Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

18 มิถุนายน 2557  (ปฏิบัติการคสช.ล้างบางการสื่อสาร) บอร์ด TOT เริ่มทยอยลาออก ระบุ!! ยังไม่มีการศึกษาประเด็นกฎหมายอย่างละเอียดและรอบคอบ เช่น การนำคลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ (GHz) ให้เอกชนร่วมใช้งาน


ประเด็นหลัก


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะกรรมการ (บอร์ด) บริษัท ทีโอที จำกัด ได้ทยอยลาออก เพื่อเปิดโอกาสให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้จัดสรรและแต่งตั้งกรรมการคนใหม่เข้ามากำกับและบริหารงานให้ทีโอทีมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยนายบุญเชิด คิดเห็น ได้ลาออกตั้งแต่ปลายเดือน พ.ค.57 ที่ผ่านมา และเมื่อวันที่ 11 มิ.ย.57 นายประสิทธิ์ ศิริภาภรณ์ อัยการพิเศษ ก็ได้ยื่นหนังสือลาออกเรียบร้อยแล้ว โดยได้ทำหนังสือลาออกพร้อมเหตุผลว่า การเสนอโครงการต่างๆของทีโอที ในฐานะฝ่ายกฎหมาย ได้เสนอความเห็นเพื่อรักษาผลประโยชน์และให้เป็นตามขั้นตอนของกฎหมายแล้ว แต่ก็ยังมีความพยายามของฝ่ายบริหารที่จะเสนอให้บอร์ดพิจารณาอีก ฉะนั้นจึงขอลาออกจากการเป็นกรรมการทุกตำแหน่งในทีโอที และเชื่อว่าในเร็วๆนี้จะมีการทยอยลาออกอีกหลายคน

สำหรับโครงการที่ฝ่ายบริหารพยายามจะเร่งรัดการดำเนินการ โดยไม่ศึกษาประเด็นกฎหมายอย่างละเอียดและรอบคอบ อาทิ 1.การนำคลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ (GHz) ให้เอกชนร่วมใช้งาน 2.การปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีจาก 2 จีเป็น 3 จีและ 4 จี บนคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ ภายใต้สัญญาสัมปทานเดิมที่จะสิ้นสุดในปี 2558 ซึ่งทีโอทียังไม่มีแผนการรองรับลูกค้า หลังสัญญาสิ้นสุด ปัจจุบันมีการถ่ายโอนลูกค้าไปแล้ว 17 ล้านเลขหมาย จากลูกค้า 40 ล้านเลขหมาย 3.การลงทุนโครงข่ายไฟเบอร์ออปติกทูเดอะโฮม (เอฟทีทีเอ็กซ์) 3.การลงทุนโครงการอินเตอร์เน็ต 2 ล้านเลขหมาย ซึ่งคณะรัฐมนตรี (ครม.) ยังไม่ได้ให้ความเห็นชอบ แต่ก็เปลี่ยนวิธีการเสนอด้วยการแบ่งย่อยโครงการ เป็นต้น

______________________________________

“ประสิทธิ์”ไขก๊อกบอร์ดทีโอที เกาะติดฝ่ายบริหารนำคลื่นให้เอกชนร่วมใช้งาน
โดย ทีมข่าวเศรษฐกิจ 16 มิ.ย. 2557 05:15



ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะกรรมการ (บอร์ด) บริษัท ทีโอที จำกัด ได้ทยอยลาออก เพื่อเปิดโอกาสให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้จัดสรรและแต่งตั้งกรรมการคนใหม่เข้ามากำกับและบริหารงานให้ทีโอทีมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยนายบุญเชิด คิดเห็น ได้ลาออกตั้งแต่ปลายเดือน พ.ค.57 ที่ผ่านมา และเมื่อวันที่ 11 มิ.ย.57 นายประสิทธิ์ ศิริภาภรณ์ อัยการพิเศษ ก็ได้ยื่นหนังสือลาออกเรียบร้อยแล้ว โดยได้ทำหนังสือลาออกพร้อมเหตุผลว่า การเสนอโครงการต่างๆของทีโอที ในฐานะฝ่ายกฎหมาย ได้เสนอความเห็นเพื่อรักษาผลประโยชน์และให้เป็นตามขั้นตอนของกฎหมายแล้ว แต่ก็ยังมีความพยายามของฝ่ายบริหารที่จะเสนอให้บอร์ดพิจารณาอีก ฉะนั้นจึงขอลาออกจากการเป็นกรรมการทุกตำแหน่งในทีโอที และเชื่อว่าในเร็วๆนี้จะมีการทยอยลาออกอีกหลายคน

สำหรับโครงการที่ฝ่ายบริหารพยายามจะเร่งรัดการดำเนินการ โดยไม่ศึกษาประเด็นกฎหมายอย่างละเอียดและรอบคอบ อาทิ 1.การนำคลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ (GHz) ให้เอกชนร่วมใช้งาน 2.การปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีจาก 2 จีเป็น 3 จีและ 4 จี บนคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ ภายใต้สัญญาสัมปทานเดิมที่จะสิ้นสุดในปี 2558 ซึ่งทีโอทียังไม่มีแผนการรองรับลูกค้า หลังสัญญาสิ้นสุด ปัจจุบันมีการถ่ายโอนลูกค้าไปแล้ว 17 ล้านเลขหมาย จากลูกค้า 40 ล้านเลขหมาย 3.การลงทุนโครงข่ายไฟเบอร์ออปติกทูเดอะโฮม (เอฟทีทีเอ็กซ์) 3.การลงทุนโครงการอินเตอร์เน็ต 2 ล้านเลขหมาย ซึ่งคณะรัฐมนตรี (ครม.) ยังไม่ได้ให้ความเห็นชอบ แต่ก็เปลี่ยนวิธีการเสนอด้วยการแบ่งย่อยโครงการ เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ปี 2556 เป็นต้นมา ทีโอทีประสบปัญหาวิกฤติทั้งการเงิน โดยปี 2557 คาดว่าจะขาดทุนมากกว่า 5,000 ล้านบาท และยังมีปัญหาการทุจริต ซึ่งสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจทีโอที ได้ยื่นหนังสือถึงคณะกรรมการป้องกันปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ไปหลายเรื่องแล้วแต่ยังไม่มีข้อยุติ ขณะที่การบริหารงานก็ไม่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการบริหารงาน บุคลากร เนื่องจากพนักงานดำรงตำแหน่งเดิมนานกว่า 9-10 ปี ทำให้ไม่มีการพัฒนาและกระตือรือร้นการทำงาน และยังจ้างพนักงานภายนอกทำงานแทนพนักงาน (เอาต์ซอร์ส) อีกด้วย.



http://www.thairath.co.th/content/429773

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.