Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

03 มิถุนายน 2557 (เกาะติดประมูล4G) CAT และ TOT ได้เตรียมแผนเสนอคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อเข้าร่วมประมูลหรือไม่ ทั้ง 1800 และ 900


ประเด็นหลัก

นอกจากนี้ยังมีประเด็นเรื่องคลื่นความถี่ จากเดิมทีโอทีและ กสท ได้รับสิทธิ์ในคลื่นความถี่ เพราะเป็นรัฐวิสาหกิจแต่เมื่อกฎหมายระบุให้ส่งคืนคลื่นความถี่ให้ กสทช.เมื่อสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน ทำให้บรรดาอุปกรณ์ตามสัญญาสัมปทานต่างๆ ที่ได้รับโอนจากคู่สัญญาสัมปทานไม่สามารถจะนำไปหาประโยชน์ได้ และหากต้องเข้าร่วมประมูลคลื่นความถี่ก็ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ (บอร์ด) กระทรวงไอซีที กระทรวงการคลัง และ ครม. ซึ่งมีขั้นตอนที่ยุ่งยากมาก เป็นต้น “อย่างคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ที่ กสทช.จะประมูลในเดือน ส.ค.57 นี้ และคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ จะประมูลในเดือน พ.ย.57 นี้ จำเป็นต้องขอความชัดเจนจาก คสช.ว่าจะให้ทีโอทีและ กสท เข้าร่วมประมูลหรือไม่ เพื่อให้องค์กรอยู่รอด”.


______________________________________

“ทีโอที-กสท” ดิ้นหนีตายสุดลิ่ม หมดสภาพเสือนอนกินอ้อน คสช.ช่วยด่วน


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) รัฐวิสากิจด้านโทรคมนาคม ได้เตรียมแผนเสนอคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อช่วยฟื้นฟูทีโอทีและ กสท โดยเฉพาะการสร้างความชัดเจนในการดำเนินงาน เนื่องจากทั้งทีโอที และ กสท เป็นองค์กรรัฐวิสาหกิจด้านโทรคมนาคม ที่เดิมเป็นผู้วางรากฐานการพัฒนากิจการบริการโทรคมนาคมของชาติ แต่ปัจจุบันได้กลายเป็นเพียงผู้ให้บริการโทรคมนาคมรายหนึ่งเช่นเดียวกับผู้ให้บริการเอกชนรายอื่นๆเท่านั้น แต่การทำงานของทีโอทีและ กสท ต่างกับบริษัทเอกชนโดยสิ้นเชิง ทำให้ไม่สามารถแข่งขันกับเอกชนได้

โดยทีโอทีและ กสท ยังต้องปฏิบัติตามระเบียบรัฐวิสาหกิจ และ พ.ร.บ.ร่วมทุนปี 56 และขั้นตอนอื่นๆ ที่ต้องผ่านความเห็นชอบจากกระทรวงไอซีทีในฐานะหน่วยงานกำกับดูแล และมีกระทรวงการคลังในฐานะผู้ถือหุ้น คณะรัฐมนตรี (ครม.) อีกทั้งยังต้องอยู่ในการกำกับดูแลของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะผู้ออกใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม ซึ่งขั้นตอน ต่างๆเหล่านี้ทำให้ทีโอทีและ กสท มีปัญหาอุปสรรคในการทำงานอย่างมาก

นอกจากนี้ยังมีประเด็นเรื่องคลื่นความถี่ จากเดิมทีโอทีและ กสท ได้รับสิทธิ์ในคลื่นความถี่ เพราะเป็นรัฐวิสาหกิจแต่เมื่อกฎหมายระบุให้ส่งคืนคลื่นความถี่ให้ กสทช.เมื่อสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน ทำให้บรรดาอุปกรณ์ตามสัญญาสัมปทานต่างๆ ที่ได้รับโอนจากคู่สัญญาสัมปทานไม่สามารถจะนำไปหาประโยชน์ได้ และหากต้องเข้าร่วมประมูลคลื่นความถี่ก็ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ (บอร์ด) กระทรวงไอซีที กระทรวงการคลัง และ ครม. ซึ่งมีขั้นตอนที่ยุ่งยากมาก เป็นต้น “อย่างคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ที่ กสทช.จะประมูลในเดือน ส.ค.57 นี้ และคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ จะประมูลในเดือน พ.ย.57 นี้ จำเป็นต้องขอความชัดเจนจาก คสช.ว่าจะให้ทีโอทีและ กสท เข้าร่วมประมูลหรือไม่ เพื่อให้องค์กรอยู่รอด”.

http://www.thairath.co.th/content/426901

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.