03 มิถุนายน 2557 กสทช.สุภิญญา ระบุ อร์ด กสท.เสียงข้างมาก 4:1 มีมติเห็นชอบแผนเปลี่ยนผ่าน ททบ.5 เพื่อได้สิทธิ์ประกอบการเป็นต้นแบบทีวีดิจิตอลบริการสาธารณะเมืองไทย (โดยรับไม่ได้กรณี ค้านเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทีวีสาธารณะโดย กสท. หลายเรื่อง อาทิ การให้โฆษณาได้ถึง 10 นาที เพราะกระทบแข่งขันเป็นธรรม )
ประเด็นหลัก
ด้าน นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการ กสทช. ได้แสดงความเห็นต่อเรื่องการเปลี่ยนผ่านช่อง 5 ไปสู่ทีวีสาธารณะทางทวิตเตอร์ว่า บอร์ด กสท.เสียงข้างมาก 4:1 มีมติเห็นชอบแผนเปลี่ยนผ่าน ททบ.5 เพื่อได้สิทธิ์ประกอบการเป็นต้นแบบทีวีดิจิตอลบริการสาธารณะเมืองไทย ดิฉันลงมติค้าน ยินดีที่เห็นแผน ททบ.5 ในการจะปรับตัวเป็นทีวีสาธารณะ แต่แผนดังกล่าวและมติ กสท./กสทช. หลายเรื่องที่เกี่ยวกับทีวีบริการสาธารณะยังขัดกับจุดยืนดิฉัน เรื่องหลักที่ดิฉันยืนยันจุดยืนของตัวเองอย่างหนักแน่นเสมอมาคือ 1. การปฏิรูปสื่อของรัฐรวมทั้งสื่อของกองทัพ ผ่านการเป็นทีวีสาธารณะ 2. มาตรา 37 ที่ผ่านมาดิฉันลงมติค้านเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทีวีสาธารณะโดย กสท. หลายเรื่อง อาทิ การให้โฆษณาได้ถึง 10 นาที เพราะกระทบแข่งขันเป็นธรรม
______________________________________
กสท.เล็งคลอดไลเซ่นส์ทีวีสาธารณะให้ช่อง 5
กสท.เตรียมออกใบอนุญาตทีวีสาธารณะให้ช่อง 5 หลังส่งแผนรองรับเข้าสู่ทีวีสาธารณะปี 2560 หวังดันเป็นต้นแบบช่องสาธารณะ ส่วน ”ไทยพีบีเอส” อาจเป็นต้นแบบของการยุติระบบแอนาล็อกเช่นเดียวกัน
พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวว่า ที่ประชุมบอร์ดกสท. (2 มิ.ย.) มีการพิจารณาแผนการปรับเปลี่ยนรูปแบบการประกอบกิจการโทรทัศน์สถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 เพื่อนำไปสู่การประกอบกิจการโทรทัศน์ บริการสาธารณะ ประเภทที่ 2 (ช่องเพื่อความมั่นคงของรัฐ หรือ ความปลอดภัยสาธรณะ) ในฐานะเป็นผู้ประกอบการรายเดิม
โดยจะได้รับใบอนุญาต (ไลเซ่นส์) เป็นผู้ประกอบการรายเดิมอีก 5 ปี ไปจนถึงปี 2560 พร้อมกันนั้นจะต้องมีการนำเสนอแผนการปรับเปลี่ยนรูปแบบการประกอบกิจการโทรทัศน์รายเดิม มาเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์ ประเภทกิจการบริการสาธารณะ ประเภทที่ 2 ซึ่งจะมีระยะเวลาใบอนุญาตไม่เกิน 15 ปี
สำหรับการพิจารณาใบอนุญาตในรอบแรก เบื้องต้นจะมีระยะเวลาใบอนุญาต 4 ปีแต่ช่อง 5 จะต้องปรับผังรายการประเภทข่าวสาระ ตั้งแต่ปีที่ได้เริ่มรับใบอนุญาตผู้ประกอบการรายเดิม คือในปี 2557 สัดส่วนรายการที่เป็นข่าวสาระ 45% ของผังรายการ ปี 2558 สัดส่วนข่าวสาระ 50% ของผังรายการ ปี 2559 สัดส่วนข่าวสาระ 60% ของผังรายการ ปี 2556 สัดส่วนข่าวสาระ 70% ของผังรายการ เพื่อเข้าสู่การเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์ ประเภทกิจการบริการสาธารณะ ประเภทที่ 2
ทั้งนี้ ช่อง 5 ได้นำเสนอแผนตามมาตรา 74 ภายใต้ พ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 ที่กำหนดว่า ให้ส่วนงานราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ ที่ประกอบกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ประกอบกิจการนั้นได้ต่อไปจนถึงวันที่กำหนดในแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ใช้บังคับ ซึ่งหากมีความประสงค์จะประกอบกิจการต่อให้จัดทำแผนประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์เพื่อขอรับใบอนุญาต
ส่วนแผนการรับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์ ประเภทกิจการ บริการสาธารณะ ประเภทที่ 2 ของช่อง 5 จะเป็นต้นแบบ สำหรับ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (สทท.) กรมประชาสัมพันธ์ หรือ ช่อง 11 และ สถานีโทรทัศน์ ไทยพีบีเอส ที่จะต้องส่ง แผนการเปลี่ยนผ่านไปสู่การให้บริการโทรทัศน์ ประเภทกิจการ บริการสาธารณะ และแผนการยุติการออกอากาศในระบบแอนาล็อก ซึ่งช่อง 11 จะต้องขอเป็นผู้รับใบอนุญาตประเภทกิจการ บริการสาธารณะ ประเภทที่ 3 (ช่องข้อมูลข่าวสารเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างรัฐบาลกับประชาชนและรัฐสภากับประชาชน) ขณะที่ ช่องไทยพีบีเอส จะเป็นผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์ ประเภทกิจการ บริการสาธารณะ ประเภท ที่ 2
“ช่องไทยพีบีเอส จะเป็นต้นแบบของการยุติแอนาล็อก โดยช่องไทยพีบีเอส เคยส่งแผนมาให้ กสทช.แล้วครั้งหนึ่ง แต่เราก็ได้ให้ ทางช่องนำกับไปแก้ไขมาใหม่ ซึ่งก็ยังไม่ได้ส่งกลับมาให้ทาง กสทช.”
อย่างไรก็ตามระยะเวลาที่จะต้องส่งแผนยุติ มี 2 ระยะคือ 1.หลังจากออกอากาศทีวีระบบดิจิตอลแล้วจะต้องส่งแผนภายใน 1 ปี 8 เดือน 2.การออกอากาศระบบดิจิตอลจะต้องครอบคลุม 95% ส่วนช่อง 11 ยังไม่ได้ส่งแผนใดๆ มาเลย โดยช่องที่เป็นบริการสาธารณะมีทั้งหมด 12 ช่อง แบ่งเป็น 4 ช่องที่เป็นผู้ประกอบการรายเดิม ออกอากาศคู่ขนาน ที่เหลือเป็นรายใหม่อีก 8 ช่อง
นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้พิจารณาการแจ้งยืนยันช่องรายการและโครงข่าย แบบบอกรับสมาชิกเพิ่มเติม ตามประกาศ คสช. ฉบับที่ 27/2557 ที่เกี่ยวข้องกับการอนุญาตถ่ายทอดออกอากาศของสถานีโทรทัศน์ที่ได้รับอนุญาต ผ่านทางระบบการใช้คลื่นความถี่ภาคพื้นดิน ระบบผ่านดาวเทียม และเคเบิล ในกรณีที่ผู้ให้บริการโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิกได้รับอนุญาตออกอากาศได้ตามปกติผ่านทางโครงข่ายระบบผ่านดาวเทียม และเคเบิลแบบบอกรับสมาชิก
โดยช่องรายการบอกรับสมาชิก ที่สามารถออกอกาศบนโครงข่ายแบบบอกรับสมาชิก สำหรับกิจการไม่ใช้คลื่นความถี่ ได้แจ้งยืนยันการเป็นผู้ให้บริการแบบบอกรับสมาชิกเพิ่มเติม จำนวน 90 ช่องรายการ แต่ กสท.ได้เห็นชอบจำนวน 40 ช่องรายการ รวมเป็น 387 ช่องรายการ ส่วนอีก 50 ช่องรายการ ยังคงมีเนื้อหารายการเกี่ยวกับการโฆษณาขายผลิตภัณฑ์หรือสินค้าบริโภค จึงส่งให้คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ เพื่อตรวจสอบและพิจารณาต่อไป
ที่ประชุมยังเห็นชอบการยืนยันประเภทการให้บริการโครงข่ายแบบบอกรับสมาชิกของ บริษัท พีเอสไอ บรอดคาสติ้ง จำกัด ส่วนกรณีการฟ้องร้องการถ่ายทอดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2014 ที่จะมีขึ้น 12 มิ.ย. -13 ก.ค.นี้ ระหว่าง กสทช.และบริษัท อาร์เอสผู้ได้รับลิขสิทธิ์การถ่ายทอด โดยศาลจะนัดพิจารณาในวันที่ 10 มิ.ย.นี้เป็นครั้งแรก และยังไม่มีความคืบหน้าใดๆในคดีดังกล่าว
http://www.manager.co.th/CbizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9570000061741
______________________________
ปธ.บอร์ด กสท.แจงอนุมัติ ททบ.5แค่แผนเปลี่ยนผ่าน 'ทีวีสาธารณะ'
โดย ทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์
ปธ.บอร์ด กสท.ชี้แจงทำความเข้าใจ ย้ำ กสทช.ปฏิบัติตามกฎหมาย กรณี ททบ.5จะไปสู่การเป็นทีวีสาธารณะ ย้ำแค่อนุมัติแผนการเปลี่ยนผ่าน ไม่ได้ให้เป็นช่องนำร่อง ยังถือเป็นผู้ประกอบการรายเก่า หาจะไปต้องยื่นแผนหยุดออกอากาศอะนาล็อกก่อน...
จากกรณีที่ เมื่อวันที่ 2 มิ.ย.2557 มติที่ประชุมกรรมการ กสท. ได้พิจารณาให้ตั้งคณะทำงานร่วมระหว่าง กสทช. และสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 หรือ ททบ.5 ในการติดตามความก้าวหน้าแผนการดำเนินงานปรับเปลี่ยนรูปแบบการประกอบกิจการ โทรทัศน์ ทั้งการปรับองค์กร โดยต้องแยกบัญชีกิจการทางการเงินและงบดุลของการดำเนินกิจการออกจากกัน และเนื้อหาสัดส่วนรายการนั้น จะต้องเป็นไปตามขอบเขตของพระราชบัญญัติ หรือ พ.ร.บ.การประกอบกิจการ พ.ศ.2551 ซึ่ง ททบ.5 เป็นผู้ประกอบการรายเดิมที่ต้องการปรับเปลี่ยนไปสู่บริการสาธารณะประเภทที่ 2 ช่องเพื่อความมั่นคงของรัฐ หรือความปลอดภัยสาธารณะ ตามที่ได้รายงานในข่าว "มติบอร์ด กสท.ให้ ททบ.5 นำร่องเปลี่ยนผ่านสู่ทีวีสาธารณะ" (http://www.thairath.co.th/content/426877) ไปแล้วนั้น
ล่าสุด เมื่อวันที่ 3 มิ.ย.2557 พ.อ.นที ศุกลรัตน์ ประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ หรือ กสท.ได้ชีแจงผ่านทวิตเตอร์ @DrNateeDigital ต่อเรื่องดังกล่าวว่า การพิจารณาของ กสท.เป็นการพิจารณาตามขอบเขตของ พ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ พ.ศ.2551 ซึ่งกำหนดให้ผู้ประกอบกิจการรายเดิมจะต้องเสนอแผนเพื่อนำไปสู่การขอรับอนุญาตประกอบกิจการตามที่กฎหมายกำหนด การตีความว่ากิจการบริการสาธารณะโดยใช้ความเข้าใจส่วนตนเป็นสิ่งที่ทำได้ แต่การเป็น กสทช. ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย กสท. ไม่ได้อนุญาตให้ ททบ.5 นำร่องการเป็นโทรทัศน์บริการสาธารณะตามกฎหมาย แต่อนุมัติแผนการเปลี่ยนผ่าน
ขณะนี้ ททบ.5 ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการในฐานะผู้ประกอบกิจการรายเดิม ซึ่งมีเงื่อนไขต้องนำเสนอแผนดังกล่าว ททบ.5 ได้รับอนุญาตประกอบกิจการในฐานะผู้ประกอบกิจการรายเดิมจนถึงปี 60 เช่นเดียวกับช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ ดังนั้น การดำเนินการของ ททบ.5 เป็นความสมัครใจที่จะเปลี่ยนผ่านไปสู่การประกอบกิจการประเภทบริการสาธารณะตาม ก.ม.ซึ่งช่อง 11 และ TPBS ก็ต้องดำเนินการในลักษณะเดียวกัน และต้องส่งแผนการยุติระบบอะนาล็อกให้ กสทช. พิจารณาด้วย
การอนุญาตกิจการบริการสาธารณะนั้น กสท. ได้ดำเนินการตามขั้นตอน ซึ่งขณะนี้ก็อยู่ในระหว่างการพิจารณาช่องรัฐสภา ดังนั้นการดำเนินการดังกล่าวไม่ได้เป็นการนำร่อง ช่องที่จะเป็นการนำร่องจริงๆ น่าจะเป็นช่องรัฐสภา หรือ ช่อง TPBS2 ผมคิดว่า กสท. ได้พยายามดำเนินการภายใต้กรอบของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และคำนึงถึงประโยชน์สาธารณะทุกประการครับ.
http://www.thairath.co.th/content/426978
_______________________________
มติบอร์ด กสท.ให้ ททบ.5 นำร่องเปลี่ยนผ่านสู่ทีวีสาธารณะ
โดย ทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์
บอร์ด กสท.ลงมติให้ ททบ.5 เป็นช่องนำร่องเปลี่ยนผ่านสู่ทีวีบริการสาธารณะและออกอากาศ 5 ปี ก่อนการเปลี่ยนผ่าน 'สุภิญญา' ค้าน ชี้ขัดการปฏิรูปสื่อที่ต้องเป็นอิสระต่ออำนาจรัฐ หวัง ททบ.5 ยังคงเป็นแม่ข่ายหลักในการเตือนภัยพิบัติ...
เมื่อวันที่ 2 มิ.ย.2557 พ.อ.นที ศุกลรัตน์ ประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ หรือ กสท. กล่าวว่า มติที่ประชุมกรรมการ กสท. ได้พิจารณาให้ตั้งคณะทำงานร่วมระหว่าง กสทช. และสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 หรือ ททบ.5 ในการติดตามความก้าวหน้าแผนการดำเนินงานปรับเปลี่ยนรูปแบบการประกอบกิจการโทรทัศน์ ทั้งการปรับองค์กร โดยต้องแยกบัญชีกิจการทางการเงินและงบดุลของการดำเนินกิจการออกจากกัน และเนื้อหาสัดส่วนรายการนั้น จะต้องเป็นไปตามขอบเขตของพระราชบัญญัติ หรือ พ.ร.บ.การประกอบกิจการ พ.ศ.2551 ซึ่ง ททบ.5 เป็นผู้ประกอบการรายเดิมที่ต้องการปรับเปลี่ยนไปสู่บริการสาธารณะประเภทที่ 2 ช่องเพื่อความมั่นคงของรัฐ หรือความปลอดภัยสาธารณะ
พ.อ.นที กล่าวอีกว่า กสท. ได้อนุญาตให้ ททบ.5 ออกอากาศเป็นเวลา 5 ปี ก่อนการเปลี่ยนไปสู่บริการสาธารณะ โดยมีกระบวนการในการปรับผังรายการ คือ ในปี 2557 จะต้องมีการเพิ่มสัดส่วนเนื้อหาสาระที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ 40% และเพิ่มขึ้นในปี 2558 เป็น 50% ปี 2559 เป็น 60% และในปี 2560 เพิ่มเป็น 70% ซึ่งจะสอดคล้องกับมาตรา 33 ใน พ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ ที่จะต้องมีเนื้อหารายการที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะไม่น้อยกว่า 70% ส่วนเรื่องอายุใบอนุญาตนั้น ยังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณา
ด้าน นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการ กสทช. ได้แสดงความเห็นต่อเรื่องการเปลี่ยนผ่านช่อง 5 ไปสู่ทีวีสาธารณะทางทวิตเตอร์ว่า บอร์ด กสท.เสียงข้างมาก 4:1 มีมติเห็นชอบแผนเปลี่ยนผ่าน ททบ.5 เพื่อได้สิทธิ์ประกอบการเป็นต้นแบบทีวีดิจิตอลบริการสาธารณะเมืองไทย ดิฉันลงมติค้าน ยินดีที่เห็นแผน ททบ.5 ในการจะปรับตัวเป็นทีวีสาธารณะ แต่แผนดังกล่าวและมติ กสท./กสทช. หลายเรื่องที่เกี่ยวกับทีวีบริการสาธารณะยังขัดกับจุดยืนดิฉัน เรื่องหลักที่ดิฉันยืนยันจุดยืนของตัวเองอย่างหนักแน่นเสมอมาคือ 1. การปฏิรูปสื่อของรัฐรวมทั้งสื่อของกองทัพ ผ่านการเป็นทีวีสาธารณะ 2. มาตรา 37 ที่ผ่านมาดิฉันลงมติค้านเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทีวีสาธารณะโดย กสท. หลายเรื่อง อาทิ การให้โฆษณาได้ถึง 10 นาที เพราะกระทบแข่งขันเป็นธรรม
นอกนั้นดิฉันลงมติค้านที่ กสท. / กสทช. ให้สิทธิช่อง 5-11 ได้อัพเกรดออกคู่ขนานในระบบดิจิตอล โดยยังไม่มีรูปธรรมในการปรับตัวเป็นทีวีสาธารณะ นอกนั้นดิฉันยังเรียกร้องให้กำหนดเกณฑ์ในการพิจารณาคุณสมบัติคนที่ได้รับใบอนุญาตทีวีสาธารณะ (Beauty contest) ที่สอดคล้องกับหลักการทีวีสาธารณะ
ดิฉันและทีมงานเคยทำข้อเสนอซึ่งเป็นกติกา Beauty contest การคัดเลือกผู้มีสิทธิ์ประกอบการทีวีสาธารณะต่อบอร์ด แต่ยังไม่ได้รับการพิจารณาเห็นชอบ เรื่องทีวีบริการสาธารณะในระบบดิจิตอลเป็นหนึ่งในประเด็นที่ดิฉันมีความเห็นค้านมากสุดใน กสทช. เป็นเรื่องที่แม้จะสู้แล้วแพ้แต่ก็ต้องยืนหลักการเรื่อง *ทีวีบริการสาธารณะ* มีความเป็นสากล แม้กฎหมายไทย และ กสทช. พยายามจะออกแบบให้เป็นอื่นอย่างไร มันก็ไม่ใช่ ถ้ามันไม่ใช่ กสทช. จะใช้มติวันนี้ให้แผนช่อง 5 เป็นแนวทางให้ช่อง 11 และ @ThaiPBS ทำตาม ในทางตรงข้าม ดิฉันเห็นว่า @ThaiPBS ใกล้เคียงทีวีสาธารณะกว่าเยอะ
จุดยืนของดิฉัน ทีวีบริการสาธารณะไม่ใช่ทีวีของรัฐ ดังนั้นหัวใจสำคัญในการปรับตัวสู่การเป็นทีวีสาธารณะคือต้องมีบอร์ดบริหาร ที่อิสระจากอำนาจรัฐ เป็นแนวคิดที่เป็นอุดมคติมาก โดยเฉพาะในสถานการณ์ปัจจุบัน แต่นั่นคือหัวใจสำคัญที่สุดของการปฏิรูปสื่อของรัฐตามเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ (เดิม) ถ้า กสทช. ไม่ใช้โอกาสในการปฏิรูปสื่อของรัฐเช่นช่อง 5 ช่อง 11 ก็คงไม่มีโอกาสแล้วกระมัง สถานการณ์ก่อน 22 พ.ค.ก็ว่ายากแล้ว วันนี้ยากยิ่งกว่า เรื่องนี้สู้อย่างไรก็แพ้ แต่ดิฉันขอทำบันทึกความเห็น ลงมติเห็นต่างไว้ในวันนี้ เป็นความทรงจำเล็กๆ ของประวัติศาสตร์ต่อไป #ททบ.5 #ทีวีสาธารณะ กสทช.เกิดขึ้นมาเพื่อปฏิรูปสื่อของรัฐตามเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ หลังเหตุการณ์ พฤษภา35 ผ่านมา 2 ทศวรรษ วันนี้ กสทช.รับรองแผนให้ ททบ.5 เป็นทีวีสาธารณะ
อย่างที่บอกเรื่องนี้รู้อยู่แล้วว่าสู้อย่างไรก็ไม่มีวันชนะ แต่ขอยืนหลักการสู้ในเชิงสัญลักษณ์ ในฐานะคนที่ทำงานเรื่องการปฏิรูปสื่อมากว่า 2 ทศวรรษ นอกจาก ททบ.5 จะได้อัพเกรดเป็นทีวีดิจิตอลแบบบริการสาธารณะเพื่อความมั่นคง โดยไม่ต้องประมูลคลื่น โฆษณาได้ชั่วโมงละ 10 นาที ยังได้อยู่ช่อง 1 ด้วย ช่อง 3-7-9 ซึ่งเป็นฟรีทีวีรายเดิมของเอกชนในระบบสัมปทานไม่มากก็น้อย เขาต้องดิ้นรนปรับตัวตามกติกาใหม่ของ กสทช.แบบเร่งด่วน ต่างจากช่อง 5-11
ในเมื่อวันนี้บอร์ด กสท.เสียงข้างมากเห็นชอบแผนยกระดับให้ ททบ. 5 เป็นทีวีบริการสาธารณะเพื่อความมั่นคงแล้ว ก็ขอฝากเรื่องการเตือนภัยพิบัติไว้ด้วย ที่ผ่านมา ททบ.5 เป็นแม่ข่ายหลักในการเตือนภัยพิบัติ วันนี้จะได้สิทธิ์ยกระดับเป็นทีวีสาธารณะ อย่าลืมภารกิจอันสำคัญนี้ เกิดอะไร ขอให้พึ่งพาได้ สุดท้ายแม้ไม่อาจทำให้ ททบ.5 เป็น *ทีวีบริการสาธารณะ* ได้ตามหลักการที่ดิฉันเชื่อ แต่ขอฝากผีฝากไข้การเป็นแม่ข่ายเตือนภัยพิบัติไว้กับช่อง 5 ด้วย.
http://www.thairath.co.th/content/426877
ไม่มีความคิดเห็น: