01 มิถุนายน 2557 (เกาะติดประมูล4G) อนุฯผู้บริโภค.สารี ระบุ ผู้ชนะการประมูลต้องรับผิดชอบลูกค้าที่ยังคงค้างในระบบภายใต้เงื่อนไข เดิม โดยอาจจะเป็นการว่าจ้างผู้ให้บริการรายเดิมให้บริการต่อก็เป็นได้
ประเด็นหลัก
ทั้งนี้เพื่อหาทางออกจากปัญหาดังกล่าวเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซิมดับ ทางคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคมจึงมีความเห็น และข้อเสนอประกอบด้วย 1.ควรสนับสนุน กสทช. ในการประชาสัมพันธ์ให้ผู้บริโภคทราบ เพื่อลดขอบเขตของปัญหา 2.ให้ กสทช.กำหนดเป็นเงื่อนไขการประมูลคลื่น 1800 MHz ที่เดิมมีแผนจะประมูลในเดือนส.ค.นี้ ให้ผู้ชนะการประมูลต้องรับผิดชอบลูกค้าที่ยังคงค้างในระบบภายใต้เงื่อนไข เดิม โดยอาจจะเป็นการว่าจ้างผู้ให้บริการรายเดิมให้บริการต่อก็เป็นได้
อย่างไรก็ตามจากข้อเสนอที่ 2 หาก กสทช. ไม่สามารถกำหนดเป็นเงื่อนไขการประมูลได้ ขอให้ กสทช. เพิ่มช่องทางการโอนย้ายเลขหมายให้แก่ผู้บริโภค เช่นการสามารถโอนย้ายเลขหมายได้ที่เคาน์เตอร์เซอร์วิส ตรวจสอบผู้ให้บริการในขณะนี้ว่าได้มีการส่งข้อความสั้น (SMS) แจ้งเตือนลูกค้าไปจริงหรือไม่ หรือท้ายสุดยังคงเหลือผู้ใช้บริการซึ่งเป็นกลุ่มของผู้ใช้บริการในเลขหมายที่ไม่ค่อยได้มีการใช้งาน ไม่ยอมไปดำเนินการย้าย หรือทิ้งเลขหมายไปแล้วแต่เลขหมายยังคงค้างอยู่ในระบบ และควรเปิดให้มีการโอนย้ายเลขหมายแบบโอนพร้อมกันทุกเลขหมายโดยอัตโนมัติ ซึ่งเป็นวิธีที่ในหลายประเทศนิยมใช้กัน เมื่อพบเจอปัญหาดังกล่าวเช่นเดียวกับประเทศไทย
______________________________________
อนุฯผู้บริโภคชี้กสทช.เพิ่มเงื่อนไขคนชนะประมูล 4G ต้องดูแลลูกค้าเก่ากันซิมดับ
น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)
อนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคฯยื่นข้อเสนอ กสทช. ให้ผู้ชนะจากการประมูลคลื่น 1800 MHzหรือ 4G มีเงื่อนไขต้องดูแลลูกค้าคลื่น 1800 MHz ของทรูมูฟ-ดีพีซี ทั้งหมด ป้องกันซิมดับ หากไม่รีบดำเนินการ
น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า จากกรณีวันที่ 15 ก.ย. 2557 เป็นวันสิ้นสุดของมาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการชั่วคราว กรณีสิ้นสุดการอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่คลื่นความถี่ในย่าน 1800 MHz ส่งผลให้ในวันดังกล่าว ผู้ใช้บริการที่ยังคงค้างอยู่ในระบบ 1800 MHz ราว 4 ล้านเลขหมาย ซึ่งแบ่งเป็นลูกค้าของ บริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด หรือดีพีซีอาจจะใช้งานไม่ได้หรือเกิดกรณีซิมดับขึ้น
