03 มิถุนายน 2557 (เกาะติดประมูล4G) AIS.ปรัธนา ระบุ 4จี ถ้ามองจริงๆ คงเป็นแค่ตัวเสริมในการให้บริการ ถือเป็นสีสันให้การตลาดมากขึ้น เพราะ 4จียังคงจำกัดอยู่วงแคบๆ เพราะตัวดีไวซ์ยังมีจำนวนน้อย
ประเด็นหลัก
นายปรัธนา ลีลพนัง รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานการตลาด บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) กล่าวว่า ภายหลังจากคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดการประมูลใบอนุญาตคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ภายในเดือนส.ค.นี้ เชื่อว่าจะทำให้การแข่งขันในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมกลับมารุนแรงขึ้น
ทั้งนี้จะเริ่มเห็นสัญญาณการแข่งขันตั้งแต่ครึ่งปีหลังเป็นต้นไป โดยจะมาจากการเสนอสิทธิประโยชน์ให้ลูกค้ามากขึ้น 3 ด้าน คือ ราคาค่าเครื่อง แพ็คเกจ โปรโมชั่น และแอพพลิเคชั่นที่เน้นความหลากหลายและแตกต่างจากผู้ประกอบการรายอื่น
"4จี ถ้ามองจริงๆ คงเป็นแค่ตัวเสริมในการให้บริการ ถือเป็นสีสันให้การตลาดมากขึ้น ผู้ประกอบการแต่ละรายก็จะมีลูกเล่นในการทำโปรโมชั่น หาลูกค้าเข้ามาในระบบ แต่หากมองการให้บริการหลังจากประมูลแล้ว 4จียังคงจำกัดอยู่วงแคบๆ เพราะตัวดีไวซ์ยังมีจำนวนน้อย ต่างจาก 3จี 2.1 กิกะเฮิรตซ์ที่การให้บริการจะเป็นตัวหลัก"
______________________________________
เอไอเอสเชื่อ4จีตัวช่วยดันยอดตลาดโทรคม
เอไอเอสมองเทรนด์ตลาดโทรคมครึ่งปีหลังแข่งดุ เข็นโปรโมชั่นเอาใจลูกค้าทั้งลดราคาเครื่อง แอพพลิเคชั่น อัตราค่าบริการ
มองเบื้องต้น 4จีอาจเป็นแค่กิมมิคสร้างสีสัน เพราะดีไวซ์ยังมีน้อย เอกชนปูพรมให้บริการ 3จีเป็นหลักมากกว่า ล่าสุดจับมือสิงค์เทลเปิดตัว ฟิวเจอร์ คิวบ์ โมเดลต้นแบบการสื่อสารในอนาคตด้วยงบกว่า 60 ล้านบาท
นายปรัธนา ลีลพนัง รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานการตลาด บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) กล่าวว่า ภายหลังจากคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดการประมูลใบอนุญาตคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ภายในเดือนส.ค.นี้ เชื่อว่าจะทำให้การแข่งขันในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมกลับมารุนแรงขึ้น
ทั้งนี้จะเริ่มเห็นสัญญาณการแข่งขันตั้งแต่ครึ่งปีหลังเป็นต้นไป โดยจะมาจากการเสนอสิทธิประโยชน์ให้ลูกค้ามากขึ้น 3 ด้าน คือ ราคาค่าเครื่อง แพ็คเกจ โปรโมชั่น และแอพพลิเคชั่นที่เน้นความหลากหลายและแตกต่างจากผู้ประกอบการรายอื่น
"4จี ถ้ามองจริงๆ คงเป็นแค่ตัวเสริมในการให้บริการ ถือเป็นสีสันให้การตลาดมากขึ้น ผู้ประกอบการแต่ละรายก็จะมีลูกเล่นในการทำโปรโมชั่น หาลูกค้าเข้ามาในระบบ แต่หากมองการให้บริการหลังจากประมูลแล้ว 4จียังคงจำกัดอยู่วงแคบๆ เพราะตัวดีไวซ์ยังมีจำนวนน้อย ต่างจาก 3จี 2.1 กิกะเฮิรตซ์ที่การให้บริการจะเป็นตัวหลัก"
ขณะที่นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านการตลาด เอไอเอส กล่าวเสริมว่า ล่าสุดบริษัท จับมือกลุ่มสิงค์เทล และทีมอินเตอร์เนชั่นแนล เวนเดอร์ เปิดตัวนวัตกรรมเอไอเอส ฟิวเจอร์ คิวบ์ ซึ่งเป็นต้นแบบเทคโนโลยีครั้งแรกในโลก
โดยนำเทรนด์ของอิมเมอร์ซีฟ เอ็กซ์พีเรียนซ์มานำเสนอให้ลูกค้าได้สัมผัสกับประสบการณ์สื่อสารรูปแบบใหม่ ซึ่งเอไอเอสใช้งบลงทุนสร้างตัวต้นแบบเทคโนโลยีนี้กว่า 60 ล้านบาท หลังจากโชว์เคสที่ไทยแล้วจะยกตัวโมเดลต้นแบบนี้ไปจัดแสดงที่ประเทศอื่นในเครือสิงค์เทล
“ในฐานะผู้ประกอบการด้านสื่อสารโทรคมนาคม เราให้ความสำคัญมากกับการอัพเดทนวัตกรรมล่าสุดอยู่เสมอ ทั้งเพื่อพัฒนาบริการใหม่ๆ ให้แก่ลูกค้า และนำมาปรับประยุกต์กับกระบวนการทำงานเพื่อให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยที่ผ่านมาเอไอเอสพยายามสร้างนวัตกรรมใหม่อยู่เสมอทั้งด้านฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์”
ทั้งนี้ เอไอเอส ฟิวเจอร์ คิวบ์เป็นการรวม 3 เทคโนโลยีเข้าด้วยกัน ประกอบด้วย 1.เทเล-ฮิวเมนท์ รูปแบบ วีดีโอ 3มิติ คอนเฟอร์เร้นซ์ซึ่งใช้เทคโนโลยีที่ประมวลผลการทำงานจากกล้อง 3มิติ จับภาพและฉายภาพผู้เล่นออกมาในรูปแบบ 3 มิติ ที่ผู้เล่นทั้งสองมองเห็นกันเสมือนอยู่ข้างกัน 2. อิมเมอร์ซีฟ คิวบ์ เป็นการรวมการทำงานกับกล้อง 3มิติ และสร้างสิ่งแวดล้อมเสมือนจริงออกมาในรูปแบบ 3 มิติ ทำให้ผู้เล่นจะมองเห็นเสมือนจริงทุกมุมมอง และ 3.มัลติ เซ็นซิ่ง อินทิเกรชั่น
นอกจากนี้ เทคโนโลยีการสื่อสารที่พัฒนาขึ้นโดยเฉพาะ ทำหน้าที่เชื่อมโยงการสื่อสารจากเทคโนโลยีทั้ง 2 ส่วน ได้แก่ 1. ภาพคู่สนทนา 3 มิติที่ได้จากเทเล-ฮิวเมน และภาพจากการจำลองสิ่งแวดล้อม 3 มิติ ที่ได้จากอินเมอร์ซีฟ คิวบ์ โดยจะทำให้คู่สนทนาสื่อสารผ่านภาพและเสียงได้เสมือนจริง ลักษณะการนำเสนอเอไอเอส ฟิวเจอร์ คิวบ์จะแบ่งเป็น 2 ห้อง ที่เปิดให้คู่สนทนาได้สื่อสารร่วมกันแบบอินเตอร์แอคทีฟ
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20140603/586179/เอไอเอสเชื่อ4จีตัวช่วยดันยอดตลาดโทรคม.html
ไม่มีความคิดเห็น: