Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

12 มิถุนายน 2557 (บทความ) “ทีวีดิจิตอล” ขายไม่ออก จนต้อง ลด-แลก-แจก “คูปอง” !?! // แต่ถ้าเอาคูปองไปแลก “กล่องรับสัญญาณดาวเทียม” เขาจะให้แลกได้เฉพาะตัว Set Top Box ประชาชนต้องติดดาวเทียมเพิ่มและจะเป็น “เหมืองทอง” สำหรับนักธุรกิจผู้กล้าเสี่ยง


ประเด็นหลัก



        แต่ถ้าเอาคูปองไปแลก “กล่องรับสัญญาณดาวเทียม” เขาจะให้แลกได้เฉพาะตัว Set Top Box ของดาวเทียมนะครับ แต่ตัวดาวเทียมและค่าติดตั้งต่างๆ ประชาชนต้องไปจ่ายเพิ่มกันเอง ซึ่งตรงนี้ผมมองว่ามันยังเป็นการสร้างภาระให้ประชาชนอยู่ เพราะต้องจ่ายค่าจานอีกประมาณ 1,000 บาท ค่าแรง-ค่าติดตั้งจานอีกประมาณ 500-1,000 บาท เพราะเราติดตั้งเองไม่ได้ ต้องมีช่างมาทำให้ ปีนหลังคาบ้าน ต่อสาย-เดินสาย
   
        ซึ่งตรงนี้ ผมมองว่ามันจะไปขัดหลักอะไรบางอย่างหรือเปล่า เพราะในกระบวนการปฏิรูปสื่อ มันจะมีเรื่องนึงที่สำคัญ คือเรื่อง “ทีวีชุมชน” (ทีวีประจำจังหวัดหรือประจำภูมิภาค มีเนื้อหาเป็นเรื่อง Local Content เน้นศิลปวัฒนธรรม-ประเพณี) ซึ่งสามารถออกอากาศโดยผ่านระบบดิจิตอลภาคพื้นดินเท่านั้น คือไม่สามารถออกอากาศผ่านระบบจานดาวเทียมได้ เพราะฉะนั้น ถ้าเกิดทาง กสทช. ต้องการออกคูปองมาเพื่อที่จะสนับสนุนระบบจานดาวเทียมแล้ว มันก็เท่ากับว่าเป็นการคุมกำเนิดทีวีชุมชนไปในตัว ทำให้คนที่ใช้คูปองซื้อกล่องดาวเทียม ไม่ได้ดูทีวีชุมชนไปโดยปริยาย ทำให้กลุ่มคนที่ได้ดูทีวีชุมชนมีน้อยลงไปอีก”
   
        ความคิดเห็นของอุปนายกสมาคมสื่อดิจิตอลเพื่อผู้บริโภค (ประเทศไทย) สอดคล้องกับความคิดเห็นของ ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ที่ชี้แจงเอาไว้ในบทความเรื่อง “แจกกล่องทีวีดิจิตอล 2 หมื่นล้าน… คิดดีแล้วหรือยัง?” ที่ได้ตั้งคำถามเรื่องการแจกคูปอง แสดงความรู้สึกไม่เห็นด้วยเอาไว้อย่างชัดเจน
   
        “ประเด็นแรก ควรแจกคูปองให้กับทุกครัวเรือนหรือไม่ การแจกให้กับทุกครัวเรือนจะใช้เงินค่อนข้างมาก เนื่องจากมีครัวเรือนตามสำมะโนประชากรถึง 25 ล้านครัวเรือน ทั้งที่บางครัวเรือนอาจไม่ต้องการคูปอง เพราะสามารถรับชมโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลด้วยวิธีอื่น เช่น รับชมผ่านโทรทัศน์ดาวเทียมหรือเคเบิลทีวี ได้อยู่แล้ว
   
        ประเด็นที่สอง ควรแจกคูปองสำหรับการซื้อกล่องเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียมหรือไม่ หาก กสทช. แจกคูปองในส่วนนี้ ปัญหาที่จะตามมาก็คือ ในอนาคต เมื่อโทรทัศน์ชุมชนในระบบดิจิตอล เริ่มให้บริการ จะมีปัญหาว่าไม่สามารถรับชมช่องเหล่านี้ได้ เพราะในขณะนี้ยังไม่มีกฎว่าทีวีดาวเทียมต้องถ่ายทอดช่องบริการชุมชน
   
        ประเด็นที่สาม มูลค่าของคูปองสูงเกินไปหรือไม่ เพราะในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา พบว่าเมื่อกำหนดมูลค่าของคูปองไว้สูง ราคากล่องรับสัญญาณก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย โดยมีการศึกษาพบว่า ร้านค้าที่รับคูปองจะขายอุปกรณ์ในราคาสูงกว่าร้านค้าที่ไม่รับคูปองมาก ทั้งที่เป็นรุ่นคล้ายๆ กัน ซึ่งหมายความว่าการแจกคูปองทำให้ราคาของอุปกรณ์สูงกว่าความเป็นจริง ทำให้ผู้ที่ได้รับประโยชน์คือผู้ผลิตอุปกรณ์และร้านค้า ไม่ใช่ประชาชนที่ได้รับคูปอง
   
        และประเด็นที่สี่ การกำหนดมูลค่าของคูปองคงที่ตลอด 4 ปีนั้นเหมาะสมหรือไม่ อย่างในกรณีของอังกฤษ ราคาของกล่องรับสัญญาณจะลดลงครึ่งหนึ่ง เมื่อการผลิตเพิ่มขึ้น 2 เท่า ดังนั้น การกำหนดมูลค่าของคูปองตายตัว ในขณะที่กล่องรับสัญญาณมีราคาลดลง จึงเท่ากับเป็นการใช้เงินมากกว่าที่ควรจะเป็น”
   
        สุดท้ายแล้ว “ทีวีดิจิตอล” จะเป็น “เหมืองทอง” สำหรับนักธุรกิจผู้กล้าเสี่ยง หรือจะเป็น “หุบเหว” ที่คอยดูดทรัพย์ให้มลายหายไปโดยไม่มีอะไรงอกเงยขึ้นมา คำตอบนี้ คงต้องฝากไว้ที่ กสทช. และนี่คือสิ่งที่อุปนายกสมาคมสื่อดิจิตอลเพื่อผู้บริโภค (ประเทศไทย) อยากฝากไว้

______________________________________
“ทีวีดิจิตอล” ขายไม่ออก จนต้อง ลด-แลก-แจก “คูปอง” !?!





“งง” คือความรู้สึกที่ตรงใจประชาชนส่วนใหญ่ที่สุดเมื่อพูดถึง “ทีวีดิจิตอล” ในวันนี้ หลายคนไม่รู้ว่ามันคืออะไร? หลายคนไม่เข้าใจว่าแตกต่างจากช่องเคเบิลอย่างไร? หลายคนไม่เห็นความสำคัญว่าทำไมต้องมีมัน? และที่หนักกว่านั้น อีกหลายล้านคนไม่รู้ว่าได้ออกอากาศอย่างเป็นทางการไปเรียบร้อยแล้ว!
     
       มีเพียงกลุ่มผู้ประกอบการ-เจ้าของช่องผู้ชนะการประมูลเท่านั้นที่มองเห็นว่าทีวีระบบใหม่นี้เป็นหนทางไปสู่ “ขุมทรัพย์” ในขณะที่คนจำนวนไม่น้อยมองเห็นว่าเป็น “หายนะ” และความยุ่งยากเสียมากกว่า!
     
     

     
       ช่องโหว่จากความงง สร้างมิจฉาชีพ!
        “ประชาชนยังมีความเข้าใจในเรื่องทีวีดิจิตอลอยู่น้อยมาก ส่วนใหญ่ยังสับสนระหว่าง “ทีวีดาวเทียม” กับ “ทีวีดิจิตอลภาคพื้นดิน” กันอยู่เลยครับ” วิศรุต ปิยกุละวัฒน์ อุปนายกสมาคมสื่อดิจิตอลเพื่อผู้บริโภค (ประเทศไทย) พูดตรงๆ เกี่ยวกับวิกฤตความเข้าใจเรื่องทีวีดิจิตอลในสังคมไทยที่เป็นอยู่ และเหตุผลนี้เองที่ทำให้มี “มิจฉาชีพ” หลอกขายกล่องรับสัญญาณทีวีดิจิตอลเริ่มออกหากิน บางรายถึงขนาดเดินหาเหยื่อตามบ้านเพื่อเสนอบริการติดตั้งฟรี
     
        “ด่วน! ฟรี! โครงการกล่องทีวีดิจิตอล เชิญลงทะเบียนพร้อมสำเนาบัตรประชาชน+ทะเบียนบ้าน ณ ป้อมยาม” คือตัวอย่างป้ายประกาศของมิจฉาชีพที่อาศัยความไม่รู้ของประชาชนในเรื่องทีวีดิจิตอลมาอ้างเพื่อขโมยข้อมูลไปใช้ ทำให้ทาง “คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)” ต้องออกมาเตือนประชาชนว่ายังไม่มีนโยบายแต่งตั้งบริษัทหรือตัวแทนบุคคล ทำหน้าที่จัดหาหรือนำกล่องไปแจกถึงที่พักอาศัยของประชาชนแต่ประการใด ทั้งยังเปิดรับเรื่องร้องทุกข์จากข้อมูลเท็จผ่าน Call Center 1200 ในกรณีนี้กันให้วุ่นวายอยู่พอสมควร
     
     


     
ช่องว่างจากความไม่รู้ ก่อมิจฉาชีพ

     
        เหตุการณ์ “มิจฉาชีพแฝงกายขายกล่องดิจิตอลทีวี” ที่เกิดขึ้น ไม่ได้สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาสังคมเท่านั้น ยังชี้ให้เห็นถึงเหตุผลเบื้องหลังของปัญหาด้วยว่า เกิดขึ้นจาก “ความไม่ชัดเจน” เรื่องข้อมูลของทางผู้รับผิดชอบเรื่องนี้อย่าง กสทช. ทำให้ประชาชนเข้าไม่ถึงข้อมูลที่ถูกต้องแท้จริง จนส่งผลกระทบให้หลงเชื่อมิจฉาชีพผู้สวมรอยได้อย่างง่ายดาย ในฐานะผู้ร่วมเสนอความจริงสู่ประชาชนในเรื่องการเปลี่ยนผ่านจาก “ทีวีอะนาล็อก” สู่ “ทีวีดิจิตอล” อย่างสมาคมสื่อดิจิตอลเพื่อผู้บริโภค (ประเทศไทย) บอกได้เลยว่า “น่าหนักใจ”
     
        "มันเป็นเรื่องของเทคโนโลยีและเทคนิคเกี่ยวกับการรับชมครับ ซึ่งเรื่องแบบนี้ปกติแล้วก็ทำความเข้าใจยากอยู่แล้ว และยิ่งไม่ได้มีกระบวนการประชาสัมพันธ์ที่ใช้ภาษาเข้าใจง่าย ยิ่งทำให้เรื่องเหล่านี้ยากต่อการเข้าใจ เพราะประชาชนมีหลายระดับ ทำให้คนที่เข้าใจส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนที่มีพื้นฐานการศึกษาค่อนข้างดี แต่สำหรับคนที่การศึกษาน้อยนิดนึงจะยิ่งงง ซึ่งหน้าที่หลักในเรื่องการสื่อสารตรงนี้ น่าจะเป็นของ กสทช. นะครับ เพราะเป็นหน่วยงานที่ใช้ในการขับเคลื่อนเพื่อเปลี่ยนผ่านระบบตรงนี้” อุปนายกสมาคมฯ เผยความจริงเอาไว้ ก่อนช่วยไขความกระจ่างในทุกมุมที่ประชาชนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจให้ฟัง
     
