Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

20 มิถุนายน 2557 (ปฏิบัติการคสช.ล้างบางการสื่อสาร) เลขาธิการ กสทช.ฐากร ระบุ ช่วงเวลานี้ ต้องยอมรับว่า กสทช.ไม่มีอำนาจในการดำเนินการใด เพราะทุกโครงการขนาดใหญ่ต้องผ่านความเห็นชอบจาก คสช.


ประเด็นหลัก


คสช. สั่ง กสทช. ชะลอ 4 โครงการชั่วคราว "ประมูล 4จี คลื่น 1800 คลื่น 900 -แจกคูปองทีวีดิจิทัล และ USO " มูลค่ารวม 8.79 หมื่นล้าน สั่งคณะทำงานด้านกฎหมาย ตรวจสอบความโปร่งใส ด้าน กสทช.เสนอบอร์ดใหญ่วันนี้ ถกด่วนแนวทางประมูลคลื่น 1800 ป้องกัน “ซิมดับ” "สุภิญญา" แนะเปิดประชาพิจารณ์คูปอง ขณะที่ "เอไอเอส-ดีแทค" ยันใช้คลื่นที่มีให้บริการต่อ

จากประกาศของ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เมื่อวันที่ 14 มิ.ย. 2557 ระบุให้หน่วยงานรัฐส่งแผนงานโครงการขนาดใหญ่ให้ คสช.ทราบ ซึ่งสำนักงาน กสทช. ได้รายงานการดำเนินโครงการหลัก ของ กสทช. 4 โครงการ ประกอบด้วย 1.โครงการประมูล 4จี บนคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 2 ใบอนุญาต 2.โครงการจัดประมูลใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 2 ใบอนุญาต รวม 4 ใบอนุญาต มูลค่า 4.29 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นใบอนุญาต 1800 เมกะเฮิรตซ์ มูลค่า 2.32 หมื่นล้านบาท และใบอนุญาต 900 เมกะเฮิรตซ์ มูลค่า 1.97 หมื่นล้านบาท 3.โครงการแจกคูปองสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านทีวีดิจิทัล 25 ล้านครัวเรือน มูลค่า 2.5 หมื่นล้านบาท และ4.โครงการบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม (USO) มูลค่า 2 หมื่นล้านบาท รวมทั้ง 4 โครงการ มูลค่า 8.79 หมื่นล้านบาท

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่าหลังจาก สำนักงาน กสทช.รายงาน 4 โครงการขนาดใหญ่ให้ คณะทำงาน คสช. ทราบ ล่าสุดวานนี้ (17 มิ.ย.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ มีหนังสือด่วนถึงสำนักงาน กสทช. ให้ชะลอการดำเนินการ 4 โครงการไว้เป็นการชั่วคราวก่อน เพื่อความโปร่งใส จนกว่าจะมีการตรวจสอบรายละเอียดทั้ง 4 โครงการ

พร้อมทั้งปรับปรุงโครงสร้างและจัดทำเป็นข้อบังคับ ข้อกฎหมายในการใช้จ่ายงบประมาณให้ชัดเจน ให้ได้รับความไว้วางใจและเกิดประโยชน์กับรัฐอย่างเต็มที่ คลายความวิตกกังวลสงสัยจากประชาชนให้ได้ จึงจะดำเนินการต่อไป โดย คสช.และคณะทำงานกฎหมาย จะนำระเบียบปัจจุบันของ กสทช. มาพิจารณาอย่างเร่งด่วน

"ช่วงเวลานี้ ต้องยอมรับว่า กสทช.ไม่มีอำนาจในการดำเนินการใด เพราะทุกโครงการขนาดใหญ่ต้องผ่านความเห็นชอบจาก คสช. และ กสทช. ต้องปฏิบัติตาม” นายฐากร กล่าว



______________________________________



เบรก'4จี-แจกคูปองทีวีดิจิทัล'


คสช.สั่งชะลอ4โครงการ-เร่งคณะทำงานตรวจสอบความโปร่งใส ชง คสช.สอบเพิ่ม3โครงการกันทุจริต



คสช. สั่ง กสทช. ชะลอ 4 โครงการชั่วคราว "ประมูล 4จี คลื่น 1800 คลื่น 900 -แจกคูปองทีวีดิจิทัล และ USO " มูลค่ารวม 8.79 หมื่นล้าน สั่งคณะทำงานด้านกฎหมาย ตรวจสอบความโปร่งใส ด้าน กสทช.เสนอบอร์ดใหญ่วันนี้ ถกด่วนแนวทางประมูลคลื่น 1800 ป้องกัน “ซิมดับ” "สุภิญญา" แนะเปิดประชาพิจารณ์คูปอง ขณะที่ "เอไอเอส-ดีแทค" ยันใช้คลื่นที่มีให้บริการต่อ

จากประกาศของ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เมื่อวันที่ 14 มิ.ย. 2557 ระบุให้หน่วยงานรัฐส่งแผนงานโครงการขนาดใหญ่ให้ คสช.ทราบ ซึ่งสำนักงาน กสทช. ได้รายงานการดำเนินโครงการหลัก ของ กสทช. 4 โครงการ ประกอบด้วย 1.โครงการประมูล 4จี บนคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 2 ใบอนุญาต 2.โครงการจัดประมูลใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 2 ใบอนุญาต รวม 4 ใบอนุญาต มูลค่า 4.29 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นใบอนุญาต 1800 เมกะเฮิรตซ์ มูลค่า 2.32 หมื่นล้านบาท และใบอนุญาต 900 เมกะเฮิรตซ์ มูลค่า 1.97 หมื่นล้านบาท 3.โครงการแจกคูปองสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านทีวีดิจิทัล 25 ล้านครัวเรือน มูลค่า 2.5 หมื่นล้านบาท และ4.โครงการบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม (USO) มูลค่า 2 หมื่นล้านบาท รวมทั้ง 4 โครงการ มูลค่า 8.79 หมื่นล้านบาท

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่าหลังจาก สำนักงาน กสทช.รายงาน 4 โครงการขนาดใหญ่ให้ คณะทำงาน คสช. ทราบ ล่าสุดวานนี้ (17 มิ.ย.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ มีหนังสือด่วนถึงสำนักงาน กสทช. ให้ชะลอการดำเนินการ 4 โครงการไว้เป็นการชั่วคราวก่อน เพื่อความโปร่งใส จนกว่าจะมีการตรวจสอบรายละเอียดทั้ง 4 โครงการ

พร้อมทั้งปรับปรุงโครงสร้างและจัดทำเป็นข้อบังคับ ข้อกฎหมายในการใช้จ่ายงบประมาณให้ชัดเจน ให้ได้รับความไว้วางใจและเกิดประโยชน์กับรัฐอย่างเต็มที่ คลายความวิตกกังวลสงสัยจากประชาชนให้ได้ จึงจะดำเนินการต่อไป โดย คสช.และคณะทำงานกฎหมาย จะนำระเบียบปัจจุบันของ กสทช. มาพิจารณาอย่างเร่งด่วน

"ช่วงเวลานี้ ต้องยอมรับว่า กสทช.ไม่มีอำนาจในการดำเนินการใด เพราะทุกโครงการขนาดใหญ่ต้องผ่านความเห็นชอบจาก คสช. และ กสทช. ต้องปฏิบัติตาม” นายฐากร กล่าว

ชงบอร์ดกสทช.รับทราบคำสั่งวันนี้

นายฐากร กล่าวว่าสำนักงาน กสทช. จะนำหนังสือตอบจาก คสช. ดังกล่าว เสนอให้ที่ประชุมบอร์ด กสทช.วันนี้ (18 มิ.ย.) เพื่อหารือถึงแนวทางปฏิบัติ ตามคำสั่ง คสช. โดยเฉพาะโครงการเร่งด่วน คือ การประมูลคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ ที่จะต้องให้ใบอนุญาตรายใหม่ภายในวันที่ 1 ก.ย.นี้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาซิมดับ เนื่องจากประกาศ เรื่อง มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการกรณีสิ้นสุดสัมปทาน หรือสัญญาให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ. 2556 จะสิ้นสุดระยะเวลาคุ้มครองผู้ใช้บริการในวันที่ 15 ก.ย. 2557

ทั้งนี้ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) และคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ได้ทราบคำสั่ง คสช. แล้ว ดังนั้นจึงได้ยกเลิกวาระการพิจารณาทั้ง 4 โครงการที่จะต้องเสนอบอร์ดใหญ่ กสทช.พิจารณาในวันที่ 18 มิ.ย. รวมทั้งยกเลิกการรับฟังความเห็นสาธารณะ ร่างประมูลใบอนุญาตคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ ในวันที่ 19 มิ.ย. นี้

แนะเปิดประชาพิจารณ์คูปอง

นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่าวันนี้ (18 มิ.ย. 57) ที่ประชุมบอร์ด กสทช. แม้จะไม่มีการพิจารณาวาระคูปองทีวีดิจิทัล แต่ตนยืนยันว่าควรเปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ เรื่องราคาคูปองพร้อมทั้งเปิดเผยราคาต้นทุนราคากลางเพื่อความโปร่งใสเพื่อให้การใช้เงินกองทุน กทปส. อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อไม่ให้เกิดข้อครหา รวมทั้งต้องการให้ฟังเสียงค้านของผู้ประกอบกิจการดาวเทียมดิจิทัลภาคพื้นดิน ที่ไม่เห็นด้วยกับการใช้คูปองแลกกล่องดาวเทียม เพราะกระทบต่อการส่งเสริมกิจการทีวีภาคพื้นดินและรวมทั้งไม่สามารถรับชมทีวีดิจิทัลชุมชนในอนาคตได้

ส่วนวาระอื่นๆ ได้แก่ รายงานผลการตรวจสอบภายในของคณะกรรมการตรวจสอบภายใน ปี 2556 ที่มีประเด็นสำคัญทั้งในเรื่องการตรวจสอบงบการเงิน การตรวจสอบบัญชี การเงิน และการพัสดุ การสอบทานการดำเนินงานและประเมินผลการใช้จ่ายเงินโครงการ การตรวจสอบการดำเนินงานของสำนักงานเขต กสทช. และการติดตามตามจัดทำ KPI หรือตัวชี้วัดของสำนักงานประจำปี 2556

"เอไอเอส-ดีแทค"ใช้คลื่นที่มีให้บริการต่อ

นายวิเชียร เมฆตระการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส กล่าวว่า ยังไม่มีข้อมูลการสั่งชะลอประมูล 4จี จึงไม่ขอแสดงความเห็น แต่คลื่นที่มีคงใช้คลื่นไปเรื่อยๆ ส่วนการดำเนินการคลื่นใหม่ต้องใช้เวลาเตรียมการนาน

นายปกรณ์ พรรณเชษฐ์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายการตลาด บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น กล่าวว่า หากชะลอการประมูล 4จี ออกไปน่าจะทำให้คลื่นที่มีอยู่รองรับการให้บริการได้ 5-6 เดือน โดยขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้บริโภค เช่นดีแทคมีลูกค้าที่ใช้บริการคลื่น 2100 เมกะเฮิรตซ์รวม 19 ล้านราย แม้จะไม่มี 1800 เมกะเฮิรตซ์แต่ขณะนี้ยังมีอยู่ 3 คลื่นความถี่คือ 2100, 1800 และ 850 เมกะเฮิรตซ์ ด้านรายละเอียดอื่นๆ คงต้องให้ นายจอน เอ็ดดี้ อับดุลลาห์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ดีแทค เป็นผู้แถลง

ชง คสช.สอบเพิ่ม3โครงการกันทุจริต

ขณะที่ นายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) กล่าวว่า องค์กรฯ เตรียมเสนอให้ คสช. ตรวจสอบโครงการเมกะโปรเจคเพิ่มอีก 3 โครงการ คือ 1.การจัดซื้อฝูงบินของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน 38 ลำ มูลค่า 2.41 แสนล้านบาท ก่อนหน้านี้ องค์กรฯ ได้เคยขอให้การบินไทยเข้าร่วมโครงการใช้ข้อตกลงคุณธรรม การจัดซื้อเครื่องบินแล้วเมื่อ 2 ปีก่อนแต่ถูกเพิกเฉย

2.โครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 800 เมกะวัตต์ เพื่อติดตั้งให้แก่ 800 ชุมชนทั่วประเทศ มูลค่า 4 หมื่นล้านบาท และ 3.โครงการขยายสนามบินสุวรรณภูมิ เฟสสอง รวมถึงการขยายสนามบินดอนเมืองและภูเก็ต

" 3 สัปดาห์แรก คสช.เน้นการดูแลเรื่องความมั่นคงและความสงบภายใน แต่ช่วง 2-3 วันมานี้ คสช. มีทิศทางเรื่องการปราบปรามคอร์รัปชันชัดเจน เป็นเรื่องที่ดี แต่ต้องการเห็นการแก้ปัญหาคอร์รัปชันที่ยั่งยืน ส่วนการปราบปรามแรงงานเถื่อน เห็นว่าจะส่งผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจระยะสั้นแต่หากดำเนินการถูต้อง จะทำให้ปราศจากการคอร์รัปชันได้ด้วย" นายประมนต์ กล่าว

ดึงทุกภาคส่วนร่วมเวทีต้านโกง

ทั้งนี้ องค์กรฯ เตรียมจัดเวทีระดมความเห็นจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องและสนใจทำงานด้านการต่อต้านคอร์รัปชันในช่วงเดือนส.ค.นี้ หาข้อสรุปร่วมกันก่อนนำเสนอต่อคสช. เพื่อนำไปใช้ปฏิรูปประเทศในประเด็น การป้องกันและปราบปรามการคอร์รัปชัน คาดว่าจะได้ข้อสรุปก่อนที่จะมีการตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติช่วงเดือนส.ค.-ก.ย.นี้

ส่วนมาตรการที่สามารถทำได้ทันที ด้วยนโยบายของรัฐ ได้แก่ ให้การสนับสนุนมาตรฐานที่โปร่งใสในกระบวนการให้บริการของภาครัฐ ผ่านการออกกฎหมาย "พ.ร.บ.การอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. ....ซึ่งสำนักงานกฤษฎีกาได้ร่างไว้แล้ว กฎหมายนี้จะช่วยในแง่การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของภาครัฐ ลดความเสี่ยงในการเรียกหรือเสนอสินบนต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐ ถือเป็นต้นทุนแฝงของภาคธุรกิจ

อย่างไรก็ตาม คสช.สามารถนำสาระสำคัญของกฎหมายนี้ออกมาเป็นประกาศ คสช.ได้ทันที เพื่อให้มีผลบังคับใช้ การเรียกรับสินบนในการออกใบอนุญาต สร้างความเดือดร้อนให้ผู้ประกอบการ เช่น การขอใบ ร.ง.4 ใบอนุญาตก่อสร้างบ้าน ใบอนุญาตประกอบการ

แนะห้ามผู้อยู่กระบวนการยุติธรรมนั่งบอร์ด รสก.

นอกจากนี้ ต้องการให้ คสช. พิจารณากำหนดข้อห้ามบุคคลที่อยู่ในตำแหน่งเกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมของประเทศ มาดำรงในตำแหน่งในบอร์ดรัฐวิสาหกิจ เนื่องจากมีหลายฝ่ายกังวลว่า อาจไม่มีความเป็นกลางกับคู่แข่งทางธุรกิจหรือคู่สัญญาหากกรณีที่มีการฟ้องร้อง หรือเหตุการณ์ต่างๆ ที่จะต้องเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรม

“การที่ คสช. เข้ามาดูบอร์ดรัฐวิสาหกิจถือเป็นเรื่องที่ดีที่จะสร้างความโปร่งใสในเรื่องของธรรมาภิบาลโดยเฉพาะบอร์ดที่มีมูลค่าลงทุนสูงๆ แต่ในส่วนของรัฐวิสาหกิจที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ต้องระมัดระวังเพราะการเปลี่ยนแปลงต่างๆ คงต้องให้ผู้ถือหุ้นมีส่วนร่วม” นายประมนต์ กล่าว

สำหรับแนวทางการตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้างโครงการขนาดใหญ่ของ คสช. เป็นประโยชน์ที่จะทำให้ประเทศปราศจากการคอร์รัปชันได้ แต่ต้องเอาจริงเอาจัง ส่วนการแก้ไขปัญหาการทำงานของรัฐวิสาหกิจต้องแก้ไขทั้งระบบ ต้องเปลี่ยนกติกา การเข้ามาเป็นบอร์ดรัฐวิสาหกิจไม่ควรถูกแทรกแซงจากการเมือง





http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/policy/20140618/588766/àºá4¨Õ-ᨡ¤ٻͧ·ÕÇմ%D4%A8ԷÑÅ.html

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.