Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

12 เมษายน 2557 TRUEGIF ระบุ ปัจจุบันผลตอบแทนต่อปีไม่น้อยกว่า 8.8 % เหตุ CAT และ TRUE เช่าเป็นลูกค้าหลัก // ชี้ถ้าได้ลูกค้าใหม่ DTAC,อินเตอร์ลิงค์ คอมมิวนิเคชั่น, ซิมโฟนี่ คอมมูนิเคชั่น ,ยูไนเต็ด อินฟอร์เมชั่น ไฮเวย์, จะได้ผลตอบแทนต่อปีไม่น้อยกว่า 10 %


ประเด็นหลัก


    ดังนั้นหากมีลูกค้าเซ็นสัญญาเพิ่มก็จะยิ่งส่งผลให้กองทุนสามารถสร้างผลตอบแทนได้มากขึ้นจาก 8.8 % อาจจะเป็น 10 % ต่อปีเป็นต้น นอกจากนี้ ก็ยังเชื่อมั่นว่า กลุ่มทรูยังมีความสนใจเช่าเสาโครงข่ายต่อเนื่องหลังครบอายุสัญญา 12 ปีแล้ว เนื่องจากตราบใดที่กลุ่มทรูยังอยู่ในอุตสาหกรรมนี้ก็ยังมีความต้องการเช่าเสาโครงข่าย และสายใยแก้วต่อแน่นอน เนื่องจากเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงก็ยังต้องใช้เสาโครงข่ายและสายใยแก้วอยู่

______________________________________


ลุ้น'ทรูโกรท'เพิ่มผลตอบแทน



 กองทุนทรูโกรท  ลุ้นผู้เช่าทรัพย์สินรายใหม่ หวังเพิ่มผลตอบแทน จากปัจจุบันอยู่ที่ 8.8 % ต่อปี คาดหากได้ผู้เช่าเพิ่มมีโอกาสผลตอบแทนอาจพุ่งเป็น 10 % ต่อปี   นักวิเคราะห์ประเมิน  ปีนี้เตรียมซื้อสินทรัพย์รอบ 2 อีกไม่น้อยกว่า 5.8 หมื่นล้านบาท
alt    นายเมธี วินิชบุตร  ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ กลุ่มกองทุนอสังหาริมทรัพย์และโครงสร้างพื้นฐาน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ทหารไทย จำกัด ในฐานะบริษัทจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม ทรูโกรท(TRUEIF)  เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ"ว่า  ปัจจุบันผลตอบแทนของกองทุนภายใต้ลูกค้าที่เช่าระยะเวลาเพียง 12 ปี คือ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน)(บมจ.) (CAT) และบมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น (TRUE) นั้นสร้างผลตอบแทนต่อปีไม่น้อยกว่า 8.8 % ซึ่งประเมินว่าการลงทุนประมาณ 10 ปีแรกจะคุ้มค่ากับเงินต้นที่ลงทุนเท่านั้น
    อย่างไรก็ตามปีนี้กองทุนทรูโกรทอยู่ระหว่างเจรจากับลูกค้าเพิ่มอีกหลังจากที่ได้เจรจากับบริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือดีแทค ที่ได้ทำข้อตกลงขอดูรายละเอียดทรัพย์สินของกองทุน ซึ่งประกอบด้วย เสาโทรคมนาคม จำนวน 6,000 ต้น และสายไฟเบอร์ออพติก  และยังมีผู้ประกอบการที่สนใจเพิ่มขึ้นมี 3 บริษัท ได้แก่ บมจ.ซิมโฟนี่ คอมมูนิเคชั่น บมจ.อินเตอร์ลิงค์ คอมมิวนิเคชั่น และบริษัท ยูไนเต็ด อินฟอร์เมชั่น ไฮเวย์ จำกัด ซึ่งทั้ง 3 บริษัทดังกล่าวอยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ที่จะเช่าทรัพย์สินจากกองทุนทรูโกรท
    ดังนั้นหากมีลูกค้าเซ็นสัญญาเพิ่มก็จะยิ่งส่งผลให้กองทุนสามารถสร้างผลตอบแทนได้มากขึ้นจาก 8.8 % อาจจะเป็น 10 % ต่อปีเป็นต้น นอกจากนี้ ก็ยังเชื่อมั่นว่า กลุ่มทรูยังมีความสนใจเช่าเสาโครงข่ายต่อเนื่องหลังครบอายุสัญญา 12 ปีแล้ว เนื่องจากตราบใดที่กลุ่มทรูยังอยู่ในอุตสาหกรรมนี้ก็ยังมีความต้องการเช่าเสาโครงข่าย และสายใยแก้วต่อแน่นอน เนื่องจากเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงก็ยังต้องใช้เสาโครงข่ายและสายใยแก้วอยู่
    ทั้งนี้กองทุนทรูโกรท มีรายได้หลักจากสัญญาจัดหาผลประโยชน์ระยะยาวที่ให้ความแน่นอนในการสร้างกระแสเงินสดให้แก่กองทุน โดยในเบื้องต้นรายได้หลักของกองทุนจะมาจากสิทธิ์ในกระแสเงินสดสุทธิจากค่าเช่าสินทรัพย์โทรคมนาคม จากบมจ.กสท เป็นเวลา 12 ปี และจากค่าเช่าของกลุ่มทรูตามสัญญาเช่าทรัพย์สินระยะยาว ทำให้กองทุนมีรายได้สม่ำเสมอจากรายได้ค่าเช่า  รายรับล่วงหน้า และสิทธิ์ในกระแสเงินสดสุทธิจากการซื้อรายได้เดือนละประมาณ 464 ล้านบาท ซึ่งรายรับดังกล่าวมาจากการที่มีกลุ่มทรูเช่าใช้ทรัพย์สินของกองทุนแต่เพียงผู้เดียวในขณะนี้
    นายฉัตรชัย จินดารัตน์ นักวิเคราะห์บมจ.หลักทรัพย์(บล.)เมย์แบงก์กิมเอ็ง (ประเทศไทย) กล่าวว่า ปีนี้ทางกลุ่มทรูยังมีแผนในการนำสินทรัพย์ขายเข้ากองทุนทรูโกรท เพิ่มอีกไม่เกิน 5.8 หมื่นล้านบาท ทั้งนี้สินทรัพย์ที่กองทุนสามารถลงทุนได้นั้นไม่เฉพาะสินทรัพย์ของกลุ่มทรูเท่านั้น แต่ยังสามารถลงทุนในสินทรัพย์ของรายอื่นๆได้ด้วย อาทิ บมจ.อินเตอร์ลิ้งค์ คอมมิวนิเคชั่น และบมจ.ซิมโฟนี่ คอมมูนิเคชั่น ที่มีสายใยแก้ว เป็นต้น ก็ยังสามารถนำมาขายเข้ากองทุนได้เช่นกัน ซึ่งมีโอกาสได้เห็นการนำสินทรัพย์มาขายเข้ากองทุนเพิ่มช่วงครึ่งหลังของปีนี้ ทั้งนี้ถือเป็นเป้าหมายของผู้บริหารบมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น เพื่อลดภาระหนี้ และคาดว่าจะส่งผลดีกับผู้ลงทุนเดิมในกองทุนทรูโกรท เนื่องจากแนวทางการรับซื้อสินทรัพย์จากกลุ่มทรู อาจจะใช้ช่องทางการกู้แทนการเพิ่มทุนทำให้ผู้ถือหน่วยมีโอกาสได้ผลตอบแทนที่สูงขึ้นและระยะเวลาการคืนทุนจะเร็วตามไปด้วย
    ส่วนแนวทางของกลุ่มทรูต่อการลดภาระหนี้สินลงจากปัจจุบันอยู่ที่ 8 หมื่นล้านบาทนั้นมีทั้ง การหาพันธมิตร และการเจรจาขายหน่วยลงทุนของกองทุนทรูโกรท ที่ปัจจุบันบมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น ถือหุ้นประมาณ 33 % ก็คาดว่าไม่ยากนักหากมีความชัดเจนที่กลุ่มกลุ่มทรูจะขายสินทรัพย์เข้ากองทุนเพิ่ม ซึ่งหากให้ประเมินเบื้องต้นมีโอกาสที่กลุ่มทรูจะลดสัดส่วนลง 10 % เศษ และจะถือหุ้นในกองทุนทรูโกรท ไม่น้อยกว่า 18 %
    บทวิเคราะห์บล.เอเซีย พลัสฯ ประเมินว่ากองทุนทรูโกรท ให้อัตราการจ่ายเงินปันผล(Dividend Yield) เฉลี่ยปีแรก 8-9 % และคาดว่าจะอยู่ในระดับดังกล่าวต่อเนื่องไปช่วง 12 ปีแรก ซึ่งดีกว่าค่าเฉลี่ยผลตอบแทนกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ทั่วไป ซึ่งให้ผลตอบแทน 7.3 % ต่อปี โดยเฉพาะกองทุนที่มีนโยบายลงทุนในกรรมสิทธิ์ของทรัพย์สินหรือฟรีโฮล ซึ่งให้ผลตอบแทนต่ำกว่า (ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยที่ 6.6 % ต่อปี ) ดังนั้นกองทุนทรูโกรท จึงเหมาะกับนักลงทุนที่ต้องการผลตอบแทนที่ดีกว่าเงินฝาก พันธบัตร กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ และมีเป้าหมายลงทุนไม่เกิน 10 ปี
    อย่างไรก็ตามข้อพึงระวังการลงทุนในกองทุนทรูโกรท อยู่หลังจากปีที่ 12 เป็นต้นไป คือความเสี่ยงเรื่องของรายได้และทรัพย์สินของกองทุนที่มีโอกาสล้าสมัย ทั้งนี้ฝ่ายวิจัยบล.เอเซีย พลัสฯ  ประเมินอัตราการจ่ายเงินปันผลกรณีเป็นไปได้ หากเกิดการด้อยค่าของทรัพย์สิน โดยกำหนดมูลค่าสินทรัพย์กองทุนทรูโกรท ถือกรรมสิทธิ์ ณ ปีที่ 12 ลดลง 50 %จากมูลค่าลงทุนเริ่มต้นที่ 5.8 หมื่นล้านบาท จะส่งผลต่ออัตราการจ่ายเงินปันผล หากถือหน่วยลงทุนกระทั่งสิ้นปี 12 จะลดลงมาเหลือ เฉลี่ยที่ 4.8 % ต่อปีเท่านั้น
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=226258:2014-04-09-07-20-59&catid=101:2009-02-08-11-30-52&Itemid=440#.U0f9IeaSwcs

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.