Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

16 พฤษภาคม 2557 (เกาะติดประมูล4G) TRUE.ศุภชัย ระบุ เชื่อว่าไม่จำเป็นต้องรอให้มีพาร์ตเนอร์ก่อนจึงจะสามารถเข้าร่วมประมูลได้ ยอมรับมีการคุยพาร์ตเนอร์จริง!!


ประเด็นหลัก


   ส่วนประเด็นเรื่องราคาประมูลตั้งต้นความถี่ 1800 MHz และ 900 MHz ที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ประกาศออกมานั้น กลุ่มทรูมองว่าเป็นราคาที่สูงกว่าประเทศในแถบเอเชีย แต่อย่างไรก็ตามกลุ่มทรูก็จะเข้าร่วมการประมูลทั้ง 2 ช่วงความถี่ดังกล่าวแน่นอน โดยกลุ่มทรูต้องการทั้ง 2 ความถี่ดังกล่าวเนื่องจากต้องการนำทุกความถี่ที่ได้มารองรับความต้องการของ ลูกค้าที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
      
       “ตอนนี้เรากำลังดูสถานะทางการเงินก่อนว่ามีมากน้อยเพียงใด แต่เชื่อว่าไม่จำเป็นต้องรอให้มีพาร์ตเนอร์ก่อนจึงจะสามารถเข้าร่วมประมูล ได้ แต่ในขณะเดียวกันก็มีการพูดคุยกับพาร์ตเนอร์บางรายที่สนใจเช่นเดียวกัน”

______________________________________



กลุ่มทรูยอมรับการเติบโตชะลอตัว


       “ศุภชัย” เผยผลการดำเนินงานไตรมาส 1 ปี 2557 เติบโตแต่มีการชะลอตัวบ้าง เหตุจากปัจจัยการเมืองส่งผลเศรษฐกิจเงียบเหงา พร้อมมองราคาประมูล 1800 MHz-900 MHz สูงไปแต่ก็พร้อมจะเข้าร่วมประมูลทั้ง 2 คลื่นความถี่ ล่าสุดสนับสนุนกลุ่มผู้พิการ 3 แนวทาง
      
       นายศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า ผลประกอบการของกลุ่มทรูไตรมาส 1 ปี 2557 ยังคงเติบโตต่อเนื่องแม้จะมีผลกระทบทางเศรษฐกิจจากปัญหาทางการเมืองก็ตาม ซึ่งส่งผลทำให้บรรยากาศการจับจ่ายเงียบเหงาไปบ้าง โดยธุรกิจที่กระทบมากที่สุดคือธุรกิจกลุ่มทรูวิชั่น ซึ่งมีการชะลอตัวในแง่การเพิ่มขึ้นของสมาชิกใหม่ แต่จำนวนสมาชิกไม่ได้ลดน้อยลงแต่อย่างใด ส่วนกลุ่มธุรกิจโทรคมนาคมกระทบบ้างเล็กน้อยแต่ไม่มาก มีเพียงในส่วนของยอดขายโทรศัพท์มือถือที่ขายได้ยากขึ้นเท่านั้น
      
       ทั้งนี้ ในแง่ของการลงทุนของบริษัททั้งระยะกลาง และระยะยาว กลุ่มทรูยังคงมีแผนการลงทุนตามปกติ อาทิ การลงทุนขยายโครงข่าย แต่จะพิจารณาการใช้เงินมากขึ้นไม่ฟุ่มเฟือย และตัดการลงทุนที่ไม่จำเป็นออก
      
       ส่วนประเด็นเรื่องราคาประมูลตั้งต้นความถี่ 1800 MHz และ 900 MHz ที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ประกาศออกมานั้น กลุ่มทรูมองว่าเป็นราคาที่สูงกว่าประเทศในแถบเอเชีย แต่อย่างไรก็ตามกลุ่มทรูก็จะเข้าร่วมการประมูลทั้ง 2 ช่วงความถี่ดังกล่าวแน่นอน โดยกลุ่มทรูต้องการทั้ง 2 ความถี่ดังกล่าวเนื่องจากต้องการนำทุกความถี่ที่ได้มารองรับความต้องการของลูกค้าที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
      
       “ตอนนี้เรากำลังดูสถานะทางการเงินก่อนว่ามีมากน้อยเพียงใด แต่เชื่อว่าไม่จำเป็นต้องรอให้มีพาร์ตเนอร์ก่อนจึงจะสามารถเข้าร่วมประมูลได้ แต่ในขณะเดียวกันก็มีการพูดคุยกับพาร์ตเนอร์บางรายที่สนใจเช่นเดียวกัน”
      
       ล่าสุดกลุ่มทรูร่วมส่งเสริมศักยภาพ และพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการให้ดีขึ้นด้วยการสนับสนุนผู้พิการใน 3 แนวทาง ประกอบด้วย 1. ด้านการสร้างอาชีพและรายได้เพื่อผู้พิการ ทรูได้เปิดโอกาสให้ผู้พิการมีอาชีพและมีรายได้เป็นของตนเอง โดยทรูได้รับผู้พิการเข้ามาร่วมทำงานตั้งแต่ปี 2537 และล่าสุดร่วมกับมูลนิธิออทิสติกไทยจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมเพื่อการทำงาน (True Autistic Thai Center) เพื่อพัฒนาศักยภาพ และจัดอบรมวิชาชีพให้บุคคลออทิสติกให้สามารถสร้างรายได้แก่ตนเองและครอบครัว
      
       รวมถึงมีการพัฒนาทักษะการดำรงชีวิต ดำเนินการฝึกอบรมการใช้ Autistic Appilication ที่กลุ่มทรูพัฒนาขึ้น โดยร่วมกับศูนย์ส่งเสริมทักษะชีวิตบุคคลออทิสติกใน 20 จังหวัดทั่วประเทศ จัดฝึกอบรมแก่เด็ก บุคคลออทิสติก และครอบครัว จำนวนรวม 1,000 คน
      
       2. ในด้านนวัตกรรมเพื่อผู้พิการ ทีมนวัตกรรมกลุ่มทรูได้นำศักยภาพและนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีสื่อสารต่างๆ ร่วมสร้างสรรค์ Autistic Application เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้และความสามารถในการสื่อสารของเด็กออทิสติก ส่งเสริมให้มีพัฒนาการที่ดีขึ้น สามารถดำรงชีวิตร่วมกับผู้อื่นได้ดียิ่งขึ้น และล่าสุด มหาวิทยาลัยมหิดลได้ร่วมกับกลุ่มทรูพัฒนาและจดสิทธิบัตรนวัตกรรม MEM - My Eyes Memory (Braille Note Taker) ซึ่งเป็นอุปกรณ์เพื่อผู้พิการทางการมองเห็นสามารถบันทึกข้อมูล โดยการกดปุ่มตามอักษรเบรลล์ที่ออกแบบในลักษณะและตำแหน่งที่สะดวกต่อการใช้งาน สามารถย้อนกลับไปฟังความถูกต้องของข้อมูลที่จดบันทึกได้ และส่งข้อมูลที่บันทึกไปยังอุปกรณ์ไอที เพื่อส่งข้อความหรือสร้างเอกสารติดต่อกับคนปกติได้
      
       และ 3. ในด้านบริการเพื่อผู้พิการ กลุ่มทรูได้เปิด Deaf Call Center ศูนย์บริการลูกค้าสำหรับผู้บกพร่องทางการได้ยินโดยเฉพาะ ด้วยระบบสนทนาผ่านวิดีโอ (Video chat) รวมทั้งนำศักยภาพความเป็นสื่อของทรูวิชั่นส์เพิ่มความรู้ให้แก่ผู้ด้อยโอกาส โดยออกอากาศรายการ Deaf Channel ที่เป็นความร่วมมือของ กสทช. ทรูวิชั่นส์ และมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ทางช่อง TNN2 ซึ่งเป็นรายการโทรทัศน์ที่นำเสนอด้วยภาษามือเต็มรูปแบบรายการแรกในประเทศไทย เป็นต้น
      


http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9570000053990

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.