Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

24 กรกฎาคม 2557 อีริคสัน โมบิลิตี้ รีพอร์ท ระบุ ยอดการใช้โมบายดาต้า โดยเฉลี่ยต่อคนจะอยู่ที่ 650 MB ต่อเดือน เพิ่มเป็น 2.5 GB ต่อเดือน และกว่า 50% ของยอดโมบายดาต้าเกิดจากการใช้งานวิดีโอ

ประเด็นหลัก


บัญญัติ เกิดนิยม ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารและองค์กรสัมพันธ์บริษัทเดียวกันกล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีจาก 2G ไปเป็น 3G และ 4G ในอนาคตมีผลสอดคล้องอย่างมีนัยสำคัญระหว่างการใช้โมบายดาต้า กับจำนวนโทรศัพท์มือถือที่มากขึ้น โดยเฉพาะสมาร์ทโฟนที่จะเพิ่มจาก 1,900 ล้านเครื่อง เป็น 5,600 ล้านเครื่องในอีก 5 ปีข้างหน้า ส่งผลให้ปริมาณทราฟฟิกทั่วโลกเพิ่มขึ้นเป็น 10 เท่า เฉพาะในเอเชีย-แปซิฟิกเพิ่มขึ้น 12 เท่า



ขณะที่ยอดการใช้โมบายดาต้า โดยเฉลี่ยต่อคนจะอยู่ที่ 650 MB ต่อเดือน เพิ่มเป็น 2.5 GB ต่อเดือน และกว่า 50% ของยอดโมบายดาต้าเกิดจากการใช้งานวิดีโอ

"ประเทศไทยติดอันดับ 4 ของประเทศที่มีผู้ใช้มือถือเพิ่มขึ้นสุทธิในไตรมาส 1 ปีนี้ โดยเพิ่มขึ้น 6 ล้านเครื่องจากทั่วโลกที่มียอดการใช้สุทธิเพิ่มขึ้น 120 ล้านเครื่อง รองจากอินเดียที่เพิ่มขึ้น 28 ล้านเครื่อง จีน 19 ล้านเครื่อง และอินโดนีเซีย 7 ล้านเครื่อง"

โดยประเทศไทยและประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคนี้ มีกลุ่มผู้ใช้งานวัยรุ่น (อายุ 10-24 ปี) ค่อนข้างมาก เช่น ไทยมีประมาณ 15 ล้านคน เป็นแรงผลักดันสำคัญให้ปริมาณการใช้โมบายดาต้ามากขึ้น ทั้งจากการค้นหาข้อมูล, การใช้โซเชียลเน็ตเวิร์ก, อีเมล์ และคลิปวิดีโอ แม้ความเร็วของโมบายดาต้าจะยังไม่สูงมากนัก โดยในไทยมีค่าเฉลี่ยความเร็วในการดาวน์โหลดเพียง 2 Mbps เท่านั้น












______________________________




"วัยรุ่น" ดันยอดใช้ "โมบายดาต้า" เอเชียนำโด่ง คาดใน 5 ปีโตกว่า 10 เท่า



เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า ปัจจุบันโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้กลายเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญในชีวิตประจำวันของคนในยุคนี้ในระดับที่เรียกได้ว่าไม่ธรรมดา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพัฒนาขีดความสามารถขึ้นมาจนเป็น "สมาร์ทโฟน" ยิ่งทำให้คนใช้ติดหนึบจนถึงกับมีการกล่าวกันว่า ยุคนี้เป็นยุคของคนเผ่าหัวก้ม หันไปทางไหนมักเห็นคนก้มหน้าก้มตาจดจ่ออยู่กับสารพัด "สมาร์ทดีไวซ์"

รายงานของ "อีริคสัน โมบิลิตี้ รีพอร์ท" ประจำปี 2557 ระบุว่า ในอีก 5 ปีข้างหน้าหรือในปี 2562 การใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วโลกจะเพิ่มเป็น 9,200 ล้านเครื่อง จาก 6,800 ล้านเครื่องในปัจจุบัน หากโฟกัสเฉพาะภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกจะพบว่าในไตรมาส 1 ปีนี้มียอดโทรศัพท์มือถือ 3,400 ล้านเครื่อง แบ่งเป็นเทคโนโลยี 2G ถึง 65% และในอีก 5 ปีข้างหน้าจะเพิ่มขึ้นเป็น 4,700 ล้านเครื่อง เป็นเทคโนโลยี 3G และ 4G มากถึง 80% เฉพาะ 4G จะมีการใช้งานมากถึง 230 ล้านเครื่องหรือ 20% ของประชากรในภูมิภาคนี้

ขณะที่จำนวนการใช้สมาร์ทโฟนทั่วโลกในไตรมาส 1 อยู่ที่ 1,900 ล้านเครื่อง และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 5,600 ล้านเครื่องในปี 2562



คามิลล่า วอลเทียร์ ประธานบริษัท อีริคสัน ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า การใช้โมบายอินเทอร์เน็ตในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกและโอเชียเนียจะเพิ่มขึ้นกว่า 10 เท่าตัวระหว่างปี 2556-2562 ทำให้ปริมาณดาต้าทราฟฟิกบนเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่มีปริมาณมากถึง 2 Exabyte (1 Exabyte เทียบเท่า 1018 Byte หรือ 1 พันล้าน Gigabyte)

ปัจจัยที่ทำให้ดาต้าทราฟฟิกเติบโตมาจากความนิยมในการใช้แอปพลิเคชั่นและบริการต่าง ๆ ที่เพิ่มขึ้นมากโดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่น ซึ่งประชากรกลุ่มวัยรุ่นในภูมิภาคนี้มีมากกว่า 170 ล้านคน ถือเป็นกลุ่มประชากรที่มีสัดส่วนใหญ่ที่สุดของโลกด้วย

กลุ่มคนวัยรุ่นมีความพร้อมในการเปิดรับเทคโนโลยีและเทรนด์ใหม่ ๆ รวมถึงความต้องการที่จะเข้าถึงบริการต่าง ๆ ได้ตลอดเวลาในทุก ๆ สถานที่ เริ่มตั้งแต่การบริการขั้นพื้นฐาน เช่น Voice การโทร.และรับสาย, การส่งข้อความหากันในโปรแกรม LINE, WhatsApp, WeChat และ KakaoTalk โดยการบริการเหล่านี้ช่วยแชร์และมีกิจกรรมร่วมกับเพื่อน ๆ ในสังคมออนไลน์ได้ตลอดเวลา นอกจากการสนทนาในกรุ๊ปส่วนตัวกับเพื่อน, การเล่นเกม, ส่งสติ๊กเกอร์ และภาพต่าง ๆ แล้ว ยังรวมไปถึงการใช้โซเชียลมีเดีย และการรับชมวิดีโอสตรีมมิ่งด้วย

บัญญัติ เกิดนิยม ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารและองค์กรสัมพันธ์บริษัทเดียวกันกล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีจาก 2G ไปเป็น 3G และ 4G ในอนาคตมีผลสอดคล้องอย่างมีนัยสำคัญระหว่างการใช้โมบายดาต้า กับจำนวนโทรศัพท์มือถือที่มากขึ้น โดยเฉพาะสมาร์ทโฟนที่จะเพิ่มจาก 1,900 ล้านเครื่อง เป็น 5,600 ล้านเครื่องในอีก 5 ปีข้างหน้า ส่งผลให้ปริมาณทราฟฟิกทั่วโลกเพิ่มขึ้นเป็น 10 เท่า เฉพาะในเอเชีย-แปซิฟิกเพิ่มขึ้น 12 เท่า



ขณะที่ยอดการใช้โมบายดาต้า โดยเฉลี่ยต่อคนจะอยู่ที่ 650 MB ต่อเดือน เพิ่มเป็น 2.5 GB ต่อเดือน และกว่า 50% ของยอดโมบายดาต้าเกิดจากการใช้งานวิดีโอ

"ประเทศไทยติดอันดับ 4 ของประเทศที่มีผู้ใช้มือถือเพิ่มขึ้นสุทธิในไตรมาส 1 ปีนี้ โดยเพิ่มขึ้น 6 ล้านเครื่องจากทั่วโลกที่มียอดการใช้สุทธิเพิ่มขึ้น 120 ล้านเครื่อง รองจากอินเดียที่เพิ่มขึ้น 28 ล้านเครื่อง จีน 19 ล้านเครื่อง และอินโดนีเซีย 7 ล้านเครื่อง"

โดยประเทศไทยและประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคนี้ มีกลุ่มผู้ใช้งานวัยรุ่น (อายุ 10-24 ปี) ค่อนข้างมาก เช่น ไทยมีประมาณ 15 ล้านคน เป็นแรงผลักดันสำคัญให้ปริมาณการใช้โมบายดาต้ามากขึ้น ทั้งจากการค้นหาข้อมูล, การใช้โซเชียลเน็ตเวิร์ก, อีเมล์ และคลิปวิดีโอ แม้ความเร็วของโมบายดาต้าจะยังไม่สูงมากนัก โดยในไทยมีค่าเฉลี่ยความเร็วในการดาวน์โหลดเพียง 2 Mbps เท่านั้น

สำหรับในประเทศไทย จากผลสำรวจของ "อีริคสัน คอนซูเมอร์แล็บ อนาไลติกส แพลตฟอร์ม ปี 2556" โดยการสำรวจประชากรไทยประมาณ 1,500 คนปลายปีที่แล้ว พบว่า 64% ของผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือยังคงเห็นว่า "ราคา" เป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจซื้อโทรศัพท์มือถือ แต่อีก 37% มองว่า ค่าบริการโมบายดาต้ายังแพงอยู่มาก

ส่วนลักษณะการใช้งานพบว่า 69% ใช้เพื่อเข้าถึงเว็บไซต์ และ 65% ใช้เล่นโซเชียลเน็ตเวิร์ก และการสื่อสารผ่านแอปพลิเคชั่น "แชต" พร้อมกับการนำไปใช้งานด้านธุรกิจ และ 24% ใช้โทรศัพท์มือถือทำธุรกิจ อีก 30% ใช้แท็บเลตช่วยในการทำธุรกิจ

ด้านภาพรวมของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทยในครึ่งปีหลัง "อีริคสัน" เชื่อว่าโอเปอเรเตอร์ทุกรายกำลังรอความชัดเจนเกี่ยวกับการประมูลคลื่น 900 MHz และ 1800 MHz เพราะต้องการนำคลื่นไปให้บริการ 4G หากไม่มีการประมูล 4G เกิดขึ้นจะทำให้ประเทศไทยสูญเสียโอกาสในการแข่งขันทั้งในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม และอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ประโยชน์จากการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของประชาชน อาทิ อุตสาหกรรมเพลง รวมถึงการเสียโอกาสที่ประชาชนทั่วไปจะใช้งานโมบายดาต้าความเร็วสูงได้ด้วย

"ถ้าไม่มีการประมูลเกิดขึ้นจริง ๆ โอเปอเรเตอร์ต้องหาทางรองรับทราฟฟิกที่เพิ่มขึ้น อาทิ การขยายสถานีฐานสำหรับ 3G ให้มากขึ้น ตนมองว่าประเทศไทยควรมีการนำคลื่นความถี่ที่ไม่ได้ใช้งานมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับวงการโทรคมนาคม ไม่ว่าจะเป็นคลื่น 2300 และ 2500 MHz ที่ช่วยให้โอเปอเรเตอร์มีคลื่นความถี่รองรับการใช้งานของลูกค้าให้มากขึ้น และช่วยลดการเพิ่มของสถานีฐานที่เป็นต้นทุนของผู้ให้บริการ รวมถึงการนำคลื่นที่ใช้งานให้เหมาะสมกับศักยภาพของคลื่นย่านนั้น ๆ อย่างคลื่น 1800 MHz ที่ควรนำมาใช้งานกับบริการ 4G มากกว่า 2G เป็นต้น"


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1406182140

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.