Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

20 มิถุนายน 2557 Trend Micro กังวล การสร้างแอปพลิเคชั่นปลอมบนโทรศัพท์มือถือเพื่อดักข้อมูลธุรกรรมการเงินมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ งานวิจัยของเทรนด์ไมโครแล็บในสหรัฐอเมริกาพบว่าช่วงสิ้นปี 2556


ประเด็นหลัก

จากการสำรวจข้อมูลในไทยเมื่อ 1-4 มิ.ย.ที่ผ่านมา แต่ละวันมีการโจมตีเว็บไซต์ 10-20 ครั้ง ตั้งแต่การเข้าไปปรับเปลี่ยนกลั่นแกล้งไปจนถึงการจ้องทำร้ายคุกคามบนโลก ไซเบอร์แบบเฉพาะเจาะจงเป็นเวลานานและต่อเนื่อง หรือ APT-Advance Persistent Threat ซึ่งกำลังเป็นภัยคุกคามเกิดใหม่ในช่วง 2-3 ปีนี้ โดยมีเว็บไซต์ภาคธุรกิจ และภาครัฐ เป็นเป้าหมาย ซึ่งนอกจากข้อมูลเสียหายแล้ว ยังเสียความเชื่อมั่นของลูกค้า

ขณะที่การสร้างแอปพลิเคชั่นปลอมบนโทรศัพท์มือถือเพื่อดักข้อมูลธุรกรรมการเงินมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ งานวิจัยของเทรนด์ไมโครแล็บในสหรัฐอเมริกาพบว่าช่วงสิ้นปี 2556 มีการคุกคามรูปแบบนี้ถึง 1.2 ล้านครั้ง โดยธุรกิจอีคอมเมิร์ซ เป็นกลุ่มเสี่ยงเพราะยังไม่มีการป้องกันระบบที่ดีนัก รวมทั้งผู้ใช้ก็ไม่ได้ป้องกันตนเอง



______________________________________
"เทรนด์ไมโคร"เตือนภาคธุรกิจ ระวังภัยแฮกเว็บ-ดักข้อมูลมือถือ



"เทรนด์ ไมโคร" เตือนภัยคุกคามไซเบอร์เพิ่มขึ้นทั่วโลก ทั้ง "โจมตีเว็บไซต์-โทรศัพท์มือถือ และจารกรรมข้อมูล" ระบุคนใช้มือถือ 8 ใน 10 ไม่มีระบบความปลอดภัยบนมือถือ เดินสายโรดโชว์กระตุ้นองค์กรภาครัฐและเอกชนควักกระเป๋าลงทุนด้านความปลอดภัยป้องกันความเสี่ยง

นายเคน โลว์ ผู้อำนวยการฝ่ายไซเบอร์ซีเคียวริตี้ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก บริษัท เทรนด์ ไมโคร เปิดเผยว่า อันตรายในโลกไซเบอร์เพิ่มสูงขึ้นทั่วโลก ทั้งจากการขโมยข้อมูล กลั่นแกล้ง ทำร้ายหรือเข้าไปยุ่งกับระบบ ในประเทศไทยมีแนวโน้มการคุกคามที่ต้องเฝ้าระวัง ได้แก่ 1.การโจมตีเว็บไซต์ (Website Attack) 2.การปลอมแปลงข้อมูลจากโทรศัพท์มือถือ (Mobile Fraud) และ 3.การจารกรรมข้อมูลจากเว็บไซต์ (Data Tap)

จากการสำรวจข้อมูลในไทยเมื่อ 1-4 มิ.ย.ที่ผ่านมา แต่ละวันมีการโจมตีเว็บไซต์ 10-20 ครั้ง ตั้งแต่การเข้าไปปรับเปลี่ยนกลั่นแกล้งไปจนถึงการจ้องทำร้ายคุกคามบนโลก ไซเบอร์แบบเฉพาะเจาะจงเป็นเวลานานและต่อเนื่อง หรือ APT-Advance Persistent Threat ซึ่งกำลังเป็นภัยคุกคามเกิดใหม่ในช่วง 2-3 ปีนี้ โดยมีเว็บไซต์ภาคธุรกิจ และภาครัฐ เป็นเป้าหมาย ซึ่งนอกจากข้อมูลเสียหายแล้ว ยังเสียความเชื่อมั่นของลูกค้า

ขณะที่การสร้างแอปพลิเคชั่นปลอมบนโทรศัพท์มือถือเพื่อดักข้อมูลธุรกรรมการเงินมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ งานวิจัยของเทรนด์ไมโครแล็บในสหรัฐอเมริกาพบว่าช่วงสิ้นปี 2556 มีการคุกคามรูปแบบนี้ถึง 1.2 ล้านครั้ง โดยธุรกิจอีคอมเมิร์ซ เป็นกลุ่มเสี่ยงเพราะยังไม่มีการป้องกันระบบที่ดีนัก รวมทั้งผู้ใช้ก็ไม่ได้ป้องกันตนเอง

สำหรับเทรนด์คุกคามบนโลกไซเบอร์ที่เริ่มมีแล้ว เช่น การรับจ้างทำสิ่งผิดกฎหมาย เช่น กรณีแฮกเกอร์รับจ้างขโมยข้อมูล เจาะระบบไอที, เว็บไซต์ที่ไม่สามารถค้นพบได้ (Deep Web) ซึ่งอาจเป็นแหล่งพบปะระหว่างอาชญากร เว็บไซต์ใต้ดินขายของแลกเปลี่ยนสิ่งผิดกฎหมาย (Silk Road Website) เช่น ยาเสพติด และการเจาะเข้าระบบควบคุมดูแลของอุตสาหกรรม เช่น บริษัทน้ำมัน เป็นต้น

ด้านนายวิลเลียม ตัน ผู้จัดการประจำประเทศไทยและภูมิภาคอินโดจีน บริษัท เทรนด์ ไมโคร (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ลูกค้าปัจจุบันของบริษัท 80% เป็นองค์กร 20% เป็นผู้ใช้ทั่วไป ซึ่งกลุ่มองค์กรจะเน้นลงทุนระบบความปลอดภัยหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นเกตเวย์, เน็ตเวิร์กกิ้ง หรือคลาวด์ ส่วนลูกค้าทั่วไปเป็นการขายซอฟต์แวร์ทั้งบนคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือ และจากการสำรวจพบว่า 8 ใน 10 ของคนไทยไม่มีระบบความปลอดภัยบนมือถือ

จากสถานการณ์การเมืองในไทยทำให้รายได้จากภาครัฐลดลง แต่คาดว่าในปี 2558 รายได้จากภาคเอกชนอาจลดลง 5-10% ซึ่งบริษัทพยายามกระตุ้นลูกค้าให้ตระหนักถึงอันตรายบนไซเบอร์ และความสำคัญของการป้องกันโดยเฉพาะกลุ่มองค์กรภาครัฐ, ธุรกิจธนาคาร และการศึกษา

"ลูกค้าปัจจุบันเห็นความสำคัญของการป้องกันอันตรายบนไซเบอร์มากขึ้นกว่า 2-3 ปีก่อน โดยเฉพาะการโจมตีแบบ APT ที่มุ่งโจมตีจุดอ่อนของเว็บไซต์ จากตัวเลขด้านการลงทุนด้านไอทีของบริษัทต่าง ๆ ให้ความสำคัญด้านความปลอดภัยคิดเป็น 20-30% โดยเฉพาะการป้องกันความปลอดภัยบนคลาวด์ เรามียอดขายในไทยเป็นอันดับ 2 รองจากจีน"

นายคงศักดิ์ ก่อตระกูล ผู้จัดการอาวุโสด้านเทคนิคบริษัทเดียวกันกล่าวว่า องค์กรธุรกิจทั้งกลุ่มธนาคาร พลังงาน และสายการบินให้ความสำคัญความปลอดภัยบนเซิร์ฟเวอร์เสมือน (Server Virtualization) เพื่อลดรายจ่ายในการดูแลเซิร์ฟเวอร์ ต่างจากปีก่อน ที่ให้ความสำคัญกับการลงทุนด้านความปลอดภัยที่มาจากการใช้งานระบบผ่าน อุปกรณ์ส่วนตัวตามกระแส BYOD (Bring Your Own Device) และใน 6 เดือนข้างหน้าเตรียมนำโซลูชั่น Deep Security for Web Apps ตอบสนองลูกค้าที่ต้องการความปลอดภัยจากการใช้ Web Ez-Apps แอพใช้ง่าย ขำๆ โดนๆ ทั้งบนไอโฟนและแอนดรอย



http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1403217943

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.