Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

13 สิงหาคม 2557 CTH.เชิดศักดิ์ ระบุจับมือ PSI,ABและINFOSAT ร้องขอความเป็นธรรมต่อคสช. และกสทช. เพื่อให้ทบทวนกรณีการแจกคูปองกล่องทีวีดิจิตอลอย่างเป็นธรรม และให้เกิดประโยชน์กับประชาชนอย่างแท้จริง

ประเด็นหลัก


    "การดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียมนั้นล้วนถือกำเนิดก่อนการก่อตั้ง กสทช.ซึ่งผู้ประกอบการทั้งหมดล้วนต้องฝ่าฟันบนเส้นทางธุรกิจด้วยตนเอง โดยปราศจากการสนับสนุนใดๆ จากภาครัฐ แต่เมื่อเกิดโครงการแห่งชาติที่ต้องการเปลี่ยนผ่านจากระบบการออกอากาศจากระบบอะนาล็อกมาเป็นระบบดิจิตอลเช่นเดียวกับนานาชาติในภูมิภาค ทำให้ผู้ประกอบการเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียมต้องปรับตัวอย่างหนัก พร้อมทั้งต้องลงทุนพัฒนาโครงการด้วยเม็ดเงินลงทุนมูลค่ามหาศาล เพื่อสนองนโยบายแห่งรัฐ ดังนั้น การจำกัดตัดสิทธิ์จึงถือเป็นกรณีที่ไม่เท่าเทียมและไม่เป็นธรรม"
    สำหรับในช่วงที่ผ่านมากสทช.พยายามให้ผู้ประกอบการเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียมดำเนินการตามนโยบายดังกล่าว แต่กลับไม่เคยให้ความช่วยเหลือใดๆ เลย อีกทั้งไม่ให้เครื่องมือสำคัญเพื่อให้การเปลี่ยนผ่านครั้งนี้ลุล่วงไปด้วยดี สาเหตุดังกล่าวจึงกลายเป็นการทำร้ายผู้ประกอบการทั้ง 2 กลุ่มโดยตรง เนื่องจากต้นทุนที่สำคัญของเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียม คือ ระบบโครงข่ายและกล่องรับสัญญาณ  และหากต้องการเร่งวางกล่องรับสัญญาณแบบดิจิตอล ผู้ประกอบการจำเป็นต้องพัฒนาโครงข่ายก่อนจึงจะสามารถวางกล่องดิจิตอลได้
    ปัจจุบันแม้จะมีผู้ประกอบการหลายรายได้พัฒนาตนเองเพื่อรองรับระบบดิจิตอลแล้ว แต่ต้องลงทุนเรื่องกล่องรับสัญญาณ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญอีก ในขณะที่ฟรีทีวีที่เข้ามาดำเนินธุรกิจภายหลังกลับได้สิทธิพิเศษตามที่ตนเองต้องการย่อมไม่ถูกต้องตามเจตนารมณ์ของ กสทช.


______________________________




ทุนเคเบิล/ทีวีดาวเทียมโอด ไร้รัฐเหลียวแล



คอลัมน์ : การตลาด MARKETING พิมพ์
 หลังจากที่ผู้ประกอบการฟรีทีวีรวมกลุ่มยื่นคัดค้านการให้สิทธินำคูปองทีวีดิจิตอลไปแลกซื้อกล่องรับสัญญาณเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียมต่อ กสทช. เมื่อวันที่ 16 มิถุนายนที่ผ่านมา โดยอ้างว่า เงินกองทุนที่นำมาตั้งเพื่อจัดสรรคูปองดังกล่าวเป็นเงินที่ได้มาจากการประมูลใบอนุญาตฟรีทีวี 24 ช่องนั้น เชิดศักดิ์ กู้เกียรตินันท์เชิดศักดิ์ กู้เกียรตินันท์ล่าสุด นายเชิดศักดิ์ กู้เกียรตินันท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีทีเอช จำกัด (มหาชน) ร่วมมือกับ 3 บริษัทประกอบไปด้วย  พีเอสไอ , อินโฟแซท  และ เอบี  ร้องขอความเป็นธรรมต่อคสช. และกสทช. เพื่อให้ทบทวนกรณีการแจกคูปองกล่องทีวีดิจิตอลอย่างเป็นธรรม และให้เกิดประโยชน์กับประชาชนอย่างแท้จริง
    "การดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียมนั้นล้วนถือกำเนิดก่อนการก่อตั้ง กสทช.ซึ่งผู้ประกอบการทั้งหมดล้วนต้องฝ่าฟันบนเส้นทางธุรกิจด้วยตนเอง โดยปราศจากการสนับสนุนใดๆ จากภาครัฐ แต่เมื่อเกิดโครงการแห่งชาติที่ต้องการเปลี่ยนผ่านจากระบบการออกอากาศจากระบบอะนาล็อกมาเป็นระบบดิจิตอลเช่นเดียวกับนานาชาติในภูมิภาค ทำให้ผู้ประกอบการเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียมต้องปรับตัวอย่างหนัก พร้อมทั้งต้องลงทุนพัฒนาโครงการด้วยเม็ดเงินลงทุนมูลค่ามหาศาล เพื่อสนองนโยบายแห่งรัฐ ดังนั้น การจำกัดตัดสิทธิ์จึงถือเป็นกรณีที่ไม่เท่าเทียมและไม่เป็นธรรม"
    สำหรับในช่วงที่ผ่านมากสทช.พยายามให้ผู้ประกอบการเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียมดำเนินการตามนโยบายดังกล่าว แต่กลับไม่เคยให้ความช่วยเหลือใดๆ เลย อีกทั้งไม่ให้เครื่องมือสำคัญเพื่อให้การเปลี่ยนผ่านครั้งนี้ลุล่วงไปด้วยดี สาเหตุดังกล่าวจึงกลายเป็นการทำร้ายผู้ประกอบการทั้ง 2 กลุ่มโดยตรง เนื่องจากต้นทุนที่สำคัญของเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียม คือ ระบบโครงข่ายและกล่องรับสัญญาณ  และหากต้องการเร่งวางกล่องรับสัญญาณแบบดิจิตอล ผู้ประกอบการจำเป็นต้องพัฒนาโครงข่ายก่อนจึงจะสามารถวางกล่องดิจิตอลได้
    ปัจจุบันแม้จะมีผู้ประกอบการหลายรายได้พัฒนาตนเองเพื่อรองรับระบบดิจิตอลแล้ว แต่ต้องลงทุนเรื่องกล่องรับสัญญาณ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญอีก ในขณะที่ฟรีทีวีที่เข้ามาดำเนินธุรกิจภายหลังกลับได้สิทธิพิเศษตามที่ตนเองต้องการย่อมไม่ถูกต้องตามเจตนารมณ์ของ กสทช.
    อีกทั้งจากการประชุมของ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) หลายครั้งและได้มีมติให้มีการจัดสรรคูปองให้กับทุกกลุ่มธุรกิจอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม ซึ่งคณะกรรมการกองทุนฯ ก็เห็นชอบกับมติดังกล่าว อีกทั้งได้มีการเผยแพร่ข่าวสารประชาสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันนี้ จนเป็นที่รับทราบกันเป็นที่สาธารณะในทุกภาคส่วนตรงกัน หากจะมีการเปลี่ยนแปลงขอบเขตการจัดสรร ตลอดจนเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของการจัดสรรเพื่อตอบสนองประโยชน์ของกลุ่มธุรกิจเพียงกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งจึงย่อมไม่ใช่เรื่องชอบธรรมด้วยประการทั้งปวง ที่สำคัญ เงินกองทุนที่นำมาจัดตั้งเพื่อเป็นงบประมาณสำหรับการจัดสรรคูปองดังกล่าวมิใช่เงินของกลุ่มธุรกิจฟรีทีวีเท่านั้น หากแต่เป็นรายได้ของประเทศที่สมควรกระจายสู่กลุ่มธุรกิจทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียม เป็นธรรมและไม่เลือกปฏิบัติ
    ปัจจุบันฟรีทีวีอาจมองข้ามประเด็นนี้ไป นั่นคือยุทธศาสตร์การเพิ่มสายตาผู้ชม หรือที่เรียกว่า Eyeball จะเกิดขึ้นได้อย่างมากมายมหาศาลทันที หากสามารถวางกล่อง Set-Top-Box ได้อย่างรวดเร็ว ครอบคลุมและทั่วถึง ซึ่งเมื่อเกิด Eyeball เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลภายในระยะเวลาอันสั้นแล้ว ผลลัพธ์ที่ตามมาย่อมหมายถึงเม็ดเงินของรายได้ที่จะมาจากโฆษณาทีวีประมาณ 7-8 หมื่นล้านบาทต่อปี เนื่องจากฟรีทีวีสามารถโฆษณาได้ 12 นาทีต่อชั่วโมง ในขณะที่เคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียมสามารถโฆษณาได้เพียง 6 นาที ต่อชั่วโมงเท่านั้น
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ

http://www.thannews.th.com/index.php?option=com_content&view=article&id=241977:2014-08-08-08-39-16&catid=106:-marketing&Itemid=456#.U-spVVZAeuw

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.