Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

15 กรกฎาคม 2557 (ปฏิบัติการคสช.ล้างบางการสื่อสาร) แหล่งข่าวในแวดวงอุตสาหกรรมโทรคมนาคม ระบุ ประกาศ คสช. ให้ส่งเงินประมูลเข้าคลัง ดังกล่าวจะส่งผลให้ กสทช.มีอิสระน้อยลงในการเก็บจัดหาเงินมาเพื่อทำตามวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ที่ตัวเองต้องการ


ประเด็นหลัก



    ขณะที่แหล่งข่าวในแวดวงอุตสาหกรรมโทรคมนาคม แสดงความคิดเห็นกับประกาศ คสช. ให้โอนรายได้การประมูลคลื่นของกสทช.เข้าเป็นรายได้แผ่นดิน ส่วนแผนการใช้จ่ายหากจะมีให้เสนอเป็นงบประมาณรายจ่ายประจำปีแทนในครั้งนี้ ว่า ประกาศดังกล่าวจะส่งผลให้ กสทช.มีอิสระน้อยลงในการเก็บจัดหาเงินมาเพื่อทำตามวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ที่ตัวเองต้องการ และ คณะกรรมการกองทุนที่มีการจัดตั้งขึ้นมาเองมีคนภายนอกมานั่งการจัดการทำเองไม่ได้เหมือนเดิม และ ประเด็นสุดท้าย การทำอะไรต่อไปจะถูกตรวจสอบ
    "คสช.เข้ามาครั้งนี้เพื่อควบคุมการบริหารจัดการ จากเดิมที่ใช้เงินขององค์กรอย่างอิสระ เปลี่ยนเป็นให้ภาครัฐเป็นคนตัดสินว่าจะใช้อย่างไร"





______________________________________

'กสทช.'ยื้อส่งเงินคืนคลังรองวดหน้า



 กสทช.พร้อมส่งคืนเงินประมูลทีวีดิจิตอลเข้าเป็นรายได้แผ่นดิน "ฐากร"ยันได้ข้อสรุปร่วมคสช.แล้ว ให้กัน 1.1 หมื่นล้านบาท พักไว้ที่กสทช. เพื่อรองรับแผนแจกคูปองซื้อกล่องรับสัญญาณทุกครัวเรือน รอเงินงวดค่าประมูลทีวีดิจิตอลงวดที่เหลืออีกกว่า 3 หมื่นล้านบาทค่อยคืนคลัง วงการโทรคมนาคมชี้ลดความคล่องตัวกสทช.เพื่อผลักดันงานตามวัตถุประสงค์ ขณะ"อนุภาพ"แนะ จัดโครงสร้างใหม่ทั้งระบบ     ตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) มีประกาศฉบับที่ 80/2557 เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 มีสาระสำคัญคือ ให้เงินได้จากการประมูลคลื่นความถี่ก่อนวันที่ประกาศคสช.นี้บังคับใช้ หากยังมิได้นำส่งกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ(กทปส.) ให้นำส่งเป็นรายได้แผ่นดินหลังหักค่าใช้จ่ายแล้ว ภายใน 15 วัน นั้น
    ฐากร ตัณฑสิทธิ์ฐากร ตัณฑสิทธิ์นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า เมื่อประกาศฉบับดังกล่าวออกมาบังคับใช้  จึงได้เดินทางเข้าพบคสช.เพื่อหารือรายละเอียดแนวปฏิบัติในเรื่องนี้แล้ว มีข้อสรุปร่วมโดยความเห็นชอบจากคสช.ว่า เงินได้จากการประมูลช่องทีวีดิจิตอล 24 ช่อง รวม 5.086 หมื่นล้านบาท  ผู้ชนะประมูลได้จ่ายงวดแรกแล้วประมาณ 1.1 หมื่นล้านบาท และนำส่งเข้ากทปส.แล้วนั้น จะกันไว้เพื่อรองรับโครงการแจกคูปองส่วนลดซื้ออุปกรณ์รับชมทีวีดิจิตอล ทุกครัวเรือนทั่วประเทศ ซึ่งอยู่ระหว่างการจัดฟังประชาพิจารณ์ตามภูมิภาคต่าง ๆ เวลานี้

    ส่วนเงินได้จากการประมูลทีวีดิจิตอลอีก 5 งวดที่เหลือ โดยงวดต่อไปจะชำระในราวเดือนมีนาคม-เมษายน 2558 และทยอยจ่ายต่อเนื่องแต่ละปีตามเงื่อนไขประกาศการประมูลทีวีดิจิตอลนั้น จะได้นำส่งเข้าเป็นรายได้แผ่นดินทั้งหมดต่อไป โดยปัจจุบันกทปส.มีงบประมาณแบ่งเป็น 5 บัญชี ประกอบด้วย บัญชีที่ 1 งบประมาณที่โอนมาจากคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม(กทช.)เดิม ประมาณ 3 พันล้านบาท
    เลขาธิการ กสทช. แจงต่อว่า บัญชีที่ 2 รายได้จากค่าปรับในกิจการ วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม  มียอดรวม 396 ล้านบาท บัญชีที่ 3 มาจากรายได้บริการสนับสนุนบริการพื้นฐานโดยทั่วไป (USO) มีวงเงิน 8.4 พันล้านบาท บัญชีที่ 4 รายได้ด้านกิจการโทรคมนาคม และกิจการวิทยุโทรทัศน์ ซึ่งในหมวดนี้ปัจจุบันยังไม่มีเม็ดเงินเข้ามา โดยเงินทั้ง 4 บัญชีนี้ยังอยู่ในงบประมาณของกทปส. ที่พร้อมให้การสนับสนุนโครงการวิจัยต่าง ๆ ที่กสทช.อนุมัติแล้วให้ดำเนินการต่อไป และพร้อมให้กระทรวงการคลังสามารถยืมได้ แต่ต้องไม่กระทบโครงการของกสทช. ส่วนบัญชีที่ 5 เป็นรายได้จากการประมูลทีวีดิจิตอล 5.086 หมื่นล้านบาท ที่จะกันไว้ 1.1 หมื่นล้านบาทไปแจกคูปองส่วนลดกล่องรับสัญญาณทีวีดิจิตอล ส่วนที่เหลือจะโอนเป็นรายได้แผ่นดินดังกล่าว
    ทั้งนี้ กสทช.ยังต้องเตรียมวงเงินสำหรับจ่ายชดเชยให้บมจ.อาร์เอส ในการซื้อสิทธิ์การถ่ายทอดการแข่งขันฟุตบอลโลก(FIFA World Cup 2014) เพื่อเผยแพร่ทางฟรีทีวี ให้ประชาชนได้รับชมครบทั้ง 64 แมตช์ตลอดทัวร์นาเมนต์นี้ โดยเบื้องต้นอนุมัติให้ใช้เงินจากกทปส.ไม่เกิน 427 ล้านบาท  คาดว่าหลังจบเทศกาลฟุตบอลโลกแล้ว จะได้สรุปตัวเลขที่แน่นอนอีกครั้ง
 -ยันเดินหน้าแจกคูปอง
    ส่วนความคืบหน้าการหาข้อสรุปรายละเอียดการแจกคูปองส่วนลดแลกซื้ออุปกรณ์รับชมทีวีดิจิตอลนั้น นายฐากร กล่าวว่า ขณะนี้กสทช.ได้จัดการรับฟังความเห็นประชาชนกรณีการแจกคูปอง ครบทั้ง 4 ภาคแล้ว โดยจะนำความคิดเห็น ข้อเสนอแนะต่าง ๆ ไปรวบรวมเพื่อเสนอเข้าที่ประชุมกสทช. ในวันที่ 23 กรกฎาคมนี้ แล้วทำสรุปส่งให้คสช.ภายในสิ้นเดือนนี้ เพื่อให้พิจารณารายละเอียดสุดท้าย ทั้งราคามูลค่าคูปองที่จะแจก และจำนวนครัวเรือน โดยคาดว่าจะสามารถแจกจ่ายคูปองได้ภายในเดือนกันยายนนี้
    ซึ่งจากการจัดทำประชาพิจารณ์ ความเห็นส่วนใหญ่ต้องการให้แจกคูปองละ 1 พันบาท จำนวน 25 ล้านครัวเรือน คิดเป็นวงเงิน 2.5 หมื่นล้านบาท  จะใช้จากวงเงินกองทุนจาก กทปส. อย่างไรก็ตามในปีแรกคาดว่าจะแจกจ่ายไปยัง 7 ล้านครัวเรือน วงเงินประมาณ 7 พันล้านบาท ตามการขยายโครงข่ายการรับชมทีวีดิจิตอล และจะครอบคลุมทั้งประเทศในปีถัดไป
-กรมบัญชีกลางรอคำสั่ง
    ด้านนายมนัส แจ่มเวหา  อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า ยังไม่ทราบรายละเอียด เกี่ยวกับกรณีที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)ได้ออกประกาศให้โอนเงินประมูลทีวีดิจิตอล กิจการวิทยุ เข้าเป็นรายได้แผ่นดิน โดยกรมจะต้องรอคำสั่งประกาศดังกล่าวอย่างเป็นทางการก่อน จากนั้น จึงจะนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบคำสั่งประกาศ กับกฎหมายเดิมเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว เพื่อนำมาเป็นแนวทางปฏิบัติ ซึ่งจะต้องมีการหารือร่วมกันกับหน่วยงานที่รับผิดชอบ โดยเฉพาะกสทช. ต่อไป
-คนวงในชี้คุมค่าใช้จ่าย
    ขณะที่แหล่งข่าวในแวดวงอุตสาหกรรมโทรคมนาคม แสดงความคิดเห็นกับประกาศ คสช. ให้โอนรายได้การประมูลคลื่นของกสทช.เข้าเป็นรายได้แผ่นดิน ส่วนแผนการใช้จ่ายหากจะมีให้เสนอเป็นงบประมาณรายจ่ายประจำปีแทนในครั้งนี้ ว่า ประกาศดังกล่าวจะส่งผลให้ กสทช.มีอิสระน้อยลงในการเก็บจัดหาเงินมาเพื่อทำตามวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ที่ตัวเองต้องการ และ คณะกรรมการกองทุนที่มีการจัดตั้งขึ้นมาเองมีคนภายนอกมานั่งการจัดการทำเองไม่ได้เหมือนเดิม และ ประเด็นสุดท้าย การทำอะไรต่อไปจะถูกตรวจสอบ
    "คสช.เข้ามาครั้งนี้เพื่อควบคุมการบริหารจัดการ จากเดิมที่ใช้เงินขององค์กรอย่างอิสระ เปลี่ยนเป็นให้ภาครัฐเป็นคนตัดสินว่าจะใช้อย่างไร"
- ควรปฏิรูปโครงสร้าง  
    ด้านนายอนุภาพ ถิรลาภ นักวิชาการอิสระด้านกิจการสื่อสารโทรคมนาคม กล่าวว่า คสช. ควรจะปรับปรุงโครงสร้างกสมช.ใหม่ทั้งระบบ ไม่ควรจำกัดแต่เพียงเรื่องการนำเงินประมูลคลื่นความถี่ และนำส่งรายได้เข้ารัฐแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ควรจะเปลี่ยนตัวบุคคลเพื่อตอบสนองให้กับประชาชน เนื่องจากกฎหมาย พ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคมบางข้อสมบูรณ์อยู่แล้ว และการเปลี่ยนกรอบกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องการจัดสรรคลื่นความถี่ คือ จะถือหลักเรื่องประมูล และเรื่องมูลค่าเชิงตัวเลขเพียงอย่างเดียวไม่ได้ ควรจะถือหลักผลประโยชน์ของประชาชนอยู่ตรงไหน
-"ธเรศ" นั่งประธานกทปส.
    นอกจากให้ส่งรายได้จากการประมูลคลื่นความถี่เข้าเป็นรายได้ของรัฐแล้ว ในประกาศคสช.ดังกล่าวยังระบุให้อำนาจกระทรวงคลัง สามารถยืมเงินกทปส.ได้ และเปลี่ยนองค์ประกอบของคณะกรรมการบริหารกองทุนกปทส.ใหม่ด้วย  นายฐากร กล่าวว่า สำหรับกรณีที่คสช. สั่งตั้งคณะกรรมการบริหาร กทปส. ใหม่ จากบุคคลภายในและภายนอกนั้น ให้มีการเปลี่ยนแปลงตัวกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งมีนายต่อพงศ์ เสลานนท์,รศ.ดร.พนา ทองมีอาคม และ พล.อ.ธงชัย เกื้อสกุล
    โดยคณะกรรมการ กทปส.ใหม่ ตามมาตรา 54 ที่คสช.สั่งแก้ไขเพิ่มเติม  ให้มีคณะกรรมการบริหารกองทุนคณะหนึ่ง ประกอบด้วย ประธานกสทช.(พล.อ.ธเรศ ปุณศรี)  เป็นประธานกรรมการ กรรมการอื่นมีปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี,ปลัดกระทรวงกลาโหม,เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ,ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ,อธิบดีกรมบัญชีกลาง และผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง และ 3. ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 2 คน ซึ่งกรรมการตามข้อ (1) และ (2) เป็นผู้คัดเลือก
    อนึ่ง หลังเกิดคสช.ไม่นาน สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.) ได้ส่งหนังสือถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคสช.  โดยมีประเด็นสำคัญคือ ให้แก้ไขพ.ร.บ. กสทช. เพื่อให้นำส่งรายได้จากการประมูลคลื่นความถี่เข้าเป็นรายได้แผ่นดิน  โดยในการประมูลทีวีดิจิตอลมีวงเงิน 5.086 หมื่นล้านบาท เช่นเดียวกับการประมูลคลื่นความถี่ในกิจการโทรคมนาคม (กรณีประมูลคลื่น 3 จี) ก็ได้ส่งเข้าเป็นรายได้แผ่นดิน  ส่วนจะใช้จ่ายในแผนงานไหนให้กสทช.เสนอเป็นงบประมาณรายจ่ายประจำปี เพื่อให้เป็นไปตามกระบวนการงบประมาณ
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ

http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=238597:2014-07-12-06-08-34&catid=85:2009-02-08-11-22-45&Itemid=417#.U8T-71ZAeuw

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.