Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

28 กรกฎาคม 2557 วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง ระบุ ทางออกคือการแก้ พ.ร.บ.กสทช.เพื่อลดรายได้ของ กสทช. โดยให้ลดค่าธรรมเนียมใบอนุญาต ที่เป็นรายได้หลักของ กสทช.เหลือเพียง 1% FCC (กสทช.ของสหรัฐอเมริกา) และ OFCOM (กสทช.ของอังกฤษ) เก็บค่าธรรมเนียมใบอนุญาตราว 0.5% เท่านั้น

ประเด็นหลัก


นายวรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง อาจารย์คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวในงานสัมมนา "3 ปี กสทช. : ความฝัน ความเป็นจริง และการปฏิรูปกฎกติกา" จัดโดยโครงการวิเคราะห์และติดตามร่างกฎหมาย ระบุว่า การทำงานของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ที่ผ่านมา เป็นไปอย่างเชื่องช้า และมีความลักลั่นจนทำงานไม่บรรลุบางวัตถุประสงค์ที่ก่อตั้ง

"พ.ร.บ.กสทช.ระบุชัดว่า ต้องเปิดเผยข้อมูล อาทิ มติที่ประชุม, แผนการดำเนินงาน, การศึกษาข้อมูลของคลื่นความถี่, การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ, ข้อมูลการร้องเรียน, รวมถึงการใช้เงินของกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) แต่ กสทช.กลับไม่ได้ทำ และถึงจะมีซูเปอร์บอร์ด (คณะกรรมการติดตามและประเมินผลการทำงานของ กสทช.) ก็ไม่สามารถตรวจสอบ กสทช.ได้เต็มที่ เพราะไม่มีการให้ข้อมูลจากแผนกที่ตรวจสอบโดยตรง ที่สำคัญ ใน พ.ร.บ.ของ กสทช.กลับไม่ได้กำหนดให้ สตง.มีอำนาจเปิดเผยรายงานการตรวจสอบบัญชีโดยตรง จึงเป็นการปกปิดอย่างชัดเจน"

การใช้งบประมาณมากกว่าที่ควรจะเป็นคือ สิ่งที่ชัดเจนที่สุดว่า กสทช.ไม่ทำตามวัตถุประสงค์ก่อตั้ง เฉพาะงบฯประชาสัมพันธ์ก็สูงกว่า 50 ล้านบาท

ทางออกคือการแก้ พ.ร.บ.กสทช.เพื่อลดรายได้ของ กสทช. โดยให้ลดค่าธรรมเนียมใบอนุญาต ที่เป็นรายได้หลักของ กสทช.เหลือเพียง 1% ของรายได้จากผู้ประกอบการทั้งฝั่งโทรคมนาคมและบรอดแคสต์ จากเดิมที่เก็บอยู่ 2%

"FCC (กสทช.ของสหรัฐอเมริกา) และ OFCOM (กสทช.ของอังกฤษ) เก็บค่าธรรมเนียมใบอนุญาตราว 0.5% เท่านั้น"

นอกจากนี้ยังต้องแยกงบประมาณของ "ซูเปอร์บอร์ด" ไม่ให้ต้องขึ้นตรงกับ กสทช.เพราะไม่สมเหตุสมผลที่ผู้ตรวจสอบต้องได้รับอนุมัติงบประมาณจากผู้ถูกตรวจสอบ รวมถึงให้ กสทช.และสำนักงานเป็นเจ้าพนักงานที่ผู้ตรวจการแผ่นดินมีอำนาจสอบสวนและยื่นเรื่องฟ้องแทนผู้ได้รับผลกระทบได้ รวมถึงไม่จำกัดการจัดสรรคลื่นให้ต้องประมูลเท่านั้น











______________________________




3 ปี กสทช.ไร้ประสิทธิภาพจี้ลดค่าธรรมเนียม



นักวิชาการจวกแหลก "กสทช." 3 ปีไร้ประสิทธิภาพ ผู้บริโภคไม่ได้ประโยชน์จี้แก้ พ.ร.บ.ลดอัตราค่าธรรมเนียมปิดจุดอ่อนด้านการใช้เงิน เพิ่มธรรมาภิบาล ปลดล็อกเงื่อนไขประมูลคลื่น

นายวรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง อาจารย์คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวในงานสัมมนา "3 ปี กสทช. : ความฝัน ความเป็นจริง และการปฏิรูปกฎกติกา" จัดโดยโครงการวิเคราะห์และติดตามร่างกฎหมาย ระบุว่า การทำงานของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ที่ผ่านมา เป็นไปอย่างเชื่องช้า และมีความลักลั่นจนทำงานไม่บรรลุบางวัตถุประสงค์ที่ก่อตั้ง

"พ.ร.บ.กสทช.ระบุชัดว่า ต้องเปิดเผยข้อมูล อาทิ มติที่ประชุม, แผนการดำเนินงาน, การศึกษาข้อมูลของคลื่นความถี่, การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ, ข้อมูลการร้องเรียน, รวมถึงการใช้เงินของกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) แต่ กสทช.กลับไม่ได้ทำ และถึงจะมีซูเปอร์บอร์ด (คณะกรรมการติดตามและประเมินผลการทำงานของ กสทช.) ก็ไม่สามารถตรวจสอบ กสทช.ได้เต็มที่ เพราะไม่มีการให้ข้อมูลจากแผนกที่ตรวจสอบโดยตรง ที่สำคัญ ใน พ.ร.บ.ของ กสทช.กลับไม่ได้กำหนดให้ สตง.มีอำนาจเปิดเผยรายงานการตรวจสอบบัญชีโดยตรง จึงเป็นการปกปิดอย่างชัดเจน"

การใช้งบประมาณมากกว่าที่ควรจะเป็นคือ สิ่งที่ชัดเจนที่สุดว่า กสทช.ไม่ทำตามวัตถุประสงค์ก่อตั้ง เฉพาะงบฯประชาสัมพันธ์ก็สูงกว่า 50 ล้านบาท

ทางออกคือการแก้ พ.ร.บ.กสทช.เพื่อลดรายได้ของ กสทช. โดยให้ลดค่าธรรมเนียมใบอนุญาต ที่เป็นรายได้หลักของ กสทช.เหลือเพียง 1% ของรายได้จากผู้ประกอบการทั้งฝั่งโทรคมนาคมและบรอดแคสต์ จากเดิมที่เก็บอยู่ 2%

"FCC (กสทช.ของสหรัฐอเมริกา) และ OFCOM (กสทช.ของอังกฤษ) เก็บค่าธรรมเนียมใบอนุญาตราว 0.5% เท่านั้น"

นอกจากนี้ยังต้องแยกงบประมาณของ "ซูเปอร์บอร์ด" ไม่ให้ต้องขึ้นตรงกับ กสทช.เพราะไม่สมเหตุสมผลที่ผู้ตรวจสอบต้องได้รับอนุมัติงบประมาณจากผู้ถูกตรวจสอบ รวมถึงให้ กสทช.และสำนักงานเป็นเจ้าพนักงานที่ผู้ตรวจการแผ่นดินมีอำนาจสอบสวนและยื่นเรื่องฟ้องแทนผู้ได้รับผลกระทบได้ รวมถึงไม่จำกัดการจัดสรรคลื่นให้ต้องประมูลเท่านั้น

ด้าน นายประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ ผู้อำนวยการสถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การแก้ พ.ร.บ.กสทช.ไม่ใช่ทางออกทั้งหมดที่จะทำให้ กสทช.โปร่งใส แถมอาจเปิดช่องให้มีการแก้กฎหมายไปเรื่อย ๆ เพื่อให้ถูกใจคนที่จะมาคุมองค์กรนี้

"3 ปีทุกอย่างมันไม่ค่อยโปร่งใส เพราะมีการทำงานแบบหน้าด้าน ๆ ถึงแม้จะผิดกฎหมายก็ตาม การแก้กฎหมายจึงไม่มีประโยชน์ แต่ก็ต้องการกำหนดการใช้เงิน กทปส. ให้เหมาะสมมากขึ้น ไม่ใช่สามารถนำไปใช้ในอะไรก็ได้"

นางพิรงรอง รามสูต อาจารย์คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า หลังจากที่มีคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ทำให้การทำงานของ กสทช.เร็วขึ้นมาก ซึ่งแสดงถึงความไม่ใส่ใจในการทำงานที่ผ่านมาของ กสทช. ซึ่งอาจมองต่อไปว่าไม่จำเป็นต้องมี กสทช.อีกต่อไป ขอแค่องค์กรมาคุมที่ดีพอ งานก็เดินได้

"จากการได้เป็นอนุกรรมการด้านผังรายการและเนื้อหารายการของ กสทช.ทำให้เรียนรู้ถึงวัฒนธรรมองค์กร จนทราบว่าการตั้งคณะอนุกรรมการทำง่าย และตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาซ้ำซ้อนกันก็ได้ ถ้าเกิดขัดแย้งกัน ทำให้งานซ้ำซ้อน และบางเรื่องอย่างการจัดเรทติ้ง ซึ่งปกติจะปล่อยให้อุตสาหกรรมผลักดันเอง กสทช. ก็เข้ามาจัดการ ที่สำคัญจะอยากให้สังเกตว่าผู้บริโภคได้ประโยชน์อะไร การมี กสทช.ได้ช่วยทำให้คุณภาพบริการด้านโทรคมนาคมและบรอดแคสต์ดีขึ้นหรือไม่"

ขณะที่ นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการ กสทช.ด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม เปิดเผยว่า 3 ปี กสทช.อาจมีผลงานที่ชัดเจนเพียง 2 เรื่อง คือการจัดประมูล 3G และการเริ่มทีวีดิจิทัล แต่ผู้บริโภคกลับไม่ได้ประโยชน์มากนัก เช่น ราคาค่าบริการที่ต้องลดลง 15% เมื่อเทียบกับก่อนการประมูลคลื่น 3G หรือการกระจายโครงข่ายของระบบทีวีดิจิทัลที่ยังไปได้ช้า รวมถึงการสนับสนุนกล่องรับสัญญาณที่ยังไม่มีความชัดเจน จึงอาจมองเป็นการล้มเหลวขององค์กรก็ได้

"การปฏิรูปองค์กรก็จำเป็น แต่ไม่ใช่แค่การแก้กฎหมายจะปฏิรูปองค์กรได้ ต้องอาศัยคน ซึ่งผมก็ไม่รู้ว่าจุดนั้นจะมาเมื่อไหร่ เพราะถ้าคนไม่ดี การแก้กฎหมายกี่ครั้งก็เหมือนเดิม แต่ส่วนตัวยังจะเดินหน้าทำงานด้านคุ้มครองผู้บริโภคต่อไป"

สำหรับการจัดสรรคลื่นความถี่ มองว่าไม่ต้องกำหนดให้ใช้การประมูลเพียงอย่างเดียว แต่ให้กำหนดเป็นภาพกว้าง แล้วให้คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญตัดสินใจว่าแต่ละคลื่นควรใช้วิธีใดจัดสรรส่วนกองทุนของ กสทช. ควรจะมีต่อไป แต่ให้นำเงินถูกเรียกเก็บเข้ากองทุนไปใช้ เพื่อเพิ่มโอกาสการเข้าถึงในทุกกิจการที่ กสทช.ดูแล


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1406202075

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.