Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

06 สิงหาคม 2557 กสทช.ฐากร ระบุ ขณะนี้เรื่องราคาคูปองถือว่ามีมติเป็นที่สิ้นสุดและเสนอต่อ คสช.ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งหากจะมีการปรับราคาขึ้นอีกหรือไม่ ขอให้ทาง คสช.เป็นผู้ตัดสินใจ

ประเด็นหลัก

    ขณะที่นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. กล่าวว่า ขณะนี้เรื่องราคาคูปองถือว่ามีมติเป็นที่สิ้นสุดและเสนอต่อ คสช.ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งหากจะมีการปรับราคาขึ้นอีกหรือไม่ ขอให้ทาง คสช.เป็นผู้ตัดสินใจ นอกจากนี้ในส่วนของผู้ประกอบการบางรายที่มีการเรียกร้องให้เลื่อนระยะเวลาการจัดเก็บค่าใบอนุญาตและค่าธรรมเนียมรายปี ทาง กสทช.ยินดีจะพิจารณาตามข้อเรียกร้อง ทั้งที่ยื่นเรื่องมายัง กสทช.โดยตรง หรือผ่าน คสช. เพียงแต่ทางผู้ประกอบการต้องมีเหตุผลอันสมควร ที่สามารถรับฟังและชี้แจงได้จริง เพราะ กสทช.อนุญาตโดยไม่มีเหตุผล.



______________________________




ผู้ประกอบการทีวีดิจิตอล เล็งยื่น คสช. พิจารณาเพิ่มราคาคูปอง




สมาพันธ์สมาคมวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ร่วมกับตัวแทนผู้ประกอบการทีวีดิจิตอล เตรียมยื่นหนังสือถึง คสช. ในสัปดาห์นี้ ให้พิจารณาเพิ่มราคาคูปองทีวีดิจิตอลจากเดิม 690 บาท เป็น 1,000 บาท…

นางจำนรรค์ ศิริตัน นายกสมาพันธ์สมาคมวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ เปิดเผยว่า สมาพันธ์ฯ ร่วมกับตัวแทนผู้ประกอบการทีวีดิจิตอล เพื่อจะนำข้อมูลกรณีการแจกคูปอง 690 บาท เตรียมส่งให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) พิจารณาอีกครั้ง โดยจะยื่นภายในสัปดาห์นี้และจะเป็นการเคลื่อนไหวครั้งสุดท้าย

นายกสมาพันธ์ฯ กล่าวอีกว่า เข้าใจว่าเงินที่ประมูลไปจะนำกลับมาให้ประชาชนได้รับชม แต่กลับล่าช้าออกไป เช่นเดียวกับโครงการแจกคูปอง เพราะภายใน กสท. มีปัญหาความแตกแยกกัน ซึ่งผู้รับเคราะห์กลับเป็นผู้ประกอบการทีวีดิจิตอล อย่างไรก็ตาม หากราคาออกมาที่ 690 บาท ทางสมาพันธ์ฯ ก็จะสอบถามเหตุผลและการเข้าถึงประชาชน

นายฉัตรชัย ตะวันธรงค์ เจ้าหน้าที่บริหารสายงานปฏิบัติการ บริษัท ทริปเปิล วี บรอดคาสท์ จำกัด กล่าวว่า การแจกคูปองควรคำนึงถึงไม่ให้เป็นภาระประชาชน พร้อมตั้งข้อสังเกตไปถึง สตง. และต้องการให้ สตง.นำข้อมูลของทุกฝ่าย ทั้งเนคเทค ผู้ประกอบการ และ กสท. อนุมัติที่ 1,000 บาท ไปพิจารณา

นอกจากนี้ ยังระบุว่า ผู้ประกอบการทุกรายได้ทยอยจ่ายเงินค่าใบอนุญาตฯ ให้ กสทช. ไปแล้วตามเงื่อนไขการประมูล ซึ่งตอนนี้กังวลว่าการจ่ายเงินอาจจะอยู่ไม่ถึง 6 ปี หากมีปัญหาสะดุดและสารพัดปัญหารุมมาที่ผู้ประกอบการ จึงอยากฝากให้ กสทช. จัดการทุกอย่างให้เรียบร้อย

นายพัฒนพงค์ หนูพันธ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ช่อง 7 กล่าวว่า จากที่สำรวจพบว่าราคาคูปองขั้นต่ำอยู่ที่ 1,100 บาท สูงสุด 2,600 บาท จึงต้องถาม กสทช. กลับไปว่าราคา 690 บาท จะตอบโจทย์การสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านทีวีดิจิตอลและไม่เป็นภาระประชาชนจริงหรือไม่ เพราะทำให้ประชนต้องจ่ายเงินเพิ่ม

นายประวิทย์ ชัยสิริสัมพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการตลาด บริษัท ลีโอเทค เทคโนโลยี กล่าวว่า เซตท็อปบ็อกซ์ตามร้านค้าทั่วไปจะมีราคาอยู่ที่ 1,000 บาทต้นๆ ซึ่งราคา 690 บาท ไม่ครอบคลุมราคาต้นทุน ที่เป็นกล่องระบบความคมชัดสูง หรือ ไฮเฟฟิเนชั่น และมีฟังก์ชั่นต่างๆ เพื่อสร้างความบันเทิง และหากขยับราคาขึ้นมาที่ 1,000 บาทได้ เชื่อว่าจะสนับสนุนให้การเปลี่ยนผ่านทีวีดิจิตอลเร็วขึ้น

นางสาววรรณี รัตนพล นายกสมาคมมีเดียเอเยนซี่ กล่าวว่า คูปองถือเป็นปัจจัยที่ผู้บริโภคจะเข้าถึงทีวีดิจิตอลได้ นอกจากประกาศมัสต์แครี่และการขยายโครงข่าย ขณะเดียวกัน มีประชาชนที่ยอมซื้อกล่องดูเองร้อยละ 7 ซึ่งขณะนี้การเข้าถึงค่อนข้างช้า จึงขอฝาก กสทช. เร่งแพร่ภาพทีวีดิจิตอลให้เร็วที่สุด

นางสาวอ่อนอุษา ลำเลียงพล นายกสมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การแจกคูปองมีผลกระทบทางอ้อมของจำนวนคนดู และความนิยม หรือเรตติ้ง แต่ผลกระทบโดยตรงกลับอยู่ที่ผู้ประชาชน

นายอังกูล บุญดี ผู้อำนวยการรายการวิทยุ ตัวแทนจาก บีอีซี มัลติมีเดีย กล่าวว่า ต้องการให้ กสทช. ทบทวนราคาที่ออกไป เพราะจากการประชาชนพิจารณ์ ประชาชนยอมรับที่ 1,000 บาท ซึ่งช่อง 3 ลงทุนประมูล 3 ช่อง กว่า 6,000 ล้านบาท เพราะฉะนั้นราคากล่อง 690 บาท กระทบกับการควักเงินจ่ายเพิ่มกับประชาชนแน่นอน

นายเขมทัตต์ พลเดช กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท บางกอก มีเดีย แอนด์ บรอดคาสติ้ง กล่าวว่า ปัญหานี้เกิดจาก เรื่องกฎหมาย การส่งเสริมที่ไม่เป็นธรรม แผนงานไม่ชัดเจนของ กสทช. ซึ่งล่าสุดเตรียมเสนอแผนการประชาสัมพันธ์ทีวีดิจิตอล ส่งเสริมแผนและรณรงค์ให้เข้าถึงทุกภูมิภาคให้ คสช. พิจารณา ซึ่งควรกำหนดเป็นวาระแห่งชาติ นอกจากนี้ ยังเสนอให้ตั้งคณะกรรมการ 2 ชุด คือ คณะกรรมการยุทธศาสตร์ ประชาสัมพันธ์ และขับเคลื่อนทีวีดิจิตอล และคณะกรรมการแก้ไขวิกฤตทีวีดิจิตอล โดยมีตัวแทนผู้ประกอบการทีวีดิจิตอลเข้าร่วมด้วย.

http://www.thairath.co.th/content/441358

_______________________________

รวมตัวค้านคูปอง690บาท ชี้กสทช.โยนภาระประชาชน


  สมาพันธ์สมาคมวิชาชีพสื่อแท็กทีมผู้ประกอบการช่องทีวีดิจิตอล ค้านมูลค่าคูปอง 690 บาท เล็งยื่นหนังสือขอความเห็นใจ คสช. จี้ กสทช.เร่งประชาสัมพันธ์ทีวีดิจิตอล
    นางจำนรรค์ ศิริตัน นายกสมาพันธ์สมาคมวิชาชีพวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ เปิดเผยว่า เตรียมทำจดหมายร้องเรียนไปยังหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในประเด็นที่ผู้ประกอบการทีวีดิจิตอลและผู้ผลิตกล่องรับสัญญาณได้รับผลกระทบจากการทำงานของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ที่มีมติให้มูลค่าของคูปองส่วนลดแลกซื้ออุปกรณ์เพื่อรับชมระบบดิจิตอลทีวีที่ 690 บาท
    ทั้งนี้ จากผลการทำประชาพิจารณ์จากทั่วประเทศราคาคูปองที่ประชาชนต้องการคือ 1,000 บาท แต่ กสทช.กลับยึดราคากลางของกล่องรับสัญญาณตามที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เสนอความคิดเห็นมา โดยอ้างถึงราคาต้นทุนกล่องบอลโลก ของ บมจ.อาร์เอส ที่ราคาต้นทุน 480 บาท ซึ่ง กสทช.ไม่ได้ฟังเสียงประชาชนเป็นหลัก อีกทั้งในตลาดราคากล่องที่วางจำหน่ายต่ำสุดอยู่ที่ 1,100 บาท และราคาสูงสุดที่ 1,600 บาท
    ด้านนายประวิทย์ ชัยสิริสัมพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการตลาด บริษัท ลีโอเทค เทคโนโลยี จำกัด กล่าวว่า ราคาคูปอง 690 บาท ที่ กสทช.กำหนดนั้น ให้แลกซื้อได้ทั้งกล่องรับสัญญาณและอุปกรณ์เสริมจำพวกเสาสัญญาณดิจิตอลนั้น เป็นมูลค่าที่ไม่ครอบคลุมต้นทุน ยิ่งบวกรวมค่าประกันด้วยแล้วเป็นเรื่องที่ทำไม่ได้ ก่อนหน้านี้ได้ให้ข้อมูลกับทางกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะไปแล้วว่า หากมูลค่าของคูปองอยู่ที่ 1,000 บาท จะมีความเป็นไปได้ที่สามารถแลกซื้อได้ทั้งกล่องและเสารับสัญญาณ อีกทั้งหากเป็นกล่องในระบบความคมชัดสูง หรือเอชดี จะมีต้นทุนต่อกล่องที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเงื่อนไขที่ กสทช.กำหนดมานั้นไม่สามารถทำได้แน่นอนในราคา 690 บาท
    ส่วนนายองอาจ สิงห์ลำพอง ผู้บริหารสถานีโทรทัศน์ช่อง 8 กล่าวว่า สำหรับต้นทุนของกล่องบอลโลกนั้น เนื่องจากเป็นกล่องระบบสแตนด์ดาร์ท หรือเอสดี ซึ่งมีต้นทุนเปรียบเทียบไม่ได้กับกล่องเอชดี ที่ กสทช.กำหนดว่าสามารถนำคูปองมาแลกซื้อเป็นส่วนลดได้ ทั้งนี้ มองว่าแม้ราคาคูปองจะอยู่ที่ 1,000 บาทแล้วก็ตาม ก็ยังไม่พออยู่ดี เพราะอุปกรณ์เสริมอื่นๆ ก็มีราคาค่อนข้างสูง อย่างไรก็ตาม ภาระก็ยังคงตกอยู่ที่ประชาชน
    ด้านนายเขมทัตต์ พลเดช กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท บางกอก มีเดีย แอนด์ บรอดคาสติ้ง จำกัด กล่าวว่า จะขอเลื่อนการจ่ายค่าธรรมเนียมและค่าใบอนุญาตออกไปอีก 6 เดือน เนื่องจากที่ผ่านมาสูญเสียรายได้ต่อเดือนเฉลี่ยแล้วที่ 2,500 ล้านบาท ทั้งนี้ ปัญหาเกิดจากเรื่องกฎหมาย การส่งเสริมที่ไม่เป็นธรรม แผนงานประชาสัมพันธ์การเปลี่ยนผ่านสู่ทีวีดิจิตอลของ กสทช.ไม่ชัดเจน ซึ่งมองว่าจะต้องมีการตั้งคณะทำงานด้านแผนการประชาสัมพันธ์ทีวีดิจิตอล
    ขณะที่นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. กล่าวว่า ขณะนี้เรื่องราคาคูปองถือว่ามีมติเป็นที่สิ้นสุดและเสนอต่อ คสช.ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งหากจะมีการปรับราคาขึ้นอีกหรือไม่ ขอให้ทาง คสช.เป็นผู้ตัดสินใจ นอกจากนี้ในส่วนของผู้ประกอบการบางรายที่มีการเรียกร้องให้เลื่อนระยะเวลาการจัดเก็บค่าใบอนุญาตและค่าธรรมเนียมรายปี ทาง กสทช.ยินดีจะพิจารณาตามข้อเรียกร้อง ทั้งที่ยื่นเรื่องมายัง กสทช.โดยตรง หรือผ่าน คสช. เพียงแต่ทางผู้ประกอบการต้องมีเหตุผลอันสมควร ที่สามารถรับฟังและชี้แจงได้จริง เพราะ กสทช.อนุญาตโดยไม่มีเหตุผล.

http://www.thaipost.net/news/060814/94223

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.