Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

07 มิถุนายน 2557 กสทช.ประวิทย์ ระบุ ตามกฎหมาย ใครไม่เปลี่ยนโปรโมชั่นค่ายมือถือต้องลดราคาลง และ ไม่รู้สึกว่าประชาชนรู้สึกว่ามันถูกลง และคนใช้ 3G ไม่ได้เน้นที่ราคาอย่างเดียว เน้นคุณภาพด้วย


ประเด็นหลัก


ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กสทช.ด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม กล่าวว่า ก่อนมี 3G แต่ละปีค่าบริการลดลงอยู่แล้ว 7-10% พอประมูล 3G แล้วไปกำหนดให้ค่ายมือถือต้องลด 15% จะบอกว่าลดราคาได้จริงหรือไม่ขึ้นอยู่กับวิธีการคำนวณ โดยส่วนตัวไม่เห็นด้วยที่ค่าย

มือถือบอกว่า มีบริการเสริมให้มากขึ้นคือลดราคาทั้งที่ตามกฎหมาย ใครไม่เปลี่ยนโปรโมชั่นต้องลดราคาลง อยากให้ผู้บริโภคถามตนเองว่าจ่ายถูกลงไหม ถ้าไม่ แสดงว่านโยบายมีปัญหา

"ผมไม่รู้สึกว่าประชาชนรู้สึกว่ามันถูกลง และคนใช้ 3G ไม่ได้เน้นที่ราคาอย่างเดียว เน้นคุณภาพด้วย ถ้าวัดความเร็วโมบายอินเทอร์เน็ตจะพบว่า 3G ไม่ได้ทำให้เร็วต่างกันผิดหูผิดตา แต่พบกรณีที่ผู้บริโภคไม่เท่าทันเทคโนโลยีมากขึ้น เช่น กรณีบิลช็อกจากเกมคุกกี้รัน และพยายามผลักดันให้สำนักงาน กสทช. แยกค่าบริการโทร.ออก, ส่งข้อความ และโมบายอินเทอร์เน็ตออกจากกัน เพื่อให้เข้าถึงราคาที่แท้จริง"

ปัจจุบันแต่ละค่ายมือถือจะส่งแพ็กเกจให้ กสทช.ตรวจสอบ ภายหลังจากทำตลาดไปแล้วจึงควรแก้ไขใหม่ เช่นเดียวกับปัญหาการคุ้มครองผู้บริโภคเรื่องที่มีประกาศ กสทช.กำหนด และบอร์ด กทค. (คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม) มีมติไปแล้ว เช่น การเก็บค่าบริการเกินเพดานขั้นสูงที่กฎหมายกำหนดก็ควรเป็นบรรทัดฐานที่จะคุ้มครองผู้บริโภคเป็นการทั่วไป ไม่ใช่ต้องให้ผู้บริโภคทำเรื่องร้องเรียนให้ กทค.สั่งค่ายมือถือให้คืนเงินเป็นราย ๆ แบบที่เป็นอยู่ ซึ่งสำนักงาน กสทช.แจ้งว่าเตรียมนำประเด็นนี้เป็นวาระให้บอร์ด กทค.พิจารณาแล้ว แต่ยังไม่เสนอมาสักที

______________________________________

"1 ปี 3G มีอะไรเปลี่ยนไปบ้าง" ค่าบริการ (ไม่)ถูกลง-บริการดีขึ้น ?


ผ่านไปปีกว่า หลังค่ายมือถือได้ใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อนำไปให้บริการ 3G จาก กสทช. ตั้งแต่ 7 ธ.ค. 2555 ที่ผ่านมา พร้อมเงื่อนไขแนบท้ายใบอนุญาตลดค่าบริการลง 15% โครงการติดตามนโยบายสื่อและโทรคมนาคม (NBTC Policy Watch) เปิดเวทีเสวนา "สถานการณ์ผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมภายใต้การกำกับของ กสทช.ทั้งซิมดับ 3G และคุกกี้รัน" รวมถึงเปิดรายงานผลการศึกษาเรื่องค่าโทร. 3G 1 ปีเปลี่ยนไปอย่างไร

พรเทพ เบญญาอภิกุล อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า เครือข่าย 3G เริ่มให้บริการ มิ.ย. 2556 แต่จากการศึกษาเทียบระหว่างค่าบริการแพ็กเกจรายเดือน (โพสต์เพด) ณ มิ.ย. 2557 กับ พ.ค. 2556 มีเพียง "ดีแทค ไตรเน็ต" ที่ลดลงมากกว่า 15% อยู่ที่ประมาณ 24% ขณะที่ "ทรูมูฟ เอช" ลดลง 14% ตามด้วย "เอไอเอส 3G" ลดเพียง 8% และในรอบปีที่ผ่านมา แพ็กเกจโพสต์เพดของแต่ละค่ายเปลี่ยนแปลงไม่มากนัก

"กสทช.ออกข่าวบ่อยว่า 3G ลดราคามากกว่า 15% แต่ไม่เคยเปิดเผยว่า แยกค่าบริการต่าง ๆ ออกจากแพ็กเกจที่เหมารวมทุกบริการไว้อย่างไร การประกาศอัตราอ้างอิงของ กสทช.ที่แยกเป็นรายบริการไม่สอดคล้องกับความจริงที่แต่ละค่ายคิดค่าบริการผูกรวมกันทั้งบริการเสียงและข้อความทำให้ผู้บริโภคและ กสทช.ไม่สามารถตรวจสอบว่าแพ็กเกจที่ใช้คิดค่าบริการเกินกว่าอัตราอ้างอิง"

นอกจากนี้ แพ็กเกจที่มีการระบุว่า ลดค่าบริการลงมามากมักเป็นแพ็กเกจที่ผู้บริโภคไม่ค่อยเลือกใช้ เช่น ที่มีรายเดือนแพง และใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงได้ 2-3 GB ขณะที่ผู้ได้ประโยชน์น้อยสุดจากนโยบายลดราคาลง 15% คือกลุ่มที่ใช้งานเสียง (Voice) มาก ๆ เพราะมักโทร.ออกมากกว่าจำนวนนาทีในแพ็กเกจ ซึ่งโอเปอเรเตอร์ทุกรายคิดค่าโทร.ส่วนเกินนาทีละ 1.25-1.50 บาท เกินกว่าอัตราค่าบริการขั้นสูงที่ กสทช.กำหนดไว้ 99 สตางค์ทั้งสิ้น

"การกำหนดให้ค่ายมือถือลดค่าบริการ 15% เพื่อชดเชยผลประโยชน์ที่สังคมรู้สึกสูญเสียจากการประมูล 3G กสทช.จึงควรกำกับทุกแพ็กเกจอย่างจริงจัง ไม่ใช่ผลักภาระให้ผู้บริโภคด้วยข้ออ้างว่าผู้บริโภคต้องฉลาดเลือก"

ด้าน ชัยยุทธ มังศรี ผู้อำนวยการกลุ่มงานรับเรื่องร้องเรียน และคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม สำนักงาน กสทช. เปิดเผยว่า ปริมาณเรื่องร้องเรียนใน 1 ปีที่ผ่านมา ส่วนใหญ่เป็นปัญหา

คุณภาพการให้บริการ เช่น การขยายโครงข่ายให้ครอบคลุมที่ กสทช.กำหนดให้ครอบคลุมภายใน 2 ปี ซึ่งเอไอเอส 3G ขยายได้มากที่สุด รองลงมาคือ ดีแทค ไตรเน็ต และทรูมูฟ เอช แต่สัญญาณการให้บริการยังมีปัญหาในตึกสูงและในต่างจังหวัด และมีผู้บริโภคไม่ทราบว่าพื้นที่ของตนโครงข่ายยังไปไม่ถึง ปัญหาค่าบริการมีไม่มากนัก

ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กสทช.ด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม กล่าวว่า ก่อนมี 3G แต่ละปีค่าบริการลดลงอยู่แล้ว 7-10% พอประมูล 3G แล้วไปกำหนดให้ค่ายมือถือต้องลด 15% จะบอกว่าลดราคาได้จริงหรือไม่ขึ้นอยู่กับวิธีการคำนวณ โดยส่วนตัวไม่เห็นด้วยที่ค่าย

มือถือบอกว่า มีบริการเสริมให้มากขึ้นคือลดราคาทั้งที่ตามกฎหมาย ใครไม่เปลี่ยนโปรโมชั่นต้องลดราคาลง อยากให้ผู้บริโภคถามตนเองว่าจ่ายถูกลงไหม ถ้าไม่ แสดงว่านโยบายมีปัญหา

"ผมไม่รู้สึกว่าประชาชนรู้สึกว่ามันถูกลง และคนใช้ 3G ไม่ได้เน้นที่ราคาอย่างเดียว เน้นคุณภาพด้วย ถ้าวัดความเร็วโมบายอินเทอร์เน็ตจะพบว่า 3G ไม่ได้ทำให้เร็วต่างกันผิดหูผิดตา แต่พบกรณีที่ผู้บริโภคไม่เท่าทันเทคโนโลยีมากขึ้น เช่น กรณีบิลช็อกจากเกมคุกกี้รัน และพยายามผลักดันให้สำนักงาน กสทช. แยกค่าบริการโทร.ออก, ส่งข้อความ และโมบายอินเทอร์เน็ตออกจากกัน เพื่อให้เข้าถึงราคาที่แท้จริง"

ปัจจุบันแต่ละค่ายมือถือจะส่งแพ็กเกจให้ กสทช.ตรวจสอบ ภายหลังจากทำตลาดไปแล้วจึงควรแก้ไขใหม่ เช่นเดียวกับปัญหาการคุ้มครองผู้บริโภคเรื่องที่มีประกาศ กสทช.กำหนด และบอร์ด กทค. (คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม) มีมติไปแล้ว เช่น การเก็บค่าบริการเกินเพดานขั้นสูงที่กฎหมายกำหนดก็ควรเป็นบรรทัดฐานที่จะคุ้มครองผู้บริโภคเป็นการทั่วไป ไม่ใช่ต้องให้ผู้บริโภคทำเรื่องร้องเรียนให้ กทค.สั่งค่ายมือถือให้คืนเงินเป็นราย ๆ แบบที่เป็นอยู่ ซึ่งสำนักงาน กสทช.แจ้งว่าเตรียมนำประเด็นนี้เป็นวาระให้บอร์ด กทค.พิจารณาแล้ว แต่ยังไม่เสนอมาสักที

และควรมีหน่วยงานรับเรื่องร้องเรียนในกิจการโทรคมนาคมโดยเฉพาะ อาทิ ออสเตรเลียที่มีองค์กรผู้ตรวจการที่รับดูแลเรื่องร้องเรียนโดยเฉพาะ

สุภัทรา นาคะผิว อนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม กล่าวว่า กสทช.ควรปฏิรูปกลไกจัดการเรื่องร้องเรียนให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด ถ้ามีบรรทัดฐานในการตัดสินอยู่แล้ว ก็ควรทำให้เป็นประกาศเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคเป็นการทั่วไป และควรทำรายงานสรุปการจัดการเรื่องร้องเรียนที่ล่าช้า เช่น ช้าเกิน 30 วัน, เกิน 90 วัน, 1 ปี, 2 ปี



http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1404459209

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.