Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

20 พฤษภาคม 2557 ช่อง3 อนาล็อก จ่อหลุดออนแอร์บน “ truevisions -CTH ” 26 พ.ค.นี้ เหตุผู้ให้บริการโทรทัศน์ในระบบบอกรับสมาชิก จะสามารถออกอากาศโฆษณาได้เพียงแค่ 5-6 นาทีต่อชั่วโมง เท่านั้นแต่ FREE TV 10-12 นาทีต่อชั่วโมง


ประเด็นหลัก


พ.อ.นที กล่าวว่า การจะนำช่อง 3 ที่สิ้นสุดการเป็นฟรีทีวีไปให้บริการ ช่องรายการดังกล่าวต้องเข้าข่ายเงื่อนไขลักษณะเฉพาะหรือเงื่อนไขที่สอบคล้องกับข้อกำหนดในใบอนุญาตของโครงข่ายนั้นด้วย อาทิ หากเป็นกล่องทีวีดาวเทียมปกติ จะไม่ข้อจำกัดเรื่องเวลาการโฆษณา แต่หากเป็นการออกอากาศผ่านโทรทัศน์ในระบบบอกรับสมาชิก จะสามารถออกอากาศโฆษณาได้เพียงแค่ 5-6 นาทีต่อชั่วโมง ต่างจากช่องฟรีทีวีปกติที่สามารถออกอากาศโฆษณาได้เป็นเวลา 10-12  นาทีต่อชั่วโมง ทั้งนี้ปัจจุบันผู้ที่เข้าข่ายเป็นผู้ให้บริการโทรทัศน์ในระบบบอกรับสมาชิก ได้แก่ บริษัท ทรูวิชั่นส์ กรุ๊ป จำกัด, บริษัท ซีทีเอช จำกัด(มหาชน) และผู้ประกอบกิจการเคเบิ้ลทีวีท้องถิ่น
พ.อ.นที กล่าวด้วยว่า กรณีช่อง3 ภายใต้ใบอนุญาตเดียวกัน ไม่สามารถตัดส่วนหนึ่งส่วนใด หรือตัดโฆษณา ส่วนหนึ่งส่วนใดออก เพื่อให้มีการออกอากาศในรูปแบบที่แตกต่างกันได้ ทั้งนี้ทาง กสท. จะยังไม่ขอพูดถึงบทลงโทษที่เกิดขึ้นหากในวันที่ 26 พฤษภาคมมีการออกอากาศที่ผิดเงื่อนไขดังกล่าว รวมทั้งขณะนี้ทาง กสท. เองยังไม่ได้รับการติดต่อมาจากทางช่อง3 เพื่อขอแก้ไขปัญหาแต่อย่างใด







______________________________________


ช่อง3 อนาล็อก จ่อหลุดออนแอร์บน “ทรูวิชั่นส์-ซีทีเอช” 26 พ.ค.นี้

พ.อ. นที ศุกลรัตน์ รองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะประธานกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.)  เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการ กสท. ว่า ที่ประชุมได้มีการพิจารณาหนังสือตอบกลับบริษัท เค.มาสเตอร์ จำกัด บริษัทในเครือของบริษัท อาร์เอส จำกัด(มหาชน)  ในฐานะผู้รับใบอนุญาตโครงข่ายกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ เพื่อให้บริการโครงข่ายกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ เนื่องจากบริษัทฯ ได้ทำหนังสือสอบถามกรณีการให้บริการส่งสัญญาณช่องรายการโทรทัศน์ ของสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ที่ออกอากาศในระบบแอนาล็อก 2 ประเด็น  คือ 1. เมื่อครบกำหนดวันที่ 25 พฤษภาคม 2557 สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 จะพ้นจากหน้าที่ตามประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การเผยแพร่กิจการโทรทัศน์ที่ให้บริการเป็นการทั่วไป (Must Carry) ใช่หรือไม่ และประเด็นที่สอง หากสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3   ไม่ต้องปฏิบัติตามประกาศฯ Must Carry แล้ว บริษัทสามารถนำสัญญาณจากสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ในระบบแอนาล็อก มาเผยแพร่และจัดเรียงหมวดหมู่ในกล่องรับสัญญาณที่บริษัทเป็นผู้ให้บริการโครงข่ายได้หรือไม่

พ.อ.นที กล่าวว่า ที่ประชุมได้มีมติตอบกลับไปโดยระบุว่า ผู้ให้บริการโทรทัศน์ที่เป็นการทั่วไปประกอบด้วย ผู้ให้บริการโทรทัศน์ประเภทบริการสาธารณะ ผู้ให้บริการโทรทัศน์ประเภทกิจการทางธุรกิจ และผู้ได้รับใบอนุญาตตามบทเฉพาะกาลแห่งพ.ร.บ.ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 ที่ใช้คลื่นความถี่ทุกรายที่ประกอบกิจการโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่ในวันที่ประกาศกสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การเผยแพร่กิจการโทรทัศน์ที่ให้บริการเป็นการทั่วไป (ประกาศฯ) ใช้บังคับ โดยตามมติที่ประชุมกสท. ครั้งที่ 4/2557 เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2557 สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 โดยบริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด ซึ่งเป็นผู้รับใบอนุญาตตามบทเฉพาะกาลแห่งพ.ร.บ.ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 จะสิ้นสุดการทำหน้าที่เป็นผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ที่เป็นการทั่วไปตามข้อ 8 ของประกาศฯ นับตั้งแต่วันที่เริ่มแพร่ภาพออกอากาศในระบบดิจิตอลแล้ว 30 วัน

“ส่วนการคัดเลือกบริการโทรทัศน์เพื่อเผยแพร่เป็นสิทธิของบริษัทฯที่จะดำเนินการได้ ทั้งนี้ การนำบริการโทรทัศน์ใดๆ มาออกอากาศผ่านโครงข่ายที่มีเงื่อนไขในการเข้าถึง บริการเหล่านั้นต้องมีลักษณะหรือเงื่อนไขที่สอดคล้องกับการให้บริการโครงข่ายนั้นด้วย”

พ.อ.นที กล่าวว่า การจะนำช่อง 3 ที่สิ้นสุดการเป็นฟรีทีวีไปให้บริการ ช่องรายการดังกล่าวต้องเข้าข่ายเงื่อนไขลักษณะเฉพาะหรือเงื่อนไขที่สอบคล้องกับข้อกำหนดในใบอนุญาตของโครงข่ายนั้นด้วย อาทิ หากเป็นกล่องทีวีดาวเทียมปกติ จะไม่ข้อจำกัดเรื่องเวลาการโฆษณา แต่หากเป็นการออกอากาศผ่านโทรทัศน์ในระบบบอกรับสมาชิก จะสามารถออกอากาศโฆษณาได้เพียงแค่ 5-6 นาทีต่อชั่วโมง ต่างจากช่องฟรีทีวีปกติที่สามารถออกอากาศโฆษณาได้เป็นเวลา 10-12  นาทีต่อชั่วโมง ทั้งนี้ปัจจุบันผู้ที่เข้าข่ายเป็นผู้ให้บริการโทรทัศน์ในระบบบอกรับสมาชิก ได้แก่ บริษัท ทรูวิชั่นส์ กรุ๊ป จำกัด, บริษัท ซีทีเอช จำกัด(มหาชน) และผู้ประกอบกิจการเคเบิ้ลทีวีท้องถิ่น
พ.อ.นที กล่าวด้วยว่า กรณีช่อง3 ภายใต้ใบอนุญาตเดียวกัน ไม่สามารถตัดส่วนหนึ่งส่วนใด หรือตัดโฆษณา ส่วนหนึ่งส่วนใดออก เพื่อให้มีการออกอากาศในรูปแบบที่แตกต่างกันได้ ทั้งนี้ทาง กสท. จะยังไม่ขอพูดถึงบทลงโทษที่เกิดขึ้นหากในวันที่ 26 พฤษภาคมมีการออกอากาศที่ผิดเงื่อนไขดังกล่าว รวมทั้งขณะนี้ทาง กสท. เองยังไม่ได้รับการติดต่อมาจากทางช่อง3 เพื่อขอแก้ไขปัญหาแต่อย่างใด

“ในครั้งนี้ การที่เราไม่ได้เป็นการให้ตัดช่อง3 ออกช่องทางดังกล่าว ขอยืนยันว่าทุกประกาศ เรามีการประกาศ มีขั้นตอน ออกมาตามลำดับ ตั้งแต่ปี 2555 แล้ว และเราก็แจ้งเอเจนซี่โฆษณาไว้ก่อนแล้วเช่นกัน ทั้งนี้ตามหลักการสากลที่จะไม่ให้เกิดปัญหาเช่นนี้ คือการออกอากาศคู่ขนานทั้งในระบบทีวีอนาล็อกและทีวีดิจิตอล แต่ช่อง3 กลับไม่เลือกใช้แนวทางดังกล่าว” พ.อ.นที กล่าว

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1400495460&grpid=03&catid=&subcatid=

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.