22 พฤษภาคม 2557 กสท.สั่งห้าม เค.มาสเตอร์ ผู้ให้บริการเครือข่าย เอาช่อง 3 ในระบบอะนาล็อกมาออกอากาศผ่านเคเบิล-ดาวเทียม แบบบอกรับสมาชิก
ประเด็นหลัก
พ.อ.นที ศุกลรัตน์ ประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ หรือ กสท. กล่าวว่า ตั้งแต่วันที่ 26 พ.ค.57 เป็นต้นไป ผู้ที่รับชมช่อง 3 ผ่านกล่องรับสัญญาณและดาวเทียม แบบบอกรับสมาชิก ทั้งกล่อง ทรู วิชั่นส์, ซีทีเอช และเคเบิลท้องถิ่น จะไม่สามารถรับชมได้
ทั้งนี้ เนื่องจากสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 จะสิ้นสุดการทำหน้าที่เป็นผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ที่เป็นการทั่วไปตามประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การเผยแพร่กิจการโทรทัศน์ที่ให้บริการทั่วไป หรือ มัสต์แครี่ หลังจากวันที่ 25 พ.ค.57 นี้ เนื่องจากได้เริ่มต้นมัสต์แครี่มาครบตามกำหนด 30 วัน ที่เริ่มแพร่ภาพออกอากาศในระบบดิจิตอล โดย กสท.ได้ทำหนังสือตอบกลับไปยัง บมจ.เค.มาสเตอร์ ผู้ให้บริการโครงข่ายกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ระดับชาติ ซึ่งก่อนหน้านี้ได้สอบถามเข้ามาในประเด็นดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม จะส่งผลให้ผู้ชมที่รับชมผ่านทรู วิชั่นส์ 2.4 ล้านราย ซีทีเอช 5 แสนราย และเคเบิลท้องถิ่นอีก 300-400 ราย รับชมช่อง 3 ในระบบอะนาล็อกไม่ได้ ส่วนผู้ให้บริการโครงข่ายระบบทีวีดิจิตอล จานดาวเทียม และ กล่องทีวีแบบไม่บอกรับสมาชิก อาทิ กล่องซันบอกซ์, กล่องจีเอ็มเอ็ม แซด, ดาวเทียมพีเอสไอ เป็นต้น ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของผู้ให้บริการโครงข่ายเองว่าจะนำช่อง 3 ในระบบเดิมไปออกอากาศหรือไม่ ขณะที่ผู้ชมที่ต้องการชมช่อง 3 ในระบบเดิมยังสามารถรับชมได้ผ่านเสารับสัญญาณภาคพื้นดิน
ส่วนประเด็นที่ หากช่อง 3 ไม่ต้องทำตามกฎมัสต์แครี่แล้ว จะนำสัญญาณจากช่อง 3 ที่เป็นฟรีทีวีเดิมมาออกอากาศและจัดเรียงหมวดหมู่ในกล่องรับสัญญาณของ บริษัท เค. มาสเตอร์ ได้หรือไม่นั้น ช่อง 3 สามารถทำได้โดยการขอใบอนุญาตช่องรายการใหม่เพื่อออกอากาศผ่านทีวีบอกรับสมาชิก ซึ่งมีกฎว่ามีโฆษณาได้สูงสุดไม่เกิน 6 นาทีต่อชั่วโมง ขณะที่อะนาล็อกเดิมนั้น ช่อง 3 สามารถมีโฆษณาได้สูงสุด 12 นาทีต่อชั่วโมง
______________________________________
กล่องเคเบิลทีวีอดดู'ช่อง3' แกรมมี่โอดธุรกิจเพลงซบเซา
พ.อ.นที ศุกลรัตน์ ประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ หรือ กสท. กล่าวว่า ตั้งแต่วันที่ 26 พ.ค.57 เป็นต้นไป ผู้ที่รับชมช่อง 3 ผ่านกล่องรับสัญญาณและดาวเทียม แบบบอกรับสมาชิก ทั้งกล่อง ทรู วิชั่นส์, ซีทีเอช และเคเบิลท้องถิ่น จะไม่สามารถรับชมได้
ทั้งนี้ เนื่องจากสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 จะสิ้นสุดการทำหน้าที่เป็นผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ที่เป็นการทั่วไปตามประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การเผยแพร่กิจการโทรทัศน์ที่ให้บริการทั่วไป หรือ มัสต์แครี่ หลังจากวันที่ 25 พ.ค.57 นี้ เนื่องจากได้เริ่มต้นมัสต์แครี่มาครบตามกำหนด 30 วัน ที่เริ่มแพร่ภาพออกอากาศในระบบดิจิตอล โดย กสท.ได้ทำหนังสือตอบกลับไปยัง บมจ.เค.มาสเตอร์ ผู้ให้บริการโครงข่ายกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ระดับชาติ ซึ่งก่อนหน้านี้ได้สอบถามเข้ามาในประเด็นดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม จะส่งผลให้ผู้ชมที่รับชมผ่านทรู วิชั่นส์ 2.4 ล้านราย ซีทีเอช 5 แสนราย และเคเบิลท้องถิ่นอีก 300-400 ราย รับชมช่อง 3 ในระบบอะนาล็อกไม่ได้ ส่วนผู้ให้บริการโครงข่ายระบบทีวีดิจิตอล จานดาวเทียม และ กล่องทีวีแบบไม่บอกรับสมาชิก อาทิ กล่องซันบอกซ์, กล่องจีเอ็มเอ็ม แซด, ดาวเทียมพีเอสไอ เป็นต้น ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของผู้ให้บริการโครงข่ายเองว่าจะนำช่อง 3 ในระบบเดิมไปออกอากาศหรือไม่ ขณะที่ผู้ชมที่ต้องการชมช่อง 3 ในระบบเดิมยังสามารถรับชมได้ผ่านเสารับสัญญาณภาคพื้นดิน
ส่วนประเด็นที่ หากช่อง 3 ไม่ต้องทำตามกฎมัสต์แครี่แล้ว จะนำสัญญาณจากช่อง 3 ที่เป็นฟรีทีวีเดิมมาออกอากาศและจัดเรียงหมวดหมู่ในกล่องรับสัญญาณของ บริษัท เค. มาสเตอร์ ได้หรือไม่นั้น ช่อง 3 สามารถทำได้โดยการขอใบอนุญาตช่องรายการใหม่เพื่อออกอากาศผ่านทีวีบอกรับสมาชิก ซึ่งมีกฎว่ามีโฆษณาได้สูงสุดไม่เกิน 6 นาทีต่อชั่วโมง ขณะที่อะนาล็อกเดิมนั้น ช่อง 3 สามารถมีโฆษณาได้สูงสุด 12 นาทีต่อชั่วโมง
ด้านนายกริช ทอมมัส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (สายธุรกิจเพลง) บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เปิดเผยว่า ในช่วงที่ผ่านมาธุรกิจเพลงมีอัตราการเติบโตที่ลดลงหากเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยมูลค่าตลาดเพลงในปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 4,000 ล้านบาท ลดลงจากปี 2555 ที่มีมูลค่าอยู่ 5,000 ล้านบาท โดยในปีนี้คาดการณ์ว่าภาพรวมของธุรกิจเพลงน่าจะมีมูลค่าเท่ากับปีที่ผ่านมา เนื่องจากปัญหาทางการเมืองและพฤติกรรม
“ในตอนนี้บริษัทพยายามหาโอกาสในธุรกิจเพลงให้มากขึ้นกว่าเดิม เนื่องจากพฤติกรรมคนไทยไม่ได้มีการฟังเพลงกันน้อยลง โดยจะทำการเข้าไปหาผู้บริโภค ด้วยการทำสตรีมมิ่ง การเปิดตัวโมเดลพรีเมียม โดยในส่วนของโมเดลพรีเมียม จะเป็นการหาพันธมิตรมาซื้อพื้นที่สื่อโฆษณา เช่น ในยูทูบ เพื่อให้ผู้บริโภคได้ดูฟรี ส่วนพรีเมียม คือ การจ่ายเงินเพื่อรับชมความบันเทิง” นายกริชกล่าว
สำหรับแนวทางการดำเนินธุรกิจของบริษัทนับจากนี้ จะหันมาทำกิจกรรมทางการตลาดร่วมกับพันธมิตรทางธุรกิจมากขึ้น.
http://www.thaipost.net/news/200514/90719
ไม่มีความคิดเห็น: