสี่ยงปัญหาสายตาเพียบ แนะพักสายตาทุกครึ่งชั่วโมง เลี่ยงการดูหน้าจอบนยานพาหนะ แบ่งเวลาทำกิจกรรมอย่างอื่นร่วมด้วย ช่วยถนอมสายตาได้
เลิกจิ้มมือถือ เลิกติดโซเชียลบนรถ ช่วยรักษาสุขภาพตาได้
นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น โดยเฉพาะโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต เนื่องจากสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว ทุกสถานที่ ทุกเวลาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งพฤติกรรมการเพ่งหน้าจอเป็นระยะเวลานาน จะทำให้ใช้สายตามากขึ้นโดยไม่รู้ตัว ส่งผลให้เกิดปัญหาสายตาได้ เช่น ปวดตา ตามัว ตาแห้ง สายตาล้า สายตาสั้น หรือผลข้างเคียงอื่นๆ เช่น อาการปวดหัว ปวดหลัง และเมื่อยคอ สำหรับวิธีถนอมสายตาเมื่อใช้โทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตเป็นระยะเวลานาน คือ ควรเปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ เพื่อไม่ให้ก้มคออยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนานเกินไป พักสายตาเป็นระยะทุกครึ่งชั่วโมง ด้วยการทอดสายตาไปไกลๆ มองสิ่งของที่ห่างไปไม่น้อยกว่า 20 ฟุตหรือหลับตานิ่งๆ ประมาณห้านาที ไม่ฝืนอ่านตัวอักษรที่มีขนาดเล็กเกินไป ควรปรับขนาดตัวอักษรให้อ่านง่ายและสบายตา หลีกเลี่ยงการใช้งานหน้าจอในขณะอยู่บนยานพาหนะที่มีการสั่นสะเทือน ปรับความสว่างของหน้าจอให้สบายตา ไม่สว่างจ้าเกินไป
นพ.สุพรรณ กล่าวว่า ผู้ที่มีปัญหาสายตาผิดปกติ ควรมีแว่นที่เข้ากับค่าสายตาและเหมาะสมกับระยะในการมองหน้าจอ โดยอยู่ห่างจากศีรษะ และสายตาประมาณ 30 เซนติเมตร ควรหาตำแหน่งในห้องหรือสถานที่ที่เรากำลังใช้งานหน้าจอให้แสงสว่างตกกระทบเฉียงๆ กับหน้าจอ เพื่อลดแสงสะท้อนรบกวนเข้าสายตาโดยตรง อย่าใช้งานหน้าจอติดต่อกันนานเกิน 1 ชั่วโมง ควรหมั่นพักสายตาและกะพริบตา อย่างน้อย 10-15 ครั้งต่อนาที ควรสังเกตว่าการใช้งานหน้าจอนานเท่าใด ที่ทำให้รู้สึกตาล้า และมีตาพร่า กะพริบตาบ่อยๆ เพื่อลดอาการตาแห้ง และหลีกเลี่ยงการใช้สายตานานๆ ในที่ที่มีอากาศแห้ง หรือลมพัดเข้าสู่ดวงตา
“ ผู้ที่ทราบอยู่แล้วว่า ตาแห้งหรือผู้ที่ใส่คอนแทกต์เลนส์ควรใช้น้ำตาเทียมหยอดตา เมื่อต้องใช้งานหน้าจอสมาร์ทโฟน หรือเเท็บเล็ตเป็นเวลานานๆ จะช่วยลดปัญหาตาแห้งได้ ที่สำคัญควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟน หรือเเท็บเล็ต โดยการแบ่งเวลาทำกิจกรรมอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น พักผ่อน ออกกำลังกาย ทำงานบ้าน ไม่เพ่งอยู่กับหน้าจอนานๆ จะทำให้รักษาสุขภาพตาได้ ” อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าว
http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9570000024834&Keyword=%E2%BF%B9
ไม่มีความคิดเห็น: