19 พฤษภาคม 2557 ธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุ การทำธุรกรรมชำระเงินผ่านอินเทอร์เน็ตมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยตลอดทั้งปี 2556 กลุ่มลูกค้าบุคคลมีปริมาณ 192 ล้านรายการ คิดเป็นมูลค่าสูงถึง 4.30 แสนล้านบาท
ประเด็นหลัก
ทีมวิเคราะห์ระบบการชำระเงิน ฝ่ายนโยบายระบบชำระเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยรายงาน Payment Systems Insight ล่าสุดไตรมาส 4 ของปี 2556 ซึ่งวิเคราะห์เจาะลึกถึงประเด็นการชำระเงินค่าสินค้าและบริการผ่านอินเทอร์เน็ตของไทย พบว่า ปัจจุบันพฤติกรรมของผู้บริโภคน่าสนใจมากขึ้นในการชำระเงินและจ่ายบิลออนไลน์ โดยคนไทยนิยมชำระค่าสินค้าและบริการผ่านอินเทอร์เน็ตโดยการโอนเงินจากบัญชีธนาคารโดยตรงมากกว่าการตัดเงินจากบัญชีบัตรอิเล็กทรอนิกส์ แต่ผู้ใช้บริการทั่วไปยังคุ้นเคยการติดต่อสอบถามกับบุคคลโดยตรงอยู่
ทั้งนี้ การทำธุรกรรมชำระเงินผ่านอินเทอร์เน็ตมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยตลอดทั้งปี 2556 การชำระเงินผ่านอินเทอร์เน็ตของกลุ่มลูกค้าบุคคลมีปริมาณ 192 ล้านรายการ คิดเป็นมูลค่าสูงถึง 4.30 แสนล้านบาท หรือขยายตัว 40.8% และ 33.3% ตามลำดับ เมื่อเทียบกับปี 2555 โดยช่องทางการชำระเงินทางอินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่เป็นการโอนเงิน ส่วนการชำระค่าสินค้าและบริการโดยตรงมีสัดส่วนเพียง 14%
______________________________________
คนไทยฮิตโอนเงินผ่านเน็ต
ธปท.เผยคนไทยนิยมโอนเงินจากบัญชีธนาคารเพื่อชำระค่าสินค้าบริการผ่านอินเทอร์เน็ต
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เผยพฤติกรรมคนไทยนิยมโอนเงินจากบัญชีธนาคารมากกว่าการตัดเงินจากบัญชีบัตรอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อชำระค่าสินค้าและบริการผ่านระบบอินเทอร์เน็ตมากขึ้น พบแง่มูลค่ามากกว่าการตัดเงินจากบัญชีอิเล็กทรอนิกส์สูงถึง 23 เท่า เหตุผู้บริโภคกังวลระบบและความปลอดภัยของบัตรอิเล็กทรอนิกส์และผลจากค่าธรรมเนียมถูกกว่า เผยแนวโน้มมีโอกาสเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตามการชำระค่าสินค้าและบริการแบบออฟไลน์
ทีมวิเคราะห์ระบบการชำระเงิน ฝ่ายนโยบายระบบชำระเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยรายงาน Payment Systems Insight ล่าสุดไตรมาส 4 ของปี 2556 ซึ่งวิเคราะห์เจาะลึกถึงประเด็นการชำระเงินค่าสินค้าและบริการผ่านอินเทอร์เน็ตของไทย พบว่า ปัจจุบันพฤติกรรมของผู้บริโภคน่าสนใจมากขึ้นในการชำระเงินและจ่ายบิลออนไลน์ โดยคนไทยนิยมชำระค่าสินค้าและบริการผ่านอินเทอร์เน็ตโดยการโอนเงินจากบัญชีธนาคารโดยตรงมากกว่าการตัดเงินจากบัญชีบัตรอิเล็กทรอนิกส์ แต่ผู้ใช้บริการทั่วไปยังคุ้นเคยการติดต่อสอบถามกับบุคคลโดยตรงอยู่
ทั้งนี้ ผู้บริโภคส่วนใหญ่มักจะใช้วิธีการตัดเงินจากบัญชีธนาคารโดยตรง ซึ่งมีมูลค่ารวม 5.89 แสนล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 95.6% ของมูลค่าการชำระเงินเพื่อซื้อสินค้าและบริการทั้งหมด และมีมูลค่ามากกว่าการตัดเงินจากบัญชีบัตรอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดรวมกันถึงประมาณ 23 เท่า (การใช้บัตรเครดิตและบัตรเดบิตผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ตมีมูลค่า 2.65 หมื่นล้านบาท และ 188 ล้านบาท ตามลำดับ) โดยมูลค่าการใช้จ่ายเฉลี่ยต่อรายการยังสูงกว่า โดยมีมูลค่าเฉลี่ยสูงถึง 14,227 บาทต่อรายการ ขณะที่การตัดเงินผ่านบัญชีบัตรเครดิตและบัตรเดบิตอยู่ที่ระดับ 6,174 บาท และ 1,669 บาทต่อรายการ ตามลำดับ
เหตุผลสำคัญเกิดจากพฤติกรรมของผู้บริโภคเองที่มีความกังวลในเรื่องของระบบและมาตรการรักษาความปลอดภัย โดยเฉพาะการใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ที่ต้องมีการกรอกชื่อ นามสกุล หมายเลขบัตร และข้อมูลทางการเงินอื่นๆ นอกจากนี้ยังเป็นผลจากลักษณะการรับชำระค่าสินค้าและบริการของผู้ประกอบการที่นิยมรับชำระเงินด้วยวิธีการตัดเงินจากบัญชีธนาคาร ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะการคิดค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมผ่าน e-Banking ถูกกว่าเมื่อเทียบกับการรับชำระเงินผ่านบัตรเครดิตและบัตรเดบิต
ทั้งนี้ การทำธุรกรรมชำระเงินผ่านอินเทอร์เน็ตมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยตลอดทั้งปี 2556 การชำระเงินผ่านอินเทอร์เน็ตของกลุ่มลูกค้าบุคคลมีปริมาณ 192 ล้านรายการ คิดเป็นมูลค่าสูงถึง 4.30 แสนล้านบาท หรือขยายตัว 40.8% และ 33.3% ตามลำดับ เมื่อเทียบกับปี 2555 โดยช่องทางการชำระเงินทางอินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่เป็นการโอนเงิน ส่วนการชำระค่าสินค้าและบริการโดยตรงมีสัดส่วนเพียง 14%
http://www.posttoday.com/%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A5%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B8%9F%E0%B9%8C/295508/%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%AE%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B9%87%E0%B8%95
ไม่มีความคิดเห็น: