Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

23 กรกฎาคม 2557 (เกาะติดประมูล4G) กสทช.เศรษฐพงค์ จี้โอเปอเรเตอร์มือถือ ภาพรวมการประกอบธุรกิจของบริษัท และนิติบุคคลที่เป็นบริษัทใหญ่ บริษัทย่อย และบริษัทร่วม รวมถึงโครงสร้างการถือหุ้น

ประเด็นหลัก



ทั้งนี้ โอเปอเรเตอร์ที่เข้าร่วมประชุมจะต้องเตรียมข้อมูลเพื่อชี้แจงประกอบด้วย 1.ภาพรวมการประกอบธุรกิจของบริษัท และนิติบุคคลที่เป็นบริษัทใหญ่ บริษัทย่อย และบริษัทร่วม รวมถึงโครงสร้างการถือหุ้น และการถือครองธุรกิจของกลุ่มบริษัทในเครือ 2.ข้อกำหนดหรือสิทธิในการออกเสียงของผู้ถือหุ้นของบริษัท และ 3.โครงสร้างการบริหารภายในบริษัท โดยแสดงให้เห็นถึงรายชื่อ และตำแหน่งของผู้บริหารที่มีความสำคัญ

“การตรวจสอบการถือหุ้นของผู้ประกอบการกิจการโทรคมนาคม ถือเป็นการทำตามกฎกติกาที่มีอยู่แล้วอย่างเข้มงวด เพื่อรักษาประโยชน์ของประเทศชาติ ไม่ได้เลือกปฏิบัติรายใดรายหนึ่ง โดยจะตั้งคณะอนุกรรมการตรวจสอบการถือหุ้นทั้งทางตรง ทางอ้อม การถือหุ้นไขว้ และการตั้งบริษัทนอมินีถือหุ้นแทนด้วย”

______________________________




กคท.สอบเข้มสัญชาติผู้เข้าประมูล4G

เช็คสิทธิ์ออกเสียง-รูปแบบบริหาร

สอบลึกถึง‘นอมินี’-ถือหุ้นไขว้

พันเอกเศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และประธานกรรมการกิจโทรคมนาคม (กทค.) เปิดเผยว่า ถึงแม้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีคำสั่งให้ระงับการประมูล 1800 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) และ 900 MHz ออกไป 1 ปี ซึ่งยังจะต้องเตรียมความพร้อมล่วงหน้า เพื่อรองรับการประมูลหลัง หลังประกาศ คสช. ที่ให้นำประกาศมาตรการเยียวยาคุ้มครองผู้บริโภคมาใช้คุ้มครองประชาชนผู้ใช้บริการ
สิ้นสุดลง

อย่างไรก็ตาม กทค.ได้เรียกผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (โอเปอเรเตอร์) ที่ให้บริการในปัจจุบัน ได้แก่ 1.บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค 2.บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส 3.บริษัท ทรูคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เพื่อประชุมและหารือเรื่องการตรวจสอบผู้ถือหุ้นของต่างชาติในสัดส่วน 49% ตามกฎหมายหรือไม่ และให้เป็นไปตามประกาศของ กสทช. เรื่องการกำหนดข้อห้ามการกระทำที่มีลักษณะเป็นการครอบงำโดยคนต่างด้าว พ.ศ.2554 (นอมินี) โดย กทค.จะดำเนินการตรวจสอบอย่างละเอียด และหากตรวจสอบพบว่าเอกชนรายใดมีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายและประกาศ กสทช. ก็จะไม่สามารถเข้าร่วมประมูล 4G บนคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz และคลื่น 900 MHz ได้

ทั้งนี้ โอเปอเรเตอร์ที่เข้าร่วมประชุมจะต้องเตรียมข้อมูลเพื่อชี้แจงประกอบด้วย 1.ภาพรวมการประกอบธุรกิจของบริษัท และนิติบุคคลที่เป็นบริษัทใหญ่ บริษัทย่อย และบริษัทร่วม รวมถึงโครงสร้างการถือหุ้น และการถือครองธุรกิจของกลุ่มบริษัทในเครือ 2.ข้อกำหนดหรือสิทธิในการออกเสียงของผู้ถือหุ้นของบริษัท และ 3.โครงสร้างการบริหารภายในบริษัท โดยแสดงให้เห็นถึงรายชื่อ และตำแหน่งของผู้บริหารที่มีความสำคัญ

“การตรวจสอบการถือหุ้นของผู้ประกอบการกิจการโทรคมนาคม ถือเป็นการทำตามกฎกติกาที่มีอยู่แล้วอย่างเข้มงวด เพื่อรักษาประโยชน์ของประเทศชาติ ไม่ได้เลือกปฏิบัติรายใดรายหนึ่ง โดยจะตั้งคณะอนุกรรมการตรวจสอบการถือหุ้นทั้งทางตรง ทางอ้อม การถือหุ้นไขว้ และการตั้งบริษัทนอมินีถือหุ้นแทนด้วย”

อย่างไรก็ตามการตรวจสอบอย่างเข้มงวดสำหรับการถือหุ้นของต่างชาตินั้น นอกจากเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการครอบงำและมีอำนาจในการบริหารจัดการของนักลงทุนต่างชาติแล้ว ยังเพื่อความมั่นคงในระบบโทรคมนาคมของประเทศด้วย ขณะเดียวกันการติดต่อสื่อสารโทรคมนาคมถือเป็นหัวใจของการรักษาความมั่นคงภายในประเทศ หากยอมให้ต่างด้าวโดยเฉพาะทุนที่มีหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจต่างชาติสนับสนุนเข้ามาเป็นเจ้าของกิจการโทรคมนาคมในประเทศ อาจมีผลกระทบและเกิดความเสี่ยงในการกำกับดูแลได้


http://www.naewna.com/business/113783

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.