Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

14 สิงหาคม 2557 ชมรมผู้ผลิตดิจิทัลทีวี-องค์กรผู้บริโภค ร้อง กสทช. ปกติตามห้างค้าปลีกจะคิดค่าวางขายสินค้าจากเจ้าของผลิตภัณฑ์ 30 – 40% ของราคาขาย หาก กสทช. สามารถเข้าไปช่วยเจรจาลดต้นทุนตรงนี้ได้ win-win

ประเด็นหลัก


“ปกติตามห้างค้าปลีกจะคิดค่าวางขายสินค้าจากเจ้าของผลิตภัณฑ์ 30 – 40% ของราคาขาย  หาก กสทช. สามารถเข้าไปช่วยเจรจาลดต้นทุนตรงนี้ได้ ผู้บริโภคก็จะได้สินค้าที่ราคาถูกลง  อย่างเท่าที่คุยเบื้องต้นกับเทสโก้ โลตัส ก็ยินดีจะปรับลดให้  แต่ขอให้มีการประชาสัมพันธ์ว่าเป็นจุดหลักในการแลกคูปอง เพื่อดึงคนเข้าห้างให้เยอะขึ้น ซึ่งก็เป็นข้อเสนอที่ win-win”


______________________________




ชมรมผู้ผลิตดิจิทัลทีวี-องค์กรผู้บริโภค ยื่นข้อเสนอคูปองดิจิทัล “กสทช.”



ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานว่า เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 14 ส.ค. 2557  ชมรมผู้ผลิตและจำหน่ายดิจิทัลทีวี และคณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน  ได้เดินทางมายังสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) เพื่อยื่นข้อเสนอเกี่ยวกับโครงการสนับสนุนประชาชนเพื่อเปลี่ยนผ่านสู่ระบบทีวีดิจิทัลด้วยการแจกคูปองส่วนลด  โดยมีนางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กสทช. ด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ เป็นผู้รับมอบเอกสารข้อเสนอ


นายเอกศักดิ์  แดงเดช  ประธานชมรมผู้ผลิตและจำหน่ายดิจิทัลทีวี เปิดเผยว่า ชมรมก่อตั้งขึ้นด้วยการรวมตัวกันของสมาชิกกว่า 20 บริษัท ซึ่งมีตั้งแต่ขนาดเล็กถึงบริษัทมหาชน อาทิ บมจ.สามารถ คอร์ปอเรชั่น บมจ. ฟอร์ท คอร์ปอเรชั่น โดยข้อเสนอที่ยื่นแก่ กสทช. คือให้ กสทช. ช่วยลดต้นทุนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการวางจำหน่ายกล่องแปลงสัญญาณทีวีดิจิทัล (Settopbox) รวมถึงเครื่องรับโทรทัศน์ที่รับสัญญาณทีวีดิจิทัลได้ในตัว(iDTV)  เนื่องจากราคาคูปองที่ กสทช. ได้อนุมัติเพื่อเสนอต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) อยู่ที่ 690 บาท แม้จะสามารถผลิตอุปกรณ์ภายในกรอบราคานี้ได้ แต่เป็นแค่อุปกรณ์ตามมาตรฐานขั้นต้น และมีส่วนต่างกำไรน้อยมาก  หาก กสทช. ช่วยลดต้นทุนในส่วนอื่นได้ อาทิ  ค่าแสตมป์ที่แปะรับรองผลิตภัณฑ์ที่มีค่าใช้จ่าย 5-6 บาทต่อกล่อง หรือค่ากระจายสินค้า  จะช่วยให้ผู้บริโภคได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติและฟังก์ชั่นการใช้งานดีขึ้นในราคาที่ถูกลง


“ปกติตามห้างค้าปลีกจะคิดค่าวางขายสินค้าจากเจ้าของผลิตภัณฑ์ 30 – 40% ของราคาขาย  หาก กสทช. สามารถเข้าไปช่วยเจรจาลดต้นทุนตรงนี้ได้ ผู้บริโภคก็จะได้สินค้าที่ราคาถูกลง  อย่างเท่าที่คุยเบื้องต้นกับเทสโก้ โลตัส ก็ยินดีจะปรับลดให้  แต่ขอให้มีการประชาสัมพันธ์ว่าเป็นจุดหลักในการแลกคูปอง เพื่อดึงคนเข้าห้างให้เยอะขึ้น ซึ่งก็เป็นข้อเสนอที่ win-win”


ส่วนคุณสมบัติของบริษัทที่จะเข้าร่วมโครงการฯ อยากให้ กสทช. กำหนดทุนจดทะเบียนเริ่มต้นที่ 1 ล้านบาทขึ้นไป เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบกิจการทุกขนาด เพราะทุนมากน้อยไม่ได้วัดคุณภาพของสินค้า แต่ กสทช. ควรเข้าไปตรวจโรงงานเพื่อให้มั่นใจว่าผลิตอย่างมีคุณภาพ  เพราะมีอยู่ราว 10 กว่าโรงงานทั่วประเทศเท่านั้น ไม่ลำบากที่จะเข้าไปตรวจ  และให้ทุกแบรนด์ระบุโรงงานผลิตทุกกล่องเพื่อให้เช็คย้อนกลับได้  ส่วนการรับประกันควรอยู่ที่ 1 – 2 ปีตามมาตรฐานเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไป


ด้านนางสาวสารี อ่องสมหวัง ตัวแทนจากคณะกรรมการองค์กรอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน กล่าวว่า ได้เสนอให้ กสทช. ประกาศรายชื่อบริษัทที่ผ่านมาตรฐานและได้รับอนุญาตให้จำหน่ายอุปกรณ์ตามโครงการอย่างเปิดเผย และมีระบบติดตามคุณภาพในท้องตลาดอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ควรให้หักมูลค่าคูปองที่นำมาขึ้นเงินไว้ 5%  เพื่อสนับสนุนระบบรับผิดต่อสินค้าหากชำรุดหรือเสียหาย  แทนการต้องให้วางทุนประกันก่อนจำหน่าย ซึ่งจะช่วยผู้ประกอบการรายเล็กและรายกลางให้เข้าร่วมโครงการได้  ส่วนทุนจดทะเบียนบริษัทสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการควรเริ่มต้นที่ 1 ล้านบาท


ขณะที่ กสทช. สุภิญญา กลางณรงค์ กล่าวว่า จะนำข้อเสนอดังกล่าวเข้าที่ประชุมบอร์ด กสทช. (14 ส.ค.) ที่กำลังจะพิจารณาคุณสมบัติของบริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายอุปกรณ์ที่สามารถเข้าร่วมโครงการคูปองดิจิทัลได้ ซึ่งคาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในบ่ายวันนี้



http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1407994426

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.