Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

14 กรกฎาคม 2557 (ปฏิบัติการคสช.ล้างบางการสื่อสาร) กสทช. เชิญโครงข่ายทั้งหมด 19 โครงข่าย จากทั้งหมด 21 โครงข่าย ห้ ผู้ประกอบการต้องปรับตัว โดยรวมตัวกันเพื่อช่วยกันกำกับดูแลเนื้อหา การโฆษณาหลอกลวง


ประเด็นหลัก


จึงได้เชิญโครงข่ายทั้งหมด 19 โครงข่าย จากทั้งหมด 21 โครงข่าย ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการสำหรับให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์เข้าร่วมประชุมกับคณะอนุกรรมการฯ เพื่อให้มีแนวทางในการคุ้มครองผู้บริโภค ที่จะต้องรับผิดชอบร่วมกับช่องรายการ ที่ได้รับอนุญาตให้ใช้โครงข่ายจากผู้รับใบอนุญาตฯ โดยคณะอนุกรรมได้เสนอให้ ผู้ประกอบการต้องปรับตัว โดยรวมตัวกันเพื่อช่วยกันกำกับดูแลเนื้อหา การโฆษณาหลอกลวง เพราะหากเรื่องมาถึง กสทช. แล้วจะเป็นการใช้ดุลพินิจของกรรมการ ซึ่งหลายฝ่ายอาจมองว่าเป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพสื่อ

______________________________________

?ถกโครงข่ายทีวีดาวเทียมเคเบิลแก้ปัญหาหลอกลวงผู้บริโภค?



?ถกโครงข่ายทีวีดาวเทียมเคเบิลแก้ปัญหาหลอกลวงผู้บริโภค??ถกโครงข่ายทีวีดาวเทียมเคเบิลแก้ปัญหาหลอกลวงผู้บริโภค?
"สุภิญญา" ถกโครงข่ายทีวีดาวเทียมเคเบิล ต้องร่วมรับผิดชอบปัญหาการหลอกลวงผู้บริโภคในช่องดาวเทียม


นางสาว สุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และประธานคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ กล่าวถึงความคืบหน้าสำหรับโครงข่ายกระจายเสียงและโทรทัศน์ สำหรับให้บริการโครงข่ายกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ สำหรับกิจการไม่ใช้คลื่นความถี่ ประเภทบอกรับสมาชิก ตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้มีประกาศฉบับที่ 27 เรื่องการถ่ายทอดการออกอากาศของสถานีวิทยุโทรทัศน์ภาคพื้นดิน ระบบดิจิตอลและสถานีโทรทัศน์ที่ได้รับอนุญาต สัญญา หรือสัมปทานจากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ ได้ให้ผู้ให้บริการโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิกที่ได้รับอนุญาต ออกอากาศได้ตามปกติผ่านทางโครงข่ายระบบผ่านดาวเทียม และเคเบิลแบบบอกรับสมาชิกเท่านั้น

จึงได้เชิญโครงข่ายทั้งหมด 19 โครงข่าย จากทั้งหมด 21 โครงข่าย ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการสำหรับให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์เข้าร่วมประชุมกับคณะอนุกรรมการฯ เพื่อให้มีแนวทางในการคุ้มครองผู้บริโภค ที่จะต้องรับผิดชอบร่วมกับช่องรายการ ที่ได้รับอนุญาตให้ใช้โครงข่ายจากผู้รับใบอนุญาตฯ โดยคณะอนุกรรมได้เสนอให้ ผู้ประกอบการต้องปรับตัว โดยรวมตัวกันเพื่อช่วยกันกำกับดูแลเนื้อหา การโฆษณาหลอกลวง เพราะหากเรื่องมาถึง กสทช. แล้วจะเป็นการใช้ดุลพินิจของกรรมการ ซึ่งหลายฝ่ายอาจมองว่าเป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพสื่อ

ทั้งนี้ แนวทางการกำกับดูแลของ กสทช. หากพบการกระทำที่ผิดกฎหมายจะดำเนินการกับช่อง และหากมียังพบกระทำความผิด จะขอความร่วมมือกับโครงข่ายเพื่อดำเนินการระงับ หรือไม่ให้ออกอากาศ ซึ่งหากโครงข่ายไม่ดำเนินการใดๆ กสทช. ก็มีสิทธิที่จะปรับ เพิกถอนใบอนุญาตโครงข่ายได้เช่นเดียวกัน ดังนั้น จึงขอความร่วมมือในการทำตามเงื่อนไขมาตรฐานสัญญา และดำเนินการตามประกาศ การกระทำที่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคฯ พ.ศ. 2555 โดยเฉพาะในข้อ 5 ที่เกี่ยวข้องกับการโฆษณาสินค้าที่ไม่เอาเปรียบผู้บริโภค

“ผู้ประกอบกิจการโครงข่ายได้เสนอให้ สำนักงานกสทช. ดูแลและกำกับโครงข่ายเถื่อนที่ไม่ได้รับอนุญาตด้วย เพราะทุกวันนี้ผู้ประกอบการทั้งหมดยินยอมเข้ามาอยู่ในระบบดังกล่าวแล้ว ต้องไม่ให้มีคู่แข่งที่ไม่ได้รับใบอนุญาตให้ได้ และผู้ประกอบการส่วนหนึ่งไม่ค่อยเห็นด้วยที่ต้องให้มาแบกรับภาระต้นทุนการกำกับดูแลเนื้อหาที่ไม่มีความเชี่ยวชาญด้านนี้ นอกจากนี้ มีคำถามด้วยว่า กรณีโฆษณาที่รายการจากต่างประเทศส่งมา โดยที่ช่องตัดไม่ได้ จะผิดหรือไม่ อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบกิจการควรจะให้ความสำคัญกับการคุ้มครองผู้บริโภคและดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง” นางสาวสุภิญญา กล่าว




http://www.dailynews.co.th/Content/IT/251933/ถกโครงข่ายทีวีดาวเทียมเคเบิลแก้ปัญหาหลอกลวงผู้บริโภค

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.