23 มิถุนายน 2557 ผู้บริการ TOT ขอให้ คสช. ตรวจสอบ กสทช. เหตุ ปัญหาค่าเชื่อมต่อและค่าเชื่อมโยงโครงข่าย จาก AC เป็น IC ทำให้ TOT สูญเสียรายได้กว่า 2 แสนล้านบา
ประเด็นหลัก
ขณะเดียวกัน ฝ่ายบริหารได้เตรียมขอให้ คสช.ช่วยแก้ไขอุปสรรคของทีโอที โดยเฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย อาทิ ปัญหาค่าเชื่อมต่อและค่าเชื่อมโยงโครงข่ายที่เกิดขึ้นจากการออกประกาศของคณะ กรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ทำให้ผู้รับสัมปทานจาก บมจ.กสท โทรคมนาคม ยกเลิกการจ่ายค่าเอซีให้บริษัทตั้งแต่ 18 พ.ย. 2549 สูญเสียรายได้กว่า 2 แสนล้านบาท และเป็นข้อพิพาทในศาลปกครองรวมถึงการที่ กสทช. จะยึดคลื่นของทีโอทีเพื่อนำไปประมูลใหม่ จึงทำให้ทีโอทีไม่มีคลื่นสำหรับให้บริการ จนคาดว่าในปี 2560 บริษัทจะขาดทุน 1 แสนล้านบาท
______________________________________
ตรวจเข้มโปรเจ็กต์"ทีโอที-กสทช." เน้นใช้เงินคุ้มค่า-เลิกจัดซื้อแท็บเลตแจกนักเรียน
ถึงคิวสักที "คสช." เดินหน้าตรวจสอบโปรเจ็กต์ฮอต "3G ทีโอที-คูปองทีวีดิจิทัล-แท็บเลตนักเรียน" ฟาก "ทีโอที" ยืนยัน 3G ต้องไปต่อ หลังลงทุนไปแล้วกว่า 15,000 ล้านบาท ทั้งชงปัญหากรรมสิทธิ์คลื่นให้ช่วยแก้ก่อนขาดทุนบักโกรก ขณะที่ "กสทช." พร้อมยกโครงการแจกคูปองให้ คสช.เดินหน้าต่อ แต่ต้องดำเนินการภายใต้เงื่อนไขเดิมอ้างให้สัญญาประชาชนไปแล้ว
ร.อ.นพ. ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ฝ่ายพลเรือน เปิดเผยว่า โครงการสร้างโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 3 บมจ.ทีโอที เป็น 1 ใน 8 โครงการที่คณะกรรมการติดตาม และตรวจสอบการใช้จ่ายเงินงบประมาณภาครัฐ (คตร.) จะส่งอนุกรรมการตรวจสอบ เช่นเดียวกับโครงการแท็บเลตเพื่อการศึกษา และโครงการสนับสนุนประชาชนในการเปลี่ยนผ่านไปสู่การรับชมโทรทัศน์ภาคพื้นดิน ในระบบดิจิทัลของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)
โดยเมื่อวันที่ 16 มิ.ย.ที่ผ่านมา พล.ต.รณชัย มัญชุสุนทรกุล เจ้ากรมจเรทหารบกและกรรมการ คตร. ได้เดินทางไปประชุมร่วมกับผู้บริหาร บมจ.ทีโอที ที่สำนักงานใหญ่ ถนนแจ้งวัฒนะ
นายยงยุทธ วัฒนสินธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ทีโอที เปิดเผยว่า คณะอนุกรรมการ คตร.มาตรวจงานตามปกติ ไม่ได้มีประเด็นพิเศษ และทีโอทีก็ยังไม่ได้เสนอแผนงานใดเป็นพิเศษ
อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวจาก บมจ.ทีโอทีเปิดเผยว่า ผู้บริหารทีโอทีได้ชี้แจงรายละเอียดโครงการ 3G ปัญหาอุปสรรค ซึ่ง คตร.ได้ย้ำให้ฝ่ายบริหารแยกโครงการของทีโอทีออกเป็นโครงการที่คุ้มค่าที่จะ ลงทุนต่อกับโครงการที่ควรยกเลิก เพื่อเสนอ คสช.
"ทีโอทียืนยันว่า โครงการ 3G จำเป็นต้องเดินต่อเพราะได้ลงทุนไปแล้ว 15,999 ล้านบาท คตร.จึงให้ส่งรายงานชี้แจง"
โดยโครงข่าย 3G เพิ่งติดตั้งเฟสแรก 5,200 แห่งทั่วประเทศเสร็จเมื่อปลายไตรมาส 1 หลังจากได้ผู้ชนะประมูลมาตั้งแต่ ม.ค. 2554 ปัจจุบันมีลูกค้าราว 6 แสนราย ปีที่แล้วมีรายได้ราว 300 ล้านบาท
นอกจากนี้ คตร.ยังขอรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับ 3G ได้แก่ การทำสัญญาการใช้บริการข้ามโครงข่ายมือถือภายในประเทศ (โรมมิ่ง) กับ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) และบริษัทในเครือ รวมถึงสัญญาการเช่าใช้โครงข่ายอินเทอร์เน็ตไร้สาย (WiFi) ระหว่างทีโอทีกับบริษัท แอดวานซ์ โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของฝ่ายบริหารทีโอทีด้วย
ขณะเดียวกัน ฝ่ายบริหารได้เตรียมขอให้ คสช.ช่วยแก้ไขอุปสรรคของทีโอที โดยเฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย อาทิ ปัญหาค่าเชื่อมต่อและค่าเชื่อมโยงโครงข่ายที่เกิดขึ้นจากการออกประกาศของคณะ กรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ทำให้ผู้รับสัมปทานจาก บมจ.กสท โทรคมนาคม ยกเลิกการจ่ายค่าเอซีให้บริษัทตั้งแต่ 18 พ.ย. 2549 สูญเสียรายได้กว่า 2 แสนล้านบาท และเป็นข้อพิพาทในศาลปกครองรวมถึงการที่ กสทช. จะยึดคลื่นของทีโอทีเพื่อนำไปประมูลใหม่ จึงทำให้ทีโอทีไม่มีคลื่นสำหรับให้บริการ จนคาดว่าในปี 2560 บริษัทจะขาดทุน 1 แสนล้านบาท
ด้านนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. เปิดเผยว่า พร้อมให้ คสช.เข้ามาตรวจสอบการใช้งบประมาณเพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านทีวีดิจิทัล โดยในวันที่ 18 มิ.ย.นี้ บอร์ด กสทช.จะมีการประชุมเกี่ยวกับการอนุมัติให้นำเงินที่ได้จากการประมูลช่องทีวี ดิจิทัลประเภทธุรกิจ 24 ช่อง มาใช้แจกคูปองส่วนลดสำหรับซื้ออุปกรณ์ให้ประชาชน 25 ล้านครัวเรือน ครัวเรือนละ 1,000 บาท
"กสทช.ยินดีส่งรายละเอียดให้ คสช.ตรวจสอบ หรือกรณีที่ สตง.เสนอให้มีการนำเงินประมูลทีวีดิจิทัลส่งเป็นรายได้แผ่นดิน กสทช.ก็ไม่ขัดข้อง หาก คสช.จะให้ดำเนินการ แต่ต้องรับเงื่อนไขการแจกคูปองส่วนลดให้ประชาชนไปดำเนินการด้วย เนื่องจากมีการประกาศต่อสาธารณะไปแล้ว คสช.จะรับไปดำเนินการเอง หรือให้ กสทช.เป็นผู้จัดการต่อก็ได้ทั้งนั้น"
นอกจากนี้ กสทช.จะส่งโครงการสำคัญที่กำลังดำเนินการ ได้แก่ การจัดประมูลคลื่น 1800 MHz และคลื่น 900 MHz รวมถึงโครงการให้บริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม (USO) ให้ คสช.ตรวจสอบก่อน ซึ่งโครงการเหล่านี้จะช่วยกระตุ้นให้เกิดการลงทุนต่อเนื่องในประเทศไม่ต่ำ กว่า 2 แสนล้านบาท
แหล่งข่าวจากกระทรวงศึกษาธิการเปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ที่ประชุมร่วมกับ พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) หัวหน้าฝ่ายสังคมจิตวิทยา มีมติให้ยกเลิกโครงการจัดการเรียนการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเลต) ที่จัดซื้อด้วยงบประมาณปี 2556 ในโซนที่ 4 (นักเรียนชั้น ม.1 ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) มูลค่า 1,170 ล้านบาท รวมถึงการจัดซื้อประจำปีงบประมาณ 2557 จำนวน 5,800 ล้านบาท เนื่องจากแท็บเลตไม่เหมาะจะนำมาใช้ในการเรียนการสอนตลอดเวลา
และควรนำมาใช้แค่บางชั่วโมง การเรียนรู้หลักควรมาจากครูผู้สอนมากกว่า นักเรียนจึงเวียนกันใช้งานได้ไม่จำเป็นต้องแจกให้ทุกคน และคณะกรรมการว่าด้วยพัสดุกรมบัญชีกลางแจ้งว่า แท็บเลตถือเป็นครุภัณฑ์ของโรงเรียนมอบให้เป็นของส่วนตัวของนักเรียนไม่ได้ ขณะที่หน้าจอแท็บเลตมีขนาดเล็กอาจทำให้นักเรียนมีปัญหาด้านสายตา รวมถึงมีอายุการใช้งานเพียง 3 ปี ดังนั้นการซ่อมบำรุงไม่คุ้มค่า
ส่วนงบประมาณที่จะใช้จัดซื้อให้ปลัดกระทรวงศึกษาธิการไปเสนอขอกรมบัญชีกลาง และสำนักงบประมาณ เพื่อเปลี่ยนแปลงรายการ และขอกันเงินงบประมาณแบบไม่มีหนี้ไปใช้เพื่อประโยชน์อื่น
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1403258673
ไม่มีความคิดเห็น: