20 พฤษภาคม 2557 ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ MCOT.สุวิทย์ ระบุ ขอให้ กสทช.ชี้แจง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับทีวีดิจิตอลในเวลานี้ของ กสทช.ไม่เอื้อให้เกิดการครอบคลุมพื้นที่รับชมของประชาชนให้เพียงพอ
ประเด็นหลัก
นายสุวิทย์ มิ่งมล ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า วันที่ 19 พฤษภาคม จะเข้ายื่นหนังสือต่อคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) เพื่อขอให้ กสทช.ชี้แจงข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการประมูลทีวีดิจิตอลในกลุ่มช่อง ธุรกิจ 24 ช่อง ที่ได้มีการจัดประมูลไปเมื่อปลายปี 2556 ที่ผ่านมา รวมถึงหลักเกณฑ์ต่างๆ เกี่ยวกับการกำหนดราคาคูปองเงินสนับสนุนค่าอุปกรณ์รับชมทีวีดิจิตอลให้แก่ ประชาชนไทย เนื่องจากเป็นที่ชัดเจนแล้วว่าหลักเกณฑ์เกี่ยวกับทีวีดิจิตอลในเวลานี้ของ กสทช.ไม่เอื้อให้เกิดการครอบคลุมพื้นที่รับชมของประชาชนให้เพียงพอ ส่งผลให้ผู้ประกอบการโฆษณาไม่มีความมั่นใจ ไม่กล้าลงทุน จึงมีความเป็นไปได้สูงที่ทำให้ผู้ประกอบการที่ชนะการประมูลกว่าครึ่งหนึ่ง ไม่สามารถประกอบการต่อได้ ในระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี
นายสุวิทย์กล่าว ว่า อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้ สรส.ยังมีแผนเดินทางไปขอข้อมูลเกี่ยวกับการประมูลทีวีดิจิตอลเพิ่มเติมต่อ คณะกรรมาธิการวุฒิสภา ในชุดที่เคยเรียก กสทช.ไปชี้แจง โดยการรวบรวมข้อมูลทั้งหมดในครั้งนี้ เพื่อเป็นการรวบรวมข้อมูลให้รอบด้าน หากในอนาคต สรส.จะมีการตัดสินใจเดินทางไปยื่นเรื่องฟ้องร้องต่อศาลปกครอง
______________________________________
แจก"คูปองทีวีดิจิตอล"สะดุด กสทช.ชี้ส่อขัดกม.-ไม่ทันก.ค.
แจก คูปองทีวีดิจิตอลส่อแววป่วน ที่ปรึกษากฎหมายชี้บางประเด็นอาจขัด กม. เลขาฯกสทช.ชี้อาจเลื่อนแจกเดือนกรกฎาคมออกไปอีก ยอมรับกังวลประเด็นไม่ทำประชาพิจารณ์หลักเกณฑ์การแจก
เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) เปิดเผยว่า ความคืบหน้าการพิจารณาโครงการสนับสนุนประชาชนในการเปลี่ยนผ่านไปสู่การรับชม โทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล หรือการแจกคูปองเงินสนับสนุนค่าอุปกรณ์การรับชมทีวีดิจิตอลให้แก่คนไทย 25 ล้านครัวเรือน ล่าสุดที่ปรึกษาด้านกฎหมายได้นำผลการศึกษาทางกฎหมายมานำเสนอให้บอร์ด กทปส. แต่ละคนพิจารณาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว หลังจากก่อนหน้านี้ กทปส.ได้ให้ที่ปรึกษาด้านกฎหมายศึกษาในประเด็นที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการแจก คูปอง ได้แก่ 1.มูลค่าคูปอง 2.การสนับสนุนด้วยวิธีการแจกคูปองของ กสท.ทำได้หรือไม่ 3.การแจกคูปองขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 47 หรือไม่ในการแจกคูปองสำหรับกล่องรับสัญญาณดาวเทียม สามารถดูได้ 36 ช่องเท่านั้น จาก 48 ช่อง ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการองค์กรอิสระเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน
"ส่วน ตัวจากการอ่านผลการศึกษาของที่ปรึกษาทางกฎหมาย เบื้องต้นพบว่ามีธงไม่ค่อยดีเท่าไหร่ ในบางประเด็นยังคงติดขัดในเรื่องกฎหมาย ตอนนี้ยังไม่สามารถพูดได้ว่ามีประเด็นอะไรบ้าง เนื่องจากต้องนำไปหารือกันในที่ประชุมบอร์ด กทปส.ในวันที่ 20 พฤษภาคม เสียก่อน" นายฐกรกล่าว
นายฐากรกล่าวว่า ในการประชุมวันที่ 20 พฤษภาคม หากบอร์ด กทปส.มีมติยังไม่เห็นชอบในข้อกฎหมายและหลักเกณฑ์ต่างๆ เกี่ยวข้องกับการแจกคูปองทีวีดิจิตอล ก็ส่งผลให้มีความเป็นไปได้ว่า กทปส.จะยังไม่สามารถสรุปเรื่องทั้งหมดได้ตามกำหนดเดิมในวันที่ 27 พฤษภาคมนี้ เพื่อส่งเรื่องให้บอร์ด กสทช.พิจารณาในขั้นตอนสุดท้าย รวมทั้งส่งผลให้มีความเป็นไปได้ที่กำหนดการแจกคูปองให้แก่ประชาชนที่ล่าสุด คาดว่าเร็วที่สุดจะสามารถดำเนินการแจกคูปองให้แก่ประชาชนได้ในเดือนกรกฎาคม จะต้องเลื่อนระยะเวลาออกไปอีก
นายฐากรกล่าวว่า นอกจากนี้ จากการที่สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ได้นัดหมายสำนักงาน กสทช.ว่าภายในสัปดาห์นี้ จะเดินทางเข้ามายื่นหนังสือต่อ กสทช.เพื่อขอข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับการประมูลทีวีดิจิตอล ในกลุ่มช่องธุรกิจทั้ง 24 ช่อง และหลักเกณฑ์การจัดทำคูปองเงินสนับสนุนค่าอุปกรณ์รับชมทีวีดิจิตอล เพื่อนำไปสู่การรวบรวมข้อมูลจะใช้ในการฟ้องร้องอาจจะเกิดขึ้นในอนาคต จากกรณีดังกล่าว ส่วนตัวเชื่อว่าหากเกิดการฟ้องร้องจริง จะมีเพียงประเด็นเดียวเท่านั้นที่อาจจะทำให้ กสทช.หนักใจได้คือ เรื่องไม่มีการทำประชาพิจารณ์เรื่องหลักเกณฑ์และราคาคูปอง รวมถึงการจัดทำหลักเกณฑ์ดังกล่าวไม่ได้มีการจัดทำเป็นประกาศ กสทช. แต่อย่างใด
นายสุวิทย์ มิ่งมล ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า วันที่ 19 พฤษภาคม จะเข้ายื่นหนังสือต่อคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) เพื่อขอให้ กสทช.ชี้แจงข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการประมูลทีวีดิจิตอลในกลุ่มช่อง ธุรกิจ 24 ช่อง ที่ได้มีการจัดประมูลไปเมื่อปลายปี 2556 ที่ผ่านมา รวมถึงหลักเกณฑ์ต่างๆ เกี่ยวกับการกำหนดราคาคูปองเงินสนับสนุนค่าอุปกรณ์รับชมทีวีดิจิตอลให้แก่ ประชาชนไทย เนื่องจากเป็นที่ชัดเจนแล้วว่าหลักเกณฑ์เกี่ยวกับทีวีดิจิตอลในเวลานี้ของ กสทช.ไม่เอื้อให้เกิดการครอบคลุมพื้นที่รับชมของประชาชนให้เพียงพอ ส่งผลให้ผู้ประกอบการโฆษณาไม่มีความมั่นใจ ไม่กล้าลงทุน จึงมีความเป็นไปได้สูงที่ทำให้ผู้ประกอบการที่ชนะการประมูลกว่าครึ่งหนึ่ง ไม่สามารถประกอบการต่อได้ ในระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี
นายสุวิทย์กล่าว ว่า อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้ สรส.ยังมีแผนเดินทางไปขอข้อมูลเกี่ยวกับการประมูลทีวีดิจิตอลเพิ่มเติมต่อ คณะกรรมาธิการวุฒิสภา ในชุดที่เคยเรียก กสทช.ไปชี้แจง โดยการรวบรวมข้อมูลทั้งหมดในครั้งนี้ เพื่อเป็นการรวบรวมข้อมูลให้รอบด้าน หากในอนาคต สรส.จะมีการตัดสินใจเดินทางไปยื่นเรื่องฟ้องร้องต่อศาลปกครอง
ที่มา นสพ.มติชน
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1400480105
ไม่มีความคิดเห็น: