Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

30 พฤษภาคม 2557 ที่ปรึกษาปลัดICT.พิสิษฐ์ ระบุ การเข้าไปตรวจสอบไลน์นั้น จะไม่เข้าไปละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของประชาชนอย่างแน่นอน และจะเน้นหลักไปที่ห้องสนทนาต่างๆ ที่มีจำนวนสมาชิกหลายคน


ประเด็นหลัก


       ทั้งนี้ในขั้นตอนต่อไป ทางคณะทำงานกำกับดูแลการใช้อินเทอร์เน็ตและสื่อสังคมออนไลน์ จะเริ่มเข้าไปตรวจสอบการใช้งานของประชาชนที่เข้าข่ายขัดประกาศ คสช. ผ่านการใช้งานแอปพลิเคชัน “ไลน์” โดยในช่วงสัปดาห์หน้าทางกระทรวงไอซีที จะส่งเจ้าหน้าที่ระดับสูงไปเจรจากับ สำนักงานใหญ่ของบริษัทผู้ให้บริการไลน์ ที่ประเทศญี่ปุ่น เพื่อขออำนาจในการเข้าตรวจสอบการใช้งานไลน์ของประชาชน รวมทั้งยังมีการส่งเจ้าหน้าที่ ไปเจรจาเพิ่มเติมกับบริษัท เฟซบุ๊ก และ กูเกิล สำนักงานใหญ่ในภูมิภาคที่ประเทศสิงคโปร์ด้วยเช่นกัน เพื่อขอสิทธิยับยั้งเจ้าของเว็บไซต์หรือบัญชีรายชื่อในเฟสบุ๊ก ที่เข้าข่ายขัดประกาศ คสช. และเคยโดนปิดเว็บไซต์ หรือมีบัญชีรายชื่อไปแล้วให้ไม่สามารถกลับมาใช้งานได้ใหม่อีก
      
       'การเข้าไปตรวจสอบไลน์นั้น จะไม่เข้าไปละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของประชาชนอย่างแน่นอน โดยกระทรวงจะเน้นผู้ที่กระทำความผิดตามกฎหมายเป็นหลัก และจะเน้นหลักไปที่ห้องสนทนาต่างๆ ที่มีจำนวนสมาชิกหลายคน แต่การจะเข้าไปได้จะต้องให้มีคนหนึ่งคนใดในห้องนั้นๆ แจ้งเบาะแสมายังเราเสียก่อน จึงจะเข้าไปตรวจสอบได้'
      

______________________________________


ไอซีทีย้ำเฟซบุ๊กล่มเพราะเกตเวย์ พร้อมลุยตรวจเข้ม “ไลน์”
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์   
   
ไอซีทีย้ำเฟซบุ๊กล่มเพราะเกตเวย์ พร้อมลุยตรวจเข้ม “ไลน์”
       ไอซีที ชี้แจงเหตุเฟซบุ๊กล่มเมื่อวันที่ 28 พ.ค. ย้ำเป็นเพราะปัญหาเกตเวย์ที่สิงคโปร์ล่ม พร้อมปัดกรณีปลัดไอซีทีระบุได้รับคำสั่งจากคสช.เป็นการเข้าใจผิด ล่าสุดสัปดาห์หน้าเตรียมบินไปญี่ปุ่นขอตรวจสอบบทสนทนาบนแอปพลิเคชั่น “ไลน์”
      
       พล.ต.ต.พิสิษฐ์ เปาอินทร์ ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที) และอดีตผู้บังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทาง เทคโนโลยี (ปอท.) กล่าวว่า จากกรณีที่เมื่อวันที่ 28 พ.ค. เวลาประมาณ15.00-17.00 น. เกิดปัญหาคนไทยไม่สามารถใช้งานเว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์เฟซบุ๊กได้นั้น กระทรวงไอซีทีขอยืนยันว่าจากการตรวจสอบข้อมูลแล้วพบว่า เกิดจากวงจรเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศ (เกตเวย์) จากชุมสายของเฟสบุ๊กในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ที่ประเทศสิงคโปร์ เกิดการล่ม ประกอบกับในประเทศไทยในช่วงเวลาดังกล่าว มีอัตราการใช้งานขึ้นสูงที่สุดจึงส่งผลให้เกิดเหตุการณ์ใช้เฟซบุ๊กไม่ได้ราว 2 ชั่วโมง
      
       ทั้งนี้ในส่วนของผู้ใช้งานบางรายในช่วงเวลาดังกล่าว มีการขึ้นข้อความบนหน้าจอว่าสาเหตุที่ใช้งานไม่ได้นั้นเกิดจากการปิดโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) นั้น จากการตรวจสอบแล้วพบว่าเกิดจากการที่ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ไอเอสพี) บางรายเข้าใจผิดจากข้อความที่ส่งต่อบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ และช่องทางอื่นๆ ว่า คสช. เป็นผู้สั่งดำเนินการ จึงมีการขึ้นข้อความดังกล่าว
      
       'ส่วนกระแสข่าวที่ระบุว่า นายสุรชัย ศรีสารคาม ปลัดกระทรวงไอซีที ให้ข่าวว่า คสช. สั่งปิดนั้น เกิดจากความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนของสื่อมวลชนบางสำนัก และปลัดกระทรวงเอง เนื่องจากการปิดโดยคำสั่ง คสช. ที่ปลัดกระทรวงไอซีทีหมายถึง คือการปิดเว็บไซต์ที่เข้าข่ายขัดต่อประกาศ คสช. ในเรื่องต่างๆ อาทิ หมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ หรือ ยั่วยุให้เกิดความขัดแย้งในสังคม'

ไอซีทีย้ำเฟซบุ๊กล่มเพราะเกตเวย์ พร้อมลุยตรวจเข้ม “ไลน์”
       สำหรับเว็บไซต์ที่มีการปิดไปแล้วนั้น ตอนนี้มีจำนวนทั้งสิ้นราว 100 ราย ทั้งในส่วนที่เป็นเว็บเพจ และบัญชีใช้งานส่วนบุคคล ที่เข้าข่ายขัดต่อประกาศ คสช. โดยขอยืนยันว่าการจะปิดการใช้งานได้ ทางคณะทำงานกำกับดูแลการใช้อินเทอร์เน็ต และสื่อสังคมออนไลน์ ภายใต้อำนาจของ คสช. จะมีทีมพิจารณา จากคณะกรรมการพิจารณาจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และสำนักงานอัยการสูงสุดเสียก่อน
      
       ทั้งนี้ในขั้นตอนต่อไป ทางคณะทำงานกำกับดูแลการใช้อินเทอร์เน็ตและสื่อสังคมออนไลน์ จะเริ่มเข้าไปตรวจสอบการใช้งานของประชาชนที่เข้าข่ายขัดประกาศ คสช. ผ่านการใช้งานแอปพลิเคชัน “ไลน์” โดยในช่วงสัปดาห์หน้าทางกระทรวงไอซีที จะส่งเจ้าหน้าที่ระดับสูงไปเจรจากับ สำนักงานใหญ่ของบริษัทผู้ให้บริการไลน์ ที่ประเทศญี่ปุ่น เพื่อขออำนาจในการเข้าตรวจสอบการใช้งานไลน์ของประชาชน รวมทั้งยังมีการส่งเจ้าหน้าที่ ไปเจรจาเพิ่มเติมกับบริษัท เฟซบุ๊ก และ กูเกิล สำนักงานใหญ่ในภูมิภาคที่ประเทศสิงคโปร์ด้วยเช่นกัน เพื่อขอสิทธิยับยั้งเจ้าของเว็บไซต์หรือบัญชีรายชื่อในเฟสบุ๊ก ที่เข้าข่ายขัดประกาศ คสช. และเคยโดนปิดเว็บไซต์ หรือมีบัญชีรายชื่อไปแล้วให้ไม่สามารถกลับมาใช้งานได้ใหม่อีก
      
       'การเข้าไปตรวจสอบไลน์นั้น จะไม่เข้าไปละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของประชาชนอย่างแน่นอน โดยกระทรวงจะเน้นผู้ที่กระทำความผิดตามกฎหมายเป็นหลัก และจะเน้นหลักไปที่ห้องสนทนาต่างๆ ที่มีจำนวนสมาชิกหลายคน แต่การจะเข้าไปได้จะต้องให้มีคนหนึ่งคนใดในห้องนั้นๆ แจ้งเบาะแสมายังเราเสียก่อน จึงจะเข้าไปตรวจสอบได้'
      
       ส่วนเหตุผลที่ต้องส่งเจ้าหน้าที่ไปยังประเทศญี่ปุ่น เพื่อตรวจสอบเนื่องจากการสื่อสารผ่านไลน์ทั้งหมด จะถูกส่งผ่านไปยังเซิร์ฟเวอร์ที่ญี่ปุ่น ทำให้แม้ว่าจะมีการตั้งสำนักงานไลน์ในไทยแล้วก็ตาม แต่ก็ไม่สามารถตรวจสอบได้ เพราะนโยบายหลักของไลน์ คือการรักษาความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน
      
       นอกจากนี้ในวันที่ 29 พ.ค.ที่ผ่านมากระทรวงไอซีทียังได้มีการเชิญไอเอสพี ทั้งหมดมาหารือเพื่อทำความเข้าใจเพิ่มเติมถึงแนวทางการทำงานภายใต้ประกาศของ คสช.

http://www.manager.co.th/CbizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9570000060209

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.