10 กรกฎาคม 2557 สิงคโปร์ผ่านกฎหมายบล็อกเว็บเถื่อน!! โดยให้ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ที่แท้จริง สามารถบังคับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตปิดกั้นเว็บไซต์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ได้อย่างทันที
ประเด็นหลัก
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ของสิงคโปร์ (Singapore's Copyright Act) เดินตามอย่างกฎหมายการปราบปรามผู้ที่ละเมิดลิขสิทธิ์บนโลกออนไลน์ของประเทศอังกฤษ ที่เปิดโอกาสให้ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ที่แท้จริง สามารถบังคับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตปิดกั้นเว็บไซต์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ได้อย่างทันที โดยกฎหมายฉบับนี้คาดว่าจะสามารถบังคับใช้ได้ในปลายเดือนสิงหาคมนี้ เจ้าของลิขสิทธิ์ที่ได้รับผลกระทบสามารถอ้างอิงกฎหมายนี้ในขั้นตอนของศาลสิงคโปร์ได้ โดยผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตไม่สามารถที่จะปฏิเสธไม่ระงับเว็บไซต์ดังกล่าวได้ ต่างจากเมื่อก่อนที่ให้เจ้าของลิขสิทธิ์ต้องจัดทำหนังสือ เพื่อแจ้งให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตรับทราบ และผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตสามารถปฏิเสธการปิดกั้นเว็บไซต์นั้นๆ ได้
______________________________________
สิงคโปร์ผ่านกฎหมายบล็อกเว็บเถื่อน
สิงคโปร์ผ่านกฎหมายบล็อกเว็บเถื่อนเป็นผลสำเร็จ หลังจากมีความพยายามแก้พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ของสิงคโปร์ (Singapore's Copyright Act) เมื่อช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา กฎหมายดังกล่าวครอบคลุมถึงการอนุญาตให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตสามารถปิดกั้นเว็บไซต์เถื่อนจากต่างประเทศอย่าง Pirate Bay เว็บโหลดบิทที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก
อินทรานี ราจาห์ (Indranee Rajah) รัฐมนตรีอาวุโสแห่งรัฐประจำกระทรวงกฎหมายกล่าวว่า “กฎหมายใหม่นี้จะช่วยให้ผู้ที่เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ที่แท้จริง ปกป้องสิทธิของตัวเองบนโลกออนไลน์ได้มากขึ้น”
ทั้งนี้ การละเมิดลิขสิทธิ์บนโลกออนไลน์ส่งผลกระทบต่อการสร้างสรรค์เนื้อหาบนโลกออนไลน์เป็นอย่างมาก โดยสิงคโปร์ นับเป็นประเทศต้นๆ ของโลกที่มีอุตสาหกรรมด้านไอทีเจริญเติบโต และสร้างรายได้ให้แก่ประเทศเป็นกอบเป็นกำ
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ของสิงคโปร์ (Singapore's Copyright Act) เดินตามอย่างกฎหมายการปราบปรามผู้ที่ละเมิดลิขสิทธิ์บนโลกออนไลน์ของประเทศอังกฤษ ที่เปิดโอกาสให้ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ที่แท้จริง สามารถบังคับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตปิดกั้นเว็บไซต์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ได้อย่างทันที โดยกฎหมายฉบับนี้คาดว่าจะสามารถบังคับใช้ได้ในปลายเดือนสิงหาคมนี้ เจ้าของลิขสิทธิ์ที่ได้รับผลกระทบสามารถอ้างอิงกฎหมายนี้ในขั้นตอนของศาลสิงคโปร์ได้ โดยผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตไม่สามารถที่จะปฏิเสธไม่ระงับเว็บไซต์ดังกล่าวได้ ต่างจากเมื่อก่อนที่ให้เจ้าของลิขสิทธิ์ต้องจัดทำหนังสือ เพื่อแจ้งให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตรับทราบ และผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตสามารถปฏิเสธการปิดกั้นเว็บไซต์นั้นๆ ได้
แต่กระนั้นการสกัดกั้นเว็บไซต์ดังกล่าวก็เป็นเพียงการสกัดกั้นเฉพาะทาง VPN เท่านั้น ไม่ได้เป็นการปิดเว็บไซต์จากต้นทางที่อาจจะต้องใช้กฎหมายระหว่างประเทศเข้าดำเนินคดีต่อประเทศที่เว็บวางเซิร์ฟเวอร์ไว้ แนวทางนี้จึงเป็นเพียงการสกัดไม่ให้ผู้ใช้ทั่วไปเข้าเว็บไซต์ผ่านหน้าต่าง URL เท่านั้น ซึ่งสำหรับผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีจนสามารถเลี่ยงเส้นทาง VPN ได้ก็อาจจะสามารถเจาะทะลุการปิดกั้นเว็บไซต์รูปแบบนี้ได้โดยง่าย
http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9570000077975
ไม่มีความคิดเห็น: