Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

19 พฤษภาคม 2557 (เกาะติดประมูล4G) กสทช.ประวิทย์ ระบุกรณี900 ชี้ไม่เห็นด้วยประมูล 2x17.5 MHz รวมถึงการแบ่งชุดคลื่นไม่เป็นไปตามมาตรฐานทางเทคนิค // ควรกำหนดราคาเต็ม 100% ของราคาประเมินราคามูลค่าคลื่น 900



ประเด็นหลัก


กรรมการ กสทช. กล่าวอีกว่า จากข้อมูลดิบในภาคผนวกพบว่า หากเปรียบเทียบมูลค่าคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz และย่าน 900 MHz ต่อย่าน 2100 MHz พบว่ามีมูลค่าคิดเป็นอัตราส่วน 7:5 และ 2:1 ตามลำดับ นั่นหมายถึงมูลค่าคลื่นย่าน 1800 MHz ควรสูงกว่าย่าน 2100 MHz ประมาณ 40% และมูลค่าคลื่นย่าน 900 MHz ควรสูงกว่าย่าน 2100 MHz ประมาณ 1 เท่าตัว ซึ่งตามสูตรนี้ หากคำนวณจากมูลค่าจริงที่ได้จากการประมูลคลื่น 2100 MHz ของไทยแล้ว ราคาประเมินมูลค่าคลื่นย่าน 900 MHz ควรอยู่ที่ 14 บาท/เมกะเฮิรตซ์/ประชากร แต่ในรายงาน ITU กลับประเมินไว้เพียง 12 บาท/เมกะเฮิรตซ์/ประชากร ซึ่งหากคิดมูลค่าส่วนต่างทั้งหมด พบว่ามีมูลค่าต่ำกว่าที่ควรจะเป็นถึง 4,700 ล้านบาท ส่วนอีกประเด็นสำคัญที่เสียงข้างน้อยไม่เห็นด้วย เป็นเรื่องของการกำหนดขนาดของคลื่นความถี่และใบอนุญาต ที่ กสทช. กำหนดนำคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz ที่หมดสัมปทานเมื่อปีที่แล้ว จำนวน 17.5 MHz มาแบ่งเป็น 2 ชุด คือ 10 MHz และ 7.5 MHz ในการประมูล แต่กำหนดให้ผู้ประมูลแต่ละรายสามารถประมูลคลื่นได้ทั้ง 2 ชุด ซึ่งแตกต่างจากกรณีการประมูลคลื่นย่าน 1800 MHz ที่เพิ่งอนุมัติไป ที่มีการกำหนดให้แต่ละรายประมูลคลื่นได้เพียงชุดเดียว

"จำนวนคลื่นที่นำออกประมูล 2x17.5 MHz รวมถึงการแบ่งชุดคลื่นไม่เป็นไปตามมาตรฐานทางเทคนิค และไม่ได้คำนึงถึงเทคโนโลยีที่มีการใช้งานจริงในวงการอุตสาหกรรมปัจจุบัน ที่แบ่งบล็อกละ 5 MHz ซึ่งสำนักงานก็เสนอว่าควรจัดการประมูลคลื่นจำนวน 2X20 MHz โดยทำได้ด้วยการลดขนาดการ์ดแบนด์ลง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการจัดสรรคลื่นและใช้งาน รวมทั้งจะช่วยให้สามารถกำหนดให้มีการประมูลใบอนุญาตเท่าๆ กันได้ไม่ต่ำกว่า 2 ใบ และให้แต่ละรายครอบครองใบอนุญาตสูงสุดได้เพียง 1 ใบ ถ้าทำแบบนี้ก็จะเป็นการสนับสนุนให้เกิดการแข่งขันในตลาดโทรคมนาคมเพิ่มมากขึ้น” นายประวิทย์กล่าวถึงความเห็นของเขาที่แตกต่างจากมติเสียงข้างมาก" นายประวิทย์ กล่าว



______________________________________


'ประวิทย์' เคลียร์ปมประมูลคลื่น900 ชี้ราคาเริ่มต้นต่ำกว่าที่ควร




'ประวิทย์' รับเห็นต่างจากบอร์ด กสทช. เป็นเสียงข้างน้อย เพราะการกำหนดขนาดคลื่นในการประมูล ไม่สอดคล้องกับหลักทางเทคนิคและวิชาการ ไม่ใช่เรื่องต้องการกำหนดราคาเริ่มต้นประมูล ชี้ราคาเริ่มต้นประมูลก็ต่ำกว่า 30% โดยไม่มีเหตุผล...

จากกรณีคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) มีแผนจะนำคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) ไปเปิดให้ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมประมูลเพื่อนำไปให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ และล่าสุดปรากฏเป็นข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์ว่า ที่ประชุม กสทช. มีมติผ่านร่างประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นดังกล่าวแล้ว เมื่อวันที่ 14 พ.ค. 2557 แต่มี กสทช. 2 ท่าน คือ นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา และนางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ ที่แสดงจุดยืนไม่เห็นด้วยกับที่ประชุมบอร์ด เรื่องการกำหนดราคาเริ่มต้นประมูลคลื่นย่าน 900 MHz ที่ 19,705 ล้านบาท ซึ่งราคาดังกล่าวอ้างอิงในอัตรา 70% ของมูลค่าคลื่นที่มีการประเมินไว้ โดย กสทช. เสียงข้างน้อยทั้งสองเห็นว่าควรกำหนดราคาเต็ม 100% ของราคาประเมิน



นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา


นายประวิทย์ กล่าวถึงเรื่องดังกล่าวว่า ยอมรับว่ามีความเห็นแตกต่างจากมติที่ประชุมเสียงส่วนใหญ่จริง แต่สาระหลักมิใช่ต้องการให้กำหนดราคาเริ่มต้นประมูลเท่ากับราคาประเมินมูลค่าคลื่นตามที่เป็นข่าวเลย เพียงแต่เห็นว่าการกำหนดราคาเริ่มต้นประมูลไว้ที่ 70% ของมูลค่าประเมินคลื่น หรือลดลงจากราคาประเมิน 30% นั้น สูงเกินไป และไม่มีใครสามารถอธิบายได้ว่าอัตราดังกล่าวเหมาะสมอย่างไร ใช้เหตุผลใดในการตัดสินใจ เพราะจากข้อมูลการศึกษาของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ หรือ ITU เอง ก็นำเสนอว่าสามารถกำหนดให้ลดลง 20% ได้ โดยไม่เป็นอุปสรรคต่อการเข้าร่วมประมูลของผู้ประกอบการทั้ง 3 ราย อีกทั้งจากผลการศึกษาของคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ เมื่อครั้งประเมินมูลค่าคลื่น 2100 MHz ในปี พ.ศ. 2555 ก็ชี้ว่า หากคาดได้ว่าจะมีผู้เข้าร่วมประมูลคลื่นความถี่ 3 ราย ราคาตั้งต้นโดยเฉลี่ยควรลดเพียง 18% ขณะที่ในการประมูลทีวีดิจิตอลเมื่อปลายปีที่แล้ว กสทช. ก็ถึงกับกำหนดให้ราคาประเมินมูลค่าคลื่นความถี่เป็นราคาขั้นต่ำที่ยอมรับได้ และเป็นราคาเริ่มต้นในการประมูล ทั้งนี้ ด้วยเหตุผลเพื่อจะลดความเสี่ยงอันอาจเกิดความเสียหายกับรัฐในกรณีที่ไม่มีการแข่งขันกันจริงในการประมูล

"ไม่ได้คิดว่าครั้งนี้ต้องกำหนดราคาเริ่มต้นเท่าราคาประเมินเหมือนการประมูลทีวีดิจิตอล เพราะรู้ว่าหากทำให้มีการแข่งขันในการประมูล ราคาชนะประมูลก็จะสูงเอง แต่ที่สำคัญคือการกำหนดราคาต้องมีหลักการ ต้องอธิบายเหตุผลความเป็นมาได้ ไม่ใช่รู้แต่ว่าอยากลดให้ 30% แบบนี้ยอมรับไม่ได้" กรรมการ กสทช.กล่าว

นายประวิทย์เปิดเผยอีกว่า จากการตรวจสอบรายงานการศึกษาของ ITU พบว่า ในการประเมินมูลค่าคลื่น มีการใช้ข้อมูลและวิธีการที่ทำให้มูลค่าคลื่นต่ำลงอย่างไม่สมเหตุสมผล เช่น มีการแบ่งผู้ประกอบการรายใหญ่ 3 รายของไทย เป็นผู้ประกอบการขนาดใหญ่และขนาดเล็ก ซึ่งอาจส่งผลทำให้มูลค่าคลื่นต่ำกว่ามูลค่าตลาดจริง ทั้งที่ข้อเท็จจริงทั้งสามรายมีส่วนแบ่งการตลาดและรายการส่งเสริมการขายที่แข่งขันกันได้ ในขณะที่การประเมินมูลค่าคลื่นด้วยวิธีเศรษฐมิติ ก็พบว่ามูลค่าคลื่นในเนื้อหารายงานและในภาคผนวกมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน ทั้งที่โดยปกติภาคผนวกคือคำอธิบายโดยละเอียดของเนื้อหารายงาน จึงไม่ควรที่จะแตกต่างกัน

VO LTE: Voice Over LTE


นายประวิทย์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้  ITU มีการกล่าวยอมรับต่อที่ประชุมคณะอนุกรรมการ ซึ่งมีคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) อยู่ด้วยว่า ITU ไม่เคยมีประสบการณ์การประเมินมูลค่าคลื่นความถี่ให้กับประเทศใดมาก่อน และในองค์กรก็ไม่มีผู้เชี่ยวชาญด้านนี้โดยเฉพาะ จึงทำให้ในการศึกษาครั้งนี้ต้องจ้างเอกชนอื่นเป็นผู้ดำเนินการ ดังนั้นเมื่อปรากฏว่ารายงานการศึกษามีความไม่ชัดเจนในหลายเรื่อง ITU ก็ไม่สามารถให้คำอธิบายหรือคำชี้แจงที่ชัดเจนได้ อีกประเด็นเกี่ยวเนื่องที่นายประวิทย์ตั้งข้อสังเกต คือ ดูเหมือนว่ามูลค่าคลื่นที่ ITU ประเมินออกมานั้นค่อนข้างต่ำกว่าที่ควร

กรรมการ กสทช. กล่าวอีกว่า จากข้อมูลดิบในภาคผนวกพบว่า หากเปรียบเทียบมูลค่าคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz และย่าน 900 MHz ต่อย่าน 2100 MHz พบว่ามีมูลค่าคิดเป็นอัตราส่วน 7:5 และ 2:1 ตามลำดับ นั่นหมายถึงมูลค่าคลื่นย่าน 1800 MHz ควรสูงกว่าย่าน 2100 MHz ประมาณ 40% และมูลค่าคลื่นย่าน 900 MHz ควรสูงกว่าย่าน 2100 MHz ประมาณ 1 เท่าตัว ซึ่งตามสูตรนี้ หากคำนวณจากมูลค่าจริงที่ได้จากการประมูลคลื่น 2100 MHz ของไทยแล้ว ราคาประเมินมูลค่าคลื่นย่าน 900 MHz ควรอยู่ที่ 14 บาท/เมกะเฮิรตซ์/ประชากร แต่ในรายงาน ITU กลับประเมินไว้เพียง 12 บาท/เมกะเฮิรตซ์/ประชากร ซึ่งหากคิดมูลค่าส่วนต่างทั้งหมด พบว่ามีมูลค่าต่ำกว่าที่ควรจะเป็นถึง 4,700 ล้านบาท ส่วนอีกประเด็นสำคัญที่เสียงข้างน้อยไม่เห็นด้วย เป็นเรื่องของการกำหนดขนาดของคลื่นความถี่และใบอนุญาต ที่ กสทช. กำหนดนำคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz ที่หมดสัมปทานเมื่อปีที่แล้ว จำนวน 17.5 MHz มาแบ่งเป็น 2 ชุด คือ 10 MHz และ 7.5 MHz ในการประมูล แต่กำหนดให้ผู้ประมูลแต่ละรายสามารถประมูลคลื่นได้ทั้ง 2 ชุด ซึ่งแตกต่างจากกรณีการประมูลคลื่นย่าน 1800 MHz ที่เพิ่งอนุมัติไป ที่มีการกำหนดให้แต่ละรายประมูลคลื่นได้เพียงชุดเดียว

"จำนวนคลื่นที่นำออกประมูล 2x17.5 MHz รวมถึงการแบ่งชุดคลื่นไม่เป็นไปตามมาตรฐานทางเทคนิค และไม่ได้คำนึงถึงเทคโนโลยีที่มีการใช้งานจริงในวงการอุตสาหกรรมปัจจุบัน ที่แบ่งบล็อกละ 5 MHz ซึ่งสำนักงานก็เสนอว่าควรจัดการประมูลคลื่นจำนวน 2X20 MHz โดยทำได้ด้วยการลดขนาดการ์ดแบนด์ลง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการจัดสรรคลื่นและใช้งาน รวมทั้งจะช่วยให้สามารถกำหนดให้มีการประมูลใบอนุญาตเท่าๆ กันได้ไม่ต่ำกว่า 2 ใบ และให้แต่ละรายครอบครองใบอนุญาตสูงสุดได้เพียง 1 ใบ ถ้าทำแบบนี้ก็จะเป็นการสนับสนุนให้เกิดการแข่งขันในตลาดโทรคมนาคมเพิ่มมากขึ้น” นายประวิทย์กล่าวถึงความเห็นของเขาที่แตกต่างจากมติเสียงข้างมาก" นายประวิทย์ กล่าว

คลื่น 900 Mhz.เพื่อการนำมาให้บริการ LTE 4G


กรรมการ กสทช. กล่าวถึงประเด็นที่ส่วนตัวร่วมกับนางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ ว่า อยากให้มีการเพิ่มเป็นเงื่อนไขการประมูล แต่ไม่ได้รับการตอบสนองก็คือเรื่องของการคุ้มครองผู้ใช้บริการ ไม่ว่าจะเป็นในมิติของค่าบริการ คุณภาพความเร็วในการให้บริการข้อมูล (data service) ตลอดจนเรื่องการกำหนดมาตรฐานในการลดความเร็วลงเมื่อใช้ปริมาณข้อมูลถึงจุดที่กำหนดตามสิ่งที่เรียกว่า Fair Usage Policy ประเด็นเหล่านี้มีประสบการณ์มาแล้วจากการประมูลคลื่น 2100 MHz ที่ให้บริการ 3G ซึ่งค่าบริการไม่ลดลงเท่าที่ควร และความเร็วของการรับส่งข้อมูลไม่ได้เร็วสมกับเทคโนโลยี 3G ขณะที่ Fair Usage Policy กลายเป็นการเปิดช่องให้ผู้ให้บริการให้บริการในระดับคุณภาพต่ำ ผมกับคุณสุภิญญาจึงยืนยันว่าต้องให้ความสำคัญเรื่องเหล่านี้ เพราะเป็นเรื่องผลประโยชน์โดยตรงของผู้คนส่วนใหญ่ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าประเด็นที่เราค้านล้วนเป็นเรื่องของเหตุผลและหลักวิชาการ ส่วนที่มีจุดยืนก็คือการคำนึงถึงประโยชน์ผู้บริโภค ไม่ใช่การค้านแบบไร้เหตุผลหรือสุดโต่งอย่างที่พยายามมีการให้ข่าว.


http://m.thairath.co.th/content/423579

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.