09 กรกฎาคม 2557 Ookbee เร่งยอดบริการ ebook ใช้กลยุทธ"บุฟเฟต์"เร่งให้คนกลับมาใช้บริการ!! ล่าสุด ทรานสคอสมอสผู้ร่วมทุนรายใหม่จากญี่ปุ่น เข้ามาถือหุ้นอีก 11.11% ทำให้ INTOUCH ถือหุ้น นอุ๊กบีลดลงจาก 25.03% เหลือ 22.26%
ประเด็นหลัก
กลับมาที่การทำตลาด "อีบุ๊ก" ในประเทศไทย เมื่อต้นปีที่ผ่านมา อุ๊กบีเพิ่งปรับรูปแบบบริการ "แมกาซีนออนไลน์" จากเดิมขายเป็นเล่ม จัดเก็บค่าบริการเป็นรายปี มาเป็นขายเหมาแบบ "บุฟเฟต์" คิดค่าบริการรายเดือนตั้งแต่ 89-299 บาท อ่านดิจิทัลแมกาซีนได้ไม่อั้น มีนิตยสารให้เลือกได้ 150 หัว ทั้งใหม่และเก่าจากต่างประเทศและในประเทศ ซึ่งการปรับโมเดลธุรกิจจากเดิมขายเป็นเล่มมาเป็นขายเหมา ทำให้ผู้บริโภคชาวไทยหันมาใช้บริการมากขึ้น
"โปรโมชั่นบุฟเฟต์เป็นสิ่งที่เราเน้นเป็นพิเศษในปีนี้และในไตรมาส 3 จะเพิ่มออดิโอบุ๊ก หรือหนังสือเสียงเข้ามาให้บริการด้วย รวมถึงปรับปรุงรูปแบบคอนเทนต์ และมองถึงการขยายไปยังธุรกิจอีคอมเมิร์ซด้วย ปัจจุบันการดาวน์โหลดอีบุ๊กได้รับความนิยมมากขึ้น ของอุ๊กบีเองเป็นนิตยสารเยอะกว่าหนังสือเล่ม ที่ขายดีก็จะเป็นนิตยสารที่ขายดีบนแผงหนังสือปกติอยู่แล้ว รวมถึงนิตยสารผู้ชาย และแฟชั่น"
สำหรับมาร์เก็ตแชร์ "อีบุ๊ค" ในไทย ปัจจุบันยังไม่มีตัวเลขที่แน่ชัด แต่จากการประเมินจากอันดับและรายได้ "อุ๊กบี" ยังเป็นอันดับ 1 ด้วยส่วนแบ่ง 80%
______________________________________
"อุ๊คบี" ส่ง "บุฟเฟต์" บูมอีบุ๊ก เล็งขยายธุรกิจบุก "อีคอมเมิร์ซ"
เทรนด์ "ดิจิทัล" ทำให้หนังสือเล่ม ทั้งพ็อกเกตบุ๊ก และแมกาซีน แปลงร่างเพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ และปรับตัวให้สอดรับกับพฤติกรรมผู้บริโภคยุคใหม่ในบ้านเรา "อุ๊กบี" (OOKBEE) จัดได้ว่าเป็นผู้บุกเบิกตลาดหนังสือออนไลน์ (ชื่ออุ๊กบีก็ผวนมาจากคำว่า "อีบุ๊ก") โดยเป็นผู้ให้บริการช่องทางการนำเสนอสิ่งตีพิมพ์ดิจิทัล (Digital Publication Platform) และหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-booking) และเป็นรายแรกในโครงการ "อินเว้นท์" ที่กลุ่มอินทัชเข้าไปถือหุ้นด้วย 25%
เมื่อเร็ว ๆ นี้ยังได้ผู้ร่วมทุนรายใหม่คือ บริษัท ทรานสคอสมอส จำกัด ประเทศญี่ปุ่น เข้ามาถือหุ้นอีก 11.11% โดยการเพิ่มทุนด้วยมูลค่าการลงทุน 5 ล้านเหรียญสหรัฐ ทำให้สัดส่วนการถือหุ้นของ "อินทัช" ในอุ๊กบีลดลงจาก 25.03% เหลือ 22.26%
ณัฐวุฒิ พึงเจริญพงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อุ๊คบี จำกัด กล่าวว่า การร่วมทุนกับบริษัทญี่ปุ่นที่มีความเชี่ยวชาญด้านไอทีจะทำให้บริษัทได้องค์ความรู้ใหม่ ๆ ในเวลาอันรวดเร็ว และยังสร้างมูลค่าจากฐานข้อมูล และการใช้เครือข่ายในการเพิ่มศักยภาพธุรกิจสอดคล้องกับแผนการขยายธุรกิจในต่างประเทศของอุ๊กบีด้วย
เพราะ ทรานสคอสมอส ในญี่ปุ่น ดำเนินธุรกิจให้บริการเอาต์ซอร์ซด้านไอทีสำหรับธุรกิจอีคอมเมิร์ซ อาทิ บริการคอลเซ็นเตอร์, รับจ้างบริหารระบบธุรกิจ, บริการด้านการตลาดระบบดิจิทัล เป็นต้น
กลับมาที่การทำตลาด "อีบุ๊ก" ในประเทศไทย เมื่อต้นปีที่ผ่านมา อุ๊กบีเพิ่งปรับรูปแบบบริการ "แมกาซีนออนไลน์" จากเดิมขายเป็นเล่ม จัดเก็บค่าบริการเป็นรายปี มาเป็นขายเหมาแบบ "บุฟเฟต์" คิดค่าบริการรายเดือนตั้งแต่ 89-299 บาท อ่านดิจิทัลแมกาซีนได้ไม่อั้น มีนิตยสารให้เลือกได้ 150 หัว ทั้งใหม่และเก่าจากต่างประเทศและในประเทศ ซึ่งการปรับโมเดลธุรกิจจากเดิมขายเป็นเล่มมาเป็นขายเหมา ทำให้ผู้บริโภคชาวไทยหันมาใช้บริการมากขึ้น
"โปรโมชั่นบุฟเฟต์เป็นสิ่งที่เราเน้นเป็นพิเศษในปีนี้และในไตรมาส 3 จะเพิ่มออดิโอบุ๊ก หรือหนังสือเสียงเข้ามาให้บริการด้วย รวมถึงปรับปรุงรูปแบบคอนเทนต์ และมองถึงการขยายไปยังธุรกิจอีคอมเมิร์ซด้วย ปัจจุบันการดาวน์โหลดอีบุ๊กได้รับความนิยมมากขึ้น ของอุ๊กบีเองเป็นนิตยสารเยอะกว่าหนังสือเล่ม ที่ขายดีก็จะเป็นนิตยสารที่ขายดีบนแผงหนังสือปกติอยู่แล้ว รวมถึงนิตยสารผู้ชาย และแฟชั่น"
สำหรับมาร์เก็ตแชร์ "อีบุ๊ค" ในไทย ปัจจุบันยังไม่มีตัวเลขที่แน่ชัด แต่จากการประเมินจากอันดับและรายได้ "อุ๊กบี" ยังเป็นอันดับ 1 ด้วยส่วนแบ่ง 80%
"การเติบโตปีนี้ตั้ง เป้าไว้เท่าตัวทุกปี ก็จะตั้งเป้าไว้แบบนี้ ที่ผ่านมาก็ทำได้ สินค้าดิจิทัลไม่ได้กระทบจากสถานการณ์การเมืองเท่าใดนัก ที่พบคือมีรายได้จากต่างประเทศเข้ามาช่วยเสริมได้ แม้ในครึ่งปีแรกจะยังช้ากว่าที่คาดไว้ ครึ่งปีแรกหลังเปลี่ยนมาใช้โปรโมชั่นแบบบุฟเฟต์รายได้จะลดลง เมื่อก่อนขายได้เล่มละ 60-70 บาท ตอนนี้อ่านได้หมดในราคาบุฟเฟต์จึงต้องทดแทนด้วยจำนวนผู้ใช้ที่เยอะขึ้น ซึ่งเริ่มกลับเข้ามาบ้างแล้ว คาดว่าช่วงครึ่งปีหลังจะโตขึ้นอีก"
"ณัฐวุฒิ" พูดถึงการแข่งขันในตลาดอีบุ๊กด้วยว่าค่อนข้างสูง เนื่องจากสำนักพิมพ์ต่าง ๆ เริ่มเข้ามาทำกันแทบทุกเจ้าแล้ว เช่น อมรินทร์, ซีเอ็ด, นายอินทร์ และเอเซียบุ๊คทำให้ดีกรีการแข่งขันสูงขึ้นมาก จากจำนวนผู้ใช้ดีไวซ์ และจำนวนคอนเทนต์เพิ่มขึ้น
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1404899747
ไม่มีความคิดเห็น: