28 พฤษภาคม 2557 MThai ระบุ ปีที่แล้วรายได้จากโฆษณาโตไม่ต่ำกว่า 50% แม้ยอดคนเข้าเว็บจะค่อนข้างนิ่ง โตแค่ 10-15% ต่อเดือน ค่าบริการแค่ 129 บาท/เดือน และ 29 บาทต่อวัน ปีที่แล้วมียอดสมาชิกถึง 100,000 คน
ประเด็นหลัก
- ภาพรวมของเอ็มไทย
ปีที่แล้วรายได้จากโฆษณาโตไม่ต่ำกว่า 50% แม้ยอดคนเข้าเว็บจะค่อนข้างนิ่ง โตแค่ 10-15% ต่อเดือน ปีนี้ตั้งเป้ารายได้โตกว่า 50% เหมือนเดิม ปีที่ผ่านมาเน้นปรับวิธีการทำงานในองค์กร ไม่เน้นฟีเจอร์ของเว็บไซต์ แต่ปีนี้จะเน้นเรื่องฟีเจอร์บนเว็บไซต์เป็นหลัก โดยส่วนตัวอยากเพิ่มคนเข้าชมเว็บไซต์ แต่ต้องการทำให้สัมพันธ์กับเนื้อหาในเว็บและวิธีการทำตลาด ทำเนื้อหาที่มีคนส่งต่อ สร้างเนื้อหาที่คนอ่านเห็นแล้วเข้าใจง่าย เช่น อินโฟกราฟิกบอกข้อมูลต่าง ๆ
ผมยังช่วยดูแลเว็บโฮเต็ลไทยแลนด์มาปีกว่า เป็นบริษัทที่เราไปเทกโอเวอร์มา จากผลสำรวจปีที่ผ่านมาพบว่า คนใช้เว็บไซต์เราชอบเสิร์ชหาข้อมูลโรงแรม เราเห็นว่ายังมีช่องว่างให้ทำรายได้ต่อด้วยการให้บริการข้อมูลกับลูกค้าว่าโรงแรมนี้ใกล้กับอะไรบ้าง เหมาะกับลูกค้าสไตล์ไหน และเปิดให้จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ จะรุกตลาดจีนมากขึ้นด้วยการเปิดให้เว็บไซต์ภาษาจีน รายได้มาจากค่านายหน้าเป็นหลัก
สำหรับเว็บไซต์ดูหนังออนไลน์ แยกให้ส่วนธุรกิจที่จัดการเรื่องการนำเข้าลิขสิทธ์หนังในเครือโมโนดูแลไปเลย เพื่อไม่ให้ทำงานซ้ำซ้อน เน้นเพิ่มความหลากหลายของลิขสิทธิ์หนังนำเข้า และหาวิธีกระจายเซอร์วิสไปยังอุปกรณ์ต่าง ๆ จุดเด่นอยู่ที่การมีหนังที่หาดูได้ยากควบคู่ไปกับหนังดังตามกระแส ค่าบริการแค่ 129 บาท/เดือน และ 29 บาทต่อวัน ปีที่แล้วมียอดสมาชิกถึง 100,000 คน
______________________________________
"เอ็มไทย" ขี่คลื่นโซเชียล ผนึกพันธมิตรเพิ่มสปริงบอร์ดธุรกิจ
นับเป็นรุ่นบุกเบิกในวงการอินเทอร์เน็ตบ้านเราก็น่าจะได้ สำหรับ "เอ็มไทย" อีกหนึ่งเว็บท่าชื่อดัง เทียบกับเว็บท่ารุ่นใกล้ ๆ กันอาจดูเก็บตัวเงียบเชียบ แต่ฐานทุนแน่นปึ้กไม่แพ้ใคร เพราะอยู่ใต้ปีกของ "โมโนกรุ๊ป"
ที่เงียบไม่ได้หายไปไหน แต่อยู่ระหว่างปรับปรุงโครงสร้างภายในก่อนกลับมาเปิดเกมรุกอีกครั้ง กับเป้าหมายขึ้นเป็นเว็บท่าเบอร์ 2 ของไทยให้ได้ ก่อนจบปี 2557 นี้
จะทำได้อย่างไร "ประชาชาติธุรกิจ" มีโอกาสพูดคุยกับ "ปฐมพงศ์ สิรชัยรัตน์" ผู้อำนวยการกลุ่มธุรกิจอินเทอร์เน็ต บริษัท โมโน เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) ดังนี้
- การเข้ามาของ Youtube ในไทย
เป็นปัจจัยทั้งบวกและลบกับเอ็มไทย เพราะเมื่อ Youtube เข้ามารุกตลาดในประเทศไทยเต็มตัว บรรดาผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและองค์กรต่าง ๆ จะรู้ว่าสามารถลงโฆษณาบนวิดีโอออนไลน์ได้อย่างกว้างขวาง จากเดิมมีเพียงไม่กี่บริษัทที่รู้ว่าทำตรงนี้ได้ ในภาพรวมจะทำให้มูลค่าโฆษณาเติบโตอย่างเห็นได้ชัด
แต่ก็ทำให้มีคู่แข่งระดับโลกเข้ามา มูลค่าโฆษณาจึงโดนแบ่งไปโดยปริยาย ที่สำคัญ Youtube สามารถให้บริการจุดเดียวเบ็ดเสร็จ เพราะเป็นตั้งแต่เอเยนซี่โฆษณา จนถึงเจ้าของพื้นที่ให้โฆษณาขึ้นไปแสดง ทำให้ลูกค้าสะดวกเมื่อเทียบกับเราที่เป็นแค่พื้นที่โฆษณาเท่านั้น ลูกค้าต้องไปคุยกับเอเยนซี่เองและทางนั้นก็จะมาคุยกับเราอีกที
อย่างไรก็ตาม เอ็มไทยไม่ได้มีแค่โฆษณาบนวิดีโอ แต่มีทั้งโฆษณาที่มีภาพประกอบหรือการเขียนเชิงโฆษณา ทำให้มีจุดต่างจาก Youtube ที่มีแต่วิดีโอ และเพื่อให้การแข่งขันไม่เน้นไปที่ด้านราคาเป็นหลัก เราได้เข้าไปคุยกับกูเกิลเพื่อหาทางออกให้เรื่องนี้
- ภาพรวมของเอ็มไทย
ปีที่แล้วรายได้จากโฆษณาโตไม่ต่ำกว่า 50% แม้ยอดคนเข้าเว็บจะค่อนข้างนิ่ง โตแค่ 10-15% ต่อเดือน ปีนี้ตั้งเป้ารายได้โตกว่า 50% เหมือนเดิม ปีที่ผ่านมาเน้นปรับวิธีการทำงานในองค์กร ไม่เน้นฟีเจอร์ของเว็บไซต์ แต่ปีนี้จะเน้นเรื่องฟีเจอร์บนเว็บไซต์เป็นหลัก โดยส่วนตัวอยากเพิ่มคนเข้าชมเว็บไซต์ แต่ต้องการทำให้สัมพันธ์กับเนื้อหาในเว็บและวิธีการทำตลาด ทำเนื้อหาที่มีคนส่งต่อ สร้างเนื้อหาที่คนอ่านเห็นแล้วเข้าใจง่าย เช่น อินโฟกราฟิกบอกข้อมูลต่าง ๆ
ผมยังช่วยดูแลเว็บโฮเต็ลไทยแลนด์มาปีกว่า เป็นบริษัทที่เราไปเทกโอเวอร์มา จากผลสำรวจปีที่ผ่านมาพบว่า คนใช้เว็บไซต์เราชอบเสิร์ชหาข้อมูลโรงแรม เราเห็นว่ายังมีช่องว่างให้ทำรายได้ต่อด้วยการให้บริการข้อมูลกับลูกค้าว่าโรงแรมนี้ใกล้กับอะไรบ้าง เหมาะกับลูกค้าสไตล์ไหน และเปิดให้จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ จะรุกตลาดจีนมากขึ้นด้วยการเปิดให้เว็บไซต์ภาษาจีน รายได้มาจากค่านายหน้าเป็นหลัก
สำหรับเว็บไซต์ดูหนังออนไลน์ แยกให้ส่วนธุรกิจที่จัดการเรื่องการนำเข้าลิขสิทธ์หนังในเครือโมโนดูแลไปเลย เพื่อไม่ให้ทำงานซ้ำซ้อน เน้นเพิ่มความหลากหลายของลิขสิทธิ์หนังนำเข้า และหาวิธีกระจายเซอร์วิสไปยังอุปกรณ์ต่าง ๆ จุดเด่นอยู่ที่การมีหนังที่หาดูได้ยากควบคู่ไปกับหนังดังตามกระแส ค่าบริการแค่ 129 บาท/เดือน และ 29 บาทต่อวัน ปีที่แล้วมียอดสมาชิกถึง 100,000 คน
- ทั้ง 3 เว็บเสริมกันอย่างไร
สามส่วนนี้แยกกัน โฮเต็ลไทยแลนด์ และดูหนังออนไลน์มีรายได้จากการขายโดยตรง แต่เอ็มไทยต่างออกไป รายได้มาจากการโฆษณา ตอนนี้เอ็มไทยเป็นพี่ใหญ่ เป็นทางผ่านที่มีคนเข้าออกเยอะ แผนเราคือเอาทั้งสามส่วนมาซินเนอร์ยี่ เอ็มไทยต้องโปรโมตให้เนียน ทำให้ผู้บริโภครู้สึกดีกับบริการทั้งสองตัวนี้
การที่เอ็มไทยเป็นสื่อจะช่วยเพิ่มยอดทราฟฟิกให้ทั้งสองเว็บได้ ประโยชน์ที่ได้คือลูกค้าให้ความสนใจซื้อพื้นที่โฆษณามากขึ้น ลงโฆษณากับเราแล้วได้สิทธิพิเศษเรื่องโรงแรมและแพ็กเกจดูหนังพร้อมกันไปด้วย
- กลยุทธ์ในภาพรวม
มี 4 เรื่อง เรื่องแรก แยกหน่วยงานดูแลลูกค้าระดับเอสเอ็มอี เน้นเอสเอ็มอีที่มีทุนน้อย แต่อยากลองทำการตลาดออนไลน์ เรามีฐานลูกค้าอยู่บ้างในกลุ่มสินค้าเครื่องสำอาง, แฟชั่น และอาหารเสริม ทีมจะเข้าไปคุยเรื่องแพ็กเกจโฆษณาที่เหมาะกับการขายสินค้า แนะนำความรู้ทั่วไปเรื่องการทำการตลาดออนไลน์ให้
เรื่องที่ 2 คือแอปพลิเคชั่น ปรับรูปแบบหน้าแอปเอ็มไทยให้ใช้ง่ายขึ้น เปิดตัวแอปข่าว และโซเชียลมีเดีย รวมถึงแอปสิทธิประโยชน์จากร้านค้าต่าง ๆ ให้ลูกค้าในกลางปีนี้ มีทีมดูแลเนื้อหาบนโมบายดีไวซ์ต่างหาก
เรื่องที่ 3 เปิดให้ฐานผู้เข้าชมเว็บมีช่องทางในการเข้ามาลงทุนกับเรา อาจให้มาช่วยเขียนคอนเทนต์ ช่วยโฆษณา ใช้รูปแบบฟรีแลนซ์ จ่ายค่าเรื่องหรือแบ่งรายได้โฆษณา สุดท้ายจะเข้าไปจับมือกับพาร์ตเนอร์ที่เป็นผู้ผลิตเนื้อหาและรายการเพิ่ม จากที่มี 15 รายปี ทั้งค่ายละคร, ผู้ผลิตรายการเกาหลี รวมถึงดาราที่มีรายการของตนเอง เนื้อหาประเภทนี้สร้างยอดเพจวิวได้ง่าย คอนเทนต์หนึ่งมีเพจวิว 20,000-200,000 ครั้ง เรายังเป็นช่องทางให้เจ้าของคอนเทนต์สร้างรายได้
- แผนการลงทุน
มากกว่า 30 ล้านบาท ซื้อโซลูชั่นระบบหลังบ้านใช้เชื่อมคอนเทนต์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกันให้คนเข้าเว็บไซต์มองเห็นได้ อีกส่วนเป็นการลงทุนเพิ่มสตอเรจ และใช้คลาวด์คอมพิวติ้ง
ด้านการทำตลาดจะพยายามนำเอ็มไทยไปลงสื่อกระแสหลักมากขึ้น เมื่อก่อนโทรทัศน์, หนังสือพิมพ์, เคเบิลทีวี มักดึงเนื้อหาจากเว็บไปใช้ น่าจะดึงยอดได้ส่วนหนึ่ง ปลายปีน่าจะไต่ขึ้นไปเป็นเว็บท่าอันดับ 2 ของไทยได้
- จุดแข็งของเอ็มไทย
อ่านเพลิน, ง่าย และเนื้อหาทำเองมากกว่า 50% คนเข้าเว็บไซต์ส่วนใหญ่เข้าผ่านเสิร์ชเอ็นจิ้น มากถึง 30% คนที่เข้าผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์กมีแค่ 5-10% โจทย์สำคัญต่อจากนี้คือทำยังไงให้มีเนื้อเรื่องไปอยู่บนพื้นที่โซเชียลเน็ตเวิร์ก
รายได้ของเรา ส่วนแรกมาจากแบนเนอร์บนเว็บไซต์ เป็นโฆษณาที่ปรากฏก่อนดูวิดีโอ คิดเป็น 20-40% ส่วนที่ 2 คือโฆษณาในรูปแบบเนื้อหากึ่งโฆษณา ส่วนที่ 3 มาจากขายพ่วงแคมเปญการตลาด เช่น จัดสัมมนา, จัดเวิร์กช็อป หรือนำไปทำตลาดเชื่อมโซเชียลเน็ตเวิร์กรายอื่น
จำนวนคนเข้าเว็บไซต์อยู่ที่ 7.2-7.8 แสนคน/วัน ผู้ใช้อายุน้อยระดับมัธยมถึงมหาวิทยาลัยเริ่มเข้าไปอ่านเนื้อหาหลากหลายชนิดมากกว่าเดิม รวมถึงเนื้อหาสำหรับผู้อ่านที่เป็นผู้ใหญ่ ทุกเว็บไซต์พบว่าเด็กเข้าเว็บไซต์เยอะขึ้น ทำให้ต้องระมัดระวังเรื่องการนำเสนอเนื้อหามากขึ้น
- มองตลาดเว็บไซต์ไทยปีนี้อย่างไร
ที่เห็นชัดมากคือแต่ละเว็บไซต์แข่งกันผ่านเฟซบุ๊กและมือถือหนักมาก ที่สำคัญกว่าคือเว็บไซต์อันดับต้น ๆ ในไทยหลายแห่งหันมาเน้นเรื่องคุณภาพเนื้อหา คงเริ่มมองเห็นว่าการแข่งด้วยยอดคนเข้าเว็บไซต์อย่างเดียว แต่เนื้อหาฉาบฉวยจะดูไม่ดี จะได้รับการกดดันจากทั้งลูกค้าที่ซื้อโฆษณาและฐานผู้ใช้ อีกทั้งเว็บไซต์หลายแห่งยังฉลาดหยิบประเด็นข่าว และใช้วิธีพาดหัวเหมือนหนังสือพิมพ์
สถานการณ์การเมืองตั้งแต่ปลายปีที่แล้วส่งผลให้คนไม่มีความมั่นใจ และชะลอการลงโฆษณาบ้าง คนเข้าเว็บไม่ได้มากขึ้นชัดเจน แต่สนใจข่าวสารเยอะขึ้น ทำให้เว็บไซต์ข่าวทั้งหมดโตตามไปด้วย
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1401251880
ไม่มีความคิดเห็น: