Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

12 มิถุนายน 2557 กรมพลศึกษา ส่ง ปรแกรมทดสอบสมรรถภาพร่างกาย เปิดให้ดาวน์โหลดผ่านเว็บ www.dpe.go.th เล็งต่อยอดพัฒนา "แอปพลิเคชั่น" ลงสมาร์ทดีไวซ์


ประเด็นหลัก

ระบบทดสอบมี 3 โปรแกรม คือ 1.โปรแกรมทดสอบสมรรถภาพร่างกาย ตั้งแต่ 4-6 ปี และ 7-18 ปี 2.สำหรับอายุ 19-59 ปี และ 60-89 ปี และ 3.โปรแกรมทดสอบสมรรถภาพทางกายด้วยตนเองอย่างง่าย เช่น ในโปรแกรมสำหรับเยาวชนประกอบด้วยชุดทดสอบ 7 ทักษะ เช่น การวิ่งซิกแซ็ก การก้มตัว เป็นต้น

แต่ละทักษะคัดมาสำหรับช่วงอายุนั้นโดยเฉพาะ เมื่อทดสอบเสร็จทุกทักษะโปรแกรมจะประเมินผลสมรรถภาพร่างกายว่าเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหรือไม่ หากไม่ถึงเกณฑ์ก็จะทำให้เข้าใจ และพัฒนาร่างกายในด้านนั้น ๆ ได้และเร็ว ๆ นี้จะพัฒนาแอปพลิเคชั่นให้ดาวน์โหลดไว้ในโทรศัพท์มือถือด้วย แต่ระหว่างนี้ดาวน์โหลดไว้บนพีซีไปใช้ก่อนที่เว็บไซต์กรมพลศึกษา www.dpe.go.th

ด้านนายเสถียร บุญมานันท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท นีโอลูชั่น กรุ๊ป จำกัด กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า เพิ่งนำอุปกรณ์สวมใส่เพื่อสุขภาพ (Wearable Device) แบรนด์ runtastic เข้ามาทำตลาดเมื่อ 5 เดือนที่แล้ว จากการที่ผู้บริโภคหันมาใส่ใจสุขภาพ และเทคโนโลยีเข้าถึงได้ง่ายขึ้นผ่านสมาร์ทโฟนทำให้แอปพลิเคชั่นเกี่ยวกับการ ดูแลสุขภาพได้รับความนิยมมากขึ้น ส่งผลให้ตลาด Wearable Device เติบโตขึ้น เนื่องจากผู้ผลิตสมาร์ทโฟนรายใหญ่ เช่น ซัมซุงและโซนี่ มีอุปกรณ์ประเภทนี้ออกมามากขึ้น


______________________________________



"กรมพลศึกษา"ส่งโปรแกรมทดสอบสมรรถภาพเอาใจคนรักสุขภาพ


กระแสรักสุขภาพมาแรง "กรมพลศึกษา" เปิดตัวโปรแกรมทดสอบสมรรถภาพร่างกาย เปิดให้ดาวน์โหลดผ่านเว็บ www.dpe.go.th เล็งต่อยอดพัฒนา "แอปพลิเคชั่น" ลงสมาร์ทดีไวซ์ ฟาก "นีโอลูชั่น" โหม runtastic ปูพรมปั๊มยอดขาย

ไม่ว่าจะเกี่ยวกับการย่างเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุหรือไม่ แต่กระแสรักสุขภาพกลายเป็นเทรนด์ใหม่มาแรงไม่น้อย ในแวดวงเทคโนโลยี มี Wearable ที่มีระบบติดตามผลการออกกำลังกายทยอยออกสู่ตลาดต่อเนื่อง โดยผู้ผลิตสมาร์ทโฟน เช่น ซัมซุงกับ Gear Fit อุปกรณ์สวมใส่รูปทรงคล้ายนาฬิกา ทำงานคู่กับสมาร์ทโฟนซัมซุง

ซึ่งหน่วยงานรัฐอย่าง "กรมพลศึกษา" ก็ผลักดันเรื่องนี้เต็มที่ ล่าสุดพัฒนาโปรแกรมทดสอบสมรรถภาพร่างกายออกมาให้ประชาชนและองค์กรต่าง ๆ ไปใช้งานได้ฟรี

