Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

31 กรกฎาคม 2557 (เกาะติดประมูล4G) กสทช.สุทธิพล ระบุ มาตรา 45 ของกฎหมาย กสทช. ที่ล็อกวิธีจัดสรรคลื่นด้วยการประมูลเท่านั้น ถือเป็นข้อผิดพลาดตั้งแต่ยกร่างกฎหมาย เพราะการประมูลไม่ใช่วิธีการที่ดีที่สุด

ประเด็นหลัก


นายสุทธิพล ทวีชัยการ กรรมการ กสทช. ด้านกฎหมาย กล่าวว่า มาตรา 45 ของกฎหมาย กสทช. ที่ล็อกวิธีจัดสรรคลื่นด้วยการประมูลเท่านั้น ถือเป็นข้อผิดพลาดตั้งแต่ยกร่างกฎหมาย เพราะการประมูลไม่ใช่วิธีการที่ดีที่สุด ซึ่งในหลายประเทศไม่ใช้วิธีการประมูลคลื่นความถี่เลย

ทั้งนี้ เพราะการประมูลอาจส่งผลดีในระยะแรกที่ทำให้เกิดการแข่งขันและทำรายได้ให้กับรัฐ แต่เมื่อผ่านไประยะหนึ่งจะพบว่าการประมูลมีจุดอ่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากการประมูลจบลงที่ราคาสูง แต่ผู้ประกอบการไม่มีเงินลงทุนมากพอที่จะสร้างโครงข่ายเพื่อให้บริการ


______________________________




รุมค้านเลิกประมูลคลื่น4จี


นักวิชาการรุมค้าน กสทช.แก้กฎหมายยกเลิกประมูลคลื่นความถี่เสนอเร่งมือ 4จี

นางเดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ผู้อำนวยการวิจัยด้านการบริการจัดการระบบเศรษฐกิจ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เปิดเผยในงานเสวนา เรื่อง “เลื่อน-เลิกประมูล 4จี ใครได้-ใครเสีย : รัฐ ผู้ประกอบการ ประชาชน?” ว่า การจัดสรรคลื่นความถี่ด้วยวิธีประมูลถือเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีคุณค่าและเป็นรูปแบบที่ดีที่สุด ดังนั้นจึงต้องการให้ กสทช.ทบทวนการแก้ไข พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ พ.ศ. 2553 ในมาตรา 45 เปลี่ยนเป็นการจัดสรรด้วยวิธีอื่น เพราะจะทำให้ไม่ได้ผู้ประกอบการที่มีคุณภาพจริงๆ

“จุดบอดสำคัญของโทรคมนาคมคือ ไม่ว่าจะออกแบบยังไงก็มีผู้ประกอบการ 3 รายเก่าเหมือนเดิม แม้ว่า กสทช.จะบอกว่าเปิดให้รายใหม่ก็ตาม การปรับแก้กฎหมายจึงควรมุ่งเน้นไปที่การเอื้อให้มีผู้ประกอบการรายใหม่มากกว่าจะแก้รูปแบบการประมูล”นางเดือนเด่น กล่าว

นักวิชาการทีดีอาร์ไอ เสนอว่า สิ่งที่ควรปรับแก้คือประกาศ กสทช. เรื่องการกำหนดข้อห้ามการกระทำที่มีลักษณะเป็นการครอบงำโดยคนต่างด้าว พ.ศ. 2555 เพราะปัจจุบันไทยมี พ.ร.บ.ประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวที่มีกฎเกณฑ์ชัดเจนอยู่แล้ว กสทช.ไม่จำเป็นต้องออกประกาศอีก เพื่อเปิดทางให้รายใหม่เข้ามา

นายพรเทพ เบญญาอภิกุล อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า การจัดสรรคลื่นด้วยการประมูลถือเป็นวิธีที่โปร่งใสและมีประสิทธิภาพสูงสุด เพราะเปิดให้มีการแข่งขันด้านราคามากกว่าการจัดสรรคลื่นแบบวิธีคัดเลือกผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสม (บิวตี้ คอนเทสต์) และการใช้รูปแบบบิวตี้ คอนเทสต์ มีความโปร่งใสน้อย

นายสุทธิพล ทวีชัยการ กรรมการ กสทช. ด้านกฎหมาย กล่าวว่า มาตรา 45 ของกฎหมาย กสทช. ที่ล็อกวิธีจัดสรรคลื่นด้วยการประมูลเท่านั้น ถือเป็นข้อผิดพลาดตั้งแต่ยกร่างกฎหมาย เพราะการประมูลไม่ใช่วิธีการที่ดีที่สุด ซึ่งในหลายประเทศไม่ใช้วิธีการประมูลคลื่นความถี่เลย

ทั้งนี้ เพราะการประมูลอาจส่งผลดีในระยะแรกที่ทำให้เกิดการแข่งขันและทำรายได้ให้กับรัฐ แต่เมื่อผ่านไประยะหนึ่งจะพบว่าการประมูลมีจุดอ่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากการประมูลจบลงที่ราคาสูง แต่ผู้ประกอบการไม่มีเงินลงทุนมากพอที่จะสร้างโครงข่ายเพื่อให้บริการ


http://www.posttoday.com/ดิจิตอลไลฟ์/309920/รุมค้านเลิกประมูลคลื่น4จี

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.