Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

01 มิถุนายน 2557 ไทยคม ระบุ แม้ช่องทีวีดาวเทียม "ฟรีทูแอร์" ยังโดนปิด ( ก็ไม่กระทบธุรกิจ ) แต่ละช่องยื่นขอใบอนุญาตเพย์ทีวีเพื่อกลับมาออกอากาศใหม่ได้ ผู้ผลิตจะลำบากเพราะไม่มีรายได้


ประเด็นหลัก


นายเอกชัย ภัคดุรงค์ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการอาวุโส ส่วนงานกิจการองค์กร บมจ.ไทยคม กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า บริษัทไม่ได้มีผลกระทบจากการที่ช่องรายการทีวีดาวเทียมจำนวนหนึ่งยังไม่สามารถออกอากาศได้ และต้องปรับรูปแบบการให้บริการจากบริการ "ฟรีทูแอร์" มาเป็นการให้บริการแบบบอกรับสมาชิกหรือเพย์ทีวี เพื่อให้กลับมาออกอากาศได้ตามประกาศของ คสช. เนื่องจากเป็นเพียงการตรวจสอบและจัดระเบียบเนื้อหารายการตามกระบวนการออกใบ อนุญาตของ กสทช.เท่านั้น

"แม้ช่องลดลงแต่ในอนาคตช่องใหม่มาขอใบอนุญาตเพิ่มได้ ส่วนช่องที่ยังมีการระงับการออกอากาศจากคำสั่งของ คสช. ก็ไม่ได้ส่งผลกระทบกับบริษัทเท่าใดเนื่องจากมีจำนวนไม่มาก ทั้งแต่ละช่องยื่นขอใบอนุญาตเพย์ทีวีเพื่อกลับมาออกอากาศใหม่ได้ แต่ผู้ผลิตจะลำบากเพราะไม่มีรายได้"

สำหรับภาพรวมธุรกิจบรอดแคสติ้งยังเติบโตได้ดี และมีแนวโน้มว่าในอีก 3-4 ปีนี้อาจโตเพิ่มเป็นเท่าตัว เนื่องจากการแข่งขันของแต่ละช่องรายการในการนำเสนอคอนเทนต์ความคมชัดสูง (เอชดี) จะพัฒนาไปสู่อัลตราเอชดีในอนาคต ซึ่งจำเป็นต้องใช้ช่องสัญญาณดาวเทียมมากกว่าความคมชัดปกติ (เอสดี) 3-4 เท่า ทำให้ความต้องการช่องสัญญาณดาวเทียมในประเทศไทยและภูมิภาคใกล้เคียงการเติบโตสูงมาก

______________________________________

ปิด"ฟรีทูแอร์"ชั่วคราวไม่กระทบ "ไทยคม"โยกดาวเทียมรับเอชดี



"ไทยคม" ยังมองบวก แม้ช่องทีวีดาวเทียม "ฟรีทูแอร์" ยังโดนปิด ระบุแค่จัดระเบียบธุรกิจก่อนเปิดทางรายใหม่ยื่นขอใบอนุญาต ได้เตรียมดาวเทียมสำรองรอสร้างไทยคม 8 เดินหน้าเคลียร์ทราฟฟิก

ไทยคม 5 และ 6 เพิ่มทรานสปอนเดอร์บรอดแคสต์รับเทรนด์เอชดี

นายเอกชัย ภัคดุรงค์ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการอาวุโส ส่วนงานกิจการองค์กร บมจ.ไทยคม กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า บริษัทไม่ได้มีผลกระทบจากการที่ช่องรายการทีวีดาวเทียมจำนวนหนึ่งยังไม่สามารถออกอากาศได้ และต้องปรับรูปแบบการให้บริการจากบริการ "ฟรีทูแอร์" มาเป็นการให้บริการแบบบอกรับสมาชิกหรือเพย์ทีวี เพื่อให้กลับมาออกอากาศได้ตามประกาศของ คสช. เนื่องจากเป็นเพียงการตรวจสอบและจัดระเบียบเนื้อหารายการตามกระบวนการออกใบ อนุญาตของ กสทช.เท่านั้น

"แม้ช่องลดลงแต่ในอนาคตช่องใหม่มาขอใบอนุญาตเพิ่มได้ ส่วนช่องที่ยังมีการระงับการออกอากาศจากคำสั่งของ คสช. ก็ไม่ได้ส่งผลกระทบกับบริษัทเท่าใดเนื่องจากมีจำนวนไม่มาก ทั้งแต่ละช่องยื่นขอใบอนุญาตเพย์ทีวีเพื่อกลับมาออกอากาศใหม่ได้ แต่ผู้ผลิตจะลำบากเพราะไม่มีรายได้"

สำหรับภาพรวมธุรกิจบรอดแคสติ้งยังเติบโตได้ดี และมีแนวโน้มว่าในอีก 3-4 ปีนี้อาจโตเพิ่มเป็นเท่าตัว เนื่องจากการแข่งขันของแต่ละช่องรายการในการนำเสนอคอนเทนต์ความคมชัดสูง (เอชดี) จะพัฒนาไปสู่อัลตราเอชดีในอนาคต ซึ่งจำเป็นต้องใช้ช่องสัญญาณดาวเทียมมากกว่าความคมชัดปกติ (เอสดี) 3-4 เท่า ทำให้ความต้องการช่องสัญญาณดาวเทียมในประเทศไทยและภูมิภาคใกล้เคียงการเติบโตสูงมาก

ขณะที่แผนการยิงดาวเทียมของไทยคมยังไปได้ตามแผนที่วางไว้ โดยปลาย ก.ค.นี้จะยิงไทยคม 7 ขึ้นสู่วงโคจรที่ 120 องศาตะวันออกและมีพื้นที่ให้บริการครอบคลุมอินโดจีนและเอเชียใต้ เป็นดาวเทียมที่เน้นรองรับทราฟฟิกด้านโทรคมนาคม จะใช้ด้านบรอดแคสต์ได้เฉพาะส่วนที่เป็นฟีดเดอร์ลิงก์ที่สถานีโทรทัศน์ใช้เชื่อมสัญญาณออกอากาศ แต่เมื่อขึ้นสู่วงโคจรแล้วบริษัทจะย้ายทราฟฟิกด้านโทรคมนาคมจากดาวเทียมไทยคม 5 และ 6 มาใช้บนไทยคม 7 ทำให้ดาวเทียมไทยคม 5 และ 6 มีช่องสัญญาณสำหรับการใช้งานด้านบรอดแคสต์เพิ่มขึ้น

ต้นปี 2559 จะยิงไทยคม 8 ที่ 78.5 องศาตะวันออก ครอบคลุมอาเซียน เอเชียใต้ และแอฟริกา เป็นดาวเทียมบรอดแคสต์มีช่องเคยูแบนด์ 24 ทรานสปอนเดอร์ รองรับทีวีดิจิทัล ช่องทีวีดาวเทียมแบบเอชดี

"การยื่นไฟลิ่งไทยคม 8 อยู่ในกระบวนการของไอทียู ขณะที่การเจรจาเจ้าของดาวเทียมในวงโคจรใกล้เคียงไม่มีปัญหา กำลังดูว่าจะหาดาวเทียมชั่วคราวมาไว้ในตำแหน่งไทยคม 8 ระหว่างรอยิงได้หรือไม่"



http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1404178369

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.