นางแสงจันทร์ วรสุมันต์ อธิบดีกรมพลศึกษา กล่าวว่า กรมพลศึกษาเห็นความสำคัญในการรักษาสุขภาพของประชาชนชาวไทย และพยายามส่งเสริมและพัฒนาการพลศึกษาสุขภาพ กีฬา นันทนาการ และวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะความเข้าใจ และความรู้ด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา ที่มีโครงการออกมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมสุขภาพ และสมรรถภาพทางกายที่ดี ซึ่งการนำวิทยาศาสตร์การกีฬามาปรับใช้ในการดูแลสุขภาพร่างกายเป็นเรื่องสำคัญ แต่ปัจจุบันประชาชนยังขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องนี้ทำให้รักษาสุขภาพไม่ถูกวิธี

รศ.ดร.สุพิตร สมาหิโต อาจารย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และรองประธานคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทย เสริมว่า โปรแกรมนี้พัฒนาโดยคนไทยจากความร่วมมือของกรมพลศึกษา และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยสำรวจและวิจัยจากการเก็บตัวอย่างสมรรถภาพร่างกายของคนไทยทุกกลุ่ม ตัวอย่างทั่วประเทศ เช่น อายุ 4-6 ปี 3 หมื่นตัวอย่าง แยกหญิงชาย เป็นต้น

"เกณฑ์มาตรฐานนี้เป็นเกณฑ์ที่น่าเชื่อถือ เพราะมาจากหลายกลุ่มตัวอย่างทำให้การวิจัยมีความแม่นยำ"

นายชาญวิทย์ ผลชีวิน รองอธิบดีกรมพลศึกษา กล่าวว่า คนไทยใส่ใจสุขภาพมากขึ้น แต่ไม่เข้าใจสมรรถภาพร่างกายอย่างแท้จริง บางคนมีสุขภาพดีแต่อาจมีสมรรถภาพไม่ดีก็ได้ การใช้โปรแกรมนี้ทำให้เข้าใจสมรรถภาพด้านร่างกายมากขึ้น

ระบบทดสอบมี 3 โปรแกรม คือ 1.โปรแกรมทดสอบสมรรถภาพร่างกาย ตั้งแต่ 4-6 ปี และ 7-18 ปี 2.สำหรับอายุ 19-59 ปี และ 60-89 ปี และ 3.โปรแกรมทดสอบสมรรถภาพทางกายด้วยตนเองอย่างง่าย เช่น ในโปรแกรมสำหรับเยาวชนประกอบด้วยชุดทดสอบ 7 ทักษะ เช่น การวิ่งซิกแซ็ก การก้มตัว เป็นต้น

แต่ละทักษะคัดมาสำหรับช่วงอายุนั้นโดยเฉพาะ เมื่อทดสอบเสร็จทุกทักษะโปรแกรมจะประเมินผลสมรรถภาพร่างกายว่าเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหรือไม่ หากไม่ถึงเกณฑ์ก็จะทำให้เข้าใจ และพัฒนาร่างกายในด้านนั้น ๆ ได้และเร็ว ๆ นี้จะพัฒนาแอปพลิเคชั่นให้ดาวน์โหลดไว้ในโทรศัพท์มือถือด้วย แต่ระหว่างนี้ดาวน์โหลดไว้บนพีซีไปใช้ก่อนที่เว็บไซต์กรมพลศึกษา www.dpe.go.th

ด้านนายเสถียร บุญมานันท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท นีโอลูชั่น กรุ๊ป จำกัด กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า เพิ่งนำอุปกรณ์สวมใส่เพื่อสุขภาพ (Wearable Device) แบรนด์ runtastic เข้ามาทำตลาดเมื่อ 5 เดือนที่แล้ว จากการที่ผู้บริโภคหันมาใส่ใจสุขภาพ และเทคโนโลยีเข้าถึงได้ง่ายขึ้นผ่านสมาร์ทโฟนทำให้แอปพลิเคชั่นเกี่ยวกับการ ดูแลสุขภาพได้รับความนิยมมากขึ้น ส่งผลให้ตลาด Wearable Device เติบโตขึ้น เนื่องจากผู้ผลิตสมาร์ทโฟนรายใหญ่ เช่น ซัมซุงและโซนี่ มีอุปกรณ์ประเภทนี้ออกมามากขึ้น

"เราเป็นหน้าใหม่ที่นำอุปกรณ์เหล่านี้เข้ามาทำตลาด มียอดขาย 3 ล้านบาท ถือว่ามีแนวโน้มเติบโตที่ดี ช่วงแรกเรายังไม่เน้นกำไรมากนัก แต่จะพยายามเน้นเรื่องการสร้างแบรนด์และภาพลักษณ์บริษัท ในฐานะผู้นำเข้าอุปกรณ์ Wearable Device รายแรก ๆ ของไทย โดยจะมีการจัดโรดโชว์และโปรโมชั่นต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง"



http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1402291751

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.