10 มีนาคม 2557 DTAC ระบุ AIS DTAC TRUE ลงนาม MOU ใช้โครงข่ายร่วมกัน 3,000 ต้น3G 2100 // (เกาะติดประมูล4G) DTAC ชี้ประมูลคั้งเดียวต้นทุนคลื่นถูก-ประมูลแยกคลื่นต้นทุนแพง
ประเด็นหลัก
“ประเทศไทยต้องการใช้ความจุ (แบนด์วิธ) จำนวนมาก เพื่อนำมาให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3G และ 4Gซึ่งหากกสทช.เปิดประมูลคลื่น 2 ย่านดังกล่าวไปพร้อมกัน จะช่วยให้ผู้ให้บริการเอกชนจัดวางคลื่นความถี่สำหรับให้บริการ ได้ดีขึ้น อีกทั้งยังควบคุมค่าใช้จ่ายได้มากกว่าซึ่งก็มีข่าวลือออกมาว่า คลื่นความถี่ 1800 MHz ที่จะเปิดประมูลนี้จำนวน 25 MHz จะมีราคาเริ่มต้นที่สูงมาก”
นายจอนกล่าวอีกว่า เมื่อเดือนมกราคม ที่ผ่านมา ดีแทค บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด(มหาชน) หรือเอไอเอส และกลุ่มทรูคอร์ปอเรชั่นฯ ได้ลงนามในบันทึกความร่วมมือ (เอ็มโอยู) สำหรับการเช่าใช้โครงสร้างพื้นฐานระหว่างกัน (อินฟราสตรัคเจอร์ แชร์ริ่ง) ตามประกาศของ กสทช.โดยจะมีการเช่าใช้เสาสถานีฐานกันในระหว่างผู้ประกอบการ 3 ราย จำนวน3,000 ต้น ซึ่งจะเป็นสถานีฐานใหม่ในระบบ 3G บนคลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ (GHz) โดยการเช่าใช้โครงสร้างพื้นฐานร่วมกันเพื่อลดภาระรายจ่าย การสร้างเสาใหม่ในพื้นที่เดียวกัน
______________________________________
‘ดีแทค’แนะกสทช.ประมูล4G จี้รวมคลื่น1800-900MHz ชงเวทีประชาพิจารณ์เม.ย.
อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอแนะดังกล่าว ดีแทค จะนำเข้าหารือกับกสทช.และพร้อมไปแสดงความคิดเห็นในการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ (ประชาพิจารณ์) ที่จะเกิดขึ้นในเดือนเมษายนนี้ แต่หากท้ายที่สุดกสทช.สรุปจะแยกการประมูลคลื่น 1800 MHz และคลื่น 900 MHz เป็นคนละช่วงเวลา บริษัทก็พร้อมจะปฏิบัติตามและก็มีความสนใจที่จะเข้าร่วมการประมูล ซึ่งเทเลนอร์ กรุ๊ป ก็ยังคงให้การสนับสนุนเงินลงทุนเหมือนเดิม
“ประเทศไทยต้องการใช้ความจุ (แบนด์วิธ) จำนวนมาก เพื่อนำมาให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3G และ 4Gซึ่งหากกสทช.เปิดประมูลคลื่น 2 ย่านดังกล่าวไปพร้อมกัน จะช่วยให้ผู้ให้บริการเอกชนจัดวางคลื่นความถี่สำหรับให้บริการ ได้ดีขึ้น อีกทั้งยังควบคุมค่าใช้จ่ายได้มากกว่าซึ่งก็มีข่าวลือออกมาว่า คลื่นความถี่ 1800 MHz ที่จะเปิดประมูลนี้จำนวน 25 MHz จะมีราคาเริ่มต้นที่สูงมาก”
นายจอนกล่าวอีกว่า เมื่อเดือนมกราคม ที่ผ่านมา ดีแทค บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด(มหาชน) หรือเอไอเอส และกลุ่มทรูคอร์ปอเรชั่นฯ ได้ลงนามในบันทึกความร่วมมือ (เอ็มโอยู) สำหรับการเช่าใช้โครงสร้างพื้นฐานระหว่างกัน (อินฟราสตรัคเจอร์ แชร์ริ่ง) ตามประกาศของ กสทช.โดยจะมีการเช่าใช้เสาสถานีฐานกันในระหว่างผู้ประกอบการ 3 ราย จำนวน3,000 ต้น ซึ่งจะเป็นสถานีฐานใหม่ในระบบ 3G บนคลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ (GHz) โดยการเช่าใช้โครงสร้างพื้นฐานร่วมกันเพื่อลดภาระรายจ่าย การสร้างเสาใหม่ในพื้นที่เดียวกัน
ด้านพันเอกเศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธาน กสทช. ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าวว่า ที่ประชุมบอร์ดกทค.เมื่อเร็วๆ นี้ ที่ประชุมมีมติให้ดำเนินการจัดการประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHzซึ่งเป็นคลื่นที่บริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด (ดีพีซี) เคยให้บริการจำนวนรายละ 12.5 MHzและสิ้นสุดสัมปทานลง โดยน่าจะมีการประมูลในเดือนสิงหาคมนี้ และในเดือนกันยายน 2557 จะสามารถให้ใบอนุญาต(ไลเซ่นส์)ได้
ส่วนคลื่นความถี่ 900 MHz ของบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส จำนวน 17.5 MHz จะจัดให้มีการประมูลล่วงหน้าภายในเดือนพฤศจิกายนนี้ และเดือนธันวาคม จะรู้ผลผู้ชนะการประมูล มีอายุใบอนุญาต 15 ปี
“การประมูลพร้อมกันจะทำให้ผู้ประกอบการถือครองคลื่นความถี่มากเกินไป และจะคิดราคาเริ่มต้นการประมูลลำบาก เพราะเป็นการรวมคลื่นทำให้ราคาที่ออกมาไม่สะท้อนมูลค่าคลื่นที่แท้จริงเช่นเดียวกับคลื่นความถี่ 1800 MHz(คลื่นของดีแทค) ก็ไม่นำรวมในการประมูลครั้งนี้” พันเอกเศรษฐพงค์ กล่าว
http://www.naewna.com/business/94195
กรุงเทพธุรกิจ
ไม่มีความคิดเห็น: