03 มิถุนายน 2557 (บทความ) ช่อง 3 VS กสทช. ทีวีดิจิตอล ศึกถอน 'มัสต์แครี่' ยื้อนาทีจอดำ // ระบุ จะต้องมีผู้มานั่งตัดโฆษณา และแทรกเนื้อหาสาระเข้าไป ซึ่งความจริงถ้าทำไม่ได้ตามนี้ ก็จะไม่ได้รับการออกอากาศ
ประเด็นหลัก
ทางออกของ กสทช.
ทั้งนี้ หากช่อง 3 ไม่ได้ยื่นฟ้อง กสทช. จะทำอะไรได้บ้าง คำตอบคือ จัดการกับผู้รับอนุญาตของ กสทช. อย่างเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียมที่จะให้ออกช่อง 3 ตามกฎของ กสทช. คือ ออกอากาศได้แต่ต้องมีโฆษณาไม่เกิน 6 นาทีต่อชั่วโมง ต่างจากทีวีอะนาล็อกที่มีโฆษณาได้ไม่เกิน 12 นาทีต่อชั่วโมง โดยทรู กับ ซีทีเอช และ เคเบิลทีวี ทีวีดาวเทียม จะต้องออกไม่เกินเช่นกัน ดังนั้น จะต้องมีผู้มานั่งตัดโฆษณา และแทรกเนื้อหาสาระเข้าไป ซึ่งความจริงถ้าทำไม่ได้ตามนี้ ก็จะไม่ได้รับการออกอากาศ
______________________________________
ช่อง 3 VS กสทช. ทีวีดิจิตอล ศึกถอน 'มัสต์แครี่' ยื้อนาทีจอดำ
จับตา! ช่อง 3 ฟ้อง กสทช. เพิกถอนประกาศ "มัสต์แครี่" กับตัวประกันทีวีดิจิตอล อีก 21 ช่องรายการ วิเคราะห์ทางออกหากศาลวินิจฉัยคุ้มครอง และไม่คุ้มครองจะเกิดอะไรขึ้น...
กลายเป็นศึกทีวีดิจิตอลที่น่าจับตามองที่สุดในเวลานี้ เมื่อสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 โดยบริษัท บางกอก เอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด ยื่นฟ้องคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กับพวก รวม 13 คน เมื่อวันที่ 22 พ.ค. 2557 ให้เพิกถอนประกาศหลักเกณฑ์การเผยแพร่กิจการโทรทัศน์ที่ให้เป็นบริการทั่วไป หรือ "มัสต์แครี่" และเพิกถอนมติที่ประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) เมื่อวันที่ 3 ก.พ. 2557 เนื่องจากไม่ชอบด้วยกฎหมาย
กรณีบริษัท บางกอก เอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด ซึ่งเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์ สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสี ช่อง 3 สิ้นสุดการทำหน้าที่ ตามประกาศมัสต์แครี่ ในวันที่ 25 พ.ค. 2557 หลังจากเริ่มเผยแพร่ออกอากาศทีวีดิจิตอลแล้ว 30 วัน เพราะจะทำให้ประชาชนผู้รับชมรายการของช่อง 3 กว่า 3 ล้านราย ที่รับชมผ่านกล่องสัญญาณแบบบอกรับสมาชิกในระบบกล่องสัญญาณซีทีเอช 5 แสนราย และทรูวิชั่น 2.5 ล้านราย รวมถึงเคเบิลท้องถิ่น อีก 300 - 400 ราย ไม่สามารถรับชมรายการของช่อง 3 ในระบบสัญญาณเดิม หรืออะนาล็อก ได้ แต่ยังสามารถรับชมช่อง 3 ดิจิตอล คือ ช่อง 3 เอสดี, ช่อง 3 เอชดี และช่อง 3 แฟมิลี่ ได้ตามปกติตั้งแต่วันที่ 26 พ.ค.เป็นต้นไป ซึ่งช่อง 3 ได้โต้แย้งมติดังกล่าวแล้ว แต่กลับได้รับการเพิกเฉย เป็นเหตุให้ช่อง 3 ได้รับความเสียหาย
วันที่ 27 พ.ค. 2557 เป็นครั้งแรกที่ศาลปกครองกลางนัดไต่สวนคดี แต่เมื่อถึงเวลา กสทช. ไม่ได้ส่งตัวแทนมา และขอให้ศาลเลื่อนการไต่สวนออกไปอีก 15 วัน แต่ศาลอนุญาตให้เลื่อนออกไปเพียง 3 วัน โดยนัดไต่สวนครั้งต่อไปในวันที่ 30 พ.ค. 2557 และได้ไต่สวนครั้งที่ 2 ซึ่งในครั้งนี้ หลังออกจากห้องไต่สวน สีหน้าของทั้งฝ่ายดูไม่มีความกังวลแต่อย่างใด
ช่อง 3 อะนาล็อกทีวี บนกล่องทรูวิชชั่นส์
ดังนั้น การยื่นฟ้องครั้งนี้เป็นเพียงแค่การเริ่มต้น ซึ่งในวันที่ 6 มิ.ย. 2557 ศาลปกครองได้นัดช่อง 3 และ กสทช. ยื่นเอกสารเพิ่ม ซึ่งคดีนี้ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล แต่หากช่อง 3 ได้รับการคุ้มครอง เท่ากับช่อง 3 จะชนะ ประกาศมัสต์แครี่ก็หายไป เท่ากับว่าทีวีดิจิตอลอีก 21 ช่อง จะไม่สามารถออกอากาศได้ในทุกแพลตฟอร์มไปด้วย ซึ่งจะกระทบกับการรับชมของประชาชนในพื้นที่ที่โครงข่ายยังเข้าไม่ถึง ถือเป็นเรื่องใหญ่ เพราะยังมีประชาชนอีกมากที่เคยได้รับชมจะหายไป และกระทบกับผู้ประกอบการในแง่ของรายได้ด้วย แต่หากศาลมีคำสั่งไม่คุ้มครอง เท่ากับ กสทช.เป็นฝ่ายชนะ ทุกอย่างก็ยังดำเนินการต่อไปตามปกติ ซึ่งช่อง 3 จะได้รับความเสียหายเพียงรายเดียว แต่ถือเป็นเรื่องใหญ่ เพราะเสียฐานลูกค้าที่ดูจำนวนมาก
วิเคราะห์แนวทางการตัดสิน
กล่องอาร์เอส สำหรับดูฟุตบอลโลก
แนวทางที่ 1 คุ้มครอง
กรณีของ RS ที่ได้รับความคุ้มครองในเรื่องฟุตบอลโลก 2014 ไม่ได้ต่างอะไรกับคำร้องของช่อง 3 ในกรณีนี้ เพราะคำสั่งของ กสทช. ไปขัดกฎหมายในการบังคับใช้ เนื่องจากสัมปทานฉบับนี้ได้มาก่อน กสทช.จัดตั้ง ซึ่งไม่อาจจะสั่งย้อนหลังได้ หากออกมาในแนวทางนี้ กสทช.จะรับศึกหนักจากการฟ้องร้องจาก 17 บริษัทที่เหลือ
แนวทางที่ 2 ไม่คุ้มครอง
เท่ากับว่า กสทช. จะสามารถสั่งให้ช่อง 3 อะนาล็อก ดำเนินการตามประกาศ ส่งผลให้ผู้ประกอบการรายอื่นๆ ที่ได้รับใบอนุญาตที่จะแข่งขันอย่างเต็มที่บนกฎกติกาเดียวกัน อีกทั้งประชาชนจะได้รับข้อมูลข่าวสารที่หลากหลาย
ทางออกของ กสทช.
ทั้งนี้ หากช่อง 3 ไม่ได้ยื่นฟ้อง กสทช. จะทำอะไรได้บ้าง คำตอบคือ จัดการกับผู้รับอนุญาตของ กสทช. อย่างเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียมที่จะให้ออกช่อง 3 ตามกฎของ กสทช. คือ ออกอากาศได้แต่ต้องมีโฆษณาไม่เกิน 6 นาทีต่อชั่วโมง ต่างจากทีวีอะนาล็อกที่มีโฆษณาได้ไม่เกิน 12 นาทีต่อชั่วโมง โดยทรู กับ ซีทีเอช และ เคเบิลทีวี ทีวีดาวเทียม จะต้องออกไม่เกินเช่นกัน ดังนั้น จะต้องมีผู้มานั่งตัดโฆษณา และแทรกเนื้อหาสาระเข้าไป ซึ่งความจริงถ้าทำไม่ได้ตามนี้ ก็จะไม่ได้รับการออกอากาศ
กล่องรับสัญญาณซีทีเอช
ความจริงแล้ว ช่อง 3 มีเพียงใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่และประกอบกิจการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบอะนาล็อก เพื่อให้บริการกระจายเสียง หรือโทรทัศน์ หรือใบอนุญาตช่องรายการ หรือเข้าใจง่ายๆ คือ ใบอนุญาตเฉพาะภาคพื้นดินเท่านั้น (เสาหนวดกุ้ง) จึงไม่สามารถบังคับให้ใครนำไปออกอากาศได้ และยังมีเรื่องคอนเทนต์ที่ไม่สามารถออกได้ในโทรทัศน์บอกรับสมาชิก หรือ เพย์ทีวี (อย่างเช่น ฟุตบอลต่างประเทศ หนังต่างประเทศ) เพราะในระบบดาวเทียมที่ช่อง 3 ใช้งานอยู่เป็นระบบ C Band ของไทยคม มีพื้นที่ให้บริการกว่าครึ่งโลก ซึ่งเจ้าของลิขสิทธิ์ ไม่ได้ยินยอมให้ดำเนินการแบบนี้ เท่ากับว่าประชาชนก็ไม่สามารถรับชมตามสิทธิ์ที่ช่อง 3 กล่าวอ้างได้
กล่องทรูวิชชั่นส์ HD
หาก กสทช. นำไปดำเนินการจัดการตรงนี้ จะถูกจุดมากกว่า เพราะทั้งเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียม เป็นผู้อยู่ใต้สัมปทานของ กสทช. ซึ่งทาง กสทช. ได้มีมติออกมาแล้วว่า ช่อง 3 อะนาล็อกสิ้นสภาพความเป็นฟรีทีวีระดับชาติไปแล้ว จึงง่ายต่อการดำเนินการ
กล่อง GMMZ
อย่างไรก็ดี ศึกครั้งนี้เป็นเพียงแค่การเริ่มต้น และน่าคิดว่า ทำไมช่อง 3 ที่ถือเป็นผู้ครองใบอนุญาตทีวีดิจิตอลประเภทธุรกิจ 3 ช่องรายการ และยังเป็นทีวีอะนาล็อก ที่คว้ารายได้จาการโฆษณาอันดับต้นๆ ของประเทศไทย ยื่นฟ้อง กสทช. แต่ท้ายที่สุดทุกฝ่ายก็ต้องรอคำวินิจฉัยของศาล.
http://www.thairath.co.th/content/426756
ไม่มีความคิดเห็น: