Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

21 กรกฎาคม 2557 ช่อง 7 มีการอุทธรณ์เงื่อนไขแนบท้ายใบอนุญาตที่กำหนดให้ชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตว่า มีการเก็บค่าธรรมเนียมซ้ำซ้อน กับช่องที่ออกอากาศในระบบแอนาล็อก

ประเด็นหลัก


       'ช่อง 7 มีการอุทธรณ์เงื่อนไขแนบท้ายใบอนุญาตที่กำหนดให้ชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตว่า มีการเก็บค่าธรรมเนียมซ้ำซ้อน กับช่องที่ออกอากาศในระบบแอนาล็อกซึ่งเป็นสัญญาสัมปทานที่ผู้ประกอบการเดิม จะต้องส่งเงินส่วนแบ่งรายได้ 2% เข้ากระทรวงการคลัง ในขณะที่ระบบใบอนุญาตก็มีการส่งรายได้ 2% เข้ากองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ (USO) หรือ กทปส.'
   
       ทั้งนี้ ช่อง 7 ยังคงต้องจ่ายค่าสัมปทานให้กองทัพบก ปีละ 190 ล้านบาท ส่วนสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 ซึ่งรับสัมปทานจากบริษัท อสมท. จำกัด (มหาชน) ยังไม่มีการยื่นอุทธรณ์มายังกสทช. ส่วนในเรื่องการเปลี่ยนแปลงการถือหุ้น หรือการเพิ่มทุนในผู้ประกอบการทีวีดิจิตอล ก็ได้มอบหมายให้สำนักงานกสทช.ไปวิเคราะห์รายละเอียดต่างๆมาให้ครบถ้วน และพิจารณาว่ามีผู้ประกอบการรายใดที่มีการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นและเพิ่มทุน เบื้องต้นพบว่า ทางกลุ่มเนชั่น ได้แจ้งเพิ่มทุนจาก 1 ล้านบาท เป็น 500 ล้านบาท


______________________________




กสท.พิจารณาสถานีวิทยุออกอากาศเพิ่มเป็น 206 สถานี



       กสท.พิจารณาสถานีวิทยุให้ทดลองประกอบกิจการในการออกอากาศเพิ่มเติมเป็น 206 สถานี พร้อมพิจารณาให้ใบอนุญาตโครงข่ายแบบบอกรับสมาชิกเพิ่มเติม 5 บริษัท ส่วนกรณีช่อง 7 ยื่นอุทธรณ์การไม่ชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตรายปีให้คณะอนุฯด้านกฏหมาย และการดูแลเรื่องสัญญาสัมปทานไปศึกษาแนวทางการแก้ไข
     
       พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวว่า การประชุมบอร์ดเมื่อวันที่ 21 ก.ค.ที่ประชุมมีการพิจารณาให้สถานีวิทยุกระจายเสียงที่ได้รับอนุญาตทดลองประกอบกิจการในการออกอากาศ จากทั้งหมด 4,839 ราย ซึ่งทุกรายต้องปฏิบัติตามคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) อย่างเคร่งครัด เช่นไม่ปลุกปั่นการเมือง ไม่สร้างความขัดแย้งโดยมี จำนวนสถานี ที่ผ่านการตรวจเครื่องส่ง และเข้าสู่กระบวนการรับรองแล้ว จำนวน 1,174 สถานี และ สามารถออกอากาศได้จริงจำนวน 206 สถานี แบ่งเป็นผู้ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงประเภทบริการธุรกิจ 187 สถานี บริการสาธารณะ 15 สถานี และ บริการชุมชน 4 สถานี
     
       ขณะเดียวกันยังได้มีการพิจารณาให้ใบอนุญาตโครงข่ายแบบบอกรับสมาชิกเพิ่มเติมอีก 5 โครงข่าย คือ 1.บริษัท ไดน่าแซท คอมมูนิเคชั่น จำกัด 2.บริษัท ดราโก้ 2009 จำกัด 3.บริษัท แชมป์ ไอ.ที.โมบาย จำกัด 4.บริษัท สามารถวิศวกรรม จำกัด และ 5.บริษัท ไทยแซทเทิลไลท์ทีวี จำกัด จากที่ส่งเข้ามาพิจารณาทั้งหมด 6 ราย ทำให้ปัจจุบันมีผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโครงข่ายดาวเทียมและเคเบิลในลักษณะแบบบอกรับสมาชิกจำนวน 26 ราย มีช่องรายการที่ออกอากาศทั้งหมด 483 ช่อง ซึ่งคิดเป็นการออกอากาศแล้ว 80% จากทั้งหมด 597 ช่อง โดยช่องรายการที่เหลือ114 ช่อง อยู่ระหว่างการพิจารณาของกสทช.
     
       ในส่วนของการประกาศแผนและขับเคลื่อนการให้ใบอนุญาตวิทยุดิจิตอลที่เดิมมีแผนการออกใบอนุญาตในปี 2558 น่าจะเลื่อนออกไป เนื่องจากการปรับใช้เทคโนโลยีในระบบดิจิตอลมาใช้กับวิทยุมีความซับซ้อนกว่าโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล
     
       นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้พิจารณาให้คณะอนุกรรมการที่ปรึกษาด้านกฏหมาย และคณะอนุกรรมการดูแลเรื่องสัญญาสัมปทาน ไปศึกษาแนวทางการแก้ไขเกี่ยวกับกรณีที่ บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด (ช่อง 7) เรื่องแนวทางการแก้ไขปัญหาการหลีกเลี่ยงไม่ชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตรายปีใน การประกอบกิจการโทรทัศน์
     
       'ช่อง 7 มีการอุทธรณ์เงื่อนไขแนบท้ายใบอนุญาตที่กำหนดให้ชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตว่า มีการเก็บค่าธรรมเนียมซ้ำซ้อน กับช่องที่ออกอากาศในระบบแอนาล็อกซึ่งเป็นสัญญาสัมปทานที่ผู้ประกอบการเดิม จะต้องส่งเงินส่วนแบ่งรายได้ 2% เข้ากระทรวงการคลัง ในขณะที่ระบบใบอนุญาตก็มีการส่งรายได้ 2% เข้ากองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ (USO) หรือ กทปส.'
     
       ทั้งนี้ ช่อง 7 ยังคงต้องจ่ายค่าสัมปทานให้กองทัพบก ปีละ 190 ล้านบาท ส่วนสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 ซึ่งรับสัมปทานจากบริษัท อสมท. จำกัด (มหาชน) ยังไม่มีการยื่นอุทธรณ์มายังกสทช. ส่วนในเรื่องการเปลี่ยนแปลงการถือหุ้น หรือการเพิ่มทุนในผู้ประกอบการทีวีดิจิตอล ก็ได้มอบหมายให้สำนักงานกสทช.ไปวิเคราะห์รายละเอียดต่างๆมาให้ครบถ้วน และพิจารณาว่ามีผู้ประกอบการรายใดที่มีการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นและเพิ่มทุน เบื้องต้นพบว่า ทางกลุ่มเนชั่น ได้แจ้งเพิ่มทุนจาก 1 ล้านบาท เป็น 500 ล้านบาท
     
       ที่ประชุมยังได้มีการมอบหมายให้สำนักงานกสทช.ไปยื่นขอขยายเวลาการพิจารณาต่อศาล ปกครองจากกรณีที่บริษัท ทรูวิชั่นส์ จำกัด ได้ยื่นฟ้องประกาศกสทช.ว่าด้วยการจัดเรียงช่องรายการ เนื่องจากทรู ต้องเรียงช่องตามความต้องของการของตัวเอง โดยไม่ต้องการทำตามประกาศหลักเกณฑ์การเผยแพร่กิจการโทรทัศน์ที่ให้บริการเป็นการทั่วไป (มัสต์ แครี่) ของกสทช.







http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9570000082296

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.