Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

17 มิถุนายน 2557 เปิดบันทึก"กสทช." เบื้องหลังอนุมัติ"427ล้าน ชี้ ศาลระบุ เป็นประกาศที่มีความเหมาะสมและเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะและประชาชนโดยรวมสำหรับในการแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งต่อไป(โอลิมปิกซีเกมส์เอเชี่ยนเกมส์)


ประเด็นหลัก

หมายเหตุ ​๑.​ในการประชุม กสทช. นัดพิเศษ ครั้งที่ ๑/๒๕๕๗ ที่ประชุมได้มีมติรับรองมติ ที่ประชุม กสทช. นัดพิเศษ วาระที่ ๕.๑ เรื่อง การสนับสนุนให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการโทรทัศน์ที่เป็นการทั่วไปในรายการ “การแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายปี ๒๐๑๔” (FIFA World Cup Final)

​๒.​รองประธาน กสทช. (พันเอก ดร. นทีฯ) แจ้งให้ที่ประชุมทราบก่อนที่จะพิจารณาเรื่องนี้ว่า ขอยืนยันประกาศรายการสำคัญที่ให้บริการแก่ประชาชนผ่านได้เฉพาะในช่องทีวีที่ให้บริการเป็นการทั่วไปหรือว่าฟรีทีวีและประกาศMustHaveได้รับการวินิจฉัยจากศาลปกครองสูงสุดว่าเป็นประกาศที่มีความเหมาะสมและเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะและประชาชนโดยรวมสำหรับในการแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งต่อไป(โอลิมปิกซีเกมส์เอเชี่ยนเกมส์)

 ต่อจากนี้ประชาชนจะได้ดูฟรี เพียงแต่ครั้งนี้ ศาลปกครองสูงสุดคุ้มครองให้เฉพาะการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย ปี ๒๐๑๔ เท่านั้น


______________________________________

เปิดบันทึก"กสทช." เบื้องหลังอนุมัติ"427ล้าน"ชดเชยลิขสิทธิ์"บอลโลก"ให้"อาร์เอส"




จากกรณีที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) มีมติอนุมัติให้ใช้เงินทุนวิจัยและพัฒนา กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ(กทปส.) วงเงินไม่เกิน 427.01 ล้านบาท เพื่อชำระค่าชดเชยลิขสิทธิ์ให้บริษัท อาร์เอส อินเตอร์เนชั่นแนล บรอดคาสติ้ง แอนด์ สปอร์ต แมเนจ จำกัด ในเครือบริษัท อาร์เอส จำกัด(มหาชน) ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก 2014 เพื่อให้คนไทยสามารถรับชมฟุตบอลโลก 2014 ได้ครบทั้ง 64 นัด

แต่มีหลายฝ่าย อาทิ กรรมการกสทช. นักวิชาการอิสระฯลฯ ออกมาระบุว่าการใช้เงินในกรณีดังกล่าวของ กสทช.ไม่เหมาะสม

"มติชนออนไลน์" จึงเปิดเผยรายงานการประชุมของคณะกรรมการกสทช. วันที่ 12 มิถุนายน 2557 ตามรายละเอียดดังนี้

-----------------------------------------------------------------------------------------


​คณะกรรมการบริหารกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียงฯได้เสนอเรื่องการสนับสนุนให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการโทรทัศน์ที่เป็นการทั่วไปในรายการ“การแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายปี๒๐๑๔”(FIFAWorldCup Final) ในเรื่องนี้ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียงฯ ครั้งที่ ๗/๒๕๕๗ เมื่อวันที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๕๗ ได้มีมติเห็นชอบให้เสนอกสทช. พิจารณาจัดสรรงบประมาณจากกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียงฯ ให้แก่บริษัท อาร์เอส อินเตอร์เนชั่นแนล บรอดคาสติ้ง แอนด์ สปอร์ตแมเนจเม้นท์ จำกัด ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ถ่ายทอดฟุตบอลโลก ๒๐๑๔ เพื่อดำเนินการให้ประชาชนคนไทย รวมถึงคนพิการ ผู้มีรายได้น้อย และผู้ด้อยโอกาส สามารถได้รับชมการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายปี ๒๐๑๔ อย่างทั่วถึง รวมทั้งสิ้น ๖๔ นัด โดยการออกอากาศผ่านระบบฟรีทีวี ในทุกแพลทฟอร์ม (สายอากาศ,เคเบิ้ล และดาวเทียม)

ทั้งนี้ การสนับสนุนงบประมาณดังกล่าวมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ ตาม พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. ๒๕๕๓ มาตรา ๕๒ ข้อ ๑ และเห็นชอบในกรอบวงเงินที่ใช้ในการสนับสนุน จำนวนไม่เกิน ๔๙๒.๔๘๑ ล้านบาท (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) โดยให้มีการตั้งคณะอนุกรรมการ/คณะทำงาน เพื่อศึกษาและเจรจาจำนวนเงินที่เหมาะสมในการสนับสนุนดังกล่าว โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของรัฐ และเสนอให้คณะกรรมการบริหารกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียงฯ และ กสทช. เพื่อพิจารณาต่อไป

มติที่ประชุม​ ๑.​ที่ประชุมเสียงข้างมาก พลอากาศเอกธเรศ ปุณศรี (ประธานกสทช.) พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ พลโท ดร. พีระพงษ์ มานะกิจ    ดร. สุทธิพล ทวีชัยการ พลเอก สุกิจ ขมะสุนทร   และ  รองศาสตราจารย์ประเสริฐ ศีลพิพัฒน์   มีมติเห็นชอบในหลักการให้จัดสรรงบประมาณจากกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียงฯ ในบัญชี ๑ ที่เกี่ยวข้องกับเงินค่าเงินปรับทางปกครองและบัญชี ๔ เงินที่ได้รับโอนมาจากกองทุนพัฒนากิจการโทรคมนาคมฯ (กองทุน กทช. เดิม) เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนคนไทย รวมถึงคนพิการ ผู้มีรายได้น้อย และผู้ด้อยโอกาสสามารถเข้าถึงบริการโทรทัศน์ที่เป็นการทั่วไปในรายการ “การแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายปี ๒๐๑๔” รวมทั้งสิ้น ๖๔ นัด ตามที่คณะกรรมการบริหารกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียงฯ เสนอให้แก่ผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ที่ให้บริการเป็นการทั่วไปให้ดำเนินการถ่ายทอดสด “การแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายปี ๒๐๑๔”

การสนับสนุนงบประมาณดังกล่าวมีความสอดคล้องกับบทบัญญัติของกฎหมายและคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดดังนี้

 มาตรา๓๖แห่ง พ.ร.บ. การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๑ เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของคนด้อยโอกาสให้เข้าถึงรายการของกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ได้อย่างเสมอภาคกับบุคคลทั่วไป

กสทช.อาจพิจารณาสนับสนุนค่าใช้จ่ายจากกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียงฯประกอบกับมาตรา๕๒ แห่ง พ.ร.บ. การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๑ ในกรณีที่ กสทช. เห็นว่ารายการใดเป็นประโยชน์ต่อสังคม สกทช. อาจพิจารณาให้การสนับสนุนค่าใช้จ่ายจากกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียงฯ ได้

มาตรา ๕๒ (๑) และ (๔) แห่ง พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. ๒๕๕๓ กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียงฯ มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้

(๑) ดำเนินการให้ประชาชนได้รับบริการด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมอย่างทั่วถึง และ (๔) สนับสนุน ส่งเสริม และคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม
 คำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขดำที่ อ.๔๑๓/๒๕๕๗ คดีหมายเลขแดงที่ อ.๒๑๕/๒๕๕๗ ที่มีคำวินิจฉัยว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ (กสทช.) จึงสมควรต้องกำหนดบทเฉพาะกาลหรือกำหนดมาตรการชดเชยหรือบรรเทาความเสียหายของผู้ฟ้องคดีที่มีสิทธิอยู่เดิม

กรณีการกำหนดมาตรการชดเชยหรือบรรเทาความเสียหายนี้ ตามมาตรา ๓๖ แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๑ เป็นบทบัญญัติที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ใช้เป็นฐานอำนาจในการออกประกาศที่พิพาท ได้บัญญัติไว้ในวรรคสองให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ อาจพิจารณาสนับสนุนค่าใช้จ่ายจากกองทุน หรือสนับสนุนหรือส่งเสริมด้วยวิธีการอื่น อันเป็นการชดเชยต่อผู้รับใบอนุญาตที่ได้ดำเนินการ เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของคนพิการและคนด้อยโอกาสให้เข้าถึงหรือรับรู้และใช้ประโยชน์จากรายการของกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ได้อย่างเสมอภาคกับบุคคลทั่วไป

​​ที่ประชุมเสียงข้างน้อย(น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์กสทช.  ) มีมติไม่เห็นชอบการจัดสรรงบประมาณจากกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียงฯ เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนคนไทย รวมถึงคนพิการ ผู้มีรายได้น้อย และผู้ด้อยโอกาสสามารถเข้าถึงบริการโทรทัศน์ที่เป็นการทั่วไปในรายการ “การแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายปี ๒๐๑๔” ตามที่คณะกรรมการบริหารกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียงฯ เสนอ  จะจัดทำบันทึกความเห็นจัดส่งให้ในภายหลัง

​๒.​ที่ประชุมเสียงข้างมาก  พลอากาศเอกธเรศ ปุณศรี พันเอก ดร.เศรษฐพงค์ พลโท ดร. พีระพงษ์ ดร. สุทธิพล พลเอก สุกิจ และ  รศ. ประเสริฐ มีมติเห็นชอบให้ปรับปรุงกรอบวงเงินส่งเสริมการเข้าถึงบริการโทรทัศน์ที่เป็นการทั่วไปในรายการ “การแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายปี ๒๐๑๔” ตามข้อ ๑ ภายในกรอบวงเงิน ไม่เกินจำนวน ๔๒๗.๐๑๕ ล้านบาท (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)

 ทั้งนี้ ให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ โดยมีองค์ประกอบผู้แทนของกระทรวงการคลัง (กรมบัญชีกลาง) กระทรวงพาณิชย์ (กรมทรัพย์สินทางปัญญา) สำนักงบประมาณ และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อศึกษาถึงความเหมาะสมของกรอบวงเงินในการสนับสนุนอีกครั้งหนึ่ง โดยให้คำนึงถึงผลประโยชน์ของรัฐ และให้สำนักงาน กสทช. ปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัดและเป็นธรรม

​​ที่ประชุมเสียงข้างน้อย(น.ส.สุภิญญา)มีมติไม่เห็นชอบกรอบวงเงินส่งเสริมการเข้าถึงบริการโทรทัศน์ที่เป็นการทั่วไปในรายการ“การแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายปี๒๐๑๔” ภายในกรอบวงเงิน จำนวน ๔๙๒.๔๘๑ ล้านบาท (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ตามที่คณะกรรมการบริหารกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียงฯ เสนอ

หมายเหตุ ​๑.​ในการประชุม กสทช. นัดพิเศษ ครั้งที่ ๑/๒๕๕๗ ที่ประชุมได้มีมติรับรองมติ ที่ประชุม กสทช. นัดพิเศษ วาระที่ ๕.๑ เรื่อง การสนับสนุนให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการโทรทัศน์ที่เป็นการทั่วไปในรายการ “การแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายปี ๒๐๑๔” (FIFA World Cup Final)

​๒.​รองประธาน กสทช. (พันเอก ดร. นทีฯ) แจ้งให้ที่ประชุมทราบก่อนที่จะพิจารณาเรื่องนี้ว่า ขอยืนยันประกาศรายการสำคัญที่ให้บริการแก่ประชาชนผ่านได้เฉพาะในช่องทีวีที่ให้บริการเป็นการทั่วไปหรือว่าฟรีทีวีและประกาศMustHaveได้รับการวินิจฉัยจากศาลปกครองสูงสุดว่าเป็นประกาศที่มีความเหมาะสมและเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะและประชาชนโดยรวมสำหรับในการแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งต่อไป(โอลิมปิกซีเกมส์เอเชี่ยนเกมส์)

 ต่อจากนี้ประชาชนจะได้ดูฟรี เพียงแต่ครั้งนี้ ศาลปกครองสูงสุดคุ้มครองให้เฉพาะการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย ปี ๒๐๑๔ เท่านั้น

 ในกรณีนี้ กสท. มีความเห็นแตกต่างจากศาลปกครองสูงสุด โดยที่เห็นว่า ข้อ ๔ ของประกาศได้กำหนดมาตรการเยียวยามีความเหมาะสมแล้ว และกระบวนการต่างๆ ได้ดำเนินการก่อนที่จะมีการนำคดีขึ้นสู่ศาล แต่บริษัทฯ ไม่ยอมรับที่จะดำเนินการตามกระบวนการที่กำหนดในประกาศ ได้ต่อสู้มาอย่างสุดความสามารถแล้ว

เป็นการยืนยันหลักการการต่อสู้ตามกระบวนการทางกฎหมายที่มุ่งที่จะให้ประชาชนได้รับความเท่าเทียมในการรับบริการในกิจการโทรทัศน์เพราะฉะนั้นการพิจารณาใดๆต่อจากนี้ขออนุญาตไม่ร่วมในการพิจารณา

๓.​นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา   กสทช. ได้แจ้งที่ประชุมว่าจะไม่ขอลงมติ เนื่องจากข้อมูลและระยะเวลาในการพิจารณาไม่เพียงพอ โดยได้ออกจากห้องประชุมก่อนที่จะลงมติในวาระนี้







http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1402738023

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.