Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

30 พฤษภาคม 2557 กสทช.สุภิญญา ระบุ สถานีโทรทัศน์ และวิทยุหลายช่องที่ปิดไป จากคำสั่ง คสช. “กสทช.เอง ควรเป็นตัวกลางเจรจาแนวทางเรื่องนี้ ต้องแยกแยะช่องที่ทำถูกกฎหมาย เช่น ช่องการ์ตูน ช่องการศึกษา ช่องสารคดี


ประเด็นหลัก

28 พ.ค.2557 สุภิญญา กลางณรงค์ หนึ่งในคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า หลังจากมีประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (คสช.) ที่เกี่ยวข้องกับสื่อนั้น ส่งผลต่อโครงสร้างอุตสาหกรรมทีวีและสิทธิเสรีภาพต่อการนำเสนอข้อมูลข่าวสาร ทำให้สถานีโทรทัศน์ และวิทยุหลายช่องที่ปิดไป มีทั้งช่องที่อยู่ในกลุ่มน้ำดีทำถูกกฎหมาย และช่องที่ทำผิดกฎหมาย อีกทั้งตอนนี้มีแนวทางการออกอากาศได้เฉพาะช่องฟรีทีวีภาคพื้นดินแอนะล็อก ฟรีทีวีภาคพื้นดิจิตอล และ ช่องทีวีที่อยู่ในประเภทกิจการบอกรับสมาชิกดาวเทียม ประเภท (Pay TV) เท่านั้น จึงทำให้ทีวีกว่า 200 ช่อง ได้รับผลกระทบ

“กสทช.เอง ควรเป็นตัวกลางเจรจาแนวทางเรื่องนี้ เนื่องจากมีผลกระทบวงกว้างที่ควรสร้างความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย ควรฟังเสียงเอกชนและผู้บริโภค ตลอดจนการเยียวยาผู้บริโภคในทีวีบอกรับสมาชิกด้วย รวมทั้งแยกแยะช่องที่ทำถูกกฎหมาย เช่น ช่องการ์ตูน ช่องการศึกษา ช่องสารคดี ออกจากช่องที่ทำผิดกฎหมาย เช่น ช่องที่โฆษณาอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพเกินจริง ช่องไสยศาสตร์ เป็นต้น  ทั้งนี้ จึงน่าที่จะมีการรับฟังความคิดเห็นกับผู้ประกอบการกิจการและผู้บริโภคก่อน การตัดสินใจอย่างหนึ่งอย่างใด” สุภิญญา กล่าว


______________________________________


หวั่น ประกาศ คสช. กระทบอุตสาหกรรมทีวี-สิทธิผู้บริโภค เสนอ กสทช.เป็นตัวกลางเจรจา

   

ที่มา ประชาไท

28 พ.ค.2557 สุภิญญา กลางณรงค์ หนึ่งในคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า หลังจากมีประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (คสช.) ที่เกี่ยวข้องกับสื่อนั้น ส่งผลต่อโครงสร้างอุตสาหกรรมทีวีและสิทธิเสรีภาพต่อการนำเสนอข้อมูลข่าวสาร ทำให้สถานีโทรทัศน์ และวิทยุหลายช่องที่ปิดไป มีทั้งช่องที่อยู่ในกลุ่มน้ำดีทำถูกกฎหมาย และช่องที่ทำผิดกฎหมาย อีกทั้งตอนนี้มีแนวทางการออกอากาศได้เฉพาะช่องฟรีทีวีภาคพื้นดินแอนะล็อก ฟรีทีวีภาคพื้นดิจิตอล และ ช่องทีวีที่อยู่ในประเภทกิจการบอกรับสมาชิกดาวเทียม ประเภท (Pay TV) เท่านั้น จึงทำให้ทีวีกว่า 200 ช่อง ได้รับผลกระทบ

“กสทช.เอง ควรเป็นตัวกลางเจรจาแนวทางเรื่องนี้ เนื่องจากมีผลกระทบวงกว้างที่ควรสร้างความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย ควรฟังเสียงเอกชนและผู้บริโภค ตลอดจนการเยียวยาผู้บริโภคในทีวีบอกรับสมาชิกด้วย รวมทั้งแยกแยะช่องที่ทำถูกกฎหมาย เช่น ช่องการ์ตูน ช่องการศึกษา ช่องสารคดี ออกจากช่องที่ทำผิดกฎหมาย เช่น ช่องที่โฆษณาอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพเกินจริง ช่องไสยศาสตร์ เป็นต้น  ทั้งนี้ จึงน่าที่จะมีการรับฟังความคิดเห็นกับผู้ประกอบการกิจการและผู้บริโภคก่อนการตัดสินใจอย่างหนึ่งอย่างใด” สุภิญญา กล่าว

สุภิญญา กล่าวต่อว่า เช่นเดียวกับสถานีวิทยุที่ถูกปิด ทั้งสถานีวิทยุกลุ่มน้ำดีทำถูกกฎหมาย และสถานีวิทยุที่ทำผิดกฎหมาย ซึ่งควรมีการทยอยอนุญาตให้สถานีกลุ่มที่ทำถูกกฎหมาย เช่น วิทยุชุมชนที่ไม่มีโฆษณา วิทยุธรรมะ วิทยุธุรกิจที่ทำตามกฎหมายควรมีแผนกลับมาออกอากาศด้วย เพราะการปิดยาวไป อาจส่งผลกระทบต่อเรื่องอื่นๆ ด้วย อย่างคนตกงานจำนวนมาก ควรต้องมีการชี้แจงแนวทางให้ชัดเจน

ทั้งนี้ ส่วนตัวมีความกังวลการปิดสื่อใหม่ อย่างสื่อออนไลน์หรืออินเทอร์เน็ต ซึ่งในทางปฏิบัติยากจะที่ทำได้จริง เว้นแต่จะทำให้คนเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้น้อยลง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมองภาพความเป็นจริงในยุคดิจิตอลว่าการควบคุมทำได้จริงหรือไม่ เพราะการสร้างบรรยากาศแห่งความกลัวให้แผ่ปกคลุม อาจจะสร้างผลกระทบมุมกลับมากกว่าความสงบเรียบร้อย เพราะต้องยอมรับว่าสื่ออินเทอร์เน็ต มีธรรมชาติที่กระจายตัวทางเทคโนโลยี อย่างโซเชียลมีเดีย และเป็นช่องทางสุดท้ายที่ประชาชนจะสามารถหาข้อมูลได้รอบด้าน ในขณะที่สื่ออื่นจำกัดตัวเองด้วยการเซ็นเซอร์ หน่วยงานอย่าง กสทช. ควรช่วยถ่วงดุล สิทธิการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของผู้บริโภคด้วย



http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1401282387

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.