        “คำถามที่เจอบ่อยมากๆ คือ ถ้าจะดูทีวีดิจิตอล ต้องมีอะไรบ้าง? วิธีการเปลี่ยนทีวีแบบเดิม ให้เป็นทีวีดิจิตอลมีอยู่ 3 วิธีด้วยกันคือ วิธีที่ 1 “เปลี่ยนทีวีใหม่ไปเลย” อันนี้ใช้เงินเยอะครับ เพราะต้องซื้อทีวีรุ่นใหม่ที่ผลิตออกมาสำหรับรองรับทีวีดิจิตอลเลย น่าจะต้องมีเงินอย่างน้อย 10,000 บาทขึ้นไป โดยให้ดูที่สติกเกอร์ กสทช. และโลโก้ “ดูดี” เป็นมาตรฐานรองรับ
     
     


     
สัญลักษณ์ "ดูดี" มาตรฐานทีวีที่รับระบบดิจิตอลได้

     
        วิธีที่ 2 “ซื้อ Set Top Box” มาต่อ คือถ้ามีทีวีเครื่องเก่าอยู่แล้ว แล้วอยากเปลี่ยนเป็นดูทีวีดิจิตอล ก็ให้ซื้อตัวนี้มาต่อเพิ่ม แล้วก็ซื้อเสาหนวดกุ้งที่ต่ออยู่หลังทีวีแบบเดิม มาต่อเข้ากับหลังตัวเครื่อง แบบนี้ก็จะไม่ต้องเสียเงินซื้อทีวีใหม่ ซึ่งเสาอากาศ มีอยู่ 2 แบบ คือ แบบที่เป็น “เสาก้างปา” ที่เป็นแผงๆ อยู่บนหลังคา กับอีกแบบคือ “เสาหนวดกุ้ง” ที่ตั้งไว้ข้างๆ ทีวีสมัยก่อน
     
        แล้วก็วิธีที่ 3 คือ “ดูผ่านจานดาวเทียม” อันนี้แค่มีจานดาวเทียมติดอยู่ที่บ้านก็สามารถดูได้แล้วครับ ไม่ต้องซื้ออะไรมาติดเพิ่ม เพียงแต่คุณภาพภาพที่ออกมาจะสู้แบบดูผ่านกล่อง Set Top Box โดยตรงไม่ได้ คือจากภาพของทางช่อง HD จะกลายเป็นคุณภาพธรรมดา จะไม่ได้มีความคมชัดสูงเหมือนที่ออกอากาศทางภาคพื้นดิน และวิธี 4 “ดูผ่านกล่องเคเบิล” เป็นวิธีสุดท้าย”
     
     

     
       จวนเจ๊ง จนต้องพึ่ง “คูปอง”?
        แต่อย่าเพิ่งใจร้อนไปหาซื้อกล่องรับสัญญาณมาใช้ในทันที ขอให้รอกันไปอีกสักนิด เพราะอีกไม่กี่อึดใจ ทาง กสทช. น่าจะออก “คูปองทีวีดิจิตอล” ราคา 1,000 บาท ออกมาจูงใจให้ใครหลายคนอยากเปลี่ยนมารับสัญญาณบ้างแล้ว
     
       ล่าสุด ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุน กทปส. ตั้งกรอบวงเงินไว้ให้แล้วเป็นจำนวน 25,000 ล้านบาท สำหรับแจกให้ประชาชน 25 ล้านครัวเรือนตามทะเบียนราษฎร์ ครัวเรือนละ 1,000 บาท เพราะนี่อาจเป็นทางรอดทางเดียวที่จะทำให้ผู้ประกอบการซึ่งชนะการประมูลเป็นเจ้าของช่องในระบบดิจิตอลหลายราย รู้สึกอุ่นใจขึ้นมาได้บ้างว่า จะห่างไกลจากคำว่า “เจ๊ง”
     
        “พูดถึงอนาคตทีวีดิจิตอลเมืองไทย (ถอนหายใจ) พูดแล้วก็น่าหนักใจครับ ผมว่าคนที่น่าหนักใจที่สุดตอนนี้คือผู้ประกอบการ หนักใจมากว่าการที่เขาลงทุนครั้งนี้จะประสบความสำเร็จหรือไม่ เขาเฝ้ามองกระบวนการต่างๆ อยู่นะครับ สัปดาห์ที่ผ่านมาก็เพิ่งมีตัวแทนไปคุยกับทาง กสทช. เป็นระยะๆ ว่าเมื่อไหร่กระบวนการคูปองจะออกมาสักที เพราะยิ่งคูปองออกมาช้า คนดูก็น้อย พอคนดูน้อยก็ส่งผลกระทบต่อเรื่องเรตติ้ง โฆษณาก็ไม่เข้า ก็กังวลกันอยู่” วิศรุต อุปนายกสมาคมสื่อดิจิตอลเพื่อผู้บริโภค (ประเทศไทย) เปิดใจอัปเดตสถานการณ์วิกฤตของทีวีดิจิตอลให้ฟัง
     
        แต่ก็ใช่ว่าหนทางบนเส้นทางสายดิจิตอลนี้จะมืดบอดเสียทีเดียว เพราะผู้เชี่ยวชาญหลายคนก็ยังพยายามมองให้เห็นแง่ดี มองให้เห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์บนเส้นทางนี้ว่า น่าจะผ่านพ้นและรอดไปได้ เหมือนอย่างที่ประเทศต้นแบบเคยผ่านมาแล้ว
     
        “อย่างอเมริกาก็เคยมีปัญหา เพราะเขาออกราคาคูปองต่ำเกินไป ปรากฏว่าต้องใช้เวลาถึง 8 ปีในการเปลี่ยนผ่าน ตอนแรกออกคูปองราคา 40 เหรียญมา (ประมาณ 1,200 บาท) ปรากฏว่าผ่านไป 1 ปี ยังไม่มีใครเปลี่ยนมาใช้ทีวีดิจิตอล เพราะคูปองส่วนลดราคาต่ำเกินไป มันไม่ช่วยเหลือประชาชน ตอนหลังก็เลยออกคูปองราคา 2 เท่า คือ 80 เหรียญ (ประมาณ 2,400 บาท) ถึงจะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง หรืออย่างในอังกฤษ เขาก็ตั้งหน่วยงานอิสระขึ้นมาหน่วยงานนึงเลยเพื่อทำหน้าที่ติดตั้งอุปกรณ์รับสัญญาณทีวีดิจิตอลตามบ้าน สำหรับกลุ่มคนที่ไม่เข้าใจในเรื่องเทคโนโลยีแบบนี้”
     
        จริงๆ แล้ว ทุกประเทศที่เคยเปลี่ยนผ่านระบบแบบนี้ก็ประสบปัญหากันทั้งนั้น แต่วิธีที่ดีที่สุดคือเราควรจะดูปัญหาที่เกิดขึ้นกับทุกประเทศ แล้วดูว่าเขาแก้ไขปัญหากันอย่างไร แต่ปัญหาใหญ่คือตอนนี้ประเทศไทยใช้โมเดลของประเทศเขา แต่กลับเดินหน้าเผชิญปัญหาแบบงมๆ กันไปในแบบของเราเอง"
     
     

     
       เปิดโอกาสคนจน หรือ สร้างช่องโหว่โกงกิน?
        “ไม่เห็นต้องมี-ไม่จำเป็นต้องดู” คือความคิดของคนจำนวนไม่น้อยที่คิดกับ “ทีวีดิจิตอล” แต่ในฐานะที่ดูแลเรื่องสื่อใหม่มานาน อุปนายกสมาคมสื่อดิจิตอลเพื่อผู้บริโภค (ประเทศไทย) จึงอยากให้อย่าเพิ่งเหมารวมและลองเปิดใจกันสักนิดหนึ่ง
     
        “หลายคน รับชมทีวีผ่านจานดาวเทียมมาหลายปี สามารถดูได้เป็นร้อยๆ ช่อง พอมามีระบบ “ทีวีดิจิตอล” แบบนี้ คนที่ดูผ่านทีวีดาวเทียมอยู่อาจจะรู้สึกว่ามันก็ไม่ได้ต่างจากเดิมอะไรมากมาย แต่อย่าลืมว่ามันยังมีกลุ่มคนที่ไม่ได้ติดจานดาวเทียม ดูทีวีได้แค่ 6 ช่องของฟรีทีวี คือ 3, 5, 7, MCOT, NBT, ThaiPBS เราต้องไม่ลืมคนกลุ่มนี้นะครับ พอมีทีวีดิจิตอล มันทำให้เขาได้ดูเพิ่มขึ้น จากทางเลือกเดิมที่มีแค่ 6 ช่อง เป็น 48 ช่อง เป็นโอกาสที่ทำให้เขาได้ชมเพิ่มขึ้นโดยไม่ต้องเสียค่ารายเดือนในการรับชม”
     
        ย่อหน้าที่ผ่านมาคือมุมมองจากการลองพยายามมองให้เห็นข้อดีของการมีทีวีดิจิตอล แต่โลกมีมากกว่า 2 ด้าน จึงมีอีกมุมที่ยังเป็นมุมมืดๆ ซ่อนอยู่ คือถึงแม้การแจกคูปองจะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายและช่วยกระตุ้นให้คนมาสนใจทีวีดิจิตอล แต่ในรายละเอียดที่ลึกลงไปกว่านั้น ยังมีผลกระทบที่ไม่น่าไว้วางใจซุกซ่อนอยู่
     
        “ผมค่อนข้างไม่เห็นด้วย ที่บอกว่าสามารถเอาคูปองนี้ไปแลกกล่องเคเบิลหรือกล่องดาวเทียมได้ มันมีที่มาก็คือ ทาง กสทช. มีนโยบายออกมาว่า นอกจากคูปองที่ออกมา จะเอาไปแลกกับ “Set Top Box ของกล่องทีวีดิจิตอลแบบภาคพื้นดิน” ได้แล้ว ยังสามารถให้เอาคูปองไปแลกกับกล่องรับสัญญาณดาวเทียมได้ด้วย เนื่องจาก 24 ช่องของทางทีวีดิจิตอล มันไปออกผ่านทางดาวเทียมด้วย เขาก็เลยเพิ่มตัวเลือกเอาไว้ให้
     
        แต่ถ้าเอาคูปองไปแลก “กล่องรับสัญญาณดาวเทียม” เขาจะให้แลกได้เฉพาะตัว Set Top Box ของดาวเทียมนะครับ แต่ตัวดาวเทียมและค่าติดตั้งต่างๆ ประชาชนต้องไปจ่ายเพิ่มกันเอง ซึ่งตรงนี้ผมมองว่ามันยังเป็นการสร้างภาระให้ประชาชนอยู่ เพราะต้องจ่ายค่าจานอีกประมาณ 1,000 บาท ค่าแรง-ค่าติดตั้งจานอีกประมาณ 500-1,000 บาท เพราะเราติดตั้งเองไม่ได้ ต้องมีช่างมาทำให้ ปีนหลังคาบ้าน ต่อสาย-เดินสาย
     
        ซึ่งตรงนี้ ผมมองว่ามันจะไปขัดหลักอะไรบางอย่างหรือเปล่า เพราะในกระบวนการปฏิรูปสื่อ มันจะมีเรื่องนึงที่สำคัญ คือเรื่อง “ทีวีชุมชน” (ทีวีประจำจังหวัดหรือประจำภูมิภาค มีเนื้อหาเป็นเรื่อง Local Content เน้นศิลปวัฒนธรรม-ประเพณี) ซึ่งสามารถออกอากาศโดยผ่านระบบดิจิตอลภาคพื้นดินเท่านั้น คือไม่สามารถออกอากาศผ่านระบบจานดาวเทียมได้ เพราะฉะนั้น ถ้าเกิดทาง กสทช. ต้องการออกคูปองมาเพื่อที่จะสนับสนุนระบบจานดาวเทียมแล้ว มันก็เท่ากับว่าเป็นการคุมกำเนิดทีวีชุมชนไปในตัว ทำให้คนที่ใช้คูปองซื้อกล่องดาวเทียม ไม่ได้ดูทีวีชุมชนไปโดยปริยาย ทำให้กลุ่มคนที่ได้ดูทีวีชุมชนมีน้อยลงไปอีก”
     
        ความคิดเห็นของอุปนายกสมาคมสื่อดิจิตอลเพื่อผู้บริโภค (ประเทศไทย) สอดคล้องกับความคิดเห็นของ ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ที่ชี้แจงเอาไว้ในบทความเรื่อง “แจกกล่องทีวีดิจิตอล 2 หมื่นล้าน… คิดดีแล้วหรือยัง?” ที่ได้ตั้งคำถามเรื่องการแจกคูปอง แสดงความรู้สึกไม่เห็นด้วยเอาไว้อย่างชัดเจน
     
        “ประเด็นแรก ควรแจกคูปองให้กับทุกครัวเรือนหรือไม่ การแจกให้กับทุกครัวเรือนจะใช้เงินค่อนข้างมาก เนื่องจากมีครัวเรือนตามสำมะโนประชากรถึง 25 ล้านครัวเรือน ทั้งที่บางครัวเรือนอาจไม่ต้องการคูปอง เพราะสามารถรับชมโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลด้วยวิธีอื่น เช่น รับชมผ่านโทรทัศน์ดาวเทียมหรือเคเบิลทีวี ได้อยู่แล้ว
     
        ประเด็นที่สอง ควรแจกคูปองสำหรับการซื้อกล่องเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียมหรือไม่ หาก กสทช. แจกคูปองในส่วนนี้ ปัญหาที่จะตามมาก็คือ ในอนาคต เมื่อโทรทัศน์ชุมชนในระบบดิจิตอล เริ่มให้บริการ จะมีปัญหาว่าไม่สามารถรับชมช่องเหล่านี้ได้ เพราะในขณะนี้ยังไม่มีกฎว่าทีวีดาวเทียมต้องถ่ายทอดช่องบริการชุมชน
     
        ประเด็นที่สาม มูลค่าของคูปองสูงเกินไปหรือไม่ เพราะในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา พบว่าเมื่อกำหนดมูลค่าของคูปองไว้สูง ราคากล่องรับสัญญาณก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย โดยมีการศึกษาพบว่า ร้านค้าที่รับคูปองจะขายอุปกรณ์ในราคาสูงกว่าร้านค้าที่ไม่รับคูปองมาก ทั้งที่เป็นรุ่นคล้ายๆ กัน ซึ่งหมายความว่าการแจกคูปองทำให้ราคาของอุปกรณ์สูงกว่าความเป็นจริง ทำให้ผู้ที่ได้รับประโยชน์คือผู้ผลิตอุปกรณ์และร้านค้า ไม่ใช่ประชาชนที่ได้รับคูปอง
     
        และประเด็นที่สี่ การกำหนดมูลค่าของคูปองคงที่ตลอด 4 ปีนั้นเหมาะสมหรือไม่ อย่างในกรณีของอังกฤษ ราคาของกล่องรับสัญญาณจะลดลงครึ่งหนึ่ง เมื่อการผลิตเพิ่มขึ้น 2 เท่า ดังนั้น การกำหนดมูลค่าของคูปองตายตัว ในขณะที่กล่องรับสัญญาณมีราคาลดลง จึงเท่ากับเป็นการใช้เงินมากกว่าที่ควรจะเป็น”
     
        สุดท้ายแล้ว “ทีวีดิจิตอล” จะเป็น “เหมืองทอง” สำหรับนักธุรกิจผู้กล้าเสี่ยง หรือจะเป็น “หุบเหว” ที่คอยดูดทรัพย์ให้มลายหายไปโดยไม่มีอะไรงอกเงยขึ้นมา คำตอบนี้ คงต้องฝากไว้ที่ กสทช. และนี่คือสิ่งที่อุปนายกสมาคมสื่อดิจิตอลเพื่อผู้บริโภค (ประเทศไทย) อยากฝากไว้
     
        “ผมมองว่าตอนนี้เรากำลังอยู่ในเส้นทางขรุขระครับ อยู่ในเส้นทาง Off Road รถที่เราโดยสารมาก็เลยกำลังโคลงเคลง เราก็ได้แต่หวังว่าคนทำถนนข้างหน้าจะทำถนนได้เรียบ ทำถนนให้ดี ให้เราวิ่งไปแบบไม่ตกเหวไปซะก่อน”
     
       ข่าวโดย ASTV ผู้จัดการ Live



http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9570000064700

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.