Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

28 พฤษภาคม 2557 กุลทิพย์.ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ ระบุ วัยรุ่นไทยนิยม แบ่งปัน โดยเฉพาะ ส่งการบ้านผ่านกลุ่มไลน์, มีห้องเฉพาะในเฟซบุ๊คสำหรับการติวหรือเก็งข้อสอบในวิชาสำคัญๆ เช่น คณิตศาสตร์, ภาษาอังกฤษ และวิทยาศาสตร์ เป็นต้น


ประเด็นหลัก

"รศ.ดร.กุลทิพย์" กล่าวเพิ่มเติมว่า จากการศึกษายังพบการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมการเรียนจากสมัยก่อน ซึ่งเดิมนักเรียนที่ได้คะแนนดีและเรียนเก่งมักจะหวงวิชา ไม่ต้องการแบ่งปัน แต่ปัจจุบันเมื่อสื่อสังคมออนไลน์เข้ามามีอิทธิพล ได้สร้างบทบาทที่เห็นได้ชัดว่า พฤติกรรมการเรียนรู้ในสื่อสังคมออนไลน์ของเยาวชนยุคนี้เปลี่ยนไป เกิดวัฒนธรรมของการ “แบ่งปัน” หรือ Sharing Culture ในวัยรุ่น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องส่วนตัวหรือการเรียน


นอกจากนั้น ยังมี “ห้องแชร์การบ้าน” เป็นอีกหน้าต่างหนึ่งบนโลกออนไลน์ที่สามารถทำให้เกิดทักษะการเรียนและการเข้าสังคม ซึ่งสะท้อนถึงภาพพฤติกรรมการเรียนรู้และการแบ่งปันความรู้ของวัยรุ่นยุคใหม่ เด็กๆ สามารถเลือกรับเนื้อหาและกำหนดองค์ความรู้ที่อยากจะศึกษาหรือถ่ายทอดได้โดยง่าย โดยครูและเพื่อนร่วมชั้นเรียนจะร่วมกันถาม-ตอบ ผ่านเครื่องมือสื่อสารได้หลากหลายวิธี อาทิ ส่งการบ้านผ่านกลุ่มไลน์, มีห้องเฉพาะในเฟซบุ๊คสำหรับการติวหรือเก็งข้อสอบในวิชาสำคัญๆ เช่น คณิตศาสตร์, ภาษาอังกฤษ และวิทยาศาสตร์ เป็นต้น



ทั้งนี้ การเกิดพฤติกรรมคนชอบแชร์ จึงเป็นต้นทางที่สร้างความสุขให้ผู้โพสต์ข้อความอยากเผยแพร่ และรู้สึกภูมิใจเมื่อมีคนกดไลค์บนหน้าเพจของตนเองเยอะๆ หรือได้รับการแสดงความคิดเห็น และชื่นชมเป็นจำนวนมาก ซึ่งถือเป็นจุดเปลี่ยนของการเรียนรู้ในสังคมออนไลน์ทางบวกที่ทำให้วัยรุ่นเกิดจิตสำนึกของการให้ อย่างไรก็ตาม ผู้ใหญ่ก็ต้องเฝ้าระวังพฤติกรรมด้านการลอกเรียนแบบ หรือพฤติกรรมประเภท รอรับ–รอลอกข้อมูลจากเพื่อนอย่างเดียว เพราะจะเป็นการสร้างนิสัยการศึกษาเรียนรู้แบบผิดๆ ให้กับเยาวชนซึ่งจะเติบโตไปเป็นบุคคลากรของประเทศในอนาคต


______________________________________


วัยรุ่นไทยนิยม "แชทเพื่อแชร์การบ้าน" พฤติกรรมการเรียนรู้แบบใหม่บนโลกออนไลน์


ประชาชาติธุรกิจออนไลน์



ปัญญาสมาพันธ์เพื่อการวิจัยความเห็นสาธารณะแห่งประเทศไทย โดยการสนับสนุนของ บมจ.ซีพี ออลล์ ได้เผยผลงานวิจัยล่าสุด เรื่อง ”การใช้สื่อสังคม (Social Media) ของวัยรุ่นเพื่อการเรียนรู้การดำรงชีวิต” โดยมี รศ.ดร.กุลทิพย์ ศาสตระรุจิ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เป็นหัวหน้าโครงกาาร โดยเป็นการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ ในกลุ่มเยาวชนช่วงอายุ 14-16 ปี จำนวน 101 คน ทั้งในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด ใน 3 ประเด็นหลัก คือ วิถีชีวิต, พฤติกรรมการใช้สื่อ และการเรียนรู้ทางสังคม

"รศ.ดร.กุลทิพย์" กล่าวว่า จากผลวิจัยด้านวิถีชีวิต พบว่า วัยรุ่นส่วนใหญ่ในกทม.ใช้เวลาสื่อสารหรือแชทบนโซเชียลมีเดียเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 6 ชั่วโมง และสูงสุด 16 ชั่วโมง ส่วนวัยรุ่นต่างจังหวัดใช้เวลาเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 5 ชั่วโมง และสูงสุด 12 ชั่วโมง โดยแง่มุมที่น่าสนใจของการสื่อสารออนไลน์คือ การส่งเสริมการเรียนและสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่าง “ครูกับลูกศิษย์” ซึ่งสื่อออนไลน์เข้ามามีบทบาทในด้านของการที่ครูช่วยเรื่องการติว, การสอนเสริมเพิ่มเติมจากห้องเรียน และการสอดส่องดูแลพฤติกรรม

นอกจากนั้น ยังมี “ห้องแชร์การบ้าน” เป็นอีกหน้าต่างหนึ่งบนโลกออนไลน์ที่สามารถทำให้เกิดทักษะการเรียนและการเข้าสังคม ซึ่งสะท้อนถึงภาพพฤติกรรมการเรียนรู้และการแบ่งปันความรู้ของวัยรุ่นยุคใหม่ เด็กๆ สามารถเลือกรับเนื้อหาและกำหนดองค์ความรู้ที่อยากจะศึกษาหรือถ่ายทอดได้โดยง่าย โดยครูและเพื่อนร่วมชั้นเรียนจะร่วมกันถาม-ตอบ ผ่านเครื่องมือสื่อสารได้หลากหลายวิธี อาทิ ส่งการบ้านผ่านกลุ่มไลน์, มีห้องเฉพาะในเฟซบุ๊คสำหรับการติวหรือเก็งข้อสอบในวิชาสำคัญๆ เช่น คณิตศาสตร์, ภาษาอังกฤษ และวิทยาศาสตร์ เป็นต้น

“เมื่อผนวกเรื่องทักษะการเรียนกับสื่อสังคมออนไลน์ สังเกตได้ว่า คนเก่งและมีความเชี่ยวชาญในวิชาต่างๆ จะมีความสุขในการสรุปประเด็นสำคัญที่ครูสอน แล้วนำมาโพสต์ให้เพื่อนร่วมชั้นเรียนได้เอาไปแชร์ต่อๆ กัน”

"รศ.ดร.กุลทิพย์" กล่าวเพิ่มเติมว่า จากการศึกษายังพบการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมการเรียนจากสมัยก่อน ซึ่งเดิมนักเรียนที่ได้คะแนนดีและเรียนเก่งมักจะหวงวิชา ไม่ต้องการแบ่งปัน แต่ปัจจุบันเมื่อสื่อสังคมออนไลน์เข้ามามีอิทธิพล ได้สร้างบทบาทที่เห็นได้ชัดว่า พฤติกรรมการเรียนรู้ในสื่อสังคมออนไลน์ของเยาวชนยุคนี้เปลี่ยนไป เกิดวัฒนธรรมของการ “แบ่งปัน” หรือ Sharing Culture ในวัยรุ่น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องส่วนตัวหรือการเรียน

ทั้งนี้ การเกิดพฤติกรรมคนชอบแชร์ จึงเป็นต้นทางที่สร้างความสุขให้ผู้โพสต์ข้อความอยากเผยแพร่ และรู้สึกภูมิใจเมื่อมีคนกดไลค์บนหน้าเพจของตนเองเยอะๆ หรือได้รับการแสดงความคิดเห็น และชื่นชมเป็นจำนวนมาก ซึ่งถือเป็นจุดเปลี่ยนของการเรียนรู้ในสังคมออนไลน์ทางบวกที่ทำให้วัยรุ่นเกิดจิตสำนึกของการให้ อย่างไรก็ตาม ผู้ใหญ่ก็ต้องเฝ้าระวังพฤติกรรมด้านการลอกเรียนแบบ หรือพฤติกรรมประเภท รอรับ–รอลอกข้อมูลจากเพื่อนอย่างเดียว เพราะจะเป็นการสร้างนิสัยการศึกษาเรียนรู้แบบผิดๆ ให้กับเยาวชนซึ่งจะเติบโตไปเป็นบุคคลากรของประเทศในอนาคต

“ผู้ใหญ่ควรเข้าไปสัมผัสเรียนรู้ถึงวิถีชีวิตออนไลน์ของวัยรุ่น เข้าใจ และให้คุณค่า พร้อมทั้งเรียนรู้และปรับตัวกับการอยู่ร่วมกันของวัยรุ่นในโลกออนไลน์ ด้วยการเปิดใจให้กว้าง มองพื้นที่ออนไลน์เปรียบเสมือนอีกเวทีที่ให้วัยรุ่นได้แสดงศักยภาพ สร้างทักษะประสบการณ์ และสร้างตัวตนในสังคมออนไลน์  ซึ่งจะทำให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันเป็นเครือข่าย” รศ.ดร.กุลทิพย์กล่าว

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1401253794

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.