27 พฤษภาคม 2557 กสทช.นที ระบุ กรณีกล่องรับดิจิตอล กทปส.จะมีการประชุมบอร์ดกองทุนอีกครั้งในวันที่ 5 มิ.ย.นี้โดยยังมั่นใจว่าจะสามารถแจกทันตามกรอบระยะเวลาเดิมคือภายในเดือน ส.ค. 2557
ประเด็นหลัก
ขณะที่ความคืบหน้าในประเด็นการสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านไปสู่โทรทัศน์ระบบ ดิจิตอล ด้วยการแจกคูปองเงินสดนั้นล่าสุดยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกอง ทุนวิจัยและ พัฒนา กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) ซึ่งจะมีการประชุมบอร์ดกองทุนอีกครั้งในวันที่ 5 มิ.ย.นี้โดยยังมั่นใจว่าจะสามารถแจกทันตามกรอบระยะเวลาเดิมคือภายในเดือน ส.ค. 2557
______________________________________
กสท.รับลูก คสช.เคลียร์ปมประเภทโครงข่ายกับช่องทีวี
กสท.เคลียร์ปมผู้ประกอบการโครงข่ายกับช่องรายการ หลังคสช.ออกประกาศ ระบุต้องปรับตัวเป็นผู้ประกอบการเปย์ทีวี ด้าน 'พ.อ.นที' ระบุ 6 ช่องฟรีทีวี , 23 ช่องดิจิตอลทีวี และ 274 ช่องดาวเทียมออกอากาศได้ตามปกติ พร้อมจี้ผู้ประกอบการโครงข่ายห้ามนำช่อง3อนาล็อกออกอากาศ
พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานกสทช. ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวว่าที่ประชุมบอร์ดกสท.เมื่อวันที่ 26 พ.ค.มีมติเห็นชอบร่างประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่องแผนความถี่วิทยุสำหรับกิจการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล (ฉบับที่ 2) พ.ศ. ...ที่นำไปรับฟังความเห็นสาธารณะ(ประชาพิจารณ์)มาแล้วโดยขั้นตอนต่อไปจะให้ นำร่างประกาศดังกล่าวเสนอให้บอร์ดกสทช.พิจารณาก่อนนำร่างประกาศดังกล่าวไปประกาศในราชกิจานุเบกษาต่อไป
อีกทั้งในวันเดียวกันสำนักงานกสทช.ยังได้เชิญผู้ประกอบการโครงข่ายกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ เพื่อให้บริการโครงข่ายกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ และช่องรายการจำนวน 9 ราย ได้แก่ 1. บริษัท ทรูวิชั่น จำกัด 2. บริษัท ซีทีเอช จำกัด 3. บริษัท นีเดีย จำกัด 4. บริษัท เอ็มเอสเอส จำกัด 5. บริษัท เจริญเคเบิ้ล จำกัด 6. บริษัท เคมาสเตอร์ จำกัด 7.บริษัท จีเอ็มเอ็มแกรมมี่ จำกัด (มหาชน) 8. บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) 9.บริษัท ดีทีวี เซอร์วิส จำกัด ในเครือ บริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ อินทัช เพื่อมาอธิบายแนวปฏิบัติในส่วนของการให้บริการโครงข่ายเพื่อให้เป็นผู้ให้บริการโครงข่ายแบบบอกรับสมาชิก (เพย์ทีวี) ทั้งหมด และในวันที่ 27 พ.ค. กสทช.จะเชิญผู้ประกอบการโครงข่าย และช่องรายการประเภทที่ยังคลุมเครือว่าเป็นโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิกหรือไม่อีกจำนวน 22 ราย มารับทราบแนวทางปฎิบัติเช่นกัน
'การที่ กสท.ต้องเรียกผู้ประกอบการช่องทีวี และโครงข่ายทั้งประเภทแบบบอกรับสมาชิก และที่คลุมเครือเข้ามาชี้แจงนั้นเพื่อสร้างความชัดเจนในการออกอากาศช่องทีวี และประเภทการออกอากาศที่ตนเป็นอยู่เพื่อให้สอดคล้องกับตามประกาศ คสช.นั่นเอง'
ทั้งนี้การที่กสทช.เรียกผู้ประกอบการโครงข่าย และช่องรายการมาหารือในครั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เรื่อง การถ่ายทอดออกอากาศของสถานีวิทยุโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิตอล และสถานีโทรทัศน์ที่ได้รับอนุญาต สัญญา หรือสัมปทานจากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ เพื่อให้การเผยแพร่ข่าวสารไปสู่ประชาชนเริ่มกลับสู่ภาวะปกติ และเป็นไปด้วยความถูกต้องปราศจากการบิดเบือน อันจะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดจนส่งผลกระทบต่อการรักษาความสงบเรียบร้อย จึงให้ ผู้ให้บริการโทรทัศน์ ดังต่อไปนี้ ออกอากาศได้ตามปกติ ผ่านทางระบบการใช้คลื่นความถี่ภาคพื้นดิน ระบบผ่านดาวเทียม และเคเบิล ได้แก่ ผู้ให้บริการโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบอนาล็อก ตามประกาศ คสช. ฉบับที่ 23 และผู้ให้บริการโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิตอล ซึ่งได้รับอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์
โดยจะยกเว้นสถานีตามประกาศ คสช.ฉบับที่ 15 ที่ให้ทีวีดาวเทียม เคเบิล ทีวีดิจิตอล และสถานีวิทยุชุมชน ระงับการถ่ายทอดออกอากาศ จำนวน 15 สถานี ได้แก่ 1. สถานีโทรทัศน์ ดาวเทียมเอ็มวี5 2. สถานีโทรทัศน์ดาวเทียมดีเอ็นเอ็น 3. สถานีโทรทัศน์ดาวเทียมยูดีดี 4. สถานีโทรทัศน์ดาวเทียมเอเชียอัพเดท 5. สถานีโทรทัศน์ดาวเทียมพีแอนด์พี 6. สถานีโทรทัศน์ดาวเทียมโฟร์แซนแนล 7. สถานีโทรทัศน์ดาวเทียมบูลสกาย 8. สถานีโทรทัศน์ดาวเทียมเอฟเอ็มทีวี 9. สถานีโทรทัศน์ดาวเทียมทีนิวส์ 10. สถานีโทรทัศน์ดาวเทียมเอเอสทีวี 11. สถานีโทรทัศน์ดาวเทียมฮ็อตทีวี 12. สถานีโทรทัศน์วอยซ์ทีวี 13. สถานีโทรทัศน์ดาวเทียมเรสคิ้ว 14. สถานีโทรทัศน์ดาวเทียมเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท.) และ 15. สถานีวิทยุชุมชน ที่ไม่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งขึ้นตามกฏหมายที่กำหนด
'ตามประกาศ คสช. ยังให้ผู้ให้บริการแบบบอกรับสมาชิกที่ได้รับใบอนุญาต สามารถออกอากาศได้ตามปกติ ผ่านโครงข่ายระบบผ่านดาวเทียม และเคเบิลแบบบอกรับสมาชิก (เพย์ทีวี) เท่านั้น โดยช่องรายการที่เป็นแบบบอกรับสมาชิกมีอยู่ทั้งสิ้น รวม 274 ช่องรายการ และโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบอนาล็อก (ฟรีทีวี) จำนวน 6 ช่องคือ 3 5 7 9 11 ไทยพีบีเอส และโทรทัศน์ระบบดิจิตอล จำนวน 23 ช่อง สามารถออกอากาศผ่านดาวเทียม และเคเบิลได้ตามปกติ'
พ.อ.นที กล่าวว่ารายการโทรทัศน์ มีอยู่ 3 ประเภท คือ 1. ช่องรายการเป็นแบบบอกรับสมาชิก 2. ช่องรายการไม่บอกรับสมาชิก และ 3. ช่องรายการที่คลุมเครือ รวมถึงสถานีของหน่วยงานรัฐ ที่มีเป็นจำนวนมาก จึงได้เชิญผู้ให้บริการโครงข่ายและช่องรายการ ประเภทแบบบอกรับสมาชิกมาแนะนำและอธิบายแนวการปฏิบัติ โดยปัจจุบันยังมีผู้ให้บริการช่องรายการ ที่ยังไม่ได้เป็นช่องรายการแบบบอกรับสมาชิก และคลุมเครือ อีกราว 200 ช่องรายการ ซึ่งทั้งหมดนี้หากไม่เข้ามาแสดงความจำนงค์ต่อ กสทช. จะไม่สามารถออกอากาศได้บนโครงข่ายแบบบอกรับสมาชิกที่เป็นระบบการใช้คลื่น ความถี่ และไม่ใช้คลื่นความถี่ผ่านระบบดาวเทียม และเคเบิลได้
นอกจากนี้กสท.ยังให้สำนักงานกสทช.แจ้งไปยังผู้รับใบอนุญาตโครงข่ายที่เข้าหารือในครั้งนี้ กรณีที่ยังปล่อยให้ช่อง 3 ในระบบแอนาล็อก โดยบริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด ซึ่งเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตตามบทเฉพาะกาล และสิ้นสุดการปฎิบัติตามประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์การเผยแพร่กิจการโทรทัศน์ที่ให้บริการเป็นการทั่วไป (มัสต์แครี่) นับตั้งแต่วันที่เริ่มต้นแพร่ภาพออกอากาศโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล (ทีวีดิจิตอล) แล้ว 30 วัน ตั้งแต่วันที่ 25 เม.ย.2557 ห้ามนำมาออกอากาศบนแพลตฟอร์ม โทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิก (เพย์ทีวี) ซึ่งปัจจุบันมีผู้ประกอบการโครงข่ายแบบบอกรักสมาชิกที่ปล่อยให้ช่อ ง3 แอนาล็อกออกอากาศ คือบริษัท ทรูวิชั่น จำกัด และบริษัท ซีทีเอช จำกัดโดยก่อนหน้านี้ บริษัท เค มาสเตอร์ จำกัด บริษัท ในเครือ อาร์เอส จำกัด (มหาชน) ได้ยกเลิกการออกอากาศของช่อง 3 ในระบบอนาล็อกแล้วเช่นเดียวกัน
ขณะที่ความคืบหน้าในประเด็นการสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านไปสู่โทรทัศน์ระบบดิจิตอล ด้วยการแจกคูปองเงินสดนั้นล่าสุดยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกองทุนวิจัยและ พัฒนา กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) ซึ่งจะมีการประชุมบอร์ดกองทุนอีกครั้งในวันที่ 5 มิ.ย.นี้โดยยังมั่นใจว่าจะสามารถแจกทันตามกรอบระยะเวลาเดิมคือภายในเดือน ส.ค. 2557
http://www.manager.co.th/CbizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9570000058657
ไม่มีความคิดเห็น: