Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

09 มิถุนายน 2557 ICT ส่งทีมงานเข้าไปทำงานร่วมกับ LINE แฝงตัวเช็คกลุ่ม LINE ที่มีเสี่ยงความมั่นคง ( โดยจะไม่เข้าไปดูกรณีสนทนา 2 คน ซึ่งก้าวก่ายสิทธิ์ส่วนบุคคล )


ประเด็นหลัก

และภายในสัปดาห์นี้กระทรวงไอซีทีจะส่งเจ้าหน้าที่ไปประสานกับผู้ให้บริการ "เฟซบุ๊ก", เว็บไซต์กูเกิล ในประเทศสิงคโปร์ที่เป็นผู้ดูแลเซิร์ฟเวอร์ของผู้ใช้ในประเทศแถบเอเชีย ทั้งหมด รวมถึงเดินทางไปญี่ปุ่นเพื่อขอความร่วมมือกับผู้ให้บริการแอปพลิเคชั่น "แชต" LINE ในการปิดบัญชีผู้ใช้ที่มีพฤติกรรมเป็นภัยต่อความมั่นคง เนื่องจากการเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้บริการต้องได้รับความยินยอมจากผู้ให้บริการก่อน แต่ยืนยันว่าไม่ได้ห้ามการใช้งานทั้งหมด

แฝงตัวใน "ไลน์กรุ๊ป"

"ในการเรียกประชุมขอความร่วมมือที่ผ่านมา ไม่มีตัวแทนจากผู้ให้บริการกลุ่มนี้เลย เพราะไม่มีตัวแทนในประเทศไทย จึงต้องเดินสายไปทำความเข้าใจในต่างประเทศ ก่อนหน้านี้เราเคยไปสิงคโปร์มาแล้ว 5 ครั้ง ญี่ปุ่น 3 ครั้ง แต่ไปในฐานะ ปอท. (กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี) ครั้งนี้จะไปในนามกระทรวงไอซีที เชื่อว่าน้ำหนักของการได้รับความร่วมมือจะมีมากกว่า"

ลำดับถัดไปจะมีการมอนิเตอร์การสนทนาในกลุ่มแชตระดับรายบุคคล แต่ไม่ล้วงลึกไปถึงการสนทนาระหว่างบุคคล 2 คน ซึ่งก้าวก่ายสิทธิ์ส่วนบุคคล และขอย้ำว่า การมอนิเตอร์ของกระทรวงไอซีทีจะใช้คนคอยสอดส่องเท่านั้น ไม่มีการติดตั้งซอฟต์แวร์หรือฮาร์ดแวร์เพิ่มเพื่อดักจับการสนทนาของประชาชนแต่อย่างใด

ด้าน พ.ต.อ.ญาณพล ยั่งยืน ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงไอซีทีเสริมว่า ที่ผ่านมามีประชาชนจำนวนมากส่งข้อมูลการแพร่ข้อมูลที่ไม่เหมาะสมส่งมาให้เป็นจำนวนมาก อยู่ระหว่างการประสานงานกับผู้ให้บริการเพื่อให้ปิดบัญชีการใช้งานของคน กลุ่มนี้ที่มีปัญหา

"การตรวจสอบแอปแชต LINE ถ้าคุยกัน 2 คน คงตรวจสอบไม่ได้ เพราะไม่มีนโยบายเข้าไปล้วงลึกละเมิดสิทธิ์ขนาดนั้น แต่เดี๋ยวนี้คนใช้ LINE นิยมสร้างกลุ่มแชตขึ้นมากกว่าในห้องแชตที่เปิดไว้ก็ไม่ได้มีแต่คนที่เห็นด้วยเสมอไป บางคนในกลุ่มไม่พอใจก็แคปหน้าจอส่งมาให้คณะทำงานเอาผิด ส่วนใหญ่จะเป็นแบบนั้น อีกส่วนคือมีทีมงานเฝ้าระวัง โดยแฝงตัวไปเป็นเพื่อนในกลุ่มแชตต่าง ๆ ที่เปิดเป็นสาธารณะ"



______________________________________


ไอซีทีดันไทยแลนด์โซเชียลเน็ตเวิร์ก ส่งสปายตีซี้กรุ๊ป"LINE"จับตาคอนเทนต์24ชั่วโมง


"ไอซีที" ยืนยันไม่ติดตั้งอุปกรณ์สอดแนม "โซเชียลเน็ตเวิร์ก" แต่ส่งเจ้าหน้าที่แฝงตัวเป็นเพื่อนในแอปแชต เตรียมส่งทีมงานเดินทางไปประสานงานกับ "เฟซบุ๊กและ LINE" ในต่างประเทศบล็อกการใช้งานรายบุคคล พร้อมจุดพลุสร้าง "ไทยแลนด์โซเชียลเน็ตเวิร์ก" เปิดพื้นที่ให้คนไทยแลกเปลี่ยนข้อมูลความเห็นกันเอง

พล.ต.ต.พิสิษฐ์ เปาอินทร์ ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) และรองหัวหน้าคณะทำงานกำกับดูแลการใช้อินเทอร์เน็ตและสื่อสังคมออนไลน์ เปิดเผยว่า ได้จัดเจ้าหน้าที่คอยเฝ้าระวังการเผยแพร่ข้อมูลที่ขัดต่อกฎหมายผ่านสังคมออนไลน์ตลอด 24 ชั่วโมง โดยเฉพาะทางโซเชียลเน็ตเวิร์ก ที่ถูกใช้เป็นช่องทางเผยแพร่เป็นจำนวนมาก

ย้ำ ISP ปิดเว็บตามสั่งใน 1 ชม.

"เนื้อหาที่เฝ้าระวังคือ การหมิ่นสถาบันและยุยงส่งเสริมให้มีการต่อต้าน แตกความสามัคคี โดยจะส่งข้อมูลหลักฐานที่ได้ให้คณะกรรมการกลั่นกรองก่อนสั่งปิด ซึ่งกระทรวงไอซีทีได้รับมอบอำนาจจาก คสช. (คณะรักษาความสงบแห่งชาติ) ให้เป็นผู้ออกคำสั่ง ขณะที่คณะกรรมการกลั่นกรอง ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ด้านกฎหมายและความมั่นคง อาทิ ตำรวจ อัยการสูงสุด โดยมีเป้าหมายสำคัญคือการสลายกลุ่ม สลายสี สลายความแตกแยก"

ขณะเดียวกันได้เรียกประชุมกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) เพื่อย้ำว่า กระทรวงไอซีทีใช้อำนาจตามคำสั่งของ คสช.แล้ว ดังนั้นการสั่งปิดเว็บจึงไม่ต้องใช้คำสั่งศาลอีกต่อไป เมื่อ ISP ได้รายชื่อ URL ที่ไอซีทีสั่งปิดต้องบล็อกทันทีภายใน 1 ชั่วโมง

และภายในสัปดาห์นี้กระทรวงไอซีทีจะส่งเจ้าหน้าที่ไปประสานกับผู้ให้บริการ "เฟซบุ๊ก", เว็บไซต์กูเกิล ในประเทศสิงคโปร์ที่เป็นผู้ดูแลเซิร์ฟเวอร์ของผู้ใช้ในประเทศแถบเอเชีย ทั้งหมด รวมถึงเดินทางไปญี่ปุ่นเพื่อขอความร่วมมือกับผู้ให้บริการแอปพลิเคชั่น "แชต" LINE ในการปิดบัญชีผู้ใช้ที่มีพฤติกรรมเป็นภัยต่อความมั่นคง เนื่องจากการเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้บริการต้องได้รับความยินยอมจากผู้ให้บริการก่อน แต่ยืนยันว่าไม่ได้ห้ามการใช้งานทั้งหมด

แฝงตัวใน "ไลน์กรุ๊ป"

"ในการเรียกประชุมขอความร่วมมือที่ผ่านมา ไม่มีตัวแทนจากผู้ให้บริการกลุ่มนี้เลย เพราะไม่มีตัวแทนในประเทศไทย จึงต้องเดินสายไปทำความเข้าใจในต่างประเทศ ก่อนหน้านี้เราเคยไปสิงคโปร์มาแล้ว 5 ครั้ง ญี่ปุ่น 3 ครั้ง แต่ไปในฐานะ ปอท. (กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี) ครั้งนี้จะไปในนามกระทรวงไอซีที เชื่อว่าน้ำหนักของการได้รับความร่วมมือจะมีมากกว่า"

ลำดับถัดไปจะมีการมอนิเตอร์การสนทนาในกลุ่มแชตระดับรายบุคคล แต่ไม่ล้วงลึกไปถึงการสนทนาระหว่างบุคคล 2 คน ซึ่งก้าวก่ายสิทธิ์ส่วนบุคคล และขอย้ำว่า การมอนิเตอร์ของกระทรวงไอซีทีจะใช้คนคอยสอดส่องเท่านั้น ไม่มีการติดตั้งซอฟต์แวร์หรือฮาร์ดแวร์เพิ่มเพื่อดักจับการสนทนาของประชาชนแต่อย่างใด

ด้าน พ.ต.อ.ญาณพล ยั่งยืน ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงไอซีทีเสริมว่า ที่ผ่านมามีประชาชนจำนวนมากส่งข้อมูลการแพร่ข้อมูลที่ไม่เหมาะสมส่งมาให้เป็นจำนวนมาก อยู่ระหว่างการประสานงานกับผู้ให้บริการเพื่อให้ปิดบัญชีการใช้งานของคน กลุ่มนี้ที่มีปัญหา

"การตรวจสอบแอปแชต LINE ถ้าคุยกัน 2 คน คงตรวจสอบไม่ได้ เพราะไม่มีนโยบายเข้าไปล้วงลึกละเมิดสิทธิ์ขนาดนั้น แต่เดี๋ยวนี้คนใช้ LINE นิยมสร้างกลุ่มแชตขึ้นมากกว่าในห้องแชตที่เปิดไว้ก็ไม่ได้มีแต่คนที่เห็นด้วยเสมอไป บางคนในกลุ่มไม่พอใจก็แคปหน้าจอส่งมาให้คณะทำงานเอาผิด ส่วนใหญ่จะเป็นแบบนั้น อีกส่วนคือมีทีมงานเฝ้าระวัง โดยแฝงตัวไปเป็นเพื่อนในกลุ่มแชตต่าง ๆ ที่เปิดเป็นสาธารณะ"

เหตุที่ต้องเร่งทำความเข้าใจกับผู้ให้บริการแอปพลิเคชั่นและโซเชียลเน็ตเวิร์ก เพราะการแพร่ข้อมูลแบบนี้ไม่นิยมสร้างเป็นเว็บไซต์อีกแล้ว เนื่องจากขั้นตอนเยอะ และการโปรโมตเพื่อดึงคนเข้ามาก็ยาก ต่างกับโซเชียลเน็ตเวิร์กที่โพสต์ขึ้นเร็ว และแชร์ต่อกันได้ง่าย จึงกลายเป็นแหล่งแพร่ข่าวลือสร้างความปั่นป่วนและความร้าวฉานในสังคม

ชูไทยแลนด์โซเชียลเน็ตเวิร์ก

ขณะที่ นายสุรชัย ศรีสารคาม ปลัดกระทรวงไอซีที กล่าวว่า ไอซีทีจะคุมเข้มการทำธุรกิจของ ISP หลังจากได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) แล้ว โดยกระทรวงจะเป็นผู้วางกรอบและคอยกำกับว่าต้องประกอบกิจการอย่างไรเพื่อให้ เกิดความมั่นคงของชาติ และสันติสุขในสังคม

และในอีก 1-2 เดือนนี้จะเห็นความชัดเจนเป็นรูปธรรมของแผนการสร้าง "ไทยแลนด์โซเชียลเน็ตเวิร์ก" เพื่อให้คนไทยได้ใช้งานเป็นพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารความเห็นกันโดยตรง ทั้งอีเมล์ทางการที่คนไทยทุกคนจะมีเพื่อใช้สื่อสารภายใต้กรอบของสังคม และเชื่อมเข้ากับระบบธุรกรรมต่าง ๆ ได้โดยใช้คู่กับบัตรประชาชนสมาร์ทการ์ด และเป็นระบบที่มีความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลที่ได้มาตรฐาน

"เป็นทางเลือกและการันตีว่าข้อมูลของประชาชนจะได้รับการปกป้อง ไม่เหมือนทุกวันนี้ที่ข้อมูลทุกอย่างวิ่งไปใช้เซิร์ฟเวอร์เมืองนอกหมด ผู้ให้บริการต่างชาตินำข้อมูลคนไทยไปหาประโยชน์ทางธุรกิจ แนวคิดนี้ประชาคมโลกกำลังขับเคลื่อนเพื่อป้องกันสิทธิ์ข้อมูลส่วนบุคคล เป็นพื้นฐานของสมาร์ทคันทรี่เทคโนโลยี"

สำหรับข้อมูลการบล็อกเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสมที่เป็นภารกิจปกติของไอซีที ตั้งแต่เปิดศูนย์ปฏิบัติการด้านความปลอดภัยทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (CSOC) เมื่อ 5 ธ.ค. 2554-พ.ค. 2557 มีการปิดกั้นไปแล้ว 22,500 URL




http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1402034294

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.