18 มิถุนายน 2557 (ปฏิบัติการคสช.ล้างบางการสื่อสาร) คสช. มีคำสั่ง 45/2557 ตั้ง คตร. นำ พล.ท.อนันตพร กาญจนรัตน์ ปลัดบัญชีทหารบกคุมงบ ( การสื่อสารโดนกรณี TOT3G และ Set top box )
ประเด็นหลัก
คสช. มีคำสั่ง 45/2557 ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ โดยมีปลัดบัญชีทหารบกเป็นประธาน และปลัดคลัง ผู้ว่าการ สตง. ผอ.สำนักงบฯ เป็นรองประธาน เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดิน และงบประมาณภาครัฐเป็นไปอย่างโปร่งใส
พล.ท.อนันตพร กาญจนรัตน์ ปลัดบัญชีทหารบก ในฐานะประธานคณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ (คตร.) กล่าวถึงความคืบหน้าในการเข้าตรวจสอบโครงการที่มีขนาดงบประมาณเกินกว่า 1,000 ล้านบาท จำนวน 28 โครงการของปีงบประมาณ 2557 ว่า คตร. ได้รายงานความคืบหน้าการตรวจสอบโครงการของภาครัฐอีก 28 โครงการ รวมมูลค่า 4 หมื่นกว่าล้านบาทให้ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) รับทราบถึงผลการดำเนินงาน ติดตาม เร่งรัด ทบทวนความเหมาะสม คุ้มค่า และความมีประโยชน์ต่อประชาชน และต่อประเทศชาติของโครงการต่างๆ ซึ่งมีทั้งโครงการที่ คตร. และฝ่ายต่างๆ เห็นชอบให้ดำเนินการต่อ โครงการที่ให้ทบทวนทั้งในส่วนของรายละเอียดและวงเงินงบประมาณ รวมไปถึงโครงการที่คาดว่าจะยกเลิก ซึ่งในส่วนนี้ยังพิจารณาไม่แล้วเสร็จ
ผู้สื่อข่าวยังได้ถามถึงการเข้าตรวจสอบโครงการต่างๆ ของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคนาคมแห่งชาติ (กสทช.) พล.ท.อนันตพร กล่าวว่า ขณะนี้ คตร.ได้เข้าตรวจในส่วนของการแจกคูปองให้แก่ประชาชนเพื่อซื้อกล่องรับสัญญาณทีวีดิจิตอล (Set top box) โดยดูในส่วนของความคุ้มค่า และวิธีการแจก โดยวิเคราะห์ว่าตัวเลขจำนวนคูปองสำหรับการซื้อ 22 ล้านกล่องนั้น มาจากอะไร รวมทั้งที่มาของมูลค่าคูปอง 1,000 บาทต่อใบมาจากไหน เพราะโดยส่วนตัวเห็นว่าสูงเกินไป และเห็นควรจะปรับลดลง ซึ่ง กสทช. กำลังจะส่งเอกสารมาชี้แจง
______________________________________
คำสั่งคสช.ฉบับ 45 ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ การใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ
คสช. มีคำสั่ง 45/2557 ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ โดยมีปลัดบัญชีทหารบกเป็นประธาน และปลัดคลัง ผู้ว่าการ สตง. ผอ.สำนักงบฯ เป็นรองประธาน เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดิน และงบประมาณภาครัฐเป็นไปอย่างโปร่งใส
วันที่ 3 มิ.ย.คำสั่งคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ หรือ คสช. ที่ 45/2557 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดิน และการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐเป็นไปด้วยความรอบคอบมีความโปร่งใส และอยู่ในระเบียบวินัยการเงินและการคลัง คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติจึงออกคำสั่งดังนี้
ข้อ 1. แต่งตั้งคณะกรรมการติดตาม และตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ หรือ คตร. ซึ่งประกอบด้วย
1. ปลัดบัญชีทหารบก เป็นประธานกรรมการ
2. ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นรองประธานกรรมการคนที่หนึ่ง
3. ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน เป็นรองประธานกรรมการคนที่สอง
4. ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เป็นรองประธานกรรมการคนที่สาม
5. เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ เป็นกรรมการ
6. อธิบดีกรมบัญชีกลาง เป็นกรรมการ
7. ผู้อำนวยการสำนักประเมินผล สำนักงบประมาณ เป็นกรรมการ
8. เจ้ากรมจเรทหารบก เป็นกรรมการ
9. ผู้อำนวยการสำนักงานตรวจสอบภายในทหารบก เป็นกรรมการ
10. ผู้อำนวยการสำนักงานพระธรรมนูญทหารบก เป็นกรรมการ
11. ผู้แทนฝ่ายความมั่นคงตามประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 22 /2557 เป็นกรรมการ
12. ผู้แทนฝ่ายสังคมจิตวิทยาตามประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 22 /2557 เป็นกรรมการ
13. ผู้แทนฝ่ายเศรษฐกิจตามประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 22 /2557 เป็นกรรมการ
14. ผู้แทนฝ่ายกฎหมาย และกระบวนการยุติธรรมตามประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 22 /2557 เป็นกรรมการ
15. ผู้แทนฝ่ายกิจการพิเศษตามประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 22 /2557 เป็นกรรมการ
16. ผู้แทนคณะรักษาความสงบแห่งชาติเป็นเลขานุการ
17. ผู้แทนคณะรักษาความสงบแห่งชาติเป็นผู้ช่วยเลขานุการคนที่หนึ่ง
18. ผู้แทนสำนักงบประมาณเป็นผู้ช่วยเลขานุการคนที่ สอง
ข้อ 2. ให้คณะกรรมการตามข้อ 1. มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
1. ติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐให้เป็นไปด้วยความโปร่งใส และถูกต้องภายใต้กรอบงบประมาณของรัฐ ควบคู่กับการติดตาม และตรวจสอบตามปกติของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ โดยมุ่งเน้นแผนงานหรือโครงการที่สำคัญ ซึ่งอยู่ในอำนาจของรัฐมนตรีและหัวหน้าส่วนราชการที่มีผลต่อความเป็นอยู่ของ ประชาชน และการพัฒนาประเทศ
2. รายงานผลการดำเนินการ และเสนอแนะความเห็นให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติทราบโดยเร็ว เพื่อพิจารณาดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป
3. เสนอแนะเพื่อให้มีการดำเนินการในลักษณะที่เป็นคุณ หรือเป็นโทษต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องได้ ทั้งนี้ ตามระเบียบแบบแผนของราชการและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
4. เข้าไปในสถานที่ของส่วนราชการรัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่นของรัฐ หรือสถานที่อื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อประโยชน์ในการติดติดและตรวจสอบข้อเท็จจริง และพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
5. เชิญข้าราชการ บุคคล หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาชี้แจง หรือส่งเอกสารให้ตามความเหมาะสม
6. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติการใดๆ ตามที่คณะกรรมการ หรือหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติมอบหมาย
ข้อ 3. เพื่อประโยชน์ในการดำเนินงานของคณะกรรมการตามข้อ 1 ให้สำนักปลัดบัญชีกองทัพบกเป็นหน่วยงานรับผิดชอบ และมีกำลังพลตามจำนวนที่เหมาะสม ทั้งนี้ เพื่อสนับสนุนงานทั่วไปและงานที่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการ
ทั้งนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ 3 มิถุนายน พุทธศักราช 2557
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
http://www.thairath.co.th/content/427123
_______________________________________
"คตร."ลุยสอบ 8 โครงการส่อพิรุธ "แท็บเล็ต-3 จี-แจกคูปอง กสทช." ติดโผ
"คตร." ลุยตรวจสอบ 8 โครงการรัฐส่อพิรุธ เร่งส่งต่อสตง.-ป.ป.ช. เช็คบิล โครงการ "แท็บเล็ต-3Gทีโอที" แจกคูปอง 1,000 บาท กสทช. ติดโผจ่อโดนสอย
เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2557 ที่ทำเนียบรัฐบาล ร.อ.นพ.ยงยุทธ มัยลาภ คณะทำงานทีมโฆษกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวถึงความคืบหน้าในการดำเนินงานของคณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ (คตร.) ว่า คตร.ได้ติดตามการใช้งบประมาณ ตามที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทรโอชา หัวหน้าคสช. มอบหมายและแต่งตั้งหน่วยงานต่างๆเข้ามาทำงาานร่วมกัน โดยมีปลัดบัญชีทหารบกเป็นประธานในการประชุมวางแนวทางติดตามโครงการที่มีมูลค่ามากกว่า1พันล้านบาท ทั้งนี้หน่วยงานในคตร.ประกอบด้วยหน่วยงานติดตามตรวจสอบงบประมาณทั้งสิ้น ได้แก่ กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) กรมบัญชีกลาง และสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ทั้งนี้คตร.จะมีการประชุมทุกวันพุธและคณะอนุกรรมการฯจะส่งเรื่องมาให้คตร.ชุดใหญ่พิจารณา และภาพใหญ่จะเสร็จภารกิจในช่วงเดือนกันยายน
" คณะกรรมการคตร.ทำหน้าที่ตรวจสอบติดตามแต่ไม่มีหน้าที่ฟ้องร้องดำเนินคดี หากโครงการใดมีการกระทำผิดมีมูลความผิดจะส่งสตง.และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ปปช.) ดำเนินการต่อ ส่วนโครงการใดวงเงินสูงเกินไปก็อาจจะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปรับลด โครงการใดไม่มีรายละเอียดที่ชัดเจนอาจจะชะลอ ยกเลิกหรือให้มีการนำโครงการอื่นมาทดแทน ส่วนโครงการที่มีจุดบกพร่องก็ให้กระทรวงทบวงกรมนำไปทบทวน"ร.อ.นพ.ยงยุทธ กล่าว
ร.อ.นพ.ยงยุทธ กล่าวอีกว่า วันที่ 16 มิถุนายน คตร.ส่งอนุกรรมการฯลงพื้นที่ ติดตามตรวจสอบ 8 โครงการในช่วงวันที่ 16-18 มิ.ย. 1.โครงการจัดหารถรุ่นใหม่ สำหรับบริการเชิงพาณิชย์ จำนวน 115คัน ของการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) 2.โครงการจัดหารถจักร จำนวน 126คัน ของรฟท. 3.โครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเฟส2 (ปีพ.ศ.2554-2560) ของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (ทอท.) 4.โครงการจ้างให้บริการระบบตรวจสอบและคัดกรองผู้โดยสารล่วงหน้าของทอท.
"5.กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ของสำนักนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน 6. โครงการจัดการเรียนการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต) ของกระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 7.โครงการสร้างโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่3บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และ8.โครงการสนับสนุนประชาชนในการเปลี่ยนผ่านไปสู่การรับชมโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอลของ กสทช." ร.อ.นพ.ยงยุทธกล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับโครงการสนับสนุนประชาชนในการเปลี่ยนผ่านไปสู่การรับชมโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล มีเป้าหมายในการแจกคูปองเซ็ตท็อปบ็อกซ์ มูลค่า 1,000 บาท ให้กับ 25 ล้านครัวเรือน ในกรอบวงเงิน 25,000 ล้านบาท
http://www.isranews.org/isranews-news/item/30471-kotoro2.html#.U5-dBJxpK7Q.twitter
`_____________________
เด็ดเศรษฐกิจ : คสช.เดินหน้าตรวจสอบความโปร่งใส
การใช้เงินงบประมาณให้คุ้มค่าเป็นอีกหนึ่งนโยบายที่ คสช.ประกาศต้องดำเนินการ ตอนนี้กำลังเร่งตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณของภาครัฐ โดยเฉพาะโครงการขนาดใหญ่ที่ใช้งบประมาณเกิน 1,000 ล้านบาท ขึ้นไป
คสช.ได้ตั้งคณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐขึ้นมา และคณะกรรมการชุดนี้ได้ตั้ง คณะอนุกรรมการตรวจสอบพิเศษขึ้นมาอีก เพื่อเร่งตรวจสอบโครงการที่มีการขอใช้งบประมาณปี 2557 แต่ยังไม่ได้อนุมัติ ทั้งหมดมี 28 โครงการ แต่มี 8 โครงการมีมูลค่าลงทุนกว่า 1,000 ล้านบาท ทั้งหมดเป็นโครงการขนาดใหญ่และอยู่ในความสนใจของประชาชนแทบทั้งสิ้น และมีการตั้งข้อสงสัย ข้อสังเกต ว่าอาจจะมีข้อมูลที่ไม่ครบถ้วน จึงต้องตรวจสอบอย่างละเอียด
การตรวจสอบจะเร่งดำเนินการให้เสร็จภายในเดือนกันยายนนี้ ก่อนที่จะสิ้นสุดปีงบประมาณ 2557 ในเดือนตุลาคม โดยจะลงพื้นที่ตรวจสอบและรวบรวมข้อมูลพร้อมความคิดเห็นในส่วนคณะกรรมการติดตามการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ ว่าสมควรจะดำเนินโครงการต่อไปหรือไม่ หรือควรปรับเปลี่ยนโครงการอย่างไร
http://news.ch7.com/detail/74586/%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88_%E0%B8%84%E0%B8%AA%E0%B8%8A.%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%88%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%AA.html
_____________
เผย ก.ศึกษาฯ ชงเลิกแจกแท็บเล็ตเอง ซัด กสทช. หว่านคูปองทีวีดิจิตอล 22 ล้านใบมากไป
คณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ จ่อชงโละ 2 โครงการอ่างเก็บน้ำกรมชลฯ ระบุกระทรวงศึกษาฯ เสนอรื้อแจกแทบเล็ตเอง จี้ กสทช. แจงคูปองซื้อกล่องดิจิตอล ชี้หว่าน 22 ล้านใบมากไป - มูลค่าพันต่อกล่องก็สูงเกิน รับเล็งดึงรายได้ กสทช. เข้าหลวง ขีดเส้นสรุป 28 โครงการรายงาน คสช. ภายใน 30 มิ.ย. นี้
วันนี้ (17 มิ.ย.) ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล พล.ท.อนันตพร กาญจนรัตน์ ปลัดบัญชีทหารบก ในฐานะประธานคณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ (คตร.) กล่าวถึงความคืบหน้าในการเข้าตรวจสอบโครงการที่มีขนาดงบประมาณเกินกว่า 1,000 ล้านบาท จำนวน 28 โครงการของปีงบประมาณ 2557 ว่า คตร. ได้รายงานความคืบหน้าการตรวจสอบโครงการของภาครัฐอีก 28 โครงการ รวมมูลค่า 4 หมื่นกว่าล้านบาทให้ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) รับทราบถึงผลการดำเนินงาน ติดตาม เร่งรัด ทบทวนความเหมาะสม คุ้มค่า และความมีประโยชน์ต่อประชาชน และต่อประเทศชาติของโครงการต่างๆ ซึ่งมีทั้งโครงการที่ คตร. และฝ่ายต่างๆ เห็นชอบให้ดำเนินการต่อ โครงการที่ให้ทบทวนทั้งในส่วนของรายละเอียดและวงเงินงบประมาณ รวมไปถึงโครงการที่คาดว่าจะยกเลิก ซึ่งในส่วนนี้ยังพิจารณาไม่แล้วเสร็จ
“หลังจากที่ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบความคืบหน้าทั้ง 28 โครงการแล้ว ก็มีมาตรการเร่งรัดให้แต่ละส่วนที่เกี่ยวข้องเสนอขออนุมัติต่อ คสช.โดยเร็ว ไม่เกินวันที่ 30 มิ.ย.นี้ แต่หากโครงการใดยังไม่สามารถดำเนินการได้ให้ชี้แจงเป็นรายโครงการมา” พล.ท.อนันตพร ระบุ
พล.ท.อนันตพร กล่าวต่อว่า ขณะนี้โครงการที่จะยกเลิกยังไม่มีบทสรุป แต่อยู่ในส่วนของการทบทวน ซึ่งเป็นโครงการเกี่ยวกับอ่างเก็บน้ำของกรมชลประทานจำนวน 2 โครงการ ที่ต้องทบทวนทั้งในเรื่องของราคากลาง และการเขียนทีโออาร์ให้เหมาะสม ซึ่งคาดว่าจะมีความชัดเจนในสัปดาห์หน้า โดยต้องดูถึงที่มาของโครงการ ที่มาของราคา รวมทั้งผลประโยชน์ต่อประชาชน ซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. เน้นย้ำว่าทุกโครงการประชาชนได้ประโยชน์อย่างไร และความคุ้มค่าในการลงทุนด้วย
พล.ท.อนันตพร กล่าวว่า ทั้งนี้ 28 โครงการเป็นโครงการที่อยู่ในแผนงบประมาณปี 2557 ซึ่งยังไม่เริ่มดำเนินการ โดยต้องขออนุมัติต่อ คสช. ซึ่งเทียบเท่าคณะรัฐมนตรี สำหรับขั้นตอนการตรวจสอบของ คตร. จะประกอบด้วย การให้แต่ละหน่วยงานนำโครงการกลับไปทบทวนการทำงาน จากนั้น คตร. จะเข้าตรวจสอบการดำเนินการ หากเป็นไปด้วยความเรียบร้อยก็สามารถดำเนินการต่อได้ แต่หากต้องแก้ไข คตร. จะร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งหาแนวทางแก้ไข เพื่อให้โครงการมีความโปร่งใส ตรวจสอบได้
พล.ท.อนันตพร เปิดเผยด้วยว่า นอกเหนือจาก 28 โครงการที่กำลังดำเนินการอยู่แล้ว ก่อนหน้านี้ คตร. ได้ดำเนินตรวจสอบโครงการไปแล้วจำนวน 8 โครงการ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ 1. โครงการที่ดำเนินการไปแล้ว จะมีคณะอนุกรรมการการเงินการบัญชีไปดูเรื่องของหลักฐานการเงินการบัญชีต่างๆ ว่าถูกต้องหรือไม่ 2. โครงการที่อยู่ในระหว่างการดำเนินการ จะมีคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้างเข้าไปดู หากทบทวนได้ก็ต้องทบทวน แต่หากไม่สามารถทบทวนได้ ก็ต้องดูว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ หากมีการเบิกจ่ายงบประมาณไม่ถูกต้อง ก็ส่งให้ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ไปดำเนินการต่อ และ 3. โครงการที่ยังไม่ดำเนินการ จะมีคณะกรรมการวิเคราะห์แผนงานลงไปดู ซึ่งจะมีการทบทวนทั้งในส่วนของโครงการที่ไม่คุ้มค่า หรือคุ้มค่าแต่ใช้งบประมาณสูง ทั้งหมดนี้จะเริ่มมีการรายงานสรุปเข้ามายัง คตร. ในวันที่ 18 มิ.ย. นี้
ผู้สื่อข่าวถามถึงกระแสข่าวว่า คตร. เสนอให้ยกเลิกโครงการจัดการเรียนการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต) ของกระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร พล.ท.อนันตพร กล่าวว่า ล่าสุด คตร. ได้จัดคณะอนุกรรมการไปที่กระทรวงศึกษาธิการ โดยกระทรวงศึกษาธิการก็ได้มีการทบทวนตัวเอง และเสนอเองว่า จะชะลอโครงการของปี 56 ที่ยังค้างอยู่ราว 1 พันกว่าล้านบาท และชะลอโครงการปี 57 ที่เหลืออยู่ 5 พันกว่าล้านบาท รวมทั้งการเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินการ อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ยังไม่ได้ข้อยุติในระดับ คสช. เพียงแต่ทางกระทรวงเสนอทบทวนเอง และทาง คตร. ก็มารายงานต่อหัวหน้า คสช. ก่อนที่ให้ทางฝ่ายสังคมจิตวิทยาที่ดูแลกระทรวงศึกษาธิการ ไปดูว่ามีโครงการใดบ้างที่มีวัตถุประสงค์เดียวกันแล้วมาเสนอเพื่อเปลี่ยนแปลงโครงการ
“สำหรับโครงการแท็บเล็ต เราได้รับข้อมูลบางส่วนจาก สตง. จึงเข้าไปตรวจสอบ แต่ไม่ได้คิดว่าโครงการผิดหรือถูกอย่างไร เพียงแต่เข้าไปช่วยเหลือในการปรับปรุงเหลื่อยนแปลงให้ดีขึ้น จะได้ใช้ประโยชน์ได้” พล.ท.อนันตพร กล่าว
เมื่อถามถึงโครงการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบของ คตช. พล.ท.อนันตพร กล่าวว่า ขณะนี้ได้มีคณะกรรมการชุดใหม่แล้ว และอยู่ในระหว่างการดำเนินการ ซึ่งในส่วนของ คตร. จะเข้าไปตรวจสอบเมื่อโครงการจะเริ่มดำเนินการ เพื่อวิเคราะห์ความคุ้มค่า นอกจากนี้ พล.อ.ประยุทธ์ ได้สั่งการว่า ต่อไปการดำเนินโครงการขนาดใหญ่ที่มีผลกระทบต่อประชาชนและการพัฒนาประเทศให้มีการประกาศทางสื่อ และเว็บไซต์ต่างๆ ตามหลักเกณฑ์ที่เคยมีอยู่ของ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) รวมทั้งปรับหลักเกณ์ให้มีความโปร่งใสมากขึ้น โดยเฉพาะในขั้นตอนการประกวดราคา จะให้มี คตร. สำนักงบประมาณ สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และภาคประชาชน เข้าไปร่วมสังเกตการณ์ด้วย เพื่อให้เกิดการแข่งขันอย่างแม้จริง ขณะเดียวกัน การทำทีโออาร์ต้องมีความเข้มงวดให้มีการกำหนดราคากลางใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากขึ้น
ผู้สื่อข่าวยังได้ถามถึงการเข้าตรวจสอบโครงการต่างๆ ของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคนาคมแห่งชาติ (กสทช.) พล.ท.อนันตพร กล่าวว่า ขณะนี้ คตร.ได้เข้าตรวจในส่วนของการแจกคูปองให้แก่ประชาชนเพื่อซื้อกล่องรับสัญญาณทีวีดิจิตอล (Set top box) โดยดูในส่วนของความคุ้มค่า และวิธีการแจก โดยวิเคราะห์ว่าตัวเลขจำนวนคูปองสำหรับการซื้อ 22 ล้านกล่องนั้น มาจากอะไร รวมทั้งที่มาของมูลค่าคูปอง 1,000 บาทต่อใบมาจากไหน เพราะโดยส่วนตัวเห็นว่าสูงเกินไป และเห็นควรจะปรับลดลง ซึ่ง กสทช. กำลังจะส่งเอกสารมาชี้แจง
“เบื้องต้นต้องมีการตีความกันอยู่ว่าวัตถุประสงค์ในการแจกคูปองเพื่อซื้อกล่องเพื่ออะไร ซึ่งวัตถุประสงค์ต้องชัดเจน หากไม่ชัดเจนก็จำเป็นต้องทบทวน เมื่อเสร็จแล้วก็สามารถดำเนินการได้เลย โดย กสทช. จะเข้ามาชี้แจงในวันพรุ่งนี้ (18 มิ.ย.) หากชี้แจงชัดเจน ก็ดำเนินการต่อได้” พล.ท.อนันตพร ระบุ
เมื่อถามถึงแนวคิดการนำส่งรายได้จากการประมูลต่างๆ ของ กสทช. ให้แก่ภาครัฐ พล.ท.อนันตพร กล่าวว่า กสทช. เป็นหน่วยงานที่มีรายได้พอสมควร หากรายได้ดังกล่าวมาทำประโยชน์ให้กับระบบงบประมาณได้ ก็จะทำให้สามารถทำงานด้านอื่นได้มากขึ้น ก็มีแนวคิดที่จะนำรายได้ส่วนอื่นเข้าสู่ระบบงบประมาณของภาครัฐได้หรือไม่ ขณะเดียวกัน ก็ต้องดูด้วยว่า กสทช. มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง ก็ต้องคำนวณออกมาด้วย
ส่วนกระแสข่าวว่าจะมีการเสนอให้ยุบ กสทช. นั้น พล.ท.อนันตพร กล่าวว่า เรื่องนี้ไม่อยู่ในอำนาจของ คตร. มีเพียงอำนาจในการติดตามตรวจาสอบการเบิกจ่ายงบประมาณ
พล.ท.อนันตพร กล่าวเพิ่มเติมถึงโครงการจัดหารถรุ่นใหม่สำหรับบริการเชิงพาณิชย์ จำนวน 115 คัน และโครงการจัดหารถจักร จำนวน 126 คันของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ว่า อยู่ระหว่างการจัดซื้อจัดจ้าง ซึ่ง คตร. จะเข้าไปตรวจสอบให้แล้วเสร็จภายใน 3 วัน ซึ่งเท่าที่ดูอาจจะมีการปรับราคากลาง และทำทีโออาร์ให้โปร่งใสมากขึ้น ขณะที่การตรวจสอบโครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเฟส 2 (ปี 2554 - 2560) ของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (ทอท.) นั้น โครงการล่าช้ากว่าแผนมาก เพราะเริ่มโครงการตั้งแต่ปี 2554 แต่ยังไม่ได้มีการดำเนินการ คตร. จึงต้องเข้าไปดูแล คตร. จึงต้องเข้าไปตรวจสอบถึงสาเหตุที่ล่าช้า
พล.ท.อนันตพร กล่าวด้วยว่า การเข้าตรวจสอบกองทุนส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน เป็นเพียงการเข้าไปตรวจสอบการอนุมัติเงินกองทุนให้แก่โครงการอนุรักษ์ต่างๆ ค่อนข้างเป็นเบี้ยหัวแตก จึงอยากให้ดำเนินการให้ได้ประโยชน์จริง โดยให้ไปดูว่ามีแผนแม่บท และการดำเนินการอย่างไร เบื้องต้นอาจจะมีการปรับแผนให้กระชับและมีผลประโยชน์ต่อส่วนร่วมมากขึ้น ขณะที่โครงการสร้างโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 3 บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) นั้น คตร. ต้องการเข้าไปตรวจสอบความคุ้มค่าของระบบการแบ่งปันผลประโยชน์ระหว่างภาครัฐกับเอกชน รวมทั้งต้องการตรวจสอบด้วยว่าภาครัฐเป็นผู้เสียประโยชน์หรือได้ประโยชน์ในโครงการเหล่านี้
http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9570000068194&keepThis=true&TB_iframe=true&height=650&width=850&caption=Manager+Online+-+%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87
ไม่มีความคิดเห็น: