17 มิถุนายน 2557 (เกาะติดประมูล4G) AIS.วิเชียร ระบุ สามารถประมูลไลเซนส์ได้จะทำให้มีการลงทุนเพิ่มขึ้นอย่างน้อย ๆ 5-6 หมื่นล้านบาท แต่อยากได้รวม ๆ แล้วสัก 20 MHz
ประเด็นหลัก
- การประมูลคลื่นใหม่
วิเชียร : ถ้าสามารถประมูลไลเซนส์ได้จะทำให้มีการลงทุนเพิ่มขึ้นอย่างน้อย ๆ 5-6 หมื่นล้านบาท ขอให้มีการจัดประมูลก็แล้วกัน แต่จะประมูลได้หรือไม่ได้ต้องดูกันต่อไป เราเสนอว่า ถ้ามีผู้เข้าประมูลเท่าใบอนุญาตก็ให้มีการประกาศหยุดชั่วคราวแล้วประกาศว่ามีใครสนใจเข้ามาอีกไหม ถ้าไม่มีอาจปรับราคาตั้งต้นประมูลขึ้นได้ไหม เพราะถ้าหยุดไม่ประมูลก่อให้เกิดอะไร ถามว่าอะไรคือดีมานด์ในตลาด ถ้ามีคนสนใจแค่ 2 รายจริง ๆ ก็แค่ขึ้นราคาไป กสทช.ไม่ใช่หน่วยงานหาเงินเข้ารัฐ ถ้าคิดแพง ราคาค่าบริการก็จะแพงไปด้วย
จอน : ดีแทคเข้าประมูลคลื่นด้วยอย่างแน่นอน เรามีทีมเฉพาะที่ตั้งขึ้นมาเพื่อศึกษาและเตรียมการประมูลโดยเฉพาะ และรอเข้าร่วมประมูลเช่นเดียวกับผู้ให้บริการรายอื่น ๆ
- วางโพซิชั่นในการเข้าประมูล สู้แค่ไหน
วิเชียร : เราเป็นโอเปอเรเตอร์ที่มีความถี่น้อยที่สุดจึงจะเข้าประมูลทั้ง 1800 และ 900 พร้อมสู้เต็มที่ จะเป็นคลื่น 1800 หรือ 900 ก็ได้ทั้งนั้น แต่อยากได้รวม ๆ แล้วสัก 20 MHz
______________________________________
ค่ายมือถือไม่ติดเบรกลงทุน ลุ้นกำลังซื้อฟื้น-วัดใจทุ่มชิงคลื่น
เป็นบริการจำเป็นจึงมักไม่ได้รับผลกระทบจากสภาพเศรษฐกิจเท่าไรนัก สำหรับธุรกิจโทรศัพท์มือถือ ยิ่งมีแรงบวกจากกระแสความนิยมในการใช้โซเชียลเน็ตเวิร์กผ่าน "สมาร์ทโฟน" ที่กำลังพุ่งปรี๊ดเข้าด้วยจึงยิ่งไม่น่าห่วง แต่ในความเป็นจริงไม่มีใครอยู่นิ่ง ๆ ทุกค่ายอัดฉีดแคมเปญกระตุ้นตลาดเต็มพิกัด โดยเฉพาะการ "ดัมพ์ค่าเครื่อง" ขายผูกไปกับแพ็กเกจรายเดือน
หากพิจารณาจากผลประกอบการไตรมาสแรกปีนี้ (2557) ในแง่รายได้ทั้ง "เอไอเอส-ดีแทค" ต่างตกอยู่ในสภาวะ "ทรงตัว" เพราะเศรษฐกิจชะลอตัวจากสถานการณ์การเมืองในช่วงที่ผ่านมา ขณะที่การใช้ "ดาต้า" ยังโตไม่หยุด แต่ยอดขายเครื่อง ตกลงอย่างมีนัยสำคัญ ตอกย้ำมู้ดจับจ่ายและกำลังซื้อที่ถดถอยลง แต่ทั้งหมดนั้นเกิดขึ้นก่อนการมาถึงของ "คสช." (คณะรักษาความสงบแห่งชาติ)
นอกจากสภาพเศรษฐกิจและกำลังซื้อปลายปีนี้ ถ้าไม่มีอะไรผิดพลาด ยักษ์มือถือต้องลงสนามแข่งประมูลชิงคลื่นอีก 2 แมตช์ เริ่มจาก 1800 MHz ต่อด้วยคลื่น 900 MHz และจากจำนวนไลเซนส์ที่มีในการประมูลแต่ละครั้ง ไม่ใครก็ใครจะต้องตกอยู่ในสถานะ "ผู้แพ้" เพราะแต่ละช่วงคลื่นมีไลเซนส์ให้ไม่ครบทุกเจ้า
"ประชาชาติธุรกิจ" มีโอกาสพูดคุยกับ "วิเชียร เมฆตระการ" ซีอีโอ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) และ "จอน เอ็ดดี้ อับดุลลาห์" ซีอีโอ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) ทั้งคู่มีมุมมองต่อธุรกิจ เศรษฐกิจ และการแข่งขันประมูลคลื่นใหม่อย่างไร
- แนวโน้มตลาดครึ่งปีหลัง
วิเชียร : เดิมทีปีนี้เราตั้งเป้าการเติบโตในแง่รายได้โดยรวมไว้ 6-8% บนสมมติฐานจีดีพีที่ 4% ถ้าจีดีพีตกลงไปเรื่อย ๆ เราก็ต้องมีการปรับลดเป้า โดยจะมีการประเมินอีกทีกลางปี ในช่วงที่ผ่านมา การเมืองมีผลกับเศรษฐกิจอยู่แล้ว ถ้าเศรษฐกิจไม่โตอย่างที่คาดก็ต้องลดเป้าการเติบโตของบริษัทลง จะเป็นเท่าไรต้องดูอีกที
เมื่อปรับเป้าแล้วสเต็ปถัดมาก็ต้องเอามาแปรเป็นแอ็กชั่นแพลน แต่ในแง่การลงทุนจะยังลงทุนต่อเนื่อง เพื่อสร้างอินฟราสตักเจอร์ทั้งเครือข่ายระบบสื่อสัญญาณ และอื่น ๆ เรื่องการทำตลาดเรื่องโปรโมชั่นต้องดูตามความเหมาะสม
การแข่งขันในภาพรวม ต้องบอกว่าปีนี้เป็นจังหวะที่ต้องมีการโอนย้ายลูกค้าของคลื่น 900 MHz ที่หมดอายุสัมปทานของเอไอเอสปีหน้า
จอน : หลังรัฐประหาร เราเห็นสัญญาณที่ดีขึ้นเล็กน้อย จากยอดขายเครื่องที่กระเตื้องขึ้น เพราะชาวนาเริ่มได้รับเงินช่วยเหลือในโครงการรับจำนำข้าว ทำให้กำลังซื้อในตลาดต่างจังหวัดกลับมาบ้าง เศรษฐกิจเป็นเรื่องความเชื่อมั่น ถ้าความเชื่อมั่นกลับมาทุกอย่างจะดีขึ้น
คาดว่าในแง่รายได้จะเติบโตไม่มากนัก เป็นตัวเลขหลักเดียวต้น ๆ แต่ดีกว่าปลายปีที่แล้วถึงต้นปีนี้ที่ยอดค่อนข้างแผ่ว การเติบโตของยอดคนใช้เราไม่ได้หวังมากนัก เน้นรักษาฐานลูกค้ามากกว่า
คนใช้มือถือในเมืองไทยกว่า 130% ของประชากรในประเทศแล้ว หมายความว่า 80% ของคนในประเทศนี้มีมือถือใช้แล้ว 1 คนมากกว่า 1 เบอร์ด้วย 20% ที่ยังไม่มีคงเป็นกลุ่มคนแก่และเด็กมาก ๆ ไปเลย แต่ในจำนวนคนที่มีมือถือใช้แล้วแต่ยังไม่ใช่สมาร์ทโฟนมีมีอีกมาก เพราะคนใช้สมาร์ทโฟนปัจจุบันมีสัดส่วนแค่ 32%
ดีแทคมีไตรเน็ตโฟน เป็นสมาร์ทโฟนราคาไม่แพงที่เราพยายามทำออกมาเพื่อให้เป็นทางเลือกให้ผู้บริโภคมีโอกาสเข้าถึงการใช้งานดาต้าได้ในราคาที่ถูกที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เมื่อไรเหลือเครื่องละไม่เกิน 1,200 บาท ตลาดจะขยายตัวอย่างมีนัยสำคัญในแง่การแข่งขันระหว่างผู้ให้บริการจะยังเข้มข้น ซึ่งเป็นผลดีกับผู้บริโภค
- การประมูลคลื่นใหม่
วิเชียร : ถ้าสามารถประมูลไลเซนส์ได้จะทำให้มีการลงทุนเพิ่มขึ้นอย่างน้อย ๆ 5-6 หมื่นล้านบาท ขอให้มีการจัดประมูลก็แล้วกัน แต่จะประมูลได้หรือไม่ได้ต้องดูกันต่อไป เราเสนอว่า ถ้ามีผู้เข้าประมูลเท่าใบอนุญาตก็ให้มีการประกาศหยุดชั่วคราวแล้วประกาศว่ามีใครสนใจเข้ามาอีกไหม ถ้าไม่มีอาจปรับราคาตั้งต้นประมูลขึ้นได้ไหม เพราะถ้าหยุดไม่ประมูลก่อให้เกิดอะไร ถามว่าอะไรคือดีมานด์ในตลาด ถ้ามีคนสนใจแค่ 2 รายจริง ๆ ก็แค่ขึ้นราคาไป กสทช.ไม่ใช่หน่วยงานหาเงินเข้ารัฐ ถ้าคิดแพง ราคาค่าบริการก็จะแพงไปด้วย
จอน : ดีแทคเข้าประมูลคลื่นด้วยอย่างแน่นอน เรามีทีมเฉพาะที่ตั้งขึ้นมาเพื่อศึกษาและเตรียมการประมูลโดยเฉพาะ และรอเข้าร่วมประมูลเช่นเดียวกับผู้ให้บริการรายอื่น ๆ
- วางโพซิชั่นในการเข้าประมูล สู้แค่ไหน
วิเชียร : เราเป็นโอเปอเรเตอร์ที่มีความถี่น้อยที่สุดจึงจะเข้าประมูลทั้ง 1800 และ 900 พร้อมสู้เต็มที่ จะเป็นคลื่น 1800 หรือ 900 ก็ได้ทั้งนั้น แต่อยากได้รวม ๆ แล้วสัก 20 MHz
จอน : ดีแทคสู้เต็มที่ แต่เทียบกับคู่แข่งเราคงไม่ถึงกับไม่ได้แล้วจะอยู่ไม่ได้ ในแง่ราคาประมูลก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์การแข่งขันในวันนั้นว่าจะเป็นยังไง คงยังบอกอะไรไม่ได้มากนัก
- ถ้าประมูลคลื่น 1800 MHz ไม่ได้
วิเชียร : ก็ต้องมีความร่วมมือกับทีโอทีมากขึ้น
จอน : เรายังมีสิทธิ์ในคลื่นภายใต้สัมปทานที่ยังเหลืออีกหลายปี ทั้ง 1800 และ 850 MHz รวมถึงคลื่นความถี่ 2.1GHz ในระบบไลเซนส์ ซึ่งเมื่อเร็ว ๆ นี้เพิ่งเปิดบริการ 4G ไปแล้วในหลายพื้นที่ ขณะที่คู่แข่งบางรายต้องการคลื่นเพิ่มเติมเพื่อนำไปขยายบริการ 4G
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1402647569
ไม่มีความคิดเห็น: