Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

12 มิถุนายน 2557 TRUE.ศุภชัย ระบุ เปิดทาง “ไชน่าโมบายส์” ถือหุ้น18% ล้างหนี้ ได้มีการเพิ่มทุนอีก 36,400 ล้านบาท ให้ผู้ถือหุ้นเดิม เพื่อคงสัดส่วนการถือหุ้นไว้ โดยขายในอัตราส่วน 2.5725 หุ้นสามัญเดิมต่อ1 หุ้นใหม่ (2.5725 : 1) ในราคาหุ้นละ 6.45 บาท


ประเด็นหลัก


ศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการและประธานคณะผู้บริหาร บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น
กล่าว การเลือกไชน่าโมบายล์เป็นพันธมิตรเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Partner) ที่จะช่วยสร้างศักยภาพในการแข่งขัน ตลอดจนการปรับฐานการเงินให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้นพร้อมต่อการเติบโตอย่างต่อเนื่อง และยังช่วยลดระดับหนี้โดยรวมของบริษัท เพิ่มความแข็งแกร่งให้ทุนของบริษัท เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของกลุ่มทรูที่จะพลิกโฉมเป็นองค์กรที่สร้างกำไร รวมถึงการขยายสู่การแข่งขันระดับภูมิภาค เพื่อรองรับกับการเปิด AEC

การเป็นพันธมิตรร่วมทุนกับ “ไชน่าโมบายล์” ในครั้งนี้  เป็นการขยายการลงทุนในภาคพื้นเอเชียเพื่อรองรับการเปิด AEC แล้ว และยังแสดงถึงความเชื่อมั่นที่ต่างประเทศมีต่อเศรษฐกิจในระยะยาวของประเทศไทยอีกด้วย

สำหรับ “ไชน่าโมบายล์” จัดเป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือระดับโลก มีฐานลูกค้า 800 ล้านราย โดยเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่ฮ่องกงและนิวยอร์ค  และยังได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ ซึ่งกลุ่มซีพีเองได้ชื่อว่าเป็นเอกชนของไทยที่มีบทบาทในการลงทุนในจีนอย่างมาก ชื่อของ “ไชน่าโมบายล์” เองก็ติดอยู่ในโผการเจรจาของทรูมาตลอด

จะเห็นได้ว่า การขายหุ้นครั้งนี้ ได้มีการเพิ่มทุนอีก 36,400 ล้านบาท ให้ผู้ถือหุ้นเดิม เพื่อคงสัดส่วนการถือหุ้นไว้ โดยขายในอัตราส่วน 2.5725 หุ้นสามัญเดิมต่อ1 หุ้นใหม่ (2.5725 : 1)  ในราคาหุ้นละ 6.45 บาท  ซึ่งเป็นราคาเดียวกันกับราคาที่ไชน่าโมบายล์เข้าซื้อหุ้น

______________________________________


ทรู เปิดทาง “ไชน่าโมบายส์” ถือหุ้น18% ล้างหนี้ - ควงคู่บุกตลาดภูมิภาค


หลังจากตกเป็นข่าวพักใหญ่ ในที่สุดค่ายทรูมูฟ ก็ตกลงปลงใจ ประกาศจับมือเป็นพันธมิตรเชิงยุทธศาสตร์ กับ “บริษัทไชน่าโมบายล์” ด้วยการขายหุ้นเฉพาะเจาะจง (Private Placement) มูลค่า 28,600 ล้านบาท คิดเป็น 18% ชองจำนวนหุ้นทั้งหมด พร้อมกันนี้ยังได้จัดสรร “หุ้นสามัญใหม่” ให้กับผู้ถือหุ้นเดิม มูลค่า 36,400 ล้านบาท

ธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ และประธานกรรมการ บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น บอกว่า เครือเจริญโภคภัณฑ์ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ของกลุ่มทรู พร้อมเป็นอย่างยิ่งที่จะสนับสนุนการปรับฐานการเงินด้วยการเพิ่มทุนครั้งนี้

โดยเครือซีพียินดีที่จะรับซื้อหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิ และในกรณีที่ผู้ถือหุ้นเดิมรายอื่นๆ ไม่ใช้สิทธิรับซื้อหุ้นเพิ่มทุนในครั้งนี้ครบ เครือซีพีก็ยินดีจะพิจารณาสนับสนุนการเพิ่มทุนครั้งนี้ให้สำเร็จตามช่องทางที่จะทำได้

ศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการและประธานคณะผู้บริหาร บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น
กล่าว การเลือกไชน่าโมบายล์เป็นพันธมิตรเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Partner) ที่จะช่วยสร้างศักยภาพในการแข่งขัน ตลอดจนการปรับฐานการเงินให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้นพร้อมต่อการเติบโตอย่างต่อเนื่อง และยังช่วยลดระดับหนี้โดยรวมของบริษัท เพิ่มความแข็งแกร่งให้ทุนของบริษัท เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของกลุ่มทรูที่จะพลิกโฉมเป็นองค์กรที่สร้างกำไร รวมถึงการขยายสู่การแข่งขันระดับภูมิภาค เพื่อรองรับกับการเปิด AEC

การเป็นพันธมิตรร่วมทุนกับ “ไชน่าโมบายล์” ในครั้งนี้  เป็นการขยายการลงทุนในภาคพื้นเอเชียเพื่อรองรับการเปิด AEC แล้ว และยังแสดงถึงความเชื่อมั่นที่ต่างประเทศมีต่อเศรษฐกิจในระยะยาวของประเทศไทยอีกด้วย

สำหรับ “ไชน่าโมบายล์” จัดเป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือระดับโลก มีฐานลูกค้า 800 ล้านราย โดยเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่ฮ่องกงและนิวยอร์ค  และยังได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ ซึ่งกลุ่มซีพีเองได้ชื่อว่าเป็นเอกชนของไทยที่มีบทบาทในการลงทุนในจีนอย่างมาก ชื่อของ “ไชน่าโมบายล์” เองก็ติดอยู่ในโผการเจรจาของทรูมาตลอด

ศึก 3 ก๊กมือถือ จาก 3 โกบอลแบรนด์

การที่ค่ายทรู เปิดทางให้ “ไชน่าโมบายล์”เข้ามาถือหุ้น จะทำให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือของไทยทั้ง 3 ราย ล้วนแล้วแต่มีบริษัทสื่อสารโทรคมนาคมข้ามชาติต่างชาติเข้ามาถือหุ้นด้วยกันทั้งสิ้น  เอไอเอส มีค่าย “สิงค์เทล” จากสิงคโปร์  ส่วนดีแทคก็มีค่ายเทเลนอร์ จากประเทศนอร์เวย์ เข้ามาซื้อหุ้นและเป็นหลักในการบริหารงาน

ค่ายทรูมูฟนั้น หลังจากที่ผู้ถือหุ้นข้ามชาติ “ออเรนจ์” จากอังกฤษที่เคยเข้ามาถือหุ้นในบริษัทรู โดยเวลานั้นยังใช้ชื่อ “ซีพี ออเรนจ์” ถอนหุ้นออกไป ค่ายทรูเป็นโอปะเรเตอร์มือถือเพียงรายเดียวที่ถือหุ้นโดยบริษัทไทย โดยตลอดเวลาที่ผ่านมา ก็มีกระแสข่าวว่าทรูเองก็ต้องการให้บริษัทสื่อสารข้ามชาติเข้ามาถือหุ้น เพราะปัญหาจากหนี้สะสมโดยรวม ทำให้ตัวเลขทางการเงินของทรูยังไม่เข้าตานักลงทุนมากนัก

ศุภชัย ก็บอกกับสื่อมวลชนว่า เขาต้องการเปิดทางให้บริษัทสื่อสารข้ามชาติเข้ามาเจรจาเรื่องการถือหุ้นในทรู  ส่วน “สเปค” ของผู้ที่จะมาถือหุ้นนั้น นอกจากช่วยเรื่องของเรื่องเงินทุน ยังต้องสนับสนุนยุทธศาสตร์เรื่องของการ “คอนเวอร์เจ้นท์” แล้ว รวมถึงต้องร่วมขยายไปสู่ธุรกิจไปยังภูมิภาคนี้ แต่ตัวเลขต้องได้ไม่เกิน 20-25% เพื่อยังคงรักษาสิทธิในการบริหารงานไว้

จะเห็นได้ว่า การขายหุ้นครั้งนี้ ได้มีการเพิ่มทุนอีก 36,400 ล้านบาท ให้ผู้ถือหุ้นเดิม เพื่อคงสัดส่วนการถือหุ้นไว้ โดยขายในอัตราส่วน 2.5725 หุ้นสามัญเดิมต่อ1 หุ้นใหม่ (2.5725 : 1)  ในราคาหุ้นละ 6.45 บาท  ซึ่งเป็นราคาเดียวกันกับราคาที่ไชน่าโมบายล์เข้าซื้อหุ้น

ดีลนี้ เมื่อรวมเงินที่จะได้จากการขายหุ้นให้ผู้ถือหุ้นเดิม และไชน่าโมบาลย์ จะทำให้ทรูได้ 65,000 ล้านบาท มาใช้ในการทำธุรกิจ ยกระดับฐานะการเงินดีขึ้น พร้อมกับสู้ศึกมือถือรอบใหม่

เมื่อทรูมีทั้งความพร้อมทั้ง “เสบียงกรัง” และได้โนวฮาวจากหุ้นสว่นระดับโกบอลแบรนด์มาช่วยรบในสนามแข่งขัน ที่ทรู เอง ใช้จังหวะการเปลี่ยนผ่านสู่ 3 จี และ 4 จี พลิกจากเบอร์ 3 ก้าวขึ้นเป็น “เบอร์ 1” หรือ อย่างน้อยก็ต้องเบอร์ 2 ในตลาดมือถือ

เชื่อว่า ดีกรีตลาดโทรศัพท์มือถือนอกจากจะดุเดือดขึ้นแน่ๆ แล้ว  รวมถึงความร้อนแรงของประมูลใบอนุญาติใช้คลื่นความถี่ 900 เมกกะเฮิร์ทซ์ และ 1800 เมกกะเฮิร์ทซ์ เพื่อนำมาใช้ในบริการ 3 จี และ 4 จี ที่กำลังจะมีขึ้นในเร็วๆนี้ จะเพิ่มขึ้นแน่นอน




http://www.positioningmag.com/content/%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B9-%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87-%E2%80%9C%E0%B9%84%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%82%E0%B8%A1%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B9%8C%E2%80%9D-%E0%B8%96%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AB%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%9918-%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%89-%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84


____________________________________________________



กลุ่มทรูเลือกไชน่าโมบายล์ถือหุ้น 18% มูลค่า 2.86 หมื่นล้านบาท







นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ และประธานกรรมการ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น
       กลุ่มทรู ประกาศจับมือพันธมิตรเชิงยุทธศาสตร์กับ ไชน่าโมบายล์ ร่วมเสริมศักยภาพด้านธุรกิจ และปรับฐานการเงินให้แข็งแกร่ง (Recapitalization) ด้วยการจัดสรรหุ้นแบบเฉพาะเจาะจง (Private Placement ) มูลค่าประมาณ 28,600 ล้านบาทคิดเป็น 18% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด พร้อมการจัดสรรหุ้นสามัญใหม่เพื่อเสนอขายแก่ผู้ถือหุ้นเดิม (Rights offering) มูลค่าประมาณ 36,400 ล้านบาท รวมมูลค่าทั้งหมด 65,000 ล้านบาท
      
       นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ และประธานกรรมการ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าว ว่า กลุ่มทรูขอต้อนรับไชน่าโมบายล์เป็นพันธมิตรเชิงยุทธศาสตร์ ที่มั่นใจร่วมลงทุนในกลุ่มทรู และพร้อมจะก้าวเดินไปด้วยกันอย่างมั่นคง ทั้งยังสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมั่นในการลงทุนในประเทศไทยของไชน่าโมบายล์ อีกด้วย ซึ่งเครือเจริญโภคภัณฑ์ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ของกลุ่มทรู เล็งเห็นศักยภาพและโอกาสที่กลุ่มทรูจะก้าวเติบโตอย่างแข็งแกร่งในอุตสาหกรรม โทรคมนาคมควบคู่ไปกับการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยในระยะยาวเช่นกัน จึงพร้อมเป็นอย่างยิ่งที่จะสนับสนุนการปรับฐานการเงินด้วยการเพิ่มทุนครั้งนี้ โดยเครือซีพียินดีที่จะรับซื้อหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิ และในกรณีที่ผู้ถือหุ้นเดิมรายอื่นๆไม่ใช้สิทธิรับซื้อหุ้นเพิ่มทุนในครั้งนี้ครบ เครือซีพีก็ยินดีจะพิจารณาสนับสนุนการเพิ่มทุนครั้งนี้ให้สำเร็จตามช่องทางที่จะทำได้
      
       มร.หลี่ เยว่ หัวหน้าคณะผู้บริหาร บริษัท ไชน่า โมบายล์ จำกัด กล่าวว่า ไชน่าโมบายล์ได้รุกขยายธุรกิจต่างประเทศอย่างต่อเนื่องรวมทั้งการมองหาโอกาสในการลงทุนเชิงยุทธศาสตร์ เพื่อต่อยอดการดำเนินธุรกิจในต่างประเทศ โดยประเทศไทยถือเป็นประเทศหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีความใกล้ชิดกับสาธารณะรัฐประชาชนจีน และยังมีสายสัมพันธ์ที่แนบแน่นระหว่างกันในด้านเศรษฐกิจและการค้า มีความคล้ายคลึงทางด้านสังคม วัฒนธรรม ภาษา ตลอดจนบรรยากาศการลงทุนที่เป็นมิตร กลุ่มทรูเป็นพันธมิตรที่เหมาะสมเป็นอย่างยิ่ง ด้วยความเป็นผู้นำทั้งด้านบรอดแบนด์ เคเบิ้ลทีวี และความเป็นผู้นำด้านธุรกิจโมบายล์ในไทยทั้ง 3G และ 4G แม้ในภาวะการแข่งขันที่รุนแรงของธุรกิจโทรคมนาคมในไทย
      
       รวมถึงยุทธศาสตร์การดำเนินธุรกิจของกลุ่มทรูด้านคอนเวอร์เจนซ์ที่สามารถสร้างความแตกต่างและสะท้อนวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลของกลุ่มทรู ทำให้ไชน่าโมบายล์เล็งเห็นโอกาสการเติบโตในระยะยาวของธุรกิจนี้ ที่จะสามารถสร้างผลกำไรได้อย่างดี การลงทุนเชิงกลยุทธ์ครั้งนี้ ไชน่าโมบายล์คาดว่าจะเข้าถึงฐานลูกค้าใหม่เพิ่มโอกาสเติบโตของธุรกิจและสร้างรายได้ที่แข็งแกร่งในตลาดโลก ในขณะเดียวกัน การลงทุนครั้งนี้จะเพิ่มชื่อเสียงในต่างประเทศ รวมถึงเผยแพร่การเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์และนวัตกรรมของบริษัทด้วย
      
       ด้านนายศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการและประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า ในระยะ 2 ปีที่ผ่านมา กลุ่มทรูมีพัฒนาการและประสบความสำเร็จในธุรกิจหลายๆ ด้าน ทั้งการขยายธุรกิจเคเบิลบรอดแบนด์สู่ทั่วประเทศ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงยุทธศาสตร์ด้านคอนเวอร์เจนซ์ที่สร้างมูลค่าเพิ่มอย่างสูงให้กับลูกค้าและการรักษาความเป็นผู้นำทั้งตลาดบรอดแบนด์ เคเบิลทีวี และธุรกิจ 3G ไว้ได้อย่างชัดเจน
      
       รวมทั้งการปรับเปลี่ยนครั้งสำคัญของธุรกิจโมบายล์ที่ข้ามผ่านยุคสัมปทาน 2G สู่ใบอนุญาต 3G ตลอดจนความชัดเจนของการเป็นผู้นำ 4G LTE รายแรกในไทย และในวันนี้กลุ่มทรูมีความพร้อมในการสร้างความแข็งแกร่งโดยการเลือกไชน่าโมบายล์เป็นพันธมิตรเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Partner) ที่จะช่วยสร้างศักยภาพในการแข่งขัน ตลอดจนการปรับฐานการเงินให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้นพร้อมต่อการเติบโตอย่างต่อเนื่อง การร่วมลงทุนครั้งนี้จะช่วยลดระดับหนี้โดยรวมของบริษัท และเสริมความแข็งแกร่งให้ทุนของบริษัท อันจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของกลุ่มทรูที่จะพลิกโฉมเป็นองค์กรที่สร้างกำไร และมีรากฐานที่แข็งแกร่งพร้อมก้าวสู่การแข่งขันระดับภูมิภาค
      
       ทั้งนี้ไชน่าโมบายล์เป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ชั้นนำของโลก ด้วยฐานลูกค้าที่มากที่สุดในโลกเกือบ 800 ล้านราย และเครือข่ายการสื่อสารเคลื่อนที่ที่ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่ฮ่องกงและนิวยอร์ค และเมื่อปี 2556 ได้รับการจัดอันดับอยู่ใน FT Global 500 และ Forbes 2,000 บริษัทชั้นนำ และได้รับเลือกเป็น composite stock ของ Dow Jones Sustainability Emerging Market Index รวมทั้งได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ในระดับ AA3 โดย Moody’s Investor Service และ AA- โดย Standard & Poor’sเท่ากับอันดับเครดิตของหุ้นกู้ซึ่งออกโดยรัฐบาลจีน ซึ่งการเป็นพันธมิตรร่วมทุนกับไชน่า โมบายล์ ในครั้งนี้ เป็นการขยายการลงทุนในภาคพื้นเอเชียเพื่อรองรับการเปิด AEC แล้ว และยังแสดงถึงความเชื่อมั่นที่ต่างประเทศมีต่อเศรษฐกิจในระยะยาวของประเทศไทยอีกด้วย
      
       นายนพปฎล เดชอุดม หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านการเงิน บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า การเข้ามาของพันธมิตรเชิงยุทธศาสตร์ครั้งนี้ เป็นการเสริมความแข็งแกร่งด้านการเงินครั้งสำคัญของกลุ่มทรู โดยไชน่า โมบายล์จะสนับสนุนเงินทุนให้บริษัทผ่านการจัดสรรหุ้นแบบเฉพาะเจาะจง (Private Placement) มูลค่าประมาณ 28,600 ล้านบาท และในขณะเดียวกัน เพื่อให้ผู้ถือหุ้นเดิมได้มีสิทธิในการร่วมเป็นส่วนหนึ่งในก้าวสำคัญของกลุ่มทรูที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในครั้งนี้ บริษัทก็จะดำเนินการเพิ่มทุนอีกประมาณ 36,400 ล้านบาท โดยการจัดสรรหุ้นสามัญใหม่ เพื่อเสนอขายให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนการถือหุ้น (Rights Offering) จำนวน 5,648,285,818 หุ้น โดยให้สิทธิผู้ถือหุ้นปัจจุบัน มีสิทธิจองซื้อหุ้นใหม่ในอัตราส่วน 2.5725 หุ้นสามัญเดิมต่อ1 หุ้นใหม่ (2.5725 : 1) ในราคาหุ้นละ 6.45 บาท ซึ่งเป็นราคาเดียวกันกับราคาที่ไชน่าโมบายล์เข้าซื้อหุ้นในการจัดสรรแบบเฉพาะเจาะจง
      
       ทั้งนี้แผนการเพิ่มทุนครั้งสำคัญนี้ ต้องได้รับมติเห็นชอบจากที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 25 กรกฎาคม 2557 ซึ่งบริษัทมั่นใจว่า การเพิ่มทุนโดยการเสนอขายหุ้นให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมและไชน่าโมบายล์ มูลค่ารวมกว่า 65,000 ล้านบาทในครั้งนี้จะเป็นการพัฒนาครั้งสำคัญของกลุ่มทรู ซึ่งจะทำให้กลุ่มทรูมีฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่งและเสริมศักยภาพในการเติบโตได้อย่างต่อเนื่องและมั่นคง ซึ่งในที่สุดแล้วทั้งผู้ถือหุ้นและลูกค้าของกลุ่มทรู จะเป็นผู้ที่ได้รับผลประโยชน์จากแผนการเพิ่มทุนในครั้งนี้อย่างเต็มที่



http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9570000064588

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.