ทั้งนี้เพื่อหาทางออกจากปัญหาดังกล่าวเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซิมดับ ทางคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคมจึงมีความเห็น และข้อเสนอประกอบด้วย 1.ควรสนับสนุน กสทช. ในการประชาสัมพันธ์ให้ผู้บริโภคทราบ เพื่อลดขอบเขตของปัญหา 2.ให้ กสทช.กำหนดเป็นเงื่อนไขการประมูลคลื่น 1800 MHz ที่เดิมมีแผนจะประมูลในเดือนส.ค.นี้ ให้ผู้ชนะการประมูลต้องรับผิดชอบลูกค้าที่ยังคงค้างในระบบภายใต้เงื่อนไข เดิม โดยอาจจะเป็นการว่าจ้างผู้ให้บริการรายเดิมให้บริการต่อก็เป็นได้
อย่างไรก็ตามจากข้อเสนอที่ 2 หาก กสทช. ไม่สามารถกำหนดเป็นเงื่อนไขการประมูลได้ ขอให้ กสทช. เพิ่มช่องทางการโอนย้ายเลขหมายให้แก่ผู้บริโภค เช่นการสามารถโอนย้ายเลขหมายได้ที่เคาน์เตอร์เซอร์วิส ตรวจสอบผู้ให้บริการในขณะนี้ว่าได้มีการส่งข้อความสั้น (SMS) แจ้งเตือนลูกค้าไปจริงหรือไม่ หรือท้ายสุดยังคงเหลือผู้ใช้บริการซึ่งเป็นกลุ่มของผู้ใช้บริการในเลขหมายที่ไม่ค่อยได้มีการใช้งาน ไม่ยอมไปดำเนินการย้าย หรือทิ้งเลขหมายไปแล้วแต่เลขหมายยังคงค้างอยู่ในระบบ และควรเปิดให้มีการโอนย้ายเลขหมายแบบโอนพร้อมกันทุกเลขหมายโดยอัตโนมัติ ซึ่งเป็นวิธีที่ในหลายประเทศนิยมใช้กัน เมื่อพบเจอปัญหาดังกล่าวเช่นเดียวกับประเทศไทย
'จากการที่ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) มีคำสั่งชะลอการประมูลคลื่น 1800 MHz ออกไป จึงเป็นที่แน่นอนแล้วว่าการประมูลจะเกิดขึ้นไม่ทันกำหนดเดิมในเดือนส.ค.นี้ แน่นอน และจะส่งผลเกิดกรณีซิมดับในเดือนก.ย.เช่นกัน แต่เรื่องนี้จะโทษ คสช. ไม่ได้ เพราะก่อนหน้านี้ กสทช. มีเวลามาเป็นปีแต่กลับยังไม่สามารถเข้ามาจัดการกับปัญหานี้'
ขณะที่ เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ผู้อำนวยการวิจัยด้านการบริหารจัดการระบบเศรษฐกิจ(ทีดีอาร์ไอ) ในฐานะคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม กสทช. กล่าวว่า จากสถิติเรื่องร้องเรียนที่เกี่ยวข้องกับการโอนย้ายแบบคงสิทธิเลขหมายของผู้ บริโภค พบว่า ตั้งแต่วันที่ 16 ก.ย. 2556-14 มิ.ย.2557 มีเรื่องร้องเข้ามาจำนวนกว่า 300 เรื่อง โดยปัญหาส่วนมากพบว่า ก่อนหน้านี้ไม่เคยทราบว่าจะต้องโอนย้ายเพื่อไม่ให้ซิมดับ ,ในการโอนย้ายเลขหมายแบบคงสิทธิเลขหมายเดิม ผู้ให้บริการในขณะนั้นมักอ้าง ว่าต้องติดสัญญาให้บริการต่ออีก 90 วัน และจุดรับบริการโอนย้ายเลขหมายมีไม่เพียงพอ เป็นต้น
http://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9570000074107&Keyword=%A1%CA%B7
ไม่มีความคิดเห็น: