Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

21 กรกฎาคม 2557 ฟรอสต์แอนด์ซัลลิแวน.ธีระ ระบุ ตลาดไอทีภาพรวมครึ่งปีหลังมีแนวโน้มเป็นบวก ทั้งฝั่งคอนซูเมอร์ และเอ็นเตอร์ไพร์ส มูลค่าตลาดรวมอาจไปได้ถึง 9.1 หมื่นล้านบาท

ประเด็นหลัก



"นายธีระ กนกกาญจนรัตน์" นักวิเคราะห์ด้านไอซีที อาวุโส บริษัท ฟรอสต์แอนด์ซัลลิแวน องค์กรให้คำปรึกษาและวิจัยระดับโลก ให้สัมภาษณ์ "กรุงเทพไอที" โดยประเมินว่า ตลาดไอทีภาพรวมครึ่งปีหลังมีแนวโน้มเป็นบวก ทั้งฝั่งคอนซูเมอร์ และเอ็นเตอร์ไพร์ส มูลค่าตลาดรวมอาจไปได้ถึง 9.1 หมื่นล้านบาท

ขณะที่ตลาดมาแรงและน่าจับตาด้วยมูลค่าตลาดที่สูงมาก คือ "ตลาดซื้อขายออนไลน์" ที่ฟรอสต์ฯ ใช้คำว่า "ดิจิทัล คอมเมิร์ซ" คาดว่ามูลค่าจะพุ่งไปถึง 7 แสนล้านบาท และจะเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญของตลาดไอที อานิสงส์จากอุปกรณ์โมบายที่ขยายตัว

นายธีระ กล่าวว่า หากแบ่งตลาดไอทีในไทยเป็น 2 ส่วน ส่วนของคอนซูเมอร์ และเอ็นเตอร์ไพร์ส ต้องบอกว่าครึ่งปีหลังทั้ง 2 ฝั่ง มีสัญญาณที่ดี ความเชื่อมั่นผู้บริโภค การอัดฉีดจากภาครัฐ โครงการต่างๆ เริ่มทยอยออกมา หลายโครงการเริ่มเดินหน้า ที่อาจส่งผลให้เกิดการจ้างงานมากขึ้น เงินสะพัดเพิ่ม เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยภาพรวมเมื่อเทียบครึ่งปีแรกหลายโครงการถูกชะลอ โดยเฉพาะโครงการที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานตามต่างจังหวัด

"โมบาย"ตัวขับเคลื่อนหลัก

"ถ้ามองในฝั่งคอนซูเมอร์ ผมมองว่า คนไทยเป็นคนที่ทันสมัยในเรื่องของเทคโนโลยี มีการอัพเดทตลอดเวลา โดยเฉพาะตามหัวเมืองต่างๆ เป็นกลุ่มที่รับเทคโนโลยีเร็วมาก เรียกว่า 3จี ที่ประมูลไปปีที่แล้วตอนนี้เริ่มเต็ม แต่อุปสรรคใหญ่ๆ ของคอนซูเมอร์ คือ การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงตามครัวเรือนยังน้อย ปัจจุบันขยายตัวเพียง 26% เท่านั้น ถือว่าน้อยมาก คนไทยก็เลยเริ่มหันมาที่โมบาย 3จี เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต วันนี้คนไทยมีราว 69 ล้านคน แต่มีเลขหมายโทรศัพท์มือถือ 93 ล้านเบอร์ เติบโต 130% มีมากกว่าจำนวนประชากรด้วยซ้ำ"

ดังนั้น โทรศัพท์มือถือจะเป็นตัวขับเคลื่อนหลัก แม้ขณะนี้สัดส่วนโทรศัพท์มือถือที่เป็นสมาร์ทโฟนยังมีแค่ 32% ซึ่งประเด็นนี้ ค่ายมือถือทราบดีจึงเห็นการขยับนำเอาสมาร์ทโฟนราคาประหยัดที่เป็นเฮ้าส์แบรนด์มาทำตลาดเอง เพื่อจับตลาดระดับกลาง และล่าง ให้คนเข้าถึงมากขึ้น

"การขยายตัวของสมาร์ทโฟน ส่วนใหญ่ยังขยายอยู่ในกรุงเทพ และตามหัวเมืองใหญ่ๆ หากโอเปอเรเตอร์ต้องการเพิ่มรายได้ ก็ต้องทำให้คนใช้สมาร์ทโฟนเพิ่มขึ้น เพราะมันมีมูลค่าเพิ่ม การมีโซเชียล มีเดีย ราคาเครื่องต้องถูกลง จับต้องได้ ตอนนี้ประชากรกลุ่มใหญ่ราว 2 ใน 3 อยู่ต่างจังหวัด ปัจจัยเรื่องราคามีผลมากต่อกลุ่มนี้ เราเลยเห็นราคาเฮ้าส์แบรนด์ที่ไม่แพงมาก ระดับ 5-8 พันบาทจะเป็นตลาดใหญ่ ซึ่งครึ่งปีหลัง อุปกรณ์โมบายสื่อสารต่างๆ จะเป็นตัวดันตลาดฮาร์ดแวร์โดยภาพรวม"



______________________________




ฟรอสต์ฯ ชำแหละอุตฯไอที เชื่อยัง 'บวก' ลุ้นแตะ 9.1หมื่นล้าน

โดย : เอกรัตน์ สาธุธรรม


แม้จะมีคำสั่งชะลอประมูล 4จี ออกไปอีก 1 ปี แต่อุตสาหกรรมไอทีในไทยยังมีส่วนอื่นๆ ที่ต้องเดินหน้าต่อ ท่ามกลางความมั่นใจมากขึ้น (แต่ยังไม่ 100%) ของผู้ประกอบการ ที่เชื่อมาตลอดว่าตลาดไอทีเป็นตลาดที่มีดีมานด์ต่อเนื่อง สอดรับเทรนด์เทคโนโลยีโลกที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว หากไม่ต้องเผชิญกับปัจจัยลบ ตลาดจะเติบโตอย่างก้าวกระโดด

"นายธีระ กนกกาญจนรัตน์" นักวิเคราะห์ด้านไอซีที อาวุโส บริษัท ฟรอสต์แอนด์ซัลลิแวน องค์กรให้คำปรึกษาและวิจัยระดับโลก ให้สัมภาษณ์ "กรุงเทพไอที" โดยประเมินว่า ตลาดไอทีภาพรวมครึ่งปีหลังมีแนวโน้มเป็นบวก ทั้งฝั่งคอนซูเมอร์ และเอ็นเตอร์ไพร์ส มูลค่าตลาดรวมอาจไปได้ถึง 9.1 หมื่นล้านบาท

ขณะที่ตลาดมาแรงและน่าจับตาด้วยมูลค่าตลาดที่สูงมาก คือ "ตลาดซื้อขายออนไลน์" ที่ฟรอสต์ฯ ใช้คำว่า "ดิจิทัล คอมเมิร์ซ" คาดว่ามูลค่าจะพุ่งไปถึง 7 แสนล้านบาท และจะเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญของตลาดไอที อานิสงส์จากอุปกรณ์โมบายที่ขยายตัว

นายธีระ กล่าวว่า หากแบ่งตลาดไอทีในไทยเป็น 2 ส่วน ส่วนของคอนซูเมอร์ และเอ็นเตอร์ไพร์ส ต้องบอกว่าครึ่งปีหลังทั้ง 2 ฝั่ง มีสัญญาณที่ดี ความเชื่อมั่นผู้บริโภค การอัดฉีดจากภาครัฐ โครงการต่างๆ เริ่มทยอยออกมา หลายโครงการเริ่มเดินหน้า ที่อาจส่งผลให้เกิดการจ้างงานมากขึ้น เงินสะพัดเพิ่ม เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยภาพรวมเมื่อเทียบครึ่งปีแรกหลายโครงการถูกชะลอ โดยเฉพาะโครงการที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานตามต่างจังหวัด

"โมบาย"ตัวขับเคลื่อนหลัก

"ถ้ามองในฝั่งคอนซูเมอร์ ผมมองว่า คนไทยเป็นคนที่ทันสมัยในเรื่องของเทคโนโลยี มีการอัพเดทตลอดเวลา โดยเฉพาะตามหัวเมืองต่างๆ เป็นกลุ่มที่รับเทคโนโลยีเร็วมาก เรียกว่า 3จี ที่ประมูลไปปีที่แล้วตอนนี้เริ่มเต็ม แต่อุปสรรคใหญ่ๆ ของคอนซูเมอร์ คือ การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงตามครัวเรือนยังน้อย ปัจจุบันขยายตัวเพียง 26% เท่านั้น ถือว่าน้อยมาก คนไทยก็เลยเริ่มหันมาที่โมบาย 3จี เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต วันนี้คนไทยมีราว 69 ล้านคน แต่มีเลขหมายโทรศัพท์มือถือ 93 ล้านเบอร์ เติบโต 130% มีมากกว่าจำนวนประชากรด้วยซ้ำ"

ดังนั้น โทรศัพท์มือถือจะเป็นตัวขับเคลื่อนหลัก แม้ขณะนี้สัดส่วนโทรศัพท์มือถือที่เป็นสมาร์ทโฟนยังมีแค่ 32% ซึ่งประเด็นนี้ ค่ายมือถือทราบดีจึงเห็นการขยับนำเอาสมาร์ทโฟนราคาประหยัดที่เป็นเฮ้าส์แบรนด์มาทำตลาดเอง เพื่อจับตลาดระดับกลาง และล่าง ให้คนเข้าถึงมากขึ้น

"การขยายตัวของสมาร์ทโฟน ส่วนใหญ่ยังขยายอยู่ในกรุงเทพ และตามหัวเมืองใหญ่ๆ หากโอเปอเรเตอร์ต้องการเพิ่มรายได้ ก็ต้องทำให้คนใช้สมาร์ทโฟนเพิ่มขึ้น เพราะมันมีมูลค่าเพิ่ม การมีโซเชียล มีเดีย ราคาเครื่องต้องถูกลง จับต้องได้ ตอนนี้ประชากรกลุ่มใหญ่ราว 2 ใน 3 อยู่ต่างจังหวัด ปัจจัยเรื่องราคามีผลมากต่อกลุ่มนี้ เราเลยเห็นราคาเฮ้าส์แบรนด์ที่ไม่แพงมาก ระดับ 5-8 พันบาทจะเป็นตลาดใหญ่ ซึ่งครึ่งปีหลัง อุปกรณ์โมบายสื่อสารต่างๆ จะเป็นตัวดันตลาดฮาร์ดแวร์โดยภาพรวม"

ครึ่งแรก"พีซี"ร่วงต่ำสุดรอบ5ปี

นายธีระ กล่าวด้วยว่า ครึ่งปีแรกตลาดฮาร์ดแวร์ โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (พีซี) ตกลงกว่า 30% ลดต่ำสุดในรอบ 5 ปี มาจากปัจจัยหลายอย่าง เช่น จำนวนธุรกิจที่ปิดตัวลง โดยเฉพาะเอสเอ็มอี การจ้างงานลดลง ประกอบกับตลาดพีซีโดยทั่วโลกตกลง

อย่างไรก็ตาม เขาเชื่อว่า ครึ่งปีหลังตลาดจะฟื้นกลับมาได้เช่นกัน โดยอาจฟื้นกลับมาได้ราวๆ 10-12%

"มูลค่าตลาดไอที ฮาร์ดแวร์ของปีนี้น่าจะจบที่ประมาณ 9.1 หมื่นล้านบาท เมื่อเทียบกับสิ้นปีที่แล้ว ที่อยู่ประมาณ 8.4 หมื่นล้านบาท ส่วนภาพรวมตลาดโทรคมนาคมในไทย (รวมทั้งฮาร์ดแวร์, เซอร์วิส, ดีไวซ์) โดยรวมประมาณการว่าจะจบที่ 5 แสนล้านบาท มากกว่าปีที่แล้วเล็กน้อยที่จบที่ 4.7 แสนล้านบาท ส่วนการชะลอประมูล 4จี ไม่มีผลมาก เพราะถึงจะไม่เลื่อน กว่าจะเริ่มทำตลาด 4จี เต็มรูปแบบจริงๆ ก็เกือบสิ้นปี"

เขากล่าวด้วยว่า หากไทยไม่เจอปัจจัยลบ ตลาดไอทีโดยภาพรวมอาจจะโตไม่ต่ำกว่า 15%

"หลายคนมองว่า การเมืองจะมีผลกระทบกับการจับจ่ายในฝั่งของไอทีได้อย่างไร เราคงต้องมองไปที่มูลค่า ถามว่าเงินที่ซื้อไอทีมากๆ ต่อหัวยังไม่ใช่กลุ่มคอนซูเมอร์ แต่เป็นภาคธุรกิจที่ต้องลงทุนด้านไอที ช่วงที่ผ่านมาเอสเอ็มอีปิดตัวลง ธุรกิจใหม่ๆ เกิดน้อย ที่จะลงทุนก็ต้องชะลอออกไป"

ดิจิทัล คอมเมิร์ซ "7แสนล."

อีกหนึ่งปัจจัยขับเคลื่อน ส่งผลให้ตลาดไอทีฟื้นตัวได้เร็ว คือ "ตลาดซื้อขายออนไลน์" หรือปัจจุบันเรียกว่า "ดิจิทัล คอมเมิร์ซ" ที่รวมถึงการซื้อขายออนไลน์ผ่านพีซี, โมบาย, โซเชียล เน็ตเวิร์ค ที่คาดว่ามูลค่าตลาดในปีนี้ จะพุ่งไม่ต่ำกว่า 7 แสนล้านบาท

นายธีระ กล่าวว่า ตลาดซื้อขายออนไลน์ หรืออีคอมเมิร์ซจะขยายตัวสูงมากนับจากนี้ ทั้งเป็นทางเลือกประกอบธุรกิจของผู้ที่คิดเริ่มต้นทำธุรกิจ แต่ไม่ต้องการมีหน้าร้าน ขณะที่มีคนหันมาสนใจหันซื้อสินค้าออนไลน์ต่างแพลตฟอร์มมมากขึ้น โดยเฉพาะผ่านโซเชียลฯ และโมบาย

"ถ้าจะให้ตลาดไอทีขยายตัวได้มากกว่านี้ ต้องย้อนกลับไปที่ ทำอย่างไรให้คนเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้เพิ่มขึ้น ถ้าเราทำตรงนี้ได้ ทุกอย่างก็จะเพิ่มขึ้นมาหมดเลย เราประเมินภาพรวมอีคอมเมิร์ซในไทย คาดว่า จะอยู่ที่ 7 แสนล้านบาท ต้องยอมรับว่าโซเชียล เน็ตเวิร์คทำให้เกิดโมเดลการซื้อขายออนไลน์ที่น่าสนใจ โดยเฉพาะการขายผ่านเฟซบุ๊ค และอินสตาแกรม กำลังเป็นตลาดใหญ่มาก ประเมินจากจำนวนช็อป ที่เป็นแฟนเพจของเฟซบุ๊ค การขายจากเซเลบออนไลน์ ที่บางครั้งยอดขายสูงมาก ขณะที่การเข้ามาของไลน์ชอป ก็กระตุ้นความแรงการซื้อขายออนไลน์ในไทยให้เพิ่มขึ้นไปอีก"

เขากล่าวว่า แม้โซเชียล คอมเมิร์ซ จะเริ่มตั้งไข่ในไทย แต่กราฟการเติบโตสูงมาก ส่วนหนึ่งมาจากเศรษฐกิจไม่ดีคนเริ่มหันไปหาช่องทางใหม่ในการค้าขาย ตัวที่บ่งบอก คือ งบโฆษณาออนไลน์ ฟรอสต์ฯ ประเมินตลาดโฆษณาครึ่งปีแรก ส่วนที่เป็นสื่อดั้งเดิม สิ้นปีจะลดลงมากกว่า 10% แต่สื่ออย่างโมบาย โซเชียลฯ จะปรับตัวขึ้นมากกว่า 12% แสดงให้เห็นว่า นักธุรกิจให้ความเชื่อมั่นกับสื่อไหนมากกว่า

เอ็นเตอร์ไพร์สลงทุน "เพิ่ม"

ขณะที่ ตลาดเอ็นเตอร์ไพร์ส ยังเติบโตต่อเนื่อง จะมีการใช้จ่ายเพิ่มโดยเฉาะการลงทุนด้าน "คลาวด์" บิ๊กดาต้า ธุรกิจจะให้ความสำคัญในเรื่องของ ดาต้า เซ็นเตอร์มาก

"ปีนี้ จะเป็นแห่งการลงทุนด้านคลาวด์ของกลุ่มเอ็นเตอร์ไพร์ส ขณะเดียวกัน ก็ต้องรับมือการเปิดอาเซียน ที่ไทยนับว่าเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญ ถูกวางเป็นฮับกลยุทธ์ (Strategic Hub) เท่าที่ทราบขณะนี้เริ่มมีนักลงทุนจากต่างชาติเข้ามาเป็นพาร์ทเนอร์กับบริษัทไทย โดยเฉพาะบริษัทที่ทำดาต้า เซ็นเตอร์ คาดว่าภายในปีนี้ธุรกิจดาต้า เซ็นเตอร์จะเติบโตไม่ต่ำกว่า 20% เช่นเดียวกับการใช้สมาร์ทดีไวซ์ โมบาย ในองค์กรที่จะมีความสำคัญอันดับต้นๆ ของเอ็นเตอร์ไพร์ส"

เขายกตัวอย่าง ถึงความร่วมมือของ แอ๊ปเปิ้ล อิงค์ และไอบีเอ็ม แบบเอ็กซ์คลูซีฟเพื่อพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นสำหรับธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรซ์ พร้อมจำหน่าย สินค้าตระกูลไอทั้งไอโฟนและไอแพด โดยมีกำหนดเริ่มทำตลาดอย่างเป็นทางการช่วงฤดูใบไม้ร่วง หรือราวเดือนก.ย.ปีนี้ บ่งบอกว่า สมาร์ทดีไวซ์ ได้ขยายขอบเขตของคอนซูเมอร์ กินพื้นที่เข้ามายังฝั่งเอ็นเตอร์ไพร์สเรียบร้อยแล้ว

"ส่วนแนวโน้ม สตาร์อัพเมืองไทย ซึ่งจะเป็นอีกหนึ่งตัวขับเคลื่อนของอุตสาหกรรมไอที ขณะนี้ถือว่า ยังมีไม่มากที่ประสบความสำเร็จ เหมือนอย่างบริษัทในซิลิคอน วัลเลย์ คงต้องอาศัยระยะเวลา และการสนับสนุนจากภาครัฐ มีฟันดิ้งที่ชัดเจน แต่ถือว่า สตาร์ทอัพเมืองไทย ยังมีรูมที่จะเติบโตได้อีกมาก"



http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20140721/594231/ฟรอสต์ฯ-ชำแหละอุตฯไอที-เชื่อยัง-บวก-ลุ้นแตะ-9.1หมื่นล้าน.html

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.