Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

20 พฤษภาคม 2557 กทค.เร่งหาบริษัทที่ปรึกษาจัดทำร่างประกาศฯ หลักเกณฑ์ถือครองคลื่น โดยระบุต้องถือครองคลื่นความถี่ทั้งหมดไม่เกิน 90 MHzต่อหนึ่งผู้ให้บริการ เพื่อป้องกันการผูกขาดในตลาด และจำกัดสิทธิ์การเข้าร่วมประมูล


ประเด็นหลัก


 ทั้งนี้ร่างประกาศฯ ดังกล่าวจะเป็นการกำหนดเกี่ยวกับการถือครองคลื่นความถี่ของผู้ให้บริการในประเทศไทยทั้งหมด โดยในการศึกษาจะเป็นการศึกษาร่างประกาศฯ ถึงจำนวนการถือครองคลื่นความถี่ว่าจะเป็นไปตามประเทศในยุโรป ที่จำกัดให้ผู้ประกอบการต้องถือครองคลื่นความถี่ทั้งหมดไม่เกิน 90 MHzต่อหนึ่งผู้ให้บริการ หรือไม่  ซึ่งประเทศไทยจะต้องศึกษาความเป็นไปได้ของจำนวนคลื่นความถี่ทั้งหมด รวมถึงองค์ประกอบด้านอื่นๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ทั้งลักษณะภูมิประเทศและอุตสาหกรรมโทรคมนาคมเช่นเดียวกัน  ซึ่งร่างประกาศฯ นี้จะเป็นการจำกัดการถือครองคลื่นความถี่ของผู้ให้บริการ เพื่อป้องกันการผูกขาดในตลาด และจำกัดสิทธิ์การเข้าร่วมประมูลหากถือครองคลื่นความถี่มากเกินไป

______________________________________


“กทค.” จ่อคุมการถือครองคลื่นเอกชนต้นปี 58



       กทค.เร่งหาบริษัทที่ปรึกษาจัดทำร่างประกาศฯ หลักเกณฑ์ถือครองคลื่น หวังป้องกันการผูกขาดในตลาดจากผู้ประกอบการรายใหญ่ คาดหาได้ภายในเดือน มิ.ย.นี้ ก่อนคลอดประกาศจริงได้ต้นปี 2558 “เศรษฐพงค์” ระบุไม่กระทบการประมูลคลื่น 1800-900 MHz ที่จะเกิดขึ้นก่อน
     
       พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าวว่า ในตอนนี้บอร์ด กทค.อยู่ระหว่างการดำเนินการจัดทำข้อกำหนดและขอบเขตการจ้าง (ทีโออาร์) สำหรับบริษัทที่ปรึกษาเพื่อเข้ามาศึกษา และจัดทำร่างประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์การถือครองคลื่นความถี่โดยรวมบนกิจการโทรคมนาคม พ.ศ….
     
       โดยเบื้องต้นคาดว่าจะสามารถจ้างบริษัทที่ปรึกษาได้ราวเดือน มิ.ย.2557 นี้ และจะใช้เวลาในการศึกษา รวมไปถึงจัดทำร่างประกาศฯ ดังกล่าวไม่เกิน 6 เดือน หรือจะสามารถนำไปประกาศเพื่อมีผลบังคับใช้ราวต้นปี 2558
     
       สำหรับร่างประกาศฯ ดังกล่าวจะเป็นการกำหนดเกี่ยวกับการถือครองคลื่นความถี่ของผู้ให้บริการในประเทศไทยทั้งหมด โดยในการศึกษาจะเป็นการศึกษาร่างประกาศฯ ถึงจำนวนการถือครองคลื่นความถี่ว่าจะเป็นไปตามประเทศในยุโรป ออสเตเรีย อเมริกา เยอรมนี ที่มีการกำหนดจำกัดให้ผู้ประกอบการสามารถถือครองคลื่นความถี่ทั้งหมดไม่เกิน 90 MHz ต่อหนึ่งผู้ให้บริการหรือไม่ ซึ่งประเทศไทยจะต้องศึกษาความเป็นไปได้ของจำนวนคลื่นความถี่ทั้งหมด รวมถึงองค์ประกอบด้านอื่นๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ทั้งลักษณะภูมิประเทศ และอุตสาหกรรมโทรคมนาคมเช่นเดียวกัน
     
       เบื้องต้นร่างประกาศฯ ดังกล่าวจะต้องประกาศใช้ก่อนที่จะมีการประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz ของบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค ที่ยังอยู่ในสัญญาสัมปทาน และจะสิ้นสุดสัญญาสัมปทานในปี 2561 ซึ่งดีแทคถือครองคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz อยู่จำนวน 50 MHz แต่ใช้งานอยู่เพียง 25 MHz ส่วนที่ว่างอยู่ 25 MHz ไม่ได้ใช้งาน
     
       “ร่างประกาศฯ ฉบับนี้จะเป็นการจำกัดการถือครองคลื่นความถี่ของผู้ประกอบการเพื่อป้องกันการผูกขาดในตลาด และจำกัดสิทธิ์การเข้าร่วมประมูลหากถือครองคลื่นความถี่มากเกินไป”
     
       นอกจากนี้ร่างประกาศดังกล่าวจะมีการศึกษาในหลายๆ ด้าน เช่น ประเด็นการรวมทุกคลื่นความถี่หรือไม่ และในเรื่องคลื่นที่ติดอยู่ในระบบสัมปทาน และระบบใบอนุญาตจะต้องทำอย่างไร overall spectrum caps ทุกรายจะต้องถือครองจำนวนคลื่นเท่าไหร่ ตรงนี้จะต้องให้บริษัทที่ปรึกษาศึกษารายละเอียดทั้งหมด
     
       อย่างไรก็ตาม ร่างประกาศดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบต่อการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz และ 900 MHz ที่จะมีการประมูลคลื่น 1800 MHz ในเดือน ส.ค. 2557 และประมูลคลื่น 900 MHz ล่วงหน้าในเดือน พ.ย. 2557 นี้อย่างแน่นอน นอกจากนี้ ในปัจจุบันคลื่นความถี่ที่ยังคงมีอยู่ ได้แก่ คลื่นความถี่ย่าน 2.3 GHz ที่มีอยู่ 64 MHz ของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และคลื่นความถี่ย่าน 2.6 GHz ที่มีอยู่ 48 MHz ของบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ซึ่งกำลังจะสิ้นสุดในปี 2558 นี้


http://www.manager.co.th/CbizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9570000055089

________________________________




 พันเอกเศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชิ (กสทช.) และประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) เปิดเผยว่า ขณะนี้บอร์ด กทค.อยู่ระหว่างการทำเงื่อนไข (ทีโออาร์) สำหรับจ้างบริษัท ที่ปรึกษา เพื่อศึกษาเกี่ยวและจัดทำร่างประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์การถือครองคลื่นความถี่โดยรวมบนกิจการโทรคมนาคม พ.ศ…. โดยคาดว่าจะสามารถจ้างบริษัท ที่ปรึกษาได้ราวเดือน มิ.ย.2557 นี้ โดยใช้เวลาการศึกษาและจัดทำร่างประกาศฯ ดังกล่าวไม่เกิน 6 เดือน

                     ทั้งนี้ร่างประกาศฯ ดังกล่าวจะเป็นการกำหนดเกี่ยวกับการถือครองคลื่นความถี่ของผู้ให้บริการในประเทศไทยทั้งหมด โดยในการศึกษาจะเป็นการศึกษาร่างประกาศฯ ถึงจำนวนการถือครองคลื่นความถี่ว่าจะเป็นไปตามประเทศในยุโรป ที่จำกัดให้ผู้ประกอบการต้องถือครองคลื่นความถี่ทั้งหมดไม่เกิน 90 MHzต่อหนึ่งผู้ให้บริการ หรือไม่  ซึ่งประเทศไทยจะต้องศึกษาความเป็นไปได้ของจำนวนคลื่นความถี่ทั้งหมด รวมถึงองค์ประกอบด้านอื่นๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ทั้งลักษณะภูมิประเทศและอุตสาหกรรมโทรคมนาคมเช่นเดียวกัน  ซึ่งร่างประกาศฯ นี้จะเป็นการจำกัดการถือครองคลื่นความถี่ของผู้ให้บริการ เพื่อป้องกันการผูกขาดในตลาด และจำกัดสิทธิ์การเข้าร่วมประมูลหากถือครองคลื่นความถี่มากเกินไป

                 “คาดว่าในเดือนมิ.ย.จ้างบริษัท ที่ปรึกษาได้แล้วจะนำผลการศึกษาที่สรุป และนำเข้าสู่ที่ประชุมบอร์ด กทค. ซึ่งร่างประกาศฯ นี้น่าจะมีผลใช้ได้ราวต้นปี 2558  ทั้งนี้ประเทศทางยุโรป ออสเตเรีย อเมริกา เยอรมัน กำหนดให้ผู้ประกอบการต้องถือครองคลื่นโดยรวมไม่เกิน 90 MHzต่อหนึ่งผู้ให้บริการ” พันเอก เศรษฐพงค์ กล่าว

                    อย่างไรก็ตาม ร่างประกาศ ดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบต่อการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz และ 900 MHz ที่จะมีการประมูลคลื่น 1800 MHz ในเดือน สิงหาคม 2557 และประมูลคลื่น 900 MHz ล่วงหน้าในเดือน พฤศจิกายน 2557 นี้

                      นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการ กสทช. เปิดเผยว่า ในวันที่ 19 พ.ค. 2557 ที่ประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ครั้งที่ 19/57 มีวาระน่าจับตา ได้แก่ สรุปผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลบริการสาธารณะ ประเภทที่ 3 มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการกระจายข้อมูลข่าวสารเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างรัฐบาลกับประชาชนและรัฐสภากับประชาชน ตามที่สำนักงานได้ประกาศผ่านทางเวบไซต์ เชิญชวนผู้ที่มีคุณสมบัติ สามารถยื่นคำอนุญาต พร้อมเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่วันที่ 10 มี.ค. 57 นั้น ทั้งนี้ ได้มีผู้ยื่นขอรับใบอนุญาตตามการเชิญชวนเพียง 1 ราย คือ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งจากนี้ไปสำนักงานจะนำคำขอรับใบอนุญาตไปวิเคราะห์ข้อมูลและความเหมาะสม เพื่อนำเสนอบอร์ดให้พิจารณา

 http://www.naewna.com/business/104039

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.