16 พฤษภาคม 2557 เลขาธิการ กสทช.ฐากร แนะใช้มือถือปลอดภัยทุกควรห่างไกลแหล่งกระแสไฟฟ้าแรงสูง (ขณะที่ฝนตกเมื่อให้รีบปิดโทรศัพท์ของท่าน และเข้าหลบในที่ปลอดภัย)
ประเด็นหลัก
“มีหลักการง่ายๆให้ท่านนำไปเพื่อการปฏิบัติตัวสำหรับผู้ใช้ งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ใน ขณะที่ฝนตกเมื่อให้รีบปิดโทรศัพท์ของท่าน และเข้าหลบในที่ปลอดภัย เมื่อมีแสงฟ้าแลบ และไม่มีฟ้าผ่า ให้นับเลขในใจ 1-30 จากนั้นถึงแม้ว่าจะยังไม่มีฟ้าผ่าก็จะต้องอยู่ในอาคารประมาณ 30 นาที จึงจะสามารถออกจากตัวอาคารได้อย่างปลอดภัยต่อความเสี่ยงจากการถูกฟ้าผ่า”
ใน ส่วนการรับชมโทรทัศน์ เองเมื่อเปิดฟ้าร้อง ฟ้าแลบก็ควรปิดโทรทัศน์ เพื่อความปลอดภัยเช่นกัน ยิ่งโดยเฉพาะหากรับชมใกล้กระจกที่แสงเข้าถึงก็จะทำให้เกิดฟ้าผ่ามายัง โทรทัศน์ดังกล่าวได้ ซึ่งหากติดอุปกรณ์ที่เรียกว่า Search Projector ก็จะช่วยลดความเสี่ยงของสายไฟฟ้ารั่ว จากการถูกฟ้าผ่าเข้ามายังอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในบ้านได้
______________________________________
กสทช. แนะใช้มือถือปลอดภัยทุกควรห่างไกลแหล่งกระแสไฟฟ้าแรงสูง
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า กสทช.ให้ความสำคัญกับการคุ้มครองผู้บริโภคผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (มือถือ) โทรศัพท์พื้นฐาน และการรับชมโทรทัศน์ให้เป็นไปอย่างมีคุณภาพและปลอดภัย ดังนั้น กสทช. จึงขอแนะนำการใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวอย่างถูกต้องนั้น สำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ การใช้งานทั้งในภาวะอากาศปกติเอง ผู้ใช้งานไม่ควรใช้งานใกล้กับเสาไฟฟ้าแรงสูง ปั๊มน้ำมัน ปั๊มแก๊ส เนื่องจากโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นการใช้งานบนคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า จะเหนี่ยวนำให้เกิดกระแสไฟฟ้าเข้ามาในโทรศัพท์มือถือได้ ส่วนในปั๊มน้ำมัน หรือใช้งานขณะอยู่ในปั๊มแก๊ส ผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ควรปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด เพื่อความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินของผู้ใช้โทรศัพท์เองและผู้อื่น
ขณะที่การใช้งานอุปกรณ์ดังกล่าวเมื่อเกิดฝนตกฟ้าคะนอง ก็ยิ่งควรจะระมัดระวังเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีโอกาสที่จะเหนี่ยวนำเข้ากระแสไฟฟ้ามายังเสาอากาศขณะมีการใช้งานได้ เช่นเดียวกันกับโลหะต่างๆ เช่นทองคำ เงิน นาก ที่จะกลายเป็นตัวเหนี่ยวนำกระแสไฟฟ้าก่อให้เกิดฟ้าผ่า ซึ่งผู้ที่สวมใส่โลหะดังกล่าวจึงควรหลีกเลี่ยงที่จะเดินอยู่นอกอาคารบ้านเรือนท่ามกลางฝนตกฟ้าคะนอง ทั้งนี้ในระหว่างฝนตก ท่านที่กำลังใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่หรือท่านที่ไม่ใช้งานอยู่ก็ตาม หากอยู่ภายนอกอาคารควรรีบหาจุดหลบภายในอาคารที่ปลอดภัย เช่นห่างไกลจากบริเวณกระจกที่มีแสงทะลุเข้ามาถึงตัวเราได้ เพื่อป้องกันฟ้าแลบ และผ่ามาถึงตัวเรานั่นเอง
อย่างไรก็ตามเมื่อหลบฝนในที่ปลอดภัยแล้ว และเมื่อเห็นแสงฟ้าแลบ โดยที่ยังไม่มีฟ้าผ่าลงมา ไม่ควรออกมาจากอาคาร หรือสถานที่ปลอดภัย จนกว่าจะผ่านพ้นช่วงที่มีแสงฟ้าแลบไปแล้ว 30 นาทีขึ้นไป
“มีหลักการง่ายๆให้ท่านนำไปเพื่อการปฏิบัติตัวสำหรับผู้ใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ใน ขณะที่ฝนตกเมื่อให้รีบปิดโทรศัพท์ของท่าน และเข้าหลบในที่ปลอดภัย เมื่อมีแสงฟ้าแลบ และไม่มีฟ้าผ่า ให้นับเลขในใจ 1-30 จากนั้นถึงแม้ว่าจะยังไม่มีฟ้าผ่าก็จะต้องอยู่ในอาคารประมาณ 30 นาที จึงจะสามารถออกจากตัวอาคารได้อย่างปลอดภัยต่อความเสี่ยงจากการถูกฟ้าผ่า”
ในส่วนการรับชมโทรทัศน์ เองเมื่อเปิดฟ้าร้อง ฟ้าแลบก็ควรปิดโทรทัศน์ เพื่อความปลอดภัยเช่นกัน ยิ่งโดยเฉพาะหากรับชมใกล้กระจกที่แสงเข้าถึงก็จะทำให้เกิดฟ้าผ่ามายังโทรทัศน์ดังกล่าวได้ ซึ่งหากติดอุปกรณ์ที่เรียกว่า Search Projector ก็จะช่วยลดความเสี่ยงของสายไฟฟ้ารั่ว จากการถูกฟ้าผ่าเข้ามายังอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในบ้านได้
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1400218655&grpid=&catid=05&subcatid=0504
ไม่มีความคิดเห็น: