28 พฤษภาคม 2557 ICT ระบุ เดินหน้าโครงการเนชั่นแนลดิจิทัลอินเทอร์เน็ตเกตเวย์ ตามมติของ คสช. โดย เกตเวย์ในมือ TOT และ CAT แค่ 2 รายก็ครอบคลุม 80–90% ของการใช้อินเทอร์เน็ตในไทยแล้ว
ประเด็นหลัก
นอกจากนี้ยังจะเดินหน้าโครงการเนชั่นแนลดิจิทัลอินเทอร์เน็ตเกตเวย์ ตามมติของ คสช.ที่เป็นความร่วมมือระหว่างผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต(ไอเอสพี)รายหลักที่มีวงจรเชื่อมต่อต่างประเทศ(เกตเวย์) ของตนเอง ได้แก่ บมจ.ทีโอที บมจ.กสท โทรคมนาคม และไอเอสพีอีก 6 ราย เพื่อสร้างมาตรฐานของโครงข่ายในด้านความมั่นคงปลอดภัย และให้ประชาชนสามารถใช้งานได้ทั่วถึงในราคาประหยัด
“เกตเวย์ในมือทีโอทีและกสท แค่ 2 รายก็ครอบคลุม 80–90% ของการใช้อินเทอร์เน็ตในไทยแล้ว หากรวมอีก 6 รายที่เช่าใช้จากต่างประเทศอยู่เข้ามาเป็นพาร์ทเนอร์ร่วมกัน แชร์ใช้และลงทุนร่วมกันไม่ต้องเช่าต่างประเทศ ไอเอสพีก็ยังทำธุรกิจได้เหมือนเดิมแต่มีมาตรฐานการกำกับดูแลที่ดีขึ้น กระทรวงไอซีทีจะเป็นคนกำกับดูแลการสร้างเกตเวย์ใหม่ การมีเนชั่นแนลเกตเวย์จะช่วยให้การบล็อกเว็บไซต์ การป้องกันจากโจมตีทางไซเบอร์ด้วยการก่อการร้ายหรือด้วยข้อมูลทำได้ง่ายขึ้น”
______________________________________
"ไอซีที"ผุดไอเดีย“ดิจิทัลอินเทอร์เน็ตเกตเวย์แห่งชาติ”บริหารเน็ตทั่วประเทศ-ควบรวม"ทีโอที-กสท"
นายสุรชัย ศรีสารคาม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที) เปิดเผยว่า ได้มอบหมายให้แต่ละหน่วยงานใต้สังกัด รวบรวมโครงการจำเป็นเร่งด่วนที่รอการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีเดิม และโครงการสำหรับการตั้งของบประมาณประจำปี 2558 เพื่อส่งให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) พิจารณาโดยเร็ว คาดว่าไม่เกิน 1 – 2 สัปดาห์นี้จะเรียบร้อยทั้งหมด
สำหรับโครงการเร่งด่วนที่กระทรวงไอซีทีจะเสนอคือการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีของประเทศ เพื่อขับเคลื่อนนโยบายสมาร์ทไทยแลนด์ต่อ เนื่องจากช่วยยกระดับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานราชการและการให้บริการประชาชน รวมถึงทำให้คุณภาพชีวิตของประชาชนดีขึ้น โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาระบบการเลือกตั้งให้โปร่งใส ตรวจสอบได้ หลังได้นำร่องโครงการไปแล้วที่จังหวัดนครนายก รวมถึงโครงการ ICT Free WiFi ที่ก่อนหน้านี้ได้เงินสนับสนุนจาก กสทช. 950 ล้านบาท เพื่อติดตั้งจุดให้บริการอินเทอร์เน็ตไร้สายทั่วประเทศ 150,000 จุด แต่ยังไม่ได้เริ่มดำเนินการ เนื่องจาก บมจ.ทีโอที ที่เป็นผู้ดำเนินการขาดงบประมาณสนับสนุน ขณะนี้กำลังให้ผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์วงเงินงบประมาณที่เหมาะสมอยู่
นอกจากนี้ยังจะเดินหน้าโครงการเนชั่นแนลดิจิทัลอินเทอร์เน็ตเกตเวย์ ตามมติของ คสช.ที่เป็นความร่วมมือระหว่างผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต(ไอเอสพี)รายหลักที่มีวงจรเชื่อมต่อต่างประเทศ(เกตเวย์) ของตนเอง ได้แก่ บมจ.ทีโอที บมจ.กสท โทรคมนาคม และไอเอสพีอีก 6 ราย เพื่อสร้างมาตรฐานของโครงข่ายในด้านความมั่นคงปลอดภัย และให้ประชาชนสามารถใช้งานได้ทั่วถึงในราคาประหยัด
“เกตเวย์ในมือทีโอทีและกสท แค่ 2 รายก็ครอบคลุม 80–90% ของการใช้อินเทอร์เน็ตในไทยแล้ว หากรวมอีก 6 รายที่เช่าใช้จากต่างประเทศอยู่เข้ามาเป็นพาร์ทเนอร์ร่วมกัน แชร์ใช้และลงทุนร่วมกันไม่ต้องเช่าต่างประเทศ ไอเอสพีก็ยังทำธุรกิจได้เหมือนเดิมแต่มีมาตรฐานการกำกับดูแลที่ดีขึ้น กระทรวงไอซีทีจะเป็นคนกำกับดูแลการสร้างเกตเวย์ใหม่ การมีเนชั่นแนลเกตเวย์จะช่วยให้การบล็อกเว็บไซต์ การป้องกันจากโจมตีทางไซเบอร์ด้วยการก่อการร้ายหรือด้วยข้อมูลทำได้ง่ายขึ้น”
ส่วนรูปแบบการบริหารงานของเนชั่นแนลดิจิทัลอินเทอร์เน็ตเกตเวย์จะเป็นการทำงานร่วมกันของภาครัฐและเอกชน ซึ่งกำลังพิจารณาว่าจะใช้รูปแบบไหน คาดว่าจะเห็นเป็นรูปธรรมภายใน 1-2 เดือนนี้ สำหรับการควบรวมบมจ.ทีโอที และบมจ. กสท โทรคมนาคม เป็นแผนงานในอนาคตที่กำลังพิจารณาเช่นกันว่าควรใช้รูปแบบใดเพื่อให้เป็นองค์กรที่มีความเข้มแข็งและอยู่รอดได้
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1401184718
ไม่มีความคิดเห็น: