10 พฤษภาคม 2557 DTAC รับรู้ปริมาณลูกค้าซึ่งในงานอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือ (ดาต้า) 9.1 ล้านราย (วัดจาผู้ที่มียอดใช้งานดาต้ามากกว่า 50 kb ต่อเดือน) โดยเป็นลูกค้าที่ใช้งาน 3G 8 ล้านราย
ประเด็นหลัก
ในขณะที่ปริมาณลูกค้าซึ่งในงานอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือ (ดาต้า) 9.1 ล้านราย (วัดจาผู้ที่มียอดใช้งานดาต้ามากกว่า 50 kb ต่อเดือน) โดยเป็นลูกค้าที่ใช้งาน 3G 8 ล้านราย และตั้งเป้าว่าจนถึงสิ้นปีจะมีลูกค้าใช้งาน 3G 15 ล้านราย
______________________________________
'ดีแทค’ หันใช้ 4G ออฟโหลด 3G หนาแน่นในเมือง
ดีแทค หวังใช้ 4G ลดความหนาแน่น 3G ในเมือง ตั้งเป้าสิ้นปีลูกค้าใช้งาน 1 ล้านราย พร้อมทำแคมเปญครบรอบ 1 ปี ดีแทค ไตรเน็ต แจกทองแก่ลูกค้าย้ายค่าย และลูกค้าเดิม 50 วัน 55 ล้านบาท ลั่นพร้อมประมูลคลื่น 900 MHz และ 1800 MHz เชื่อเป็นราคาและวิธีการที่เหมาะสมแล้ว
นายปกรณ์ พรรณเชษฐ์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายการตลาด บริษัท โทเทิ่ล แอ็คแซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค กล่าวว่า ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมาจะเห็นว่าทางผู้ให้บริการเครือข่ายมีการลงทุนเพิ่มสถานีฐานเพื่อให้บริการ 3G บนคลื่น 2.1 GHz อย่างต่อเนื่อง ซึ่งล่าสุดทางดีแทคก็ได้มีการแบ่งคลื่นดังกล่าวมาให้บริการ 4G LTE ควบคู่ไปด้วย
“เหตุผลหลักที่ดีแทคเลือกพัฒนา 4G LTE บนคลื่น 2.1 GHz ในช่วงคลื่น 5 MHz เพราะมองว่าด้วยแบนด์วิธที่เท่ากัน ถ้าให้บริการบน 4G จะใช้งานแบนด์วิธได้คุ้มค่ากว่า และรองรับปริมาณผู้ใช้งานได้มากขึ้นกว่า 3G ในช่วงคลื่นที่เท่ากัน"
ประกอบกับถ้าลูกค้าที่ใช้งาน 3G จำนวนหนึ่งย้ายมาใช้งาน 4G ก็จะทำให้ความหนาแน่นของการใช้งาน 3G ในเมืองลดลง ประสบการณ์ใช้งาน 3G ของผู้บริโภคก็จะดีขึ้น โดยตั้งเป้าว่าถึงสิ้นปีนี้จะมีผู้ใช้งาน 4G 1 ล้านราย
“ปัจจุบันในเครือข่ายดีแทคมีลูกค้าที่ใช้สมาร์ทโฟนรองรับ 4G อยุ่ประมาณ 1 ล้านราย เพียงแต่อยู่ในกรุงเทพประมาณ 5 แสนราย ซึ่งลูกค้ากลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะใช้สมาร์ทโฟนรุ่นไฮเอนด์เป็นหลัก ดีแทคจึงยังไม่มีแผนทำเฮาส์แบรนด์ที่รองรับ 4G ออกมาจำหน่ายในระยะเวลาอันสั้น"
แต่ทั้งนี้ ในส่วนของอินเตอร์แบรนด์ ก็จะมีการทำโปรโมชันขายเครื่อง 4G ให้มากขึ้น ในระดับราคาต่ำกว่า 1 หมื่นบาท ทั้งจากแบรนด์หลักอย่างโซนี เอชทีซี รวมไปถึง iPhone 5C และโนเกีย Lumia อีกหลายรุ่น
ทั้งนี้ ข้อมูลล่าสุดของ ดีแทค ไตรเน็ต มีลูกค้าอยู่ในระบบราว 15.9 ล้านราย จากจำนวนฐานลูกค้าทั้งหมด 28.2 ล้านราย และคาดว่าจนถึงสิ้นปีจะมีลูกค้าทั้งหมด 30 ล้านราย แบ่งเป็นลูกค้าในระบบดีแทค ไตรเน็ต 22 ล้านราย และบนดีแทคเดิมอีก 8 ล้านราย
ในขณะที่ปริมาณลูกค้าซึ่งในงานอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือ (ดาต้า) 9.1 ล้านราย (วัดจาผู้ที่มียอดใช้งานดาต้ามากกว่า 50 kb ต่อเดือน) โดยเป็นลูกค้าที่ใช้งาน 3G 8 ล้านราย และตั้งเป้าว่าจนถึงสิ้นปีจะมีลูกค้าใช้งาน 3G 15 ล้านราย
ขณะที่ในส่วนของปริมาณสมาร์ทโฟนในระบบ สิ้นไตรมาส 1 อยู่ที่ 9.6 ล้านเครื่อง โดยเป็นการนับเฉพาะระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ไอโอเอส และวินโดวส์โฟนเท่านั้น ซึ่งคาดว่าจนถึงสิ้นปี จะเพิ่มขึ้นมาเป็น 13 - 15 ล้านเครื่อง ภายในเครือข่ายของดีแทค
ส่วนในมุมของสถานีฐานสิ้นเดือนมิถุนายน มีสถานีฐานบนเครือข่ายดีแทคไตรเน็ต คลื่น 2.1 GHz 10,800 สถานี ครอบคลุม 85% ของจำนวนประชากร ขณะที่บนคลื่น 850 MHz 5,000 สถานี และสถานีฐาน 2G อีกราว 10,000 สถานี ส่งผลให้ปัจจุบันดีแทคมีสถานีฐานทั้งหมด 25,000 สถานี ไม่นับรวมกับสถานีฐาน 4G อีกราว 300 สถานีในกรุงเทพ
“ในแง่ของการขยายสถานีฐานเพิ่มขึ้น ดีแทค จะมองถึงความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก เพราะสถานีฐานในปัจจุบันก็ถือว่าครอบคลุมแล้ว จึงเป็นการขยายเพื่อเสริมการใช้งานเดิมมากกว่า"
เบื้องต้นแผนการทำตลาด 4G ของดีแทค จะเน้นทำโฆษณาผ่านช่องทางออนไลน์เป็นหลัก พร้อมกับทำโซเชียลแคมเปญผ่านการเชิญชวนให้ลูกค้าดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน i’m4 เพื่อนำมาสแกน AR Code ตามสถานที่ต่างๆ แล้วแชร์ขึ้นโซเชียลเน็ตเวิร์ก สร้างประสบการณ์แปลกใหม่ให้แก่ลูกค้า
พร้อมกับการฉลองครบรอบ 1 ปี ที่เปิดให้บริการดีแทค ไตรเน็ต มอบสิทธิพิเศษให้แก่ลูกค้าที่อัปเกรด หรือย้ายค่ายมาใช้งาน ดีแทค ไตรเน็ต ลุ้นรับทอง 50 วัน 55 ล้านบาท ตั้งแต่ 12 พฤษภาคมเป็นต้นไปจนครบ 50 วัน ซึ่งในส่วนนี้จะเปิดให้ลูกค้าดีแทค ไตรเน็ตเดิมร่วมลุ้นทองในช่วงท้ายแคมเปญมูลค่า 5 ล้านบาทด้วย
นายจอน เอ็ดดี้ อับดุลลาห์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ดีแทค กล่าวเสริมในแง่ของการประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz และ 900 MHz ที่ทางคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จะจัดขึ้นในช่วงปลายปีนี้ว่า ราคาตั้งต้นของการประมูลคลื่นดังกล่าวถือว่าเหมาะสมแล้ว
“ย้อนกลับไปเมื่อตอนประมูล 2.1 GHz จากการตั้งราคาที่ไม่สูงมากนัก ทำให้ผู้ให้บริการเครือข่ายอย่างเอไอเอส และดีแทค สามารถเปิดให้บริการได้ครอบคลุม 85% ของประชากรได้ภายใน 2 ปี ทั้งๆที่ทางกสทช. กำหนดระยะเวลาไว้ราว 4 ปี ก็ถือเป็นความสำเร็จอย่างหนึ่ง"
โดยเบื้องต้นทางดีแทคจะให้ความสำคัญกับคลื่น 900 MHz มากกว่า จากทางด้านเทคนิคของคลื่นที่ให้พื้นที่ครอบคลุมกว่า ขณะเดียวกันมองว่าการที่กสทช. เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมประมูลได้สิทธิในการถือครองคลื่นทั้งหมด 17.5 MHz (ถ้าประมูลได้) ก็จะทำให้เกิดการแข่งขันที่สูงขึ้น เหมาะสมกับคุณค่าของช่วงคลื่น
นอกจากนี้ภายในดีแทค ก็คิดกันว่าในกรณีที่ประมูลคลื่น 1800 MHz ในรอบนี้ไม่ได้ จะสามารถใช้คลื่นเดิมที่มีอยู่ให้เพียงพอกับปริมาณการใช้งานของผู้บริโภค เพื่อรอการประมูลคลื่น 1800 MHz อีกช่วงหนึ่งที่จะนำมาใช้งานได้ในปี 2561 ทันหรือไม่ด้วย ซึ่งในส่วนนี้ก็อยู่ในช่วงการวางกลยุทธ์ภายในกันต่อไป
http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9570000051728
ไม่มีความคิดเห